WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Info งบลงทุน มิ.ย. 64

รัฐวิสาหกิจยังคงเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ดันการลงทุนภาครัฐพยุงเศรษฐกิจ

        นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 รัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลโดยตรงมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม เป็นไปตามแผน โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 191,891 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 101 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบลงทุน 9 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีงบประมาณ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – เดือนมิถุนายน 2564) 34 แห่ง จำนวน 112,744 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 98 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และการเบิกจ่ายงบลงทุน 6 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีปฏิทิน (เดือนมกราคม 2564 – เดือนมิถุนายน 2564 ) 9 แห่ง จำนวน 79,146 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 106 ของแผนเบิกจ่ายสะสม

ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2564

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564

รัฐวิสาหกิจ

กรอบลงทุนทั้งปี

แผนเบิกจ่ายสะสม

ผลเบิกจ่ายสะสม

% เบิกจ่ายสะสม/
แผนเบิกจ่ายสะสม

ปีงบประมาณ (ต.ค. 63 – มิ.ย. 64)

จำนวน 34 แห่ง

175,633

115,628

112,744

98%

ปีปฏิทิน (ม.ค. – มิ.ย. 64)

จำนวน 9 แห่ง

179,582

74,768

79,146

106%

รวม 43 แห่ง

355,214

190,395

191,891

101%

            นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเสริมว่า ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2564 รัฐวิสาหกิจหลายแห่งสามารถเบิกจ่ายได้เป็นไปตามแผนหรือสูงกว่าแผน เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต และโครงการรถไฟความเร็วสูง
เชื่อม 3 สนามบิน ของ รฟท. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี ของ รฟม. และแผนปรับปรุง และขยายระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าฉบับที่ 12 ของ กฟน.

       ทั้งนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า เช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 - 2560) และโครงการทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม – ชุมพร และโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ของ รฟท. และแผนก่อสร้างอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ (ระยะที่ 2) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า ในเดือนมิถุนายน 2564 รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ดีและเป็นไปตามแผน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อบางโครงการ/แผนงานเนื่องจากบุคลากรไม่สามารถเข้าพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมและเฝ้าระวังเพื่อก่อสร้างหรือตรวจรับงานได้ รวมทั้งขาดแคลนแรงงานในการก่อสร้าง

ดังนั้น สคร. จึงได้ทำงานร่วมกับรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด และประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงต่างๆ ในที่ประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อช่วยผลักดันโครงการลงทุน

ของรัฐวิสาหกิจที่ยังสามารถดำเนินการได้ และเตรียมความพร้อมการดำเนินการในเรื่องต่างๆ เพื่อให้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมายและเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!