WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOF พรชย ฐระเวชการคุ้มครองเงินฝาก และการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ให้กับประชาชน ภาคธุรกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2562

    นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยผลการสัมมนา เรื่อง การคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินให้กับประชาชน ภาคธุรกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยสำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงินได้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 เวลา 08.15 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมอภัยนุราช 1 โรงแรมสินเกียรติบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ว่า การสัมมนาครั้งนี้เป็นการจัดสัมมนาวิชาการครั้งที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ยังคงได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมสัมมนาและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาทั้งสิ้น 170 คน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย สหกรณ์ และผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยนางสาววิมล ชาตะมีนา รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของ สศค. ที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยทั้งในส่วนของนโยบายด้านการคลัง นโยบายด้านภาษี นโยบายทางด้านการเงิน นโยบายด้านการออมและการลงทุน และนโยบายด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งได้กล่าวถึงแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ

     การสัมมนาภาคเช้า หัวข้อ “ครบถ้วนทุกมิติความรู้และความคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน” โดยวิทยากรประกอบด้วย นายสุธี เหลืองอร่ามกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) นายธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และ นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ โดยมีนายอมรศักดิ์ มาลา เศรษฐกรชำนาญการ ส่วนนโยบายคุ้มครองเงินฝาก สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สศค. ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ สาระสำคัญของการสัมมนาในภาคเช้าจะครอบคลุมสาระสำคัญใน 3 ด้าน

        ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนนโยบายการคุ้มครองเงินฝากเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในภาพรวม ตลอดจนการปรับปรุงกระบวนการจ่ายเงินฝากคืนให้แก่ผู้ฝากเงินให้เกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 2) การดำเนินงานในภาพรวมของระบบข้อมูลเครดิต ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บ รักษา ประมวล และการรายงานข้อมูล รวมทั้งชี้แนะแนวทางในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง และ 3) ในด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน รวมทั้งแนะนำแนวทางการป้องกันตนจากภัยทางการเงินที่สำคัญ 5 ประเภท ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์ แชร์ลูกโซ่ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ การหลอกลวงในลักษณะ Call Center และการสวมรอยปลองแปลงเอกสาร/บัตร ตลอดจนแนวทางการร้องเรียนของผู้ใช้บริการทางการเงินเมื่อประสบภัยทางการเงินดังกล่าว

       การสัมมนาภาคบ่าย เป็นการสัมมนาหัวข้อ “ครบถ้วนทุกมิติความรู้และการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน (ต่อเนื่องจากภาคเช้า)” โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา โดยวิทยากร นายปุริม คัชมุกข์ เศรษฐกรชำนาญการ สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สศค. ซึ่งได้มีการกล่าวถึงบทบาทของการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา หรือ “Escrow” ในการเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คู่สัญญาที่ทำสัญญาต่างตอบแทน โดยมี “คนกลาง” หรือ “ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Agent)” เข้ามาทำหน้าที่ดูแลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ภายใต้การกำกับ ดูแล และการให้ความคุ้มครองของกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา

      ตลอดจนได้มีการนำเสนอแนวนโยบายของภาครัฐในการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบ Escrow ของไทยในอนาคต สำหรับช่วงที่สองของภาคบ่าย เป็นการบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบการประกันภัย โดยวิทยากร นายรติ พิมพ์สมาน ผู้เชี่ยวชาญสายกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ซึ่งสาระสำคัญมีการกล่าวถึงการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย เพื่อเจตนารมณ์ในการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพในภาพรวมของระบบการประกันภัยไทย พร้อมทั้งได้กล่าวถึงกองทุนประกันวินาศภัยและกองทุนประกันชีวิต ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงแก่ประชาชนผู้เอาประกันภัยในหลายกรณี อาทิ กรณีบริษัทประกันภัยล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น

       โดยสรุป การสัมมนาทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย เป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน อันจะสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนและระบบเศรษฐกิจในภาพรวม นอกจากนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562 เวลา 12.30 – 16.00 น. สศค. ยังได้จัดกิจกรรมโครงการการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการคุ้มครองเงินฝากและการบริหารจัดการทางการเงินแก่เยาวชนให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จำนวน 80 คน ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจและได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากนักเรียน ผู้บริหาร และคณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก

           สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3691 – 2

รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนธันวาคม 2561

         นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า มีจำนวนผู้สนใจยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เพิ่มขึ้น และคาดว่ายังคงมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญประการหนึ่งมาจากการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์สามารถให้บริการสินเชื่อโดยรับสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นประกันสินเชื่อในวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50,000 บาท ได้ โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้

       สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังเปิดให้ผู้สนใจยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เป็นต้นมา จนถึง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 มีจำนวนนิติบุคคลยื่นคำขออนุญาตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนคำขออนุญาตทั้งสิ้น 875 ราย ใน 73 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้ยื่นคำขออนุญาตมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา 74 ราย กรุงเทพมหานคร 63 ราย ขอนแก่น 50 ราย ทั้งนี้ มีจำนวนนิติบุคคลที่คืนคำขออนุญาตทั้งสิ้น 102 ราย ใน 47 จังหวัด จึงคงเหลือนิติบุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตสุทธิเป็นจำนวน 773 ราย ใน 73 จังหวัด และมีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจแล้ว 429 ราย ใน 65 จังหวัด ซึ่งในจำนวนนี้ ได้เปิดดำเนินการแล้วเป็นจำนวน 356 ราย ใน 64 จังหวัด และมีจำนวนผู้ประกอบการที่ปล่อยสินเชื่อแล้ว 349 ราย ใน 63 จังหวัด

      นอกจากนี้ สืบเนื่องจากที่กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ) (ฉบับที่ 2) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เป็นต้นมา โดยได้ปรับปรุงนิยามของสินเชื่อพิโกแนนซ์ให้รองรับการให้บริการสินเชื่อโดยรับสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เป็นประกัน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ” ในวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50,000 บาท ได้ด้วย สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ยังคงเป็นไปตามเงื่อนไขทั่วไปของสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ คือ ต้องเป็นการปล่อยสินเชื่อภายในเขตจังหวัดให้แก่บุคคลธรรมดาผู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ภายในจังหวัดนั้น ๆ ในวงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี (Effective Rate) จึงคาดว่าจะมีผู้ประกอบธุรกิจจำนำทะเบียนรถในระดับท้องถิ่นที่สนใจยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เพิ่มเติมเข้ามาอีกเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง

      ทั้งนี้ สถิติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 มียอดสินเชื่ออนุมัติสะสมจำนวน 50,740 บัญชี รวมเป็นจำนวนเงิน 1,416.32 ล้านบาท หรือคิดเป็นวงเงินสินเชื่ออนุมัติเฉลี่ยจำนวน 27,913.34 บาทต่อบัญชี ประกอบด้วย สินเชื่อแบบมีหลักประกันจำนวน 28,067 บัญชี เป็นจำนวนเงิน 860.74 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 60.77 ของจำนวนยอดสินเชื่ออนุมัติสะสม และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันจำนวน 22,673 บัญชี เป็นจำนวนเงิน 555.58 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 39.23 ของจำนวนยอดสินเชื่ออนุมัติสะสม ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 19,223 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 563.17 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อคงค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน มีจำนวน 1,799 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 55.93 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.93 ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม และมีสินเชื่อคงค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) จำนวน 613 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 20.05 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.56 ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม

      สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้อนุมัติสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบแทนหนี้นอกระบบ รายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.85 ต่อเดือน โดยได้เร่งกระจายความช่วยเหลือด้านสินเชื่อดังกล่าวแก่ประชาชนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 มีการอนุมัติสินเชื่อรวม 448,116 ราย เป็นจำนวนเงิน 20,113.91 ล้านบาท จำแนกเป็นสินเชื่อที่อนุมัติแก่ประชาชนทั่วไปจำนวน 412,581 ราย เป็นจำนวนเงิน 18,599.39 ล้านบาท และสินเชื่อที่อนุมัติให้กับผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 ที่มีหนี้นอกระบบ จำนวน 35,535 ราย เป็นจำนวนเงิน 1,514.52 ล้านบาท

      การดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังคงกวดขันจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบและผู้ติดตามทวงถามหนี้โดยวิธีการผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินการสะสมการจับกุมผู้กระทำผิดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 เป็นต้นมา ถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2561 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,628 คน

      อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังยังคงยึดแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล เพื่อให้การแก้ปัญหามีความยั่งยืนใน 5 มิติ ได้แก่ (1) ดำเนินการจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย (2) เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ (3) ลดภาระหนี้นอกระบบโดยการไกล่เกลี่ย (4) เพิ่มศักยภาพลูกหนี้นอกระบบ และ (5) การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรร่วมผลักดันเจ้าหนี้นอกระบบรายใหญ่ที่มีลูกหนี้จำนวนมากเข้าสู่การไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ของคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัด ซึ่งมีอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเป็นประธาน

