WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลังเตือนผู้แอบอ้างธุรกิจนาโนฯ

      บ้านเมือง : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้แอบอ้างว่าได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ หรือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยนอกจากให้บริการสินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีการรับฝากเงินจากประชาชนเป็นการทั่วไป

     ทั้งนี้ กระทรวงการคลังขอแจ้งว่า การประกอบธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้กำกับดูแล และปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับใบอนุญาตดังกล่าว นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ไม่มีการรับเงินฝากจากประชาชน

   สำหรับ การกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ การรับฝากเงินจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000-1,000,000 บาท หากประชาชนมีข้อสงสัยสอบถาม ธปท. โทร.1213 หรือ สศค.โทร.0-2273-9020 ต่อ 3288

     นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 เมษายนนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกระทรวงการคลัง จะหารือร่วมกันเพื่อร่วมประเมินราคาที่ดินย่านมักกะสัน เพื่อแลกกับภาระหนี้ของ รฟท.บางส่วน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะให้ รฟท.มาตีทรัพย์ชำระหนี้เพื่อลดภาระหนี้ รฟท.ที่ปัจจุบันมีสูงถึง 1.1 แสนล้านบาท โดย รฟท.จะนำที่ดินใน กทม. มาให้กับกระทรวงการคลังเช่ากรรมสิทธิ์ระยะยาว โดยที่กระทรวงการคลังจะรับโอนภาระหนี้เท่ากับราคาประเมินของที่ดินที่จะโอนมาให้ ซึ่งคาดว่าทางกระทรวงการคลังจะนำที่ดินแปลงดังกล่าวมาเปิดให้เอกชนเข้าประมูลพัฒนาตามแนวทางที่กระทรวงการคลังได้วางไว้ต่อไป

      "เดิมนั้นแนวคิดในการนำที่ดิน รฟท.มีตีทรัพย์ชำระหนี้จะเป็นการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับกระทรวงการคลังเลย แต่เพื่อลดแรงเสียดทานจากภายในของ รฟท. จึงเปลี่ยนมาให้กระทรวงการคลังเช่ากรรมสิทธิ์ในระยะยาว" นายวิสุทธิ์ กล่าว

      นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ภาระหนี้ของ รฟท.ที่มีทั้งหมด 1.1 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นลูกหนี้การค้า ส่วนที่เหลือ 8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 5 หมื่นล้านบาทเป็นผลขาดทุนจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อีก 3 หมื่นล้านบาทเป็นผลการขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจปกติของ รฟท.เอง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!