- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Tuesday, 16 January 2018 11:45
- Hits: 2670
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับขึ้น หลังยังมีโมเมนตัมเป็นบวก แต่ระวังแรงขายทำกำไรบริเวณ 1,830 หลังตลาดฯขึ้นมามาก
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ยังมีโมเมนตัมเป็นบวกทำให้ดัชนีฯน่าจะปรับตัวขึ้นต่อไปได้ แต่ก็คงจะยังไม่ผ่านระดับ 1,830 จุด ซึ่งให้ระวังแรงขายทำกำไรที่บริเวณนี้ เนื่องจากตลาดฯได้ปรับตัวขึ้นไปแรงแล้วนับจากปลายปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ซึ่งมองว่าน่าจะปรับฐานบ้าง
ทั้งนี้ ช่วงนี้เป็นช่วงของการทยอยประกาศผลประกอบการของกลุ่มแบงก์ ซึ่งระยะสั้นก็ได้มีการเล่นเก็งกำไรกันมาพอควรแล้ว ดังนั้น ควรรอให้มีการปรับฐานก่อนค่อยกลับมาซื้อ แม้แต่ตลาดต่างประเทศช่วงนี้ก็เป็นช่วงของการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบอย่างไร้ทิศทาง
พร้อมให้แนวรับ 1,818-1,810 จุด ส่วนแนวต้าน 1,827-1,830 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (15 ม.ค.61) ปิดทำการ เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 6.29 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 7.02 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 84.75 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 0.50 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 0.43 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.67 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.77 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (15 ม.ค.61) 1,822.66 จุด เพิ่มขึ้น 12.47 จุด (+0.69%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,456.86 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 ม.ค.61
- ตลาดไนเม็กซ์ล่าสุด (15 ม.ค.61) ปิดทำการ เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (15 ม.ค.61) ที่ 5.94 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.92 ทรงตัวจากเย็นวานนี้ ก่อนอ่อนค่าเล็กน้อยตามการปรับตัวทางเทคนิค
- ทุนนอกยังไหลเข้า "บอนด์" ต่อเนื่อง เผยนับจากต้นปีซื้อสุทธิแล้ว 7.5 หมื่นล้าน กดดันเงินบาทแข็ง "สมคิด" ย้ำ "แบงก์ชาติ" ตามดูใกล้ชิด ระบุเงินบาทแข็งสอดคล้องภูมิภาค ขณะ ธปท. ผ่อนเกณฑ์โอนเงินออกนอก ให้สูงสุด 8 แสนบาทต่อคน จากเดิมไม่เกิน 2 แสน ด้าน "นักวิเคราะห์" มองช่วยชะลอบาทแข็งไม่มาก ส่วนดัชนีหุ้นไทย ทำ "นิวไฮ" รอบใหม่อีกครั้ง
- "สมคิด" สั่งเพิ่มเป้าการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซีจาก 5 แสนล้านบาท เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 6 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปี เตรียมเสนอ "บิ๊กตู่"เคาะ 1 ก.พ.นี้ หลังโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีพร้อมเดินตามแผน ทั้งร่าง พ.ร.บ.อีอีซี ที่จะพิจารณาเสร็จภายในเดือน ก.พ. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ รวม 6 แสนล้านบาท ทีโออาร์จะคลอดตามลำดับ เริ่ม ก.พ.-พ.ย. พร้อมดัน 18 นิคมอุตสาหกรรมเป็นเขตส่งเสริมรองรับการลงทุนเป้าหมายในอีอีซี ทั้งกลุ่ม ซีพี. ทีเอฟดี อมตะ ปิ่นทอง
- แผนงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 2561 จะให้ความสำคัญกับการยกระดับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกระดับ ทั้งรายเล็ก รายกลาง และกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะส่งออกให้สามารถเข้าสู่ยุค 4.0 ได้ ผ่านโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการใช้เครือข่ายของกระทรวง ทั้งระดับภาค จังหวัด เข้าไปยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) หรือ ธสน. เผยสถานการณ์เงินบาทในปัจจุบันแข็งค่าขึ้นกว่า 12% แม้จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก แต่ทำให้ผู้ส่งออกไทยสูญเสียรายได้เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาท อาจทำให้กลุ่มผู้ส่งออกเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบรุนแรง เนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนและมีอัตรากำไรไม่สูง และมีแรงต้านต่อเงินบาทที่แข็งค่าได้น้อย
