WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 ‘สภาพคล่องยังเข้มแข็ง พร้อมหนุนเบิกจ่าย ร่วมผลักดันเศรษฐกิจไทย ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน

      นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557) ว่ารัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,066,711 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 43,801 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 ซึ่งมีสาเหตุหลักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากผลการปรับลดอัตราภาษี และการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต์สำหรับโครงการรถยนต์คันแรกได้เกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณก่อนหน้า ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1,579,928 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 27,986 ล้านบาท หรือ  ร้อยละ 1.8 ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 513,217 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 36,137 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 549,354 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 155,160 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 394,194 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,730 ล้านบาท

    นายสมชัยฯ สรุปว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ ระดับเงินคงคลังที่สูงกว่า 2 แสนล้านบาท รวมทั้งสภาพคล่องที่เข้มแข็งจากวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลและวงเงินการบริหารเงินสดจะเป็นปัจจัยสำคัญให้รัฐบาลสามารถทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง

    ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557

หน่วย: ล้านบาท

7 เดือนแรก                      เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2557     ปีงบประมาณ2556       จำนวน       ร้อยละ

1. รายได้                                   1,066,711         1,110,512        -43,801      -3.9

2. รายจ่าย                                  1,579,928         1,551,942         27,986       1.8

3. ดุลเงินงบประมาณ                            -513,217          -441,430        -71,787      16.3

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ                          -36,137          -130,715         94,578     -72.4

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)                        -549,354          -572,145         22,791        -4

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล                      155,160           176,812        -21,652     -12.2

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)                        -394,194          -395,333          1,139      -0.3

8. เงินคงคลังปลายงวด                           209,730           165,004         44,726      27.1

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3568

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนเมษายน 2557

และในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557)

            ในเดือนเมษายน 2557 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 28,937 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 62,009 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 33,072 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 549,354 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 155,160 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวนเท่ากับ 209,730 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่มีความมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ฐานะการคลังเดือนเมษายน 2557

1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 133,816 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว  2,187 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.7)

1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 195,825 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว 15,461 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 8.6) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 156,868 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่ายลงทุน 22,912 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 16,045 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 58.9 (ตารางที่ 1)

     การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 27,726 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 12,913 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 11,880 ล้านบาท และรายจ่ายชำระหนี้กระทรวงการคลังของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 10,477 ล้านบาท

ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนเมษายน 2557

หน่วย: ล้านบาท

เมษายน                 เปรียบเทียบ

2557       2556          จำนวน      ร้อยละ

1. รายจ่ายปีปัจจุบัน                    179,780    170,268          9,512       5.6

1.1 รายจ่ายประจำ                   156,868    156,669            199       0.1

1.2 รายจ่ายลงทุน                     22,912     13,599          9,313      68.5

2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน            16,045     10,096          5,949      58.9

3. รายจ่ายรวม (1+2)                 195,825    180,364         15,461       8.6

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนเมษายน 2557 ขาดดุล 62,009 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 33,072 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิ 20,000 ล้านบาท และการคืนเงินทดรองจ่ายในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/2557 จำนวน 10,798 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 28,937 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 25,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 3,937 ล้านบาท (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนเมษายน 2557

หน่วย: ล้านบาท

เมษายน                เปรียบเทียบ

2557       2556       จำนวน       ร้อยละ

1. รายได้                           133,816    131,629       2,187        1.7

2. รายจ่าย                          195,825    180,364      15,461        8.6

3. ดุลเงินงบประมาณ                   -62,009    -48,735     -13,274       27.2

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ                 33,072      6,532      26,540      406.3

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)               -28,937    -42,203      13,266      -31.4

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล             25,000     13,054      11,946       91.5

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)                -3,937    -29,149      25,212      -86.5

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

2. ฐานะการคลังในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557)

2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,066,711 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 43,801 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 3.9) โดยมีสาเหตุหลักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากผลการปรับลดอัตราภาษี และภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกเกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณก่อนหน้า

