WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3

ดัชนี ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปี

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2563

   “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมในหลายภูมิภาคปรับลดลงจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ระลอกใหม่”

      นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2563 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมในหลายภูมิภาคปรับลดลงจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ระลอกใหม่” โดยมีรายละเอียดดังนี้

1aaaสศค

      เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม โดยในเดือนธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 16.0 และ 18.2 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากรายได้เกษตรกรกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอลงร้อยละ -0.7 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุก

       จดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 26.3 และ 22.5 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่ขยายตัวร้อยละ 836.3 ต่อปี ด้วยจำนวน 2,969 ล้านบาท จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ขนาดกำลัง 24 เมกะวัตต์ จากเชื้อเพลิงชีวมวลและจำหน่ายไอน้ำ ในจังหวัดขอนแก่น เป็นสำคัญ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 77.0 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 76.5 สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี

      เศรษฐกิจภาคตะวันออกปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะด้านการบริโภคภาคเอกชนการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยในเดือนธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 35.1 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 4.9 ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -12.5 และ -19.6 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุก

       จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 15.3 และ 24.9 ต่อปี นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 376.3 ต่อปี ด้วยจำนวน 4,164 ล้านบาท จากโรงงานผลิตเหล็กลวด เหล็กรูปพรรณ  ในจังหวัดปราจีนบุรี เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 1,428.9 ต่อปี ด้วยจำนวน 2,843 ล้านบาท จากโรงงานผลิตเม็ดเทอร์โมพลาสติกรับเบอร์ รับเบอร์คอมปาวด์ และพลาสติกคอมปาวด์ ในจังหวัดระยอง เป็นสำคัญ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 107.2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 105.2 สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี

       เศรษฐกิจภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ โดยในเดือนธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี จากเดือน

     ก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 29.5 และ 15.6 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากรายได้เกษตรกรกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าชะลอลงร้อยละ -7.8 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่  ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 44.7 และ 33.5 ต่อปี ตามลำดับ

        นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ขยายตัวร้อยละ 625.8 ต่อปี ด้วยจำนวน 1,593 ล้านบาท จากโรงงานทอชิ้นส่วนชุดชั้นใน ในจังหวัดตาก เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 1,658.6 ต่อปี ด้วยจำนวน 2,386 ล้านบาท จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล กำลังการผลิต 15 เมกะวัตต์ ในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 51.7 และ 63.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.7 และ 63.6 ตามลำดับ สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี

     เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ โดยในเดือนธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 11.1 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ กลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 19.7 และ 9.1 ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -3.5 และ -7.1 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจ

        ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 28.7 ต่อปี นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ขยายตัวร้อยละ 42.3 ต่อปี ด้วยจำนวน 6,042 ล้านบาท จากทำผลิตภัณฑ์โลหะสำหรับใช้ในการก่อสร้างหรือติดตั้ง การทำส่วนประกอบสำหรับใช้ในการต่อเรือ การผลิตและประกอบเครื่องส่งกำลังกล เช่น กระบอกไฮดรอลิก เครื่องอัด ในจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 26.5 ต่อปี ด้วยจำนวน 5,143 ล้านบาท จากโรงงานผลิตหมึกพิมพ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 49.2 และ 86.9 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.8 และ 87.1 ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี

       เศรษฐกิจภาคใต้ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ โดยในเดือนธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 39.2 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ กลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 18.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -7.5 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุก

       จดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 21.2 และ 48.6 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ขยายตัวร้อยละ 662.9 ต่อปี ด้วยจำนวน 3,061 ล้านบาท จากโรงงานอัดเศษโลหะ อัดเศษกระดาษ อัดเศษพลาสติกทั่วไป ในจังหวัดสตูล เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 209.2 ต่อปี ด้วยจำนวน 3,216 ล้านบาท จากโรงงานผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 46.9 และ 85.3 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.4 และ 85.8 ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี

       เศรษฐกิจภาคตะวันตกปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ โดยในเดือนธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอลงร้อยละ -16.6 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 8.7 และ 16.1 ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอลงร้อยละ -19.6 และ -10.4 ต่อปี ตามลำดับ

        ส่วนหนึ่งเนื่องจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 18.3 และ 21.1 ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 11.8 และ -28.7 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 48.6 และ 86.9 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.0 และ 87.1 ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี

      เศรษฐกิจภาคกลางปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ดีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ โดยในเดือนธันวาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ กลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และ 14.7 ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -12.5 และ -21.9 ต่อปี ตามลำดับ

    สำหรับ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 36.9 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -11.0 ต่อปี นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ขยายตัวร้อยละ 101.1 ต่อปี ด้วยจำนวน 946 ล้านบาท จากโรงงานผลิตเครื่องเรือน หรือเครื่องตบแต่งภายในอาคาร จากไม้ แก้ว ยาง หรืออโลหะอื่นๆ ในจังหวัดสิงห์บุรี เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 191.7 ต่อปี ด้วยจำนวน 630 ล้านบาท จากโรงงานผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จ ใน

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!