*หุ้นเด่นวันนี้
- SPALI (กสิกรไทย) "ซื้อ" เป้า 27 บาท บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายและรายได้ปี 2561 ที่ 33 พันล้านบาท และ 26 พันล้านบาท ตามลำดับ (เติบโต 7.2% และ 6.1%) โดยจะมีการเปิดโครงการใหม่ในปีนี้ที่ 40 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 28.1%) ทั้งนี้มีมุมมองปานกลางสำหรับเป้ายอดขายเนื่องจากฐานการเติบโตที่สูงจากความสำเร็จในปีก่อนที่ทำยอดขายได้ถึง 30.8 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 27.5%) แต่เชื่อว่าเป้าหมายรายได้ถือว่าอนุรักษ์นิยมเกินไป เนื่องจากคาดถึงความแน่นอนของเป้ารายได้ดังกล่าวราว 50% จาก backlog ที่ยกมาจากปีก่อน หมายความว่าบริษัทต้องการยอดโอนจากเป้ายอดขายแนวราบในปีนี้ที่ 17.2 พันล้านบาทเพียง 75% ก็จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยไม่รวมยอดขายคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ ดังนั้น จึงมีโอกาสสูงที่รายได้จริงจะเกินเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกในครึ่งปีหลัง ขณะที่พัฒนาการของโครงการขนาดใหญ่ มูลค่า 18-20 พันล้านบาท (Supalai Icon) บนถนนสาทร รวมถึงโครงการใหม่ในต่างประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามอง
- MINT (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 48 บาท คาดกำไรปกติ Q4/60 +37.9% Q-Q, +16.9% Y-Y จาก High Season ของธุรกิจโรงแรมในไทย และส่งผลให้กำไรปกติปี 2560 +17.5% Y-Y ขณะที่ภาพการเติบโตในปี 2561 ยังคงสดใสจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ยังเป็นขาขึ้น ส่วนธุรกิจอาหารได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการบริโภค ทำให้กำไรปกติปี 2561 คาดว่ายังเดินหน้าทำ New High ต่อเนื่อง +20.8% Y-Y และยังให้เป็น Top Pick ของกลุ่ม
- PTTEP (ไอร่า) เป้า 130 บาท ได้รับประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น โดยคาด Q4/60 ผลการดำเนินงานกลับมาเป็นปกติ หลังมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ จากการปรับประมาณการผลิตของแหล่งออยล์แซนด์ที่แคนาดา จำนวน 18,505 ล้านบาท เมื่อ Q3/60 ที่ผ่านมา โดยคาดในช่วง Q4/60 มีกำไรสุทธิ 8,191 ล้านบาท ส่วนหนึ่งคาดจากกำไรอัตราแลกเปลี่ยนหลังเงินบาทแข็งค่า ประมาณ 3,200 ล้านบาท ขณะที่คาดผลกำไรจากการดำเนินงานอ่อนตัวเล็กน้อยจาก SG&A ที่ปกติจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี โดยคาดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจะทรงตัวอยู่ที่ 29 USD/boe ในช่วง Q4/60 พร้อมคาดปี 61 ยังมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง
- MAJOR (ยูโอบี เคย์เฮียน) ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/60 อาจอ่อนแอตามฤดูกาล และช่วงพระราชพิธีถวายความอาลัยเดือน ต.ค. แต่คาดจะฟื้นตัวโดดเด่นในช่วงไตรมาส 1-2/61 ตามฤดูกาล และคาดหวังการได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่ฟื้นตัวขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว คาดการณ์ผลตอบแทนปันผล 4%
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ยังมีโมเมนตัมเป็นบวกทำให้ดัชนีฯน่าจะปรับตัวขึ้นต่อไปได้ แต่ก็คงจะยังไม่ผ่านระดับ 1,830 จุด ซึ่งให้ระวังแรงขายทำกำไรที่บริเวณนี้ เนื่องจากตลาดฯได้ปรับตัวขึ้นไปแรงแล้วนับจากปลายปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ซึ่งมองว่าน่าจะปรับฐานบ้าง
ทั้งนี้ ช่วงนี้เป็นช่วงของการทยอยประกาศผลประกอบการของกลุ่มแบงก์ ซึ่งระยะสั้นก็ได้มีการเล่นเก็งกำไรกันมาพอควรแล้ว ดังนั้น ควรรอให้มีการปรับฐานก่อนค่อยกลับมาซื้อ แม้แต่ตลาดต่างประเทศช่วงนี้ก็เป็นช่วงของการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบอย่างไร้ทิศทาง
