WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรรพากรเชิญ'อี-คอมเมิร์ซ'ถกเสียภาษี

    ไทยโพสต์ : อารีย์ * สรรพากรจ่อเรียกผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ 5 แสนราย หารือแนวทางยื่นเสียภาษีให้ถูกต้อง พร้อมเสนอแอค ชั่นแพลนให้ รมว.การคลังพิจารณา

    นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ช่วงปลายเดือน ต.ค.นี้ กรมสรรพากรจะเรียกผู้ประกอบการที่ทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็ก ทรอนิกส์ทุกช่องทาง (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) หรืออี-คอมเมิร์ซ กว่า 5 แสนราย เข้าหารือและ รับฟังข้อมูลในการยื่นเสียภาษี เพราะหากยื่นเสียภาษีไม่ถูกต้องอาจสร้างความเสียหายต่อ ธุรกิจได้ ถือเป็นการป้องกันการผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นให้กับผู้ประกอบการ โดยกรมจะให้ความรู้เพื่อให้เข้าใจว่ามีภาษีในส่วนใดบ้างที่เกี่ยวข้องและเข้าข่ายที่ต้องเสียภาษีภายหลังที่ดำเนินธุรกิจแล้ว

      ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ จะเข้าข่ายการเสียภาษีของกรมสรรพากร แบ่งเป็น ภาษีบุคคลธรรมดา และหากจัด ตั้งเป็นบริษัทก็ต้องเสียภาษีนิติ บุคคล เมื่อมีรายได้ตามที่กรมกำหนดไว้ โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) หากผู้ประกอบการมีการซื้อขายและมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องเข้ามาจดทะเบียนเสียภาษีแวตด้วย โดยยืนยันว่าการเรียกเข้ามารับฟังข้อมูลในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการรับทราบถึงข้อมูลการเสียภาษีที่ถูกต้อง เพราะหากถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ แต่ไม่เสียภาษี หรือเสียภาษีไม่ถูกต้อง ก็จะได้รับโทษตามที่กฎ หมายกำหนดไว้ ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ

    "ยืนยันการเรียกผู้ประกอบการเข้าหารือในครั้งนี้ เพราะกรมสรรพากรมีเจตนาดีที่ต้องการให้ความรู้และความเข้าใจในการเสียภาษี เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการยื่นเสียภาษีที่ผิดพลาด" นายประสงค์กล่าว.

เรียกแม่ค้าออนไลน์ชี้แจงจ่ายภาษีขายของผ่านเว็บ

     สรรพกรเรียก 5 หมื่นผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ที่ขายของผ่านเว็บเข้ารับฟังคำชี้แจง เพื่อเข้าระบบการเสียภาษีอย่างถูกต้อง

     นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ในเดือนตุลาคมนี้ กรมสรรพากรจะเรียกผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซผ่านระบบออนไลน์ในทุกๆ ช่องทาง ประมาณ 500,000 ราย มาชี้แจงการเสียภาษีให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้กระทบกับการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งผู้ประกอบการแบบบุคคลธรรมดา และแบบบริษัท ซึ่งหากผู้ประกอบการมีการซื้อขายและมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องเข้ามาจดทะเบียนเสียภาษีอีกประเภทหนึ่ง

     นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้ให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผู้ประกอบการธุรกิจเงินสด เช่น การค้าขายของตามตลาดซื้อขายขนาดใหญ่ อาทิ ตลาดสำเพ็ง ตลาดโบ๊เบ๊ การค้าขายตามชายแดน ที่มีอยู่ราย 5 ล้านรายแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!