- Details
- Category: กรมศุลกากร
- Published: Saturday, 25 April 2015 22:40
- Hits: 2705
กรมศุลกากรแถลงผลงานรอบ 6 เดือนจัดเก็บรายได้ศุลกากรได้ 58,987 ลบ.ต่ำกว่าคาด 4% คาดปีงบ 58 จัดเก็บได้ 117,825 ลบ. ต่ำกว่าเป้าหมาย 3.73%
ดร.สมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงผลงานของกรมศุลกากรในรอบ 6 เดือน (ต.ค.57–มี.ค.58) ว่า ตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2557 คณะผู้บริหารกรมศุลกากรได้ดำเนินการปรับปรุงการทำงานของกรมศุลกากรในหลายๆด้าน อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี การเร่งรัดแก้ไขกฎหมายต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการและสร้างความเป็นธรรมให้มากขึ้น การพิจารณาปฏิรูปสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรให้เกิดความรัดกุมและประโยชน์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงการดำเนินการกับคดีสำคัญๆที่ยังคงค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องการแก้ปัญหาคอรัปชั่นและนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารราชการของกรมศุลกากรให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนของปีงบประมาณ 2558 กรมศุลกากรได้ดำเนินการในเรื่องสำคัญ ดังนี้
1. การจัดเก็บรายได้
- กรมศุลกากรจัดเก็บภาษีอากรรวมทุกประเภท จำนวน 256,595 ล้านบาท เป็นรายได้ศุลกากรมีสัดส่วนร้อยละ 23 ของรายได้ทั้งหมด และอีกร้อยละ 77 เป็นรายได้จัดเก็บให้แก่หน่วยงานอื่นประกอบด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 142,936 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วร้อยละ 8.28 ภาษีสรรพสามิต จำนวน 36,395 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ร้อยละ 3.76 และภาษีเพื่อมหาดไทย จำนวน 18,277 ล้านบาท ต่ำช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ร้อยละ 8 โดยจัดเก็บรายได้ศุลกากร จำนวน 58,987ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ (61,500 ล้านบาท) จำนวน 2,513 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 แต่ยังสูงกว่าช่วงเดียวกับปีที่แล้วร้อยละ 0.28 กรมศุลกากรคาดว่าตลอดปีงบประมาณ 2558 จะสามารถจัดเก็บรายได้ได้ประมาณ 117,825 ล้านบาทต่ำกว่าเป้าหมาย (122,400 ล้านบาท) 4,575 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.73
- สาเหตุการจัดเก็บรายได้กรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมายมาจาก 2 สาเหตุ คือ สภาพเศรษฐกิจและการนำเข้าที่ไม่ดีเท่ากับที่ได้ประมาณการไว้เมื่อตอนจัดทำประมาณการรายได้ และส่วนสูญเสียจากการปรับโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2557 ส่งผลกระทบต่ออัตราภาษีศุลกากรลดลง ทำให้คาดว่าการจัดเก็บรายได้จะหายไปในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 4,575 ล้านบาท อย่างไรก็ตามกรมศุลกากรได้พยายามเพิ่มมาตรการในการจัดเก็บรายได้เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดไป โดยได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี อาทิ การเพิ่มมาตรการในการตรวจปล่อยสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการหลีกเลี่ยงอากร การบริหารจัดการระบบงานคดี การจำหน่ายของกลาง/ของตกค้าง และ การตรวจสอบการเสียภาษีอากรให้ผู้ประกอบการด้วยวิธีสมัครใจ เป็นต้น
2. การดำเนินการกับกรณีรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูปสูญหาย
- กรมศุลกากรได้ดำเนินการสำรวจจำนวนรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูปที่จัดเก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์/เขตปลอดอากร/เขตประกอบการค้าเสรี (นิคมอุตสาหกรรม) พบว่ามีรถสูญหายจากสถานที่จัดเก็บดังกล่าวจำนวนรวมทั้งสิ้น 227 คัน โดยพบว่าส่วนใหญ่ (จำนวน ๑๗๘ คัน) มีการยื่นใบขนสินค้าและชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว อีกส่วนเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ติดตามจับกุมมาได้แล้ว ๘ คัน และที่เหลืออีก ๔๑ คัน อยู่ระหว่างติดตามจับกุม โดยกรมศุลกากรได้มีการดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ ผู้นำเข้า เจ้าหน้าที่ศุลกากร และเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน/เขตปลอดอากร/เขตประกอบการค้าเสรี แล้ว
- เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหารถยนต์หายจากคลังสินค้าฯอีก กรมศุลกากรเห็นควรให้กำหนดมาตรการป้องกันควบคุมการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ โดยได้เพิ่มความรัดกุม ในการควบคุมทางศุลกากร พร้อมกับได้นำระบบเทคโนโลยีสำหรับติดตามความเคลื่อนของรถยนต์ที่เรียกว่า e-Lockมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมอีกด้วย
3. การจ่ายค่าตอบแทนชาวบ้านสำหรับที่ดินเพื่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งที่ 2
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มกราคม พุทธศักราช 2558 เห็นชอบหลักเกณฑ์และวงเงินการจ่ายชดเชยเพื่อเยียวยาให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ในวงเงิน 758,413,317 บาท (เจ็ดร้อยห้าสิบแปดล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นสามพันสามร้อยสิบเจ็ดบาท) และอนุมัติหลักการให้ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช 255๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดหาพื้นที่ดำเนินโครงการ เนื่องจากเป็นปีงบประมาณพุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ ด่านศุลกากรสะเดา จึงได้จัดให้มีพิธีจ่ายเงินชดเชยและรับมอบพื้นที่จากราษฎร โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘ โดยมี ดร.สมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เป็นประธานในพิธี
4. ตำนานคดีกรมศุลกากร
4.1 คดีบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
- เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรได้ตรวจสอบเอกสารการนำเข้าของบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัดพบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2545 บริษัทฯ มีการนำเข้าสินค้าชุดเกียร์รถยนต์ (Transmission) ตามใบขนสินค้าฯ รวม 102 ฉบับจากประเทศฟิลิปปินส์ โดยขอใช้สิทธิลดอัตราอากรตามโครงการความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางอุตสาหกรรมอาเซียน (AICO) จากอัตราปกติร้อยละ 42 ลงเหลือร้อยละ 5 แต่ได้นำเข้าเกินกว่า สิทธิที่ได้รับเป็นเหตุให้อากรขาเข้าขาด 753,793,390 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มขาด 52,765,538 บาท
- ในส่วนค่าภาษีอากรที่ขาด คณะกรรมการอุทธรณ์ตามกฎหมายกรมศุลกากร มีมติให้บริษัทฯ ต้องชำระอากรเพิ่ม โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) การนำเข้าเกินกว่าปริมาณที่ได้รับตามโครงการ AICO ได้รับสิทธิ ลดอัตราอากรฯ ชำระอากรอัตราร้อยละ 5 และกรณีที่ 2) กรณีการนำเข้าไม่ตรงรุ่น ให้ชำระอากรในอัตราปกติ ร้อยละ 42 เป็นเหตุให้อากรขาเข้าขาด 624,061,738 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มขาด 43,684,320 บาท เงินเพิ่มอากร 1,042,319,795.43 บาท เงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม 43,684,320 บาท เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม 43,684,320 บาท ซึ่งกรมฯ ได้มีหนังสือแจ้งบริษัทฯ ทราบแล้ว
4.2 คดีการนำเข้ารถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส
- เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรได้ตรวจสอบการขำระอากรของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นมาประกอบเป็นรถยนต์ Toyota รุ่น Prius ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2555 ตามใบขนสินค้าจำนวน 244 ฉบับ พบว่ามีการสำแดงรายละเอียดในใบขนฯ และขอใช้สิทธิลดอัตราอากรนำเข้าไม่ต้องตามข้อเท็จจริง
- บริษัทฯ มีความผิดโดยชำระภาษีอากรไม่ถูกต้อง เป็นความผิดในฐานสำแดงเท็จ ตามมาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นเหตุให้อากรและค่าภาษีขาด ดังนี้ อากรขาเข้า 7,605,928,511.58 บาท ภาษีสรรพสามิต 2,024,461,697.13 บาท ภาษีเพื่อมหาดไทย 216,543,087.10 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,822,195,541.63 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 11,669,128,837.44 บาท
- กรมศุลกากรได้ทยอยออกแบบแจ้งการประเมินอากรให้บริษัทฯ มาชำระค่าภาษีอากรที่ขาดแล้ว โดยบริษัทฯได้มีการยื่นอุทธรณ์การประเมินอากรดังกล่าว ซึ่งกรมฯ ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าประชุมในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เรียบร้อยและที่ประชุมมีมติให้เรียกเก็บค่าภาษีอากรที่ขาดตามที่ตรวจพบต่อไป
กฎหมายศุลกากรที่ใช้อยู่ โดยมีหลักการและเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ
1) เพื่อให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายไม่เกิดความสับสน โดยการนำกฎหมายศุลกากรทุกฉบับที่ใช้อยู่ (จำนวน 5 ฉบับ) มารวมกันเป็นฉบับเดียว และแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องต่างๆ ให้เหมาะสมขึ้นด้วย ซึ่งขณะนี้ดำเนินการยกร่างเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง
2) การแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายสินค้าเสรีภายใต้การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้แก่ การเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการผ่านแดนและการถ่ายลำ เพื่อให้มีกฎหมายเพียงพอต่อการใช้งาน และให้
5. การแก้ไขกฎหมาย
กรมศุลกากรตระหนักดีว่า กฎหมายจะเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน จึงได้ดำเนินการแก้ไขมีความชัดเจนโดยไม่ต้องอาศัยการตีความ ตลอดจนให้มีความหมายเช่นเดียวกับมาตรฐานสากลที่ ใช้อยู่ในนานาประเทศ ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว คือ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2557
3) การแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างความเป็นธรรม เช่น การกำหนดระยะเวลาใน การตรวจสอบภายหลังการตรวจปล่อย (Post Audit) จะต้องดำเนินการภายในไม่เกิน 5 ปี การมีกฎหมายรองรับการตรวจของร่วมกันของเจ้าหน้าที่สองประเทศที่มีพรมแดนติดกัน ณ พื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area: CCA) ลดอัตรา การจ่ายเงินรางวัลลง และกำหนดเพดานสูงสุดของการจ่ายเงินลง เพิ่มมาตรการส่งเสริมการส่งออกอีกหนึ่งมาตรการ คือ การนำวัตถุดิบออกไปผ่านกระบวนการผลิตที่ต่างประเทศ (Outward Processing) แล้วนำกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง และการยกเว้นอากรให้แก่ภาชนะบรรจุที่ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง (Returnable Box) เป็นต้น
6. การพัฒนาปรับปรุงงานด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร
- กรมศุลกากรได้นำระบบ e-Tax Incentives นำร่องมาใช้กับการตรวจสอบคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป และเขตปลอดอากร ซึ่งช่วยปรับปรุงการให้บริการและการกำกับดูแลและตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ศุลกากร และช่วยลดภาระของผู้ประกอบการในการจัดทำรายงานข้อมูลเข้า-ออก และสินค้าคงเหลืออีกด้วย
- กรมศุลกากรได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาการพิจารณาสูตรการผลิต เพื่อสะสางสูตร การผลิตที่มีปัญหาค้างการพิจารณา ซึ่งคณะทำงานฯ ได้พิจารณาแก้ปัญหาสูตรการผลิตที่ค้างทั้งหมดจำนวน ๕,๖๑๕ สูตร สามารถแก้ปัญหาได้แล้วจำนวน ๒,๑๘๓ สูตร อยู่ระหว่างดำเนินการต่อไป สำหรับการคืนอากรตามมาตรา ๑๙ ทวิ ในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมา สามารถคืนอากรได้ ๑๐,๓๒๕.๒๗ ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง ๖ เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งคืนอากรได้ ๕,๑๖๕.๙๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้น ๕,๑๕๙.๓๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๘๗
7. การป้องกันและปราบปราม
- ช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 58 กรมศุลกากรสามารถจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายได้จำนวน 5,649 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 312 คดี คิดเป็นร้อยละ 5.84 ส่วนมูลค่าการจับกุมในช่วงเดือน 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 58 มีมูลค่า 1649.56 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 860.82 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.29
แนวทางดำเนินงานในช่วงต่อไปของกรมศุลกากร
1. ปฏิญญาเขมราฐ
- ในวันที่ 1 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันข้าราชการพลเรือน ณ ด่านศุลกากรเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี คณะผู้บริหารกรมศุลกากรได้ร่วมประกาศว่าตังแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้นไป ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างและเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรทุกคนจะเลิกรับผลประโยชน์ที่มิควรรับทั้งหลาย รวมถึงจะประพฤติตนอย่างมีจริยธรรมและคุณธรรมของข้าราชการที่ดีด้วยความโปร่งใส ปลอดจากคอรัปชั่น และจาก การกระทำการทุจริตทุกประการ
- ระยะต่อไปกรมศุลกากรจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการตามปฏิญญาเขมราฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มาช่วยผลักดันนโยบาย;ไม่รับ ไม่ให้; โดย คณะกรรมการฯ จะทำการประชุมเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามปฏิญญาเขมราฐของด่านศุลกากร ท่า/ที่ตรวจปล่อยสินค้าต่างๆ พร้อมทั้งรับเรื่องร้องการกระทำทุจริตของเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อรายงานให้ผู้บริหารของกรมศุลกากรทราบและดำเนินการต่อไป
- โครงการตามปฏิญญาเขมราฐจะทำให้กรมศุลกากรมีพันธมิตรในการช่วยตรวจสอบและติดตาม ความโปร่งใสและความสุจริตของเจ้าหน้าที่ของกรมฯ อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และหากมีการรายงานการ ประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ฯ กรมศุลกากรจะได้ดำเนินการทางบริหารและทางวินัยอย่างเด็ดขาดต่อไป
2. การพิจารณาแก้ไขระเบียบกรมศุลกากรเพื่อกำหนดมูลค่าของติดตัวผู้โดยสารที่นำเข้ามาโดยไม่ต้องเสียอากร
- เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ค่าครองชีพ ค่าของเงินบาทในปัจจุบัน และกรณีศึกษาของต่างประเทศ กรมศุลกากรจะพิจารณาศึกษาความเหมาะสมในการเพิ่มเพดานมูลค่าของติดตัวผู้โดยสารที่ไม่ต้องเสียภาษี
3. การรับชำระอากรปากระวางด้วยเดบิต (Debit Payment) และบัตรเครดิต
- กรมศุลกากรอยู่ระหว่างการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถชำระอากรปากระวางด้วยบัตรเดบิตและบัตรเครดิต เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่ต้องชำระค่าอากรปากระวางแต่มีเงินสดติดตัว ไม่เพียงพอ
4. การจัดทำฐานข้อมูลด้านราคา และพิกัดศุลกากร
- กรมศุลกากรอยู่ระหว่างการพัฒนาจัดทำฐานข้อมูลด้านราคา และพิกัดศุลกากร ซึ่งจะช่วยให้การกำหนดราคาศุลกากรและพิกัดศุลกากรเป็นธรรมและเป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น
5. การแก้ไขปัญหาคดีไม้พะยูง
- กรมศุลกากรจะเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถจัดการแก้ไขปัญหาไม้พะยูงของกลางจำนวนมากที่อยู่ในการเก็บรักษาโดยกรมศุลกากร
6. การปฏิรูปสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรระยะที่ 2
- พัฒนาระบบ e-Tax Incentives ให้สามารถนำมาใช้กับคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า และคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทอื่นๆ
- พัฒนาระบบคำร้อง โอนย้ายสินค้าระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนและเขตปลอดอากรให้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
- ปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์ของคลังสินค้าทัณฑ์บนและเขตปลอดอากร เกี่ยวกับความรับผิดชอบ ของผู้ขอจัดตั้ง หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้กำกับดูแล กำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาของ และอื่นๆ
- จัดหาระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการคืนอากรตามมาตรา ๑๙ ทวิ
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
กรมศุลชี้ศก.ซบรายได้วูบรับสภาพปิดงบปี’58 วืดเป้า 4.5 พันล.
แนวหน้า : นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงผลงานของกรมศุลกากรในรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558) ว่า ได้ดำเนินการปรับปรุงการทำงานในหลายๆด้าน อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี การเร่งรัดแก้ไขกฎหมายต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการและสร้างความเป็นธรรมให้มากขึ้น
การพิจารณาปฏิรูปสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรให้เกิดความรัดกุมและประโยชน์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงการดำเนินการกับคดีสำคัญๆ ที่ยังคงค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นและนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารราชการของกรมศุลกากรให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับ ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนของปีงบประมาณ 2558 จัดเก็บภาษีอากรรวมทุกประเภท จำนวน 256,595 ล้านบาท เป็นรายได้ศุลกากร มีสัดส่วน 23 %ของรายได้ทั้งหมด และอีก 77% เป็นรายได้จัดเก็บให้แก่หน่วยงานอื่นประกอบด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม 142,936 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว 8.28% ภาษีสรรพสามิต 36,395% ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว 3.76% และภาษีเพื่อมหาดไทย 18,277 ล้านบาท ต่ำช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว 8%
โดยจัดเก็บรายได้ศุลกากร จำนวน 58,987 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ (61,500 ล้านบาท) จำนวน 2,513 ล้านบาท หรือ 4% แต่ยังสูงกว่าช่วงเดียวกับปีที่แล้ว 0.28% กรมศุลกากรคาดว่าตลอดปีงบประมาณ 2558 จะสามารถจัดเก็บรายได้ประมาณ 117,825 ล้านบาทต่ำกว่าเป้าหมาย (122,400 ล้านบาท) 4,575 ล้านบาทหรือ 3.73%
สาเหตุการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมาจาก 2 สาเหตุ คือ สภาพเศรษฐกิจและการนำเข้าที่ไม่ดีเท่ากับที่ได้ประมาณการไว้เมื่อตอนจัดทำประมาณการรายได้ และส่วนสูญเสียจากการปรับโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2557 ส่งผลกระทบต่ออัตราภาษีศุลกากรลดลง ทำให้คาดว่าการจัดเก็บรายได้จะหายไปในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 4,575 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ได้พยายามเพิ่มมาตรการในการจัดเก็บรายได้เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดไป โดยได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี อาทิ การเพิ่มมาตรการในการตรวจปล่อยสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการหลีกเลี่ยงอากร การบริหารจัดการระบบงานคดี การจำหน่ายของกลาง/ของตกค้าง และการตรวจสอบการเสียภาษีอากรให้ผู้ประกอบการด้วยวิธีสมัครใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ กำลังศึกษาแก้ไขระเบียบกรมศุลกากรเพื่อกำหนดมูลค่าของติดตัวผู้โดยสารที่นำเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษีจากเดิมกำหนดเพดานสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท โดยจะพิจารณาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง สภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ค่าเงินบาทในปัจจุบัน และจะศึกษาจากต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ที่กำหนดเพดานสินค้านำเข้าติดตัวไม่เสียภาษีสูงสุด 20,000 บาท ขณะที่บางประเทศสูงสุด 15,000 บาท คาดว่าจะศึกษาเสร็จภายใน 6 เดือนหลังจากนี้
นอกจากนี้ จะพิจารณาอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถชำระอากรปากระวางด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่ต้องชำระภาษีปากระวาง แต่มีเงินสดติดตัวไม่พอ