WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

PDMOประภาศ คงเอยดคลัง ประกาศจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ปี 61 เพิ่มเติมครั้งที่ 2 อีก 5 พันลบ.ช่วง 12 ก.พ.-30 มี.ค.นี้

    คลังเผย จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ปี 61 วงเงินเพิ่มเติม 3 พันลบ. เปิดจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561ได้ครบตามวงเงินแล้ว พร้อมเปิดจำหน่ายรอบใหม่อีก 5 พันลบ. ช่วง 12 ก.พ.-30 มี.ค.นี้

     นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รายงานผลการจำหน่าย  พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 1 (วงเงินเพิ่มเติม) วงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งเปิดจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 ขณะนี้จำหน่ายได้ครบตามวงเงินที่ประกาศแล้ว

     และเนื่องจากยังมีความต้องการซื้อจากประชาชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงเห็นชอบให้จัดสรรวงเงินจำหน่ายเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 จำนวน 5,000 ล้านบาท ตามรุ่นอายุและอัตราดอกเบี้ยเดิม คือเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1.85 และรุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.45 จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 30 มีนาคม 2561 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ในการจำหน่ายให้แก่บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น โดยจำกัดวงเงินการซื้อในรอบวงเงินเพิ่มเติมทั้งหมด รายละไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อธนาคารตัวแทนจำหน่าย

       ผู้ที่สนใจสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 30 มีนาคม 2561 โดยสามารถทำรายการซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารตัวแทนจำหน่ายทุกสาขา เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) และระบบ Internet Banking ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง และผ่าน KTB netbank Application ของธนาคารกรุงไทยฯ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนให้สามารถเข้าถึงพันธบัตรออมทรัพย์ได้ตลอดเวลา

      โดยผู้มีสิทธิ์ซื้อสามารถทำรายการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้ที่ ธนาคารกรุงเทพฯ www.bangkokbank.com/ibanking

       ธนาคารกรุงไทยฯ www.ktbnetbank.comธนาคารกสิกรไทยฯ https://online.kasikornbankgroup.com ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ www.scbeasy.com

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

สบน.เผยปี 61 มีแผนกู้เงิน 1.124 ล้านลบ. ใช้ชดเชยการขาดดุลงบรายจ่าย ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน - ปรับโครงสร้างหนี้เดิม

      สบน.เผยผลการดำเนินงานปีงบ 60 กู้เงินชดเชยขาดดุลงบปี 60 ปรับโครงสร้างหนี้รวมกว่า 1.09 ล้านลบ. ส่วนปี 61 มีแผนกู้เงิน 1.124 ล้านลบ. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่าย - ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และปรับโครงสร้างหนี้เดิม พร้อมเล็งหาเงินกู้ให้ 9 รัฐวิสาหกิจ 2.66 แสนลบ.

   นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในปี 2560 และแผนการดำเนินงานในปี 2561 ของ สบน. โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1. ผลการดำเนินงานของ สบน. ในปี 2560

 1.1 การจัดหาเงินกู้ของรัฐบาล

   สบน. ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  (ต.ค.59-ก.ย.60) จำนวน 552,922  ล้านบาท และกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 542,397 ล้านบาท รวมทั้งได้พัฒนาธุรกรรมรับวงเงินประมูลพันธบัตรเพิ่มเติม (Overallotment) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกู้เงินของรัฐบาลให้มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับสภาพคล่องในประเทศที่อยู่ในระดับสูงได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ได้พัฒนาธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) เพื่อลดความเสี่ยงจากการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลจากรูปแบบ one-to-Multiple เป็น Multiple-to-Multiple รวมถึงพัฒนาธุรกรรม Bond Switching บนระบบอิเล็กทรอนิกส์ BSwitching) ได้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

 1.2 การจัดหาเงินกู้โครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง

   ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีการเบิกจ่ายเงินกู้สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จำนวน 51,404 ล้านบาท โครงการหลักที่มีผลการเบิกจ่ายเงินกู้ในปีงบประมาณ 2560 ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ

 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (ต.ค.60-ก.ย.61) มีแผนการเบิกจ่ายเงินกู้ 98,643 ล้านบาท โครงการสำคัญที่มีแผนการเบิกจ่าย ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี  และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 3 โครงการ ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีการเบิกในส่วนของเงินกู้แล้ว จำนวน 10,001 ล้านบาท

 1.3 การจัดหาเงินกู้ให้แก่รัฐวิสาหกิจ

  สบน. ได้จัดหาเงินกู้ให้แก่รัฐวิสาหกิจจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จำนวน 266,166 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การปรับโครงสร้างหนี้เดิม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ

2. แผนการดำเนินงานของ สบน. ในปี 2561

2.1 แผนการกู้เงินของรัฐบาลในปี 2561

   สบน. มีแผนกู้เงิน จำนวน 1.124  ล้านล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย (1) การกู้เงินใหม่จำนวน 607,251 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 450,000 ล้านบาท และสนับสนุนการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย - จีนและ โครงการรถไฟทางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจรของกรมทางหลวง และ (2) การกู้เงินปรับโครงสร้างหนี้เดิมจำนวน 516,755 ล้านบาท โดย สบน. เห็นควรระดมทุนจากภายในประเทศโดยการกู้เงินในรูปแบบพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้อื่นๆ เป็นหลัก โดยมีการกู้เงินสกุลต่างประเทศจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศบางส่วนสำหรับโครงการที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ

   การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐบาลจะดำเนินการภายใต้แผนการบริหารความเสี่ยงซึ่งจะครอบคลุมการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และการปรับโครงสร้างหนี้ โดยคำนึงถึงต้นทุนและความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ปัจจุบันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้รัฐบาลยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศเพียงร้อยละ 0.9 ของหนี้รัฐบาลทั้งหมด โดยหนี้ต่างประเทศที่คงค้างอยู่และหนี้ต่างประเทศที่จะมีการกู้เพิ่มเติมในปี 2561 สบน. จะเร่งดำเนินการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งชำระคืนหนี้ต่างประเทศที่มีต้นทุนสูงกว่าอัตราตลาดในปัจจุบัน โดยเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ในประเทศทดแทน (Refinancing)

2.2  การบริหารจัดการเงินสดในเชิงรุก (Active Cash Management)

   ปัจจุบันระบบการเงินและการทำธุรกรรมทางการเงินของโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาล ส่งผลให้ สบน. ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินสดและเงินคงคลังของรัฐบาลให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดย สบน. ได้เสนอแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายเงินคงคลังเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารเงินคงคลัง ทำให้การบริหารเงินสดของรัฐบาลมีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถบริหารระดับของเงินคงคลังให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มกรอบการกู้เงินระยะสั้นเพื่อบริหารสภาพคล่องของเงินคงคลัง ไม่เกินร้อยละ 3 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และให้กระทรวงการคลังสามารถขยายระยะเวลาการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณให้สอดคล้องกับการขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปีได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการถือครองเงินสดเมื่อยังไม่มีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายและทำให้การวางแผนการกู้เงินของรัฐบาลมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าว สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับแล้ว เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561

     ในระยะต่อไป สบน. จะต้องปฏิรูปกระบวนการบริหารเงินสดของรัฐบาล โดยปรับรูปแบบและเครื่องมือการกู้เงินเพื่อบริหารสภาพคล่องของเงินคงคลังตามกรอบของกฎหมายใหม่ รวมทั้งปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการประมาณการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ ทั้งนี้ เพื่อบริหารต้นทุนการถือเงินสดของรัฐบาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยจะดำเนินการร่วมกับกรมบัญชีกลางและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ในรูปแบบของ 'Treasury Unit'ต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!