2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,579,928 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 27,986 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.8) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,423,144 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.4 ของวงเงินงบประมาณ (2,525,000 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 และรายจ่ายปีก่อน 156,784 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.2 (ตารางที่ 3)

            รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,423,144 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 1,249,288 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4 และรายจ่ายลงทุน 173,856 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.9

            การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในช่วง 7 เดือนแรกของงบประมาณปีนี้ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 188,823 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 109,435 ล้านบาท รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 102,831 ล้านบาท และรายจ่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 82,770 ล้านบาท

ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557

(ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557)

หน่วย: ล้านบาท

7 เดือนแรก                         เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2557   ปีงบประมาณ 2556        จำนวน       ร้อยละ

1. รายจ่ายปีปัจจุบัน                     1,423,144          1,382,955         40,189        2.9

1.1 รายจ่ายประจำ                    1,249,288          1,220,267         29,021        2.4

1.2 รายจ่ายลงทุน                       173,856            162,688         11,168        6.9

2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน              156,784            168,987        -12,203       -7.2

3. รายจ่ายรวม (1+2)                  1,579,928          1,551,942         27,986        1.8

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 549,354 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 513,217 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณจำนวน 36,137 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 22,135 ล้านบาท และการเบิกเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ จำนวน 22,925 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้จำนวน 155,160 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 394,194 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,730 ล้านบาท (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 7 เดือนแรก

ปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – เมษายน 2557)

หน่วย: ล้านบาท

7 เดือนแรก                        เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2557     ปีงบประมาณ 2556       จำนวน      ร้อยละ

1. รายได้                                   1,066,711          1,110,512        -43,801      -3.9

2. รายจ่าย                                  1,579,928          1,551,942         27,986       1.8

3. ดุลเงินงบประมาณ                            -513,217           -441,430        -71,787      16.3

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ                          -36,137           -130,715         94,578     -72.4

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)                        -549,354           -572,145         22,791        -4

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล                      155,160            176,812        -21,652     -12.2

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)                        -394,194           -395,333          1,139      -0.3

8. เงินคงคลังปลายงวด                           209,730            165,004         44,726      27.1

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

            สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  โทร 0-2273-9020 ต่อ 3568

            กระทรวงการคลัง

 

คลังเพิ่มงบปี’58 เร่งปลุกเศรษฐกิจ คาดเงินลงทุนรัฐสะพัด 8 แสนล้าน

   แนวหน้า : นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติหน้าที่ รมว.คลัง เปิดเผยว่าได้หารือกับสำนักงบประมาณถึงการจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 โดยคาดว่าจะพิจารณาสรุปวงเงินงบประมาณที่ 2.6 ล้านล้านบาท จากที่ก่อนหน้านี้ได้ตั้งวงเงินไว้สำหรับปีงบ 2558 ที่จำนวน 2.5 ล้านล้านบาท แต่ได้พิจารณาแล้วว่าในวงเงินจำนวนนี้น้อยเกินไป ซึ่งจะทำให้งบลงทุนมีจำนวนที่น้อยลงตามไปด้วย โดยจะเป็นงบประมาณขาดดุลไม่เกิน 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ในปีงบประมาณ 2558 กระทรวงการคลังต้องเก็บรายได้ที่จำนวน 2.4 ล้านล้านบาท

   “เชื่อว่า การเก็บรายได้ 2.4 ล้านล้านบาท ในปีงบหน้า ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะจากการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจของคณะความรักษาสงบแห่งชาติ หรือ คสช. คาดว่าจะทำให้การบริโภค การลงทุนฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ถึง 3% ต่อปี และในปีหน้าขยายตัวได้มากกว่า 3% ต่อปีทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยนายรังสรรค์ กล่าว

