WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลังแจงข้าวเจ๊งเหยียบ 7 แสนล้าน ชี้ประชาชนต้องใช้หนี้ยันรุ่นหลาน

    แนวหน้า : นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภาระการใช้หนี้ในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา คาดว่าจะมีผลขาดทุนสูงถึง 6-7 แสนล้านบาท โดยอาจจะต้องใช้เวลามากถึง 30 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งทางกระทรวงการคลังต้องบริหารหนื้ที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ต้องบริหารให้สอดคล้องกับภาวะตลาด เพื่อให้มีภาระต้นทุนจากดอกเบี้ยต่ำที่สุด และจะจัดสรรเงินงบประมาณเข้ามาบริหารจัดการหนี้ให้ครอบคลุมทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นบางส่วน

    "หนี้โครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนสูง 6-7 แสนล้านบาท สุดท้ายแล้วก็ต้องตกเป็นเงินภาษีของทุกคนในประเทศ การใช้หนี้ขาดทุนจำนำข้าว มีทางแก้ทางเดียวคือต้องใช้หนี้ และคาดว่าอาจจะใช้เวลามากกว่า 30 ปี หรือต้องใช้หนี้จำนำข้าวกันถึงรุ่นหลาน" นายสมหมาย กล่าว

     นายสมหมาย กล่าวว่า การออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี เพื่อมาใช้หนี้จากการขาดทุนจำนำข้าว ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ซึ่งทำได้เพียง 10% ของความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยต้องดำเนินการในอัตราดอกเบี้ยต่ำ บางส่วนก็ต้องโรลโอเวอร์ (Roll over) โดยการแก้หนี้จะต้องดูทั้งในส่วนของหนี้ที่กระทรวงการคลังกู้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

     “การใช้หนี้อาจจะใช้วิธีกู้เทอมโลน กู้ด่วนจากสถาบันการเงิน แต่เป็นการทำในประเทศ แต่ต้องปรับแผนไปพร้อมกับกระทรวงการคลัง ให้รับกับภาระหนี้ของตลาดด้วย”นายสมหมาย กล่าว

     ทั้งนี้ การออกพันธบัตรเพื่อชำระผลขาดทุนจำนำข้าวไม่จำเป็นต้องรอคณะอนุกรรมการปิดบัญชีจำนำข้าว ที่มีนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เนื่องจากหนี้ที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าวในขณะนี้มีจำนวนมากอยู่แล้ว ทำให้สามารถดำเนินการบางส่วนได้เลย และบางส่วนก็รอเงินจากการระบายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์มาชำระคืน

     สำหรับ การปิดบัญชีจำนำข้าวอยู่ระหว่างการดำเนินการ หากปิดได้เร็วก็เป็นผลดี จะได้ดำเนินการนำข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกไปขาย ซึ่งต้องยอมรับว่าการตรวจข้าวในสต๊อกมีความซับซ้อน มีข้าวหลายประเภท มีคุณภาพที่แตกต่างกันมาก ทำให้ฝ่ายปฏิบัติต้องมีความระมัดระวังมาก เพราะมีเรื่องของการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง และจะเป็นหลักฐานในการดำเนินการคดีต่อไป

สรุปข้าวสมัยปูหายแสนตัน'บิ๊กตู่' เตรียมส่งไม้ต่อป.ป.ช.ตรวจสอบทุจริต

     บ้านเมือง : 'บิ๊กตู่'ผงะ!! สรุปผลสอบ 'ข้าวสมัยปู''คุณภาพต่ำ-เสื่อม'-หายแสนตัน ระบุเตรียมชงข้อมูลส่งไม้ต่อให้ ป.ป.ช.เช็คบิล ขณะที่พาณิชย์เปิดประมูลข้าวครั้งที่ 3 ยังคึก เอกชนแห่ร่วมประมูลกว่า 37 ราย

     พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการตรวจสอบข้าวในโกดังรัฐ ว่า เบื้องต้นข้าวที่รัฐบาลรับมาจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั้น สต๊อกแรก 18 ล้านตัน จากการคัดกรองข้าวทั้งหมด โดยพบว่าเป็นข้าวคุณภาพต่ำ มีสีเหลืองเก็บนาน 70% เป็นข้าวเสื่อมราคา 4-5% ข้าวที่ได้มาตรฐาน 10% ส่วนข้าวที่หายออกไปจากคลังนั้นมีประมาณ 1 แสนตัน

    "หลังจากนี้จะต้องนำข้อมูลต่างๆ ส่งต่อให้กับ ป.ป.ช. เพื่อให้ตรวจสอบการทุจริตต่อไป รวมถึงรัฐบาล จะขออนุมัติ ป.ป.ช.เริ่มระบายข้าวได้ เพื่อป้องกันปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และไม่กระทบต่อราคาข้าวรอบใหม่ ส่วนการสวมสิทธิ์ข้าวในโครงการ จะต้องดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริงต่อไป และนโยบายการให้ชาวนารักษาข้าวไว้ในยุ้งฉางก็เพื่อลดภาระต้นทุนการเก็บข้าวของรัฐบาล ที่ต้องใช้งบประมาณสูงถึง 2,600 ล้านบาทต่อเดือน