      ตลอดจนร่วมประชาสัมพันธ์เชิญชวนเจ้าหนี้นอกระบบให้หันมาดำเนินธุรกิจสินเชื่อในระบบให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นแหล่งเงินกู้ทางเลือกที่สำคัญให้กับประชาชนในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ ประชาชนผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่

• สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1599

• ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์การกู้ยืมเงินโดยสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1155

• ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567

• ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359

                        สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชนโทร. สายด่วน 1359

สถิติสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)

รายการ ก.ย. 61 ต.ค. 61 พ.ย. 61 ธ.ค. 61

1. การพิจารณาอนุญาต (ยอดสะสม)  

   1.1 คำขออนุญาต (ราย) 651 721 805 875

   1.2 คืนคำขออนุญาต (ราย) 93 93 101 102

   1.3 คำขออนุญาตสุทธิ (ราย) 558 628 704 773

   1.4 ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ (ราย) 394 405 412 429

   1.5 ผู้เปิดดำเนินการ (ราย) 329 337 350 356

2. การอนุมัติสินเชื่อ  

   2.1 สินเชื่ออนุมัติสะสม  

จำนวนบัญชีรวมทั้งสิ้น       41,859 46,929 50,740 N/A

(% m-o-m) +13.42 +12.11 +8.12

จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น (ล้านบาท) 1,133.06 1,292.24 1,416.32 N/A

(% m-o-m) +14.65 +14.05 +9.60

         (1) สินเชื่อแบบมีหลักประกัน  

             จำนวนบัญชี 22,732 25,558 28,067 N/A

             จำนวนเงิน (ล้านบาท) 684.38 778.47 860.74 N/A

         (2) สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน  

             จำนวนบัญชี 19,127 21,371 22,673 N/A

             จำนวนเงิน (ล้านบาท) 448.68 513.77 555.58 N/A

2.2 ยอดคงค้างสินเชื่อ  

         จำนวนบัญชีรวมทั้งสิ้น 19,794 20,688 19,223 N/A

(% m-o-m) +5.89 +4.52 -7.08

        จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น (ล้านบาท) 524.64 586.35 563.17 N/A

(% m-o-m) +6.21 +11.76 -3.95

(1) หนี้สถานะปกติ  

   จำนวนบัญชี 17,731 18,341 16,811 N/A

   จำนวนเงิน (ล้านบาท) 458.90 511.54 487.19 N/A

(2) หนี้ค้างชำระ 1-3 เดือน (SM)  

จำนวนบัญชี 1,660 1,851 1,799 N/A

จำนวนเงิน (ล้านบาท) 52.31 57.64 55.93 N/A

หนี้ SM ต่อยอดคงค้างสินเชื่อ (SM Ratio - %) 9.97 9.83 9.93 N/A

(3) หนี้ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน (NPL)  

จำนวนบัญชี 403 496 613 N/A

จำนวนเงิน (ล้านบาท) 13.43 17.17 20.05 N/A

หนี้ NPL ต่อยอดคงค้างสินเชื่อ (NPL Ratio - %) 2.56 2.93 3.56 N/A

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

หมายเหตุ :   1. มีการปรับปรุงข้อมูลเดือนกันยายน 2561 และตุลาคม 2561 ให้เป็นปัจจุบัน

2. หนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan : SM) หมายถึง หนี้ซึ่งค้างชำระระหว่าง 1 - 3 เดือน

และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) หมายถึง หนี้ซึ่งค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน

สถิติการอนุมัติสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน (ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561)

ธนาคาร ประชาชนทั่วไป ผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้นอกระบบ รวมทั้งสิ้น

ราย ล้านบาท ราย ล้านบาท ราย ล้านบาท

ออมสิน 206,859 (+8.18%) 8,740.60 (+8.37%) 18,883

(+22.72%) 721.77

(+19.84%) 225,742

(+9.27%) 9,462.38

(+9.17%)

ธ.ก.ส. 205,722

(+9.48%) 9,858.79

(+9.71%) 16,652

(+9.15%) 792.75

(+9.64%) 222,374

(+9.46%) 10,651.53

(+9.71%)

รวม 412,581

(+8.83%) 18,599.39

(+9.08%) 35,535

(+15.96%) 1,514.52

(+14.28%) 448,116

(+9.36%) 20,113.91

(+9.45%)

ที่มา : ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.  

รวบรวมโดย : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!