พร้อมให้แนวรับ 1,818-1,810 จุด ส่วนแนวต้าน 1,827-1,830 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (15 ม.ค.61) ปิดทำการ เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 6.29 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 7.02 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 84.75 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 0.50 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 0.43 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.67 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.77 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (15 ม.ค.61) 1,822.66 จุด เพิ่มขึ้น 12.47 จุด (+0.69%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,456.86 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 ม.ค.61
- ตลาดไนเม็กซ์ล่าสุด (15 ม.ค.61) ปิดทำการ เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (15 ม.ค.61) ที่ 5.94 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.92 ทรงตัวจากเย็นวานนี้ ก่อนอ่อนค่าเล็กน้อยตามการปรับตัวทางเทคนิค
- ทุนนอกยังไหลเข้า "บอนด์" ต่อเนื่อง เผยนับจากต้นปีซื้อสุทธิแล้ว 7.5 หมื่นล้าน กดดันเงินบาทแข็ง "สมคิด" ย้ำ "แบงก์ชาติ" ตามดูใกล้ชิด ระบุเงินบาทแข็งสอดคล้องภูมิภาค ขณะ ธปท. ผ่อนเกณฑ์โอนเงินออกนอก ให้สูงสุด 8 แสนบาทต่อคน จากเดิมไม่เกิน 2 แสน ด้าน "นักวิเคราะห์" มองช่วยชะลอบาทแข็งไม่มาก ส่วนดัชนีหุ้นไทย ทำ "นิวไฮ" รอบใหม่อีกครั้ง
- "สมคิด" สั่งเพิ่มเป้าการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซีจาก 5 แสนล้านบาท เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 6 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปี เตรียมเสนอ "บิ๊กตู่"เคาะ 1 ก.พ.นี้ หลังโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีพร้อมเดินตามแผน ทั้งร่าง พ.ร.บ.อีอีซี ที่จะพิจารณาเสร็จภายในเดือน ก.พ. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ รวม 6 แสนล้านบาท ทีโออาร์จะคลอดตามลำดับ เริ่ม ก.พ.-พ.ย. พร้อมดัน 18 นิคมอุตสาหกรรมเป็นเขตส่งเสริมรองรับการลงทุนเป้าหมายในอีอีซี ทั้งกลุ่ม ซีพี. ทีเอฟดี อมตะ ปิ่นทอง
- แผนงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 2561 จะให้ความสำคัญกับการยกระดับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกระดับ ทั้งรายเล็ก รายกลาง และกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะส่งออกให้สามารถเข้าสู่ยุค 4.0 ได้ ผ่านโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการใช้เครือข่ายของกระทรวง ทั้งระดับภาค จังหวัด เข้าไปยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) หรือ ธสน. เผยสถานการณ์เงินบาทในปัจจุบันแข็งค่าขึ้นกว่า 12% แม้จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก แต่ทำให้ผู้ส่งออกไทยสูญเสียรายได้เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาท อาจทำให้กลุ่มผู้ส่งออกเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบรุนแรง เนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนและมีอัตรากำไรไม่สูง และมีแรงต้านต่อเงินบาทที่แข็งค่าได้น้อย
*หุ้นเด่นวันนี้
- SPALI (กสิกรไทย) "ซื้อ" เป้า 27 บาท บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายและรายได้ปี 2561 ที่ 33 พันล้านบาท และ 26 พันล้านบาท ตามลำดับ (เติบโต 7.2% และ 6.1%) โดยจะมีการเปิดโครงการใหม่ในปีนี้ที่ 40 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 28.1%) ทั้งนี้มีมุมมองปานกลางสำหรับเป้ายอดขายเนื่องจากฐานการเติบโตที่สูงจากความสำเร็จในปีก่อนที่ทำยอดขายได้ถึง 30.8 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 27.5%) แต่เชื่อว่าเป้าหมายรายได้ถือว่าอนุรักษ์นิยมเกินไป เนื่องจากคาดถึงความแน่นอนของเป้ารายได้ดังกล่าวราว 50% จาก backlog ที่ยกมาจากปีก่อน หมายความว่าบริษัทต้องการยอดโอนจากเป้ายอดขายแนวราบในปีนี้ที่ 17.2 พันล้านบาทเพียง 75% ก็จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยไม่รวมยอดขายคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ ดังนั้น จึงมีโอกาสสูงที่รายได้จริงจะเกินเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกในครึ่งปีหลัง ขณะที่พัฒนาการของโครงการขนาดใหญ่ มูลค่า 18-20 พันล้านบาท (Supalai Icon) บนถนนสาทร รวมถึงโครงการใหม่ในต่างประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามอง
- MINT (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 48 บาท คาดกำไรปกติ Q4/60 +37.9% Q-Q, +16.9% Y-Y จาก High Season ของธุรกิจโรงแรมในไทย และส่งผลให้กำไรปกติปี 2560 +17.5% Y-Y ขณะที่ภาพการเติบโตในปี 2561 ยังคงสดใสจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ยังเป็นขาขึ้น ส่วนธุรกิจอาหารได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการบริโภค ทำให้กำไรปกติปี 2561 คาดว่ายังเดินหน้าทำ New High ต่อเนื่อง +20.8% Y-Y และยังให้เป็น Top Pick ของกลุ่ม
- PTTEP (ไอร่า) เป้า 130 บาท ได้รับประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น โดยคาด Q4/60 ผลการดำเนินงานกลับมาเป็นปกติ หลังมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ จากการปรับประมาณการผลิตของแหล่งออยล์แซนด์ที่แคนาดา จำนวน 18,505 ล้านบาท เมื่อ Q3/60 ที่ผ่านมา โดยคาดในช่วง Q4/60 มีกำไรสุทธิ 8,191 ล้านบาท ส่วนหนึ่งคาดจากกำไรอัตราแลกเปลี่ยนหลังเงินบาทแข็งค่า ประมาณ 3,200 ล้านบาท ขณะที่คาดผลกำไรจากการดำเนินงานอ่อนตัวเล็กน้อยจาก SG&A ที่ปกติจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี โดยคาดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจะทรงตัวอยู่ที่ 29 USD/boe ในช่วง Q4/60 พร้อมคาดปี 61 ยังมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง
- MAJOR (ยูโอบี เคย์เฮียน) ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/60 อาจอ่อนแอตามฤดูกาล และช่วงพระราชพิธีถวายความอาลัยเดือน ต.ค. แต่คาดจะฟื้นตัวโดดเด่นในช่วงไตรมาส 1-2/61 ตามฤดูกาล และคาดหวังการได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่ฟื้นตัวขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว คาดการณ์ผลตอบแทนปันผล 4%
ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ เหตุตลาดขาดปัจจัยชี้นำ หลังตลาดสหรัฐปิดในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายค่อนข้างซบเซาเนื่องจากขาดปัจจัยชี้นำ หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการซื้อขายในวันจันทร์ที่ 15 ม.ค. เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 23,721.17 จุด เพิ่มขึ้น 6.29 จุด, +0.03% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,403.47 จุด ลดลง 7.02 จุด, -0.21% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,423.62 จุด เพิ่มขึ้น 84.75 จุด, +0.27% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,955.81 จุด ลดลง 0.50 จุด, -0.00% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,504.16 จุด เพิ่มขึ้น 0.43 จุด, +0.02% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,537.08 จุด เพิ่มขึ้น 0.67 จุด, +0.02% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,827.68 จุด เพิ่มขึ้น 1.77 จุด, +0.10%
ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งรวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนธ.ค.ของจีน และดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนม.ค.จากเฟดนิวยอร์ก
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายค่อนข้างซบเซาเนื่องจากขาดปัจจัยชี้นำ หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการซื้อขายในวันจันทร์ที่ 15 ม.ค. เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 23,721.17 จุด เพิ่มขึ้น 6.29 จุด, +0.03% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,403.47 จุด ลดลง 7.02 จุด, -0.21% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,423.62 จุด เพิ่มขึ้น 84.75 จุด, +0.27% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,955.81 จุด ลดลง 0.50 จุด, -0.00% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,504.16 จุด เพิ่มขึ้น 0.43 จุด, +0.02% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,537.08 จุด เพิ่มขึ้น 0.67 จุด, +0.02% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,827.68 จุด เพิ่มขึ้น 1.77 จุด, +0.10%
ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งรวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนธ.ค.ของจีน และดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนม.ค.จากเฟดนิวยอร์ก
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 9.50 จุด วิตกข่าว คาริลเลียน ล้มละลาย
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อรายงานข่าวที่ว่า คาริลเลียน บริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจก่อสร้างของอังกฤษ ได้ประกาศล้มละลาย และเข้าสู่กระบวนการขอยกเลิกกิจการและชำระบัญชี เนื่องจากรัฐบาลปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินช่วยเหลือบริษัท
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,769.14 จุด ลดลง 9.50 จุด หรือ -0.12%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียนซึ่งประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยมีหนี้สินมากถึง 1.5 พันล้านปอนด์ ขณะที่รัฐบาลอังกฤษปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินช่วยเหลือบริษัท โดยระบุว่ารัฐบาลไม่สามารถนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาช่วยเหลือบริษัทเอกชน แต่ในระหว่างนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนเงินทุนที่จำเป็นเพื่อให้การบริการที่เกี่ยวข้องในภาครัฐสามารถดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ คาริลเลียนเป็นบริษัทเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานถึง 200 ปี โดยทำธุรกิจก่อสร้างนับตั้งแต่โรงพยาบาลไปจนถึงทางรถไฟ ขณะที่มีพนักงานทั่วโลก 43,000 คน โดยอยู่ในอังกฤษ 20,000 คน
หุ้นคาริลเลียนร่วงลงเกือบ 29% ส่วนราคาหุ้นบริษัทคู่แข่งของคาริลเลียนปรับตัวผันผวน โดยหุ้นบัลฟอร์ บีทตี้ ดิ่งลง 3.3% ขณะที่หุ้น G4S ดีดตัวขึ้น 1.1% และหุ้นเซอร์โค กรุ๊ป พุ่งขึ้น 7.4%
หุ้นสปีดดี้ ไฮร์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาเครื่องมือ และให้บริการสำหรับบริษัทก่อสร้าง ร่วงลงกว่า 5% โดยได้รับผลกระทบจากข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียน เนื่องจากคาริลเลียนเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของสปีดดี้ ไฮร์ ขณะที่นักลงทุนวิตกว่าการล้มละลายของคาริลเลียนจะกระทบสถานะการเงินของสปีดดี้ ไฮร์
หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลง โดยหุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ปรับตัวลง 0.9% หุ้นสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ร่วงลง 2%
สำหรับปัจจัยที่ฉุดรั้งหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงนั้น มาจากรายงานข่าวที่ว่า คณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคารของจีน (CBRC) เตรียมออกกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในภาคธนาคารในปีนี้ เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน โดยมาตรการสำคัญลำดับแรกสุด ได้แก่ การกำกับดูแลธนาคารเงา และการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้จะเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมความเสี่ยงในกิจกรรมอินเทอร์แบงก์ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และธุรกิจนอกงบดุล (Off-Balance Sheet) ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ที่มีเครดิตต่ำ
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อรายงานข่าวที่ว่า คาริลเลียน บริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจก่อสร้างของอังกฤษ ได้ประกาศล้มละลาย และเข้าสู่กระบวนการขอยกเลิกกิจการและชำระบัญชี เนื่องจากรัฐบาลปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินช่วยเหลือบริษัท