     ขณะที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หลังจากนี้จะต้องเกิดการจ้างงานประชาชนเพิ่มมากขึ้น และเพื่อลดการทำนาปรัง การเพาะปลูกพืชที่ไม่ได้ผล โดยนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างว่าการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้เหมือนการมอบปลาให้กับประชาชน เพื่อให้มีต้นทุน แต่ก็ต้องมอบคันเบ็ดให้ประชาชนด้วย เพื่อที่จะสามารถประกอบอาชีพด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์เปิดให้ภาคเอกชนที่สนใจสามารถยื่นซองเสนอราคาประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาล ครั้งที่ 3 ในปริมาณ 207,000 ตัน แยกเป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 76,000 ตัน และปลายข้าวขาวเอวันเลิศ ปริมาณ 131,000 ตัน ซึ่งทั้งหมดเป็นข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวฤดูการผลิต 2554/55 นาปรัง 2555 และ 2555/56 และ 2556/57 แบบรายคลัง หรือรายกอง พบว่าในช่วงเช้ามีเอกชนสนใจเข้ายื่นซองประมูล ทั้งหมด 37 ราย จากนั้นในช่วงเวลา 13.30 น. ในวันเดียวกันจะมีการเปิดซองประมูลเพื่อประกาศผู้ที่ผ่านเกณฑ์ และให้ราคาสูงสุดในการประมูลข้าวในครั้งนี้

     สำหรับ การประมูลในครั้งนี้ได้นำข้าวขาวที่ผ่านการตรวจวิจัยจากแล็บมาเปิดประมูล โดยผู้ที่สนใจสามารถเสนอซองเพื่อแข่งขันราคา โดยมั่นใจว่าจะไม่กระทบกับราคาตลาด เพราะการเสนอราคายังคงใช้เกณฑ์ราคาขั้นต่ำ หรือ floor price ที่คณะกรรมการได้ยังคงใช้เกณฑ์ราคาขั้นต่ำ หรือ floor price ที่คณะกรรมการได้คำนวณไว้ ซึ่งใช้ราคาตลาด ณ ปัจจุบันอ้างอิง ซึ่งหากผู้ใดเสนอราคาต่ำกว่าราคาขั้นต่ำก็จะไม่ขายให้ ดังนั้นจึงชื่อว่าน่าจะขายได้ราคาดี

    ทั้งนี้ การเปิดประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาลแบบทั่วไปครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3/2557 โดยใน 2 ครั้งที่ผ่านมารัฐบาลสามารถระบายข้าวไปแล้วรวมกว่า 145,285 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,649 ล้านบาท

    สำหรับบริษัทที่สนใจเข้าร่วมยื่นซองประมูลข้าวทั้งหมด 37 ราย ได้แก่ 1.บริษัท วัฒนพรอินเตอร์ โกลเด้นไรซ์ จำกัด 2.บริษัท เอเชีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด 3.บริษัท ร่วมกำชัย จำกัด 4.บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด 5.บริษัท อิสเทิร์นไรซ์ จำกัด 6.บริษัท โรงสีข้าวทวีพัฒนา จำกัด 7.บริษัท ประกรวรรณรอมการ จำกัด 8.บริษัท เกศกนก เทรดดิ้ง จำกัด 9.บริษัท โรงสี กู้เกียรติ จำกัด 10.บริษัท รวมชัย มัลติเทรด จำกัด 11.บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด 12.บริษัท อรุณ ไรซ์ เทรดดิ้ง จำกัด 13.บริษัท เอเชียโกลเด้นเกรน จำกัด 14.บริษัท โรงสีทรัพย์แสงทอง 2550 จำกัด 15.บริษัท โรงสีข้าวรวมชัยสังขละ จำกัด

    16.บริษัท นำแสงค้าข้าว จำกัด 17.บริษัท ไทยสถาวร เทรดดิ้ง จำกัด 18.บริษัท วิรัตน์ชนก จำกัด 19.บริษัท มหาทรัพย์ ฟีด จำกัด 20.บริษัท เจียเม้ง จำกัด 21.บริษัท โรงสีไฟศรีกรุงลาดกระบัง จำกัด 22.บริษัท เอ็นบีที เทคโนโลยี จำกัด 23.บริษัท โกลเด้นเกรน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 24.บริษัท โรงสีเจริญทรัพย์ จำกัด 25.บริษัท กรุงไทยพืชผล จำกัด 26.บริษัท โรงสีสวัสดิ์ไพบูลย์ จำกัด 27.บริษัท สุวิทย์ ไรซ์มิลล์ จำกัด 28.บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด 29.บริษัท ไทยฟ้า (2511) จำกัด 30.บริษัท เฟรนด์ ไรซ์ จำกัด 31.บริษัท โรงสีข้าวเจริญผล จำกัด 32.บริษัท โรงสีไฟสมบูรณ์ การค้า จำกัด 33.บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด 34.บริษัท โรงสีเอกไรซ์ จำกัด 35.บริษัท โสธรอินเตอร์เทรด จำกัด 36.ริษัท เอ แอนด์ ซีไรซ์ เพชรบุรี จำกัด 37.บริษัท ดำรงพืชผล จำกัด

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!