- Details
- Category: กรมสรรพสามิต
- Published: Sunday, 08 April 2018 13:44
- Hits: 7674
'บุหรี่'เถื่อนทะลัก ฉุดคลังรายได้วูบ เฉียด 3.6 พันล้าน
ไทยโพสต์ * ฟิลลิป มอร์ริส เผยผลสำรวจสัดส่วนบุหรี่ไม่เสียภาษีพุ่งแตะ 6.6% ภาคใต้หนักสุด ผลจากภาษีสรรพสามิตใหม่ เตือนหากปล่อยไว้รัฐบาลเสียรายได้อย่างน้อย 3,600 ล้านบาท
นายพงศธร อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด เปิดเผยถึงผลการสำรวจล่าสุด Empty Pack Survey (EPS) โดยเป็นการสำรวจจาก ซองบุหรี่เปล่าที่ทิ้งแล้ว ดำ เนินการโดยบริษัทวิจัยนีลเส็น พบว่าในขณะนี้จำนวนสัดส่วนบุหรี่ไม่เสียภาษี (บุหรี่ที่ ไม่มีแสตมป์สรรพสามิตของไทยติดบนซอง) เพิ่มขึ้นมาเป็น 6.6% ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 จากเดิม 2.9% ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2559
"สัดส่วนบุหรี่ไม่เสียภาษีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงเวลาเพียง 1 ปี โดยสภาพปัญหามีความรุนแรงที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ โดยหากเจาะในรายจังหวัดแล้วพบว่าในสัดส่วนบุหรี่ไม่เสียภาษีใน จ.สตูล สูงถึง 76.6% จ.สงขลา 67% และ จ.พัทลุง 40%" นายพงศธรกล่าว
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า บุหรี่ที่ไม่เสียภาษีนั้น ราวครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจพบ ประกอบไปด้วย 2 ยี่ห้อซึ่งเป็นยี่ห้อที่ไม่ได้มีการมาจดขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพสามิต
"หลังการปฏิรูปภาษีสรรพสามิตเมื่อเดือนกันยายน 2560 เราได้คาดการณ์ว่าปริมาณการบริโภคบุหรี่ถูกกฎหมายจะหดตัวลงอย่างมากในปี 2561 นี้ โดยผู้สูบที่ไม่มีกำลังซื้อพอที่จะซื้อบุหรี่ถูกกฎหมายได้อาจตัดสินใจเลิกสูบไปเลย หรืออาจหันไปสูบยาเส้นมวนเอง หรือแม้กระทั่งบุหรี่เถื่อนก็ได้ เราประมาณการคร่าวๆ ว่าปริมาณการบริโภคบุหรี่ไม่เสียภาษีในประ เทศไทยอาจสูงถึง 100 ล้านซอง ซึ่งเป็นการประมาณการจากสัดส่วน 6.6% นั่นก็หมายถึงหากเราคำนวณจากมูลค่าภาษีสรรพสามิต 36 บาทต่อซองในปี 2561 เราจะเห็นตัว เลขการสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตอย่างน้อย 3,600 ล้านบาทต่อปี" นายพงศธรกล่าว
ทั้งนี้ สถานการณ์อาจเลวร้ายลงได้อีกเนื่องจากภาระภาษีสรรพสามิตมีกำหนดปรับขึ้นอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2562 โดยบุหรี่ซิกาแรตทั้ง หมดจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตตามปริมาณในอัตราซอง ละ 24 บาท และตามด้วยภาษี ตามมูลค่าที่อัตราร้อยละ 40 หากเราคิดประเมินตามสถาน การณ์นี้ โดยให้บุหรี่เถื่อนมี สัดส่วนคงที่ 6.6% ในขณะที่ปริมาณการบริโภคบุหรี่ถูกกฎหมายหดตัวลงอีก รัฐอาจสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตมากถึง 5,000 ล้านบาทในปี 2563.