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,769.14 จุด ลดลง 9.50 จุด หรือ -0.12%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียนซึ่งประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยมีหนี้สินมากถึง 1.5 พันล้านปอนด์ ขณะที่รัฐบาลอังกฤษปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินช่วยเหลือบริษัท โดยระบุว่ารัฐบาลไม่สามารถนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาช่วยเหลือบริษัทเอกชน แต่ในระหว่างนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนเงินทุนที่จำเป็นเพื่อให้การบริการที่เกี่ยวข้องในภาครัฐสามารถดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ คาริลเลียนเป็นบริษัทเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานถึง 200 ปี โดยทำธุรกิจก่อสร้างนับตั้งแต่โรงพยาบาลไปจนถึงทางรถไฟ ขณะที่มีพนักงานทั่วโลก 43,000 คน โดยอยู่ในอังกฤษ 20,000 คน
หุ้นคาริลเลียนร่วงลงเกือบ 29% ส่วนราคาหุ้นบริษัทคู่แข่งของคาริลเลียนปรับตัวผันผวน โดยหุ้นบัลฟอร์ บีทตี้ ดิ่งลง 3.3% ขณะที่หุ้น G4S ดีดตัวขึ้น 1.1% และหุ้นเซอร์โค กรุ๊ป พุ่งขึ้น 7.4%
หุ้นสปีดดี้ ไฮร์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาเครื่องมือ และให้บริการสำหรับบริษัทก่อสร้าง ร่วงลงกว่า 5% โดยได้รับผลกระทบจากข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียน เนื่องจากคาริลเลียนเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของสปีดดี้ ไฮร์ ขณะที่นักลงทุนวิตกว่าการล้มละลายของคาริลเลียนจะกระทบสถานะการเงินของสปีดดี้ ไฮร์
หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลง โดยหุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ปรับตัวลง 0.9% หุ้นสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ร่วงลง 2%
สำหรับปัจจัยที่ฉุดรั้งหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงนั้น มาจากรายงานข่าวที่ว่า คณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคารของจีน (CBRC) เตรียมออกกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในภาคธนาคารในปีนี้ เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน โดยมาตรการสำคัญลำดับแรกสุด ได้แก่ การกำกับดูแลธนาคารเงา และการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้จะเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมความเสี่ยงในกิจกรรมอินเทอร์แบงก์ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และธุรกิจนอกงบดุล (Off-Balance Sheet) ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ที่มีเครดิตต่ำ
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุเงินยูโรแข็งค่าหลัง ECB ส่งสัญญาณยุติโครงการ QE
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากสกุลเงินยูโรที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณว่าอาจจะยุติโครงการ QE หลังเดือนก.ย. หากภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อปรับตัวตามคาดการณ์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียน ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจก่อสร้างของอังกฤษ
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดลบ 0.2% แตะระดับ 397.83 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,200.51 จุด ลดลง 44.52 จุด หรือ -0.34% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,509.69 จุด ลดลง 7.37 จุด หรือ -0.13% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 7,769.14 จุด ลดลง 9.50 จุด, -0.12%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนแรงลงหลังจากสกุลเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์เมื่อคืนนี้ ซึ่งการแข็งค่าของยูโรจะส่งผลให้สินค้าที่ผลิตโดยบริษัทส่งออกของยุโรปนั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับลูกค้าในต่างประเทศที่ต้องการซื้อสินค้าของยุโรป
ทั้งนี้ สกุลเงินยูโรพุ่งขึ้นหลังจากนายอาร์โด แฮนสัน กรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB อาจประกาศยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลังจากเดือนก.ย.นี้ หากภาวะเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อมีการปรับตัวตามที่ ECB คาดการณ์ไว้
