- Details
- Category: คลัง
- Published: Tuesday, 04 November 2014 22:39
- Hits: 3338
กรมบัญชีกลางแก้กม.จัดซื้อฯป้องทุจริต ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจ-อปท.
แนวหน้า : กรมบัญชีกลางแก้กม.จัดซื้อฯป้องทุจริต ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจ-อปท.ยกเว้นปตท.อ้างแข่งขันไม่ทัน
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง โดยมีคณะกรรมการร่วมจากหลายหน่วยงาน เช่นมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงบประมาณ ร่วมยกร่างกฎหมาย เพื่อเห็นชอบร่วมกันตั้งแต่ยกร่างกฎหมายและให้เกิดความรวดเร็วไม่ต้องมาทักท้วงกันภายหลัง เนื่องจากปัจจุบันการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ในการเปิดประมูลด้วยระบบอี-อ๊อกชั่น ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ บังคับใช้เฉพาะส่วนราชการ
ทั้งนี้ เมื่อบังคับการประมูลด้วยพ.ร.บ. ให้มีกฎหมายที่เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อให้ทุกส่วนนำไปปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน โดยเน้นกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)เพราะการกระจายอำนาจช่วงที่ผ่านมาได้เปิดให้ อปท.จัดซื้อจัดจ้างอิสระ จึงเกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นจำนวนมาก เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เข้ามาดูแล จึงออกประกาศให้การประมูลงาน จัดซื้อจัดจ้างกลับมาให้กรมบัญชีกลางช่วยดูแลจากส่วนกลางเหมือนเดิม แต่อาจต้องยกเว้นให้กับบางหน่วยงานเพื่อให้ปรับปรุงระเบียบสอดคล้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ สำหรับรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เช่น ปตท.สผ.หากนำข้อบังคับราชการใช้ทั้งหมด จะแข่งขันไม่ทันกับคู่แข่งต่างชาติ ดังนั้นจึงต้องมีข้อยกเว้น หรือนำข้อบังคับไปปรับใช้ในบางหน่วยงาน ตามสภาพงานหรือองค์กร
นายมนัส กล่าวว่า เมื่อ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และมีผลบังคับใช้อาจจะต้องยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมีทั้งสอบราคา ตกลงราคา ประกวดราคาด้วยระบบอี-อ๊อกชั่น และดำเนินการอีกหลายวิธีแตกต่างกันตามหน่วยงาน เมื่อ พ.ร.บ.ใหม่บังคับใช้ เพื่อนำมาดูแลประมูลด้วยวิธีการจัดหาพัสดุด้วยวิธีระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic market : e-Market) และด้วยวิธีระบบการยื่นข้อเสนอประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e- Bidding) ซึ่งทั้งสองระบบดังกล่าวจะเน้นให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดหาพัสดุให้สอดคล้องกับรูปแบบ ประเภทสินค้า เงินงบประมาณที่ได้รับ และระยะเวลาที่จัดหา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ในราคาที่เหมาะสมและทันเวลาที่ต้องการใช้งาน เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ระบบ e-Market จะให้สินค้าทุกประเภท ที่ใช้สำหรับสำนักงานนำมาเสนอราคาบนเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง เพื่อเปรียบเทียบราคาจากผู้ค้าต่าง ๆ ตั้งแต่ยางลบ ดินสอ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน นับพันนับหมื่นรายการ
อย่างไรก็ตาม หากเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่หรือการจัดซื้อมีความซับซ้อนจะใช้ระบบ e-Bidding ได้เริ่มนำร่อง 9 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมธนารักษ์ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) และโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันโรคทรวงอก ด้วยการนำสินค้าวัสดุสำนักงาน 5 ประเภทได้แก่ กระดาษถ่ายเอกสาร ผงหมึก ตลับหมึก แฟ้มเอกสาร เทปกาว ซองเอกสาร และยารักษาโรค 2 ชนิด ได้แก่ ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ และยารักษาโรคเบาหวาน โดยให้ทดลองใช้ระบบตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป จากนั้นจะขยายไปยังหน่วยงานอื่น หลังได้ทำการตรวจรับงานวางระบบเว็บไซต์ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
กรมบัญชีกลางนำร่องใช้ e-Bidding
บ้านเมือง : นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง โดยมีคณะกรรมการร่วมจากหลายหน่วยงาน เช่น มีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงบประมาณ ร่วมยกร่างกฎหมาย เพื่อเห็นชอบร่วมกันตั้งแต่ยกร่างกฎหมายและให้เกิดความรวดเร็วไม่ต้องมาทักท้วงกันภายหลัง เนื่องจากปัจจุบันการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ในการเปิดประมูลด้วยระบบอีอ็อกชั่น ผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ บังคับใช้เฉพาะส่วนราชการ
ทั้งนี้ เมื่อบังคับการประมูลด้วย พ.ร.บ. ให้มีกฎหมายที่เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อให้ทุกส่วนนำไปปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน โดยเน้นกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพราะการกระจายอำนาจช่วงที่ผ่านมาได้เปิดให้ อปท.จัดซื้อจัดจ้างอิสระ จึงเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นจำนวนมาก เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาดูแล จึงออกประกาศให้การประมูลงาน จัดซื้อจัดจ้างกลับมาให้กรมบัญชีกลางช่วยดูแลจากส่วนกลางเหมือนเดิม แต่อาจต้องยกเว้นให้กับบางหน่วยงาน เพื่อปรับปรุงระเบียบสอดคล้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ สำหรับรัฐวิสาหกิจบางแห่ง
นายมนัส กล่าวว่า เมื่อ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และมีผลบังคับใช้อาจจะต้องยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมีทั้งสอบราคา ตกลงราคา ประกวดราคาด้วยระบบอี-อ็อกชั่น และดำเนินการอีกหลายวิธีแตกต่างกันตามหน่วยงาน เมื่อ พ.ร.บ.ใหม่บังคับใช้ เพื่อนำมาดูแลประมูลด้วยวิธีการจัดหาพัสดุด้วยวิธีระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และด้วยวิธีระบบการยื่นข้อเสนอประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทั้งสองระบบดังกล่าวจะเน้นให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดหาพัสดุให้สอดคล้องกับรูปแบบ ประเภทสินค้า เงินงบประมาณที่ได้รับ และระยะเวลาที่จัดหา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ในราคาที่เหมาะสมและทันเวลาที่ต้องการใช้งาน
อย่างไรก็ตาม หากเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่หรือการจัดซื้อมีความซับซ้อนจะใช้ระบบ e- Bidding ได้เริ่มนำร่อง 9 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมธนารักษ์ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลวชิระ และสถาบันโรคทรวงอก โดยให้ทดลองใช้ระบบตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป จากนั้นจะขยายไปยังหน่วยงานอื่น หลังได้ทำการตรวจรับงานวางระบบเว็บไซต์ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา