- Details
- Category: คลัง
- Published: Wednesday, 25 August 2021 18:56
- Hits: 13143
รัฐวิสาหกิจหาวิธีดันการลงทุนภาครัฐพยุงเศรษฐกิจ สู้ผลกระทบโควิด
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 รัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลโดยตรงมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 210,419 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 96 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบลงทุน
10 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีงบประมาณ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - เดือนกรกฎาคม 2564) 34 แห่ง จำนวน 118,262 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 88 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และการเบิกจ่ายงบลงทุน 7 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีปฏิทิน (เดือนมกราคม 2564 - เดือนกรกฎาคม 2564) 9 แห่ง จำนวน 92,157 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 107 ของแผนเบิกจ่ายสะสม
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2564
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
รัฐวิสาหกิจ
กรอบลงทุนทั้งปี
แผนเบิกจ่ายสะสม
ผลเบิกจ่ายสะสม % เบิกจ่ายสะสม/
แผนเบิกจ่ายสะสม
ปีงบประมาณ (ต.ค. 63 – ก.ค. 64)
จำนวน 34 แห่ง 175,633 133,926 118,262 88%
ปีปฏิทิน (ม.ค. – ก.ค. 64)
จำนวน 9 แห่ง 180,577 85,895 92,157 107%
รวม 43 แห่ง 356,210 219,822 210,419 96%
นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเสริมว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 รัฐวิสาหกิจหลายแห่งสามารถเบิกจ่ายได้เป็นไปตามแผนหรือสูงกว่าแผน เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี ของ รฟม. แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 12 ปี 2560 - 2564 ของการไฟฟ้านครหลวง งานก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปา
ของการประปาส่วนภูมิภาค โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กพท.) และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทั้งนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า เช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 - 2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 1 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม - ชุมพร และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ ของ รฟท. และแผนก่อสร้างศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. (ระยะที่ 2) ของ กทพ.
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า ในเดือนกรกฎาคม 2564 รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจปีปฏิทินสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ดีและเป็นไปตามแผน อย่างไรก็ดี จากการประกาศปิดสถานที่ก่อสร้างและมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบ
ต่อบางโครงการ/แผนงานเนื่องจากบุคลากรไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างหรือตรวจรับงานได้ ขาดแคลนแรงงานและไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ โดยมีประมาณการมูลค่าผลกระทบถึงสิ้นปี 2564 ประมาณ 23,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของมูลค่ากรอบลงทุนปี 2564 ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผลกระทบจากการประกาศปิดสถานที่ก่อสร้าง ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว เช่น การประสานหน่วยงานภาครัฐเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง โดยมีมาตรการที่รัดกุมรองรับ การหาแรงงานและวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ทดแทน รวมทั้ง เร่งรัดงานอื่นมาดำเนินการทดแทน เพื่อให้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป
รมว.เฮ้ง มอบที่ปรึกษา ลงพื้นที่เพชรบุรีตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนผู้ประกันตน ม.33 เข็มแรก
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มที่ 1 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนชั้นใต้ดิน ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟสไตล์ สาขาเพชรบุรี ถนนเพชรเกษม ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นางสาวเอกรัตน์ นาคาคง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายแพทย์เพชรเลิศ แทนสวัสดิ์ สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี นายไพศาล ช่อผกา นายอำเภอบ้านลาด นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรมสำนักงานประกันสังคม นายโชคาวิชญ์ วสุวิรักษ์โลติ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริหารศูนย์การค้าโรบินสันไลฟสไตล์ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชบุรี เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย
โดย นางธิวัลรัตน์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ท่านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน และท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และได้กำหนดให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาตินั้น ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบหมายสํานักงานประกันสังคม บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงการคลัง โดยธนาคารกรุงไทย และสถานพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับผู้ประกันตนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดทั้งในโรงงานและสถานประกอบการ
“ในวันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ท่านสุชาติ ชมกลิ่น ได้มอบหมายให้ดิฉันและคณะลงพื้นที่จุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ณ ชั้นใต้ดิน ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟสไตล์ สาขาเพชรบุรี ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี มีศักยภาพการฉีดวันละ 1,250 คน โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรจากโรงพยาบาลบ้านลาด เป็นผู้ดำเนินการฉีดในเข็มที่ 1 จำนวน 10,000 โดส สำหรับการฉีดวัคซีนแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในจังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม – 1 กันยายน 2564 (วันเว้นวันหยุดราชการ) เป็นวัคซีนยี่ห้อแอสตร้าเซเนก้าทั้งหมด ซึ่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นหนึ่งในมาตรการที่กระทรวงแรงงานให้การป้องกันรักษาโดยเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตนตามนโยบายรัฐบาลเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มแรงงานเพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้
วันเดียวกัน ในช่วงบ่าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการประชุมการวางแผนฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนกา เข็ม 2 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขาย้อย ชั้น 2 อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายบุญลาภ ทิพย์จันทร์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี นายประเสริฐ ปลอดโปร่ง สาธารณสุขอำเภอเขาย้อย แพทย์หญิงอรวรรณ ตะเวทิพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาย้อย นางอรอนงค์ ศิริชัย นายกเทศมนตรีตำบลเขาย้อย และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
โดยนางธิวัลรัตน์ กล่าวว่า “ตามที่รัฐบาลให้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงแรงงานได้มีความห่วงใยพี่น้องแรงงาน และ ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ดิฉันได้ลงพื้นที่เพื่อประชุมหารือในการวางแผนเตรียมความพร้อมการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 2 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไม่ให้กระจายไปในวงกว้าง และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มแรงงาน ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาการบริหารจัดการสถานที่ฉีดวัคซีนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้มารับบริการอีกด้วย”นางธิวัลรัตน์ กล่าวในท้ายที่สุด
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