WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลังเกี่ยงเพิ่มทุน 2 แบงก์รัฐ อ้างขอดูแผนฟื้นฟู-แฉคนการเมืองทำป่วน

     แนวหน้า : นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้กันงบเหลื่อมปีเพื่อใช้สำหรับเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(แบงก์รัฐ) จำนวน 2 แห่ง วงเงิน 4,000 ล้านบาท ให้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ แห่งละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเพิ่มทุนให้ได้เมื่อใด ขึ้นอยู่กับแผนฟื้นฟู ที่สถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งจะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา

    “ถ้าแผนฟื้นฟูไม่มีประสิทธิภาพ ทำแล้วยังขาดทุนอยู่ ก็จะแบมือขอเงินเพิ่มทุนอีกก็ไม่ได้ คลังก็ไม่มีนโยบายที่จะช่วยไปตลอด แต่ว่าทั้ง 2 สถาบันการเงินได้ขอขยายเวลาในการส่งแผนฟื้นฟูออกไปก่อน ก็คงต้องมาลุ้นว่าแผนที่ออกมาจะมีประสิทธิภาพ หรือไม่”นายรังสรรค์ กล่าว

    นายรังสรรค์ กล่าวว่า ในส่วนของเอสเอ็มอีแบงก์ ที่ผ่านมา ประธานกรรมการธนาคารได้หารือกับกระทรวงการคลัง และยืนยันว่าจะขอฟื้นฟูกิจการด้วยตัวเองก่อน จะยังไม่ขอรับเงินเพิ่มทุน ซึ่งกระทรวงการคลังก็เห็นด้วย และต้องให้ระยะเวลาในการดำเนินงานสักระยะ ส่วนไอแบงก์จะต้องรอความชัดเจนของแผนฟื้นฟูทั้งหมด ซึ่งยังไม่ได้รับรายงานมา แต่ขอยืนยันว่า ในฐานะปลัดกระทรวงการคลัง หากยังอยู่ในตำแหน่งจะไม่มีการยุบกิจการทั้ง 2 แห่งแน่นอน

    ส่วนกรณีมติคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ที่มอบอำนาจให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในการกำกับ ตรวจสอบแบงก์รัฐ และสามารถดำเนินโทษได้ทันที่โดยไม่ผ่านกระทรวงการคลังนั้น อาจจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังมอบอำนาจให้ธปท.เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้และรายงานผลให้กระทรวงการคลังพิจารณาอยู่แล้ว แต่กระทรวงการคลังไม่เคยลงโทษแบงก์รัฐเลยในช่วงที่ผ่านมา เพราะหวั่นกระทบกับภาคการเมือง” นายรังสรรค์ กล่าว

    รายงานข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ซึ่งจะทำให้การทำงานของแบงก์รัฐที่มีปัญหาทั้ง 2 แห่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้กระบวนการตรวจสอบมีความรวดเร็วขึ้น จากเดิมเมื่อ ธปท. ตรวจพบความผิดปกติในการบริหารจัดการของแบงก์รัฐ ก็จะส่งเรื่องมายังกระทรวงการคลังดำเนินการลงโทษ แต่กลับมีฝ่ายการเมืองเข้าเกี่ยวข้องจึง ไม่สามารถจัดการฝ่ายบริหารที่ทุจริตได้

   นอกจากนี้ ธปท.อาจจะเข้ามาตรวจสอบอาจเป็นรายไตรมาส จากเดิมตรวจสอบเพียงครั้งเดียวต่อปี ในการข้อมูลลูกค้าสินเชื่อ การบริหาร ซึ่งจะทำให้ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ขณะเดียวกัน ธปท.จะเข้ามาสานต่อในการตรวจสอบการทุจริตเรื่องในอดีตที่ยังค้างคาอยู่ ซึ่งแบงก์รัฐบางแห่งมีการปล่อยสินเชื่ออย่างไม่ถูกต้อง มีการนำคนใกล้ชิดนักการเมืองเข้ามาเป็นคณะกรรมการ และที่ปรึกษา รวมถึงในฝ่ายจัดการ เพื่ออนุมัติสินเชื่อให้พวกเดียวกันเอง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!