   นายรังสรรค์ กล่าวว่า ในส่วนของงบลงทุนของปีงบประมาณ 2558 นั้น คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยจะมีงบลงทุนเหลื่อมปีอีกประมาณ 4 แสนล้านบาท รวมเป็น 8 แสนล้านบาท ที่จะเป็นเม็ดเงินเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจปลายปีนี้และปี 2558 ทั้งนี้ คสช.ยังได้สั่งการให้เร่งดำเนินการงบประมาณปี 2558 ให้ใช้ได้ทันวันที่ 1 ต.ค.2557 จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มใช้ได้เดือน มิ.ย. 2558

   สำหรับ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ที่วงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท ล่าสุดผลการเบิกจ่าย ณ วันที่ 16 พ.ค. 2557 เบิกจ่ายได้ 1.33 ล้านล้านบาท หรือ 63.60% สูงกว่าเป้า 2.01% แต่งบลงทุนจำนวน 4.28 แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้เพียง 1.81 แสนล้านบาท หรือ 42.47% ของงบลงทุนรวม ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 9.78% เนื่องจากที่ผ่านมามีหน่วยงานยังไม่กล้าที่จะเบิกจ่าย เพราะหลังจากมีการยุบสภา ทำให้รัฐบาลอยู่ในช่วงรักษาการ ทำให้ยังไม่ชัดเจนทางด้านกฎหมาย แต่ขณะนี้ทาง คสช.ได้สั่งให้หน่วยงานต่างๆที่มีความพร้อมที่จะเบิกจ่าย ให้เสนอโครงการมายัง คสช.เพื่ออนุมัติการเบิกจ่ายได้ทันที ซึ่งจะทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนปี 2557 ในช่วง 4 เดือนหลังที่เหลือในปี 2557 นี้ สามารถเบิกจ่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

   ในขณะที่พื้นฐานทางเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในทิศทางที่ดีอยู่ โดยอัตราการว่างงานมีเพียง 0.7% เมื่อเทียบกับสหรัฐที่มีอัตราการว่างงาน 6% และยุโรปมีอัตราว่างงานสูงถึง 12% อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกทั้งสหรัฐ ยุโรป จีน และ ญี่ปุ่นขยายตัวได้ดีจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจไทย ทำให้นักลงทุนไทยและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยมากขึ้น

ฐานะคลัง 7 เดือนทรุด 4.38 หมื่นล้าน

   ไทยโพสต์ : สามเสน * คลังแจงฐานะการคลัง ช่วง 7 เดือนแรกปีงบ 57 รายได้ส่งคลังทรุด 4.38 หมื่นล้านบาท เหตุภาษีบุคคลธรรมดา-ภาษีรถ ยนต์ไม่เข้าเป้า แต่โชว์เงินคงคลังแตะ 2.09 แสนล้านบาท ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

   นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำ นวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงฐานะการ คลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 7 เดือนแรก ปีงบ ประมาณ 2557 (ต.ค. 56-เม.ย.57) ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1.06 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.38 หมื่นล้านบาท หรือ 3.9% เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลการปรับลดอัตราภาษี รวมถึงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรกที่เกือบครบทั้งโครงการแล้ว

   ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณอยู่ที่ 1.57 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.79 หมื่นล้านบาท หรือ 1.8% ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 5.13 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 3.61 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 5.49 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 1.55 แสนล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 3.94 แสนล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีจำนวน 2.09 แสนล้านบาท

   ทั้งนี้ การเบิกจ่ายเงินงบประ มาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงิน อุดหนุนของกรมส่งเสริมการปก ครองส่วนท้องถิ่น 1.88 แสนล้านบาท รายจ่ายอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 1.09 แสนล้านบาท ราย จ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1.02 แสนล้านบาท และรายจ่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 8.27 หมื่นล้านบาท

   "ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบ ประมาณ ระดับเงินคงคลังที่สูงกว่า 2 แสนล้านบาท รวมทั้งสภาพคล่องที่เข้มแข็งจากวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลและวงเงินการบริหารเงินสดจะเป็นปัจจัยสำคัญให้รัฐบาลสามารถทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง" นายสมชัย กล่าว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!