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากรายงานข่าวที่ว่า คาริลเลียน ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการก่อสร้างที่มีอายุยาวนานถึง 200 ปีของอังกฤษ ได้ประกาศล้มละลายเมื่อวานนี้ และเข้าสู่กระบวนการขอยกเลิกกิจการและชำระบัญชี เนื่องจากรัฐบาลปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินช่วยเหลือบริษัท โดยคาริลเลียนประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และมีหนี้สินมากถึง 1.5 พันล้านปอนด์
หุ้นคาริลเลียนร่วงลงเกือบ 29% ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นลอนดอน ส่วนราคาหุ้นบริษัทคู่แข่งของคาริลเลียนปรับตัวผันผวน โดยหุ้นบัลฟอร์ บีทตี้ ดิ่งลง 3.3% ขณะที่หุ้น G4S ดีดตัวขึ้น 1.1% และหุ้นเซอร์โค กรุ๊ป พุ่งขึ้น 7.4%
หุ้นสปีดดี้ ไฮร์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาเครื่องมือ และให้บริการสำหรับบริษัทก่อสร้าง ร่วงลงกว่า 5% โดยได้รับผลกระทบจากข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียน เนื่องจากคาริลเลียนเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของสปีดดี้ ไฮร์ ขณะที่นักลงทุนวิตกว่าการล้มละลายของคาริลเลียนจะกระทบสถานะการเงินของสปีดดี้ ไฮร์
หุ้น GKN ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิศวกรรมของอังกฤษ พุ่งขึ้น 4.1% หลังจากมีรายงานว่า บริษัทคาร์ลิล ซึ่งเป็นไพรเวทอิควิตี้รายใหญ่ของสหรัฐ กำลังพิจารณาแผนการเข้าซื้อกิจการ GKN
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากสกุลเงินยูโรที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณว่าอาจจะยุติโครงการ QE หลังเดือนก.ย. หากภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อปรับตัวตามคาดการณ์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียน ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจก่อสร้างของอังกฤษ
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดลบ 0.2% แตะระดับ 397.83 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,200.51 จุด ลดลง 44.52 จุด หรือ -0.34% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,509.69 จุด ลดลง 7.37 จุด หรือ -0.13% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 7,769.14 จุด ลดลง 9.50 จุด, -0.12%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนแรงลงหลังจากสกุลเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์เมื่อคืนนี้ ซึ่งการแข็งค่าของยูโรจะส่งผลให้สินค้าที่ผลิตโดยบริษัทส่งออกของยุโรปนั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับลูกค้าในต่างประเทศที่ต้องการซื้อสินค้าของยุโรป
ทั้งนี้ สกุลเงินยูโรพุ่งขึ้นหลังจากนายอาร์โด แฮนสัน กรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB อาจประกาศยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลังจากเดือนก.ย.นี้ หากภาวะเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อมีการปรับตัวตามที่ ECB คาดการณ์ไว้
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากรายงานข่าวที่ว่า คาริลเลียน ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการก่อสร้างที่มีอายุยาวนานถึง 200 ปีของอังกฤษ ได้ประกาศล้มละลายเมื่อวานนี้ และเข้าสู่กระบวนการขอยกเลิกกิจการและชำระบัญชี เนื่องจากรัฐบาลปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินช่วยเหลือบริษัท โดยคาริลเลียนประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และมีหนี้สินมากถึง 1.5 พันล้านปอนด์
หุ้นคาริลเลียนร่วงลงเกือบ 29% ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นลอนดอน ส่วนราคาหุ้นบริษัทคู่แข่งของคาริลเลียนปรับตัวผันผวน โดยหุ้นบัลฟอร์ บีทตี้ ดิ่งลง 3.3% ขณะที่หุ้น G4S ดีดตัวขึ้น 1.1% และหุ้นเซอร์โค กรุ๊ป พุ่งขึ้น 7.4%
หุ้นสปีดดี้ ไฮร์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาเครื่องมือ และให้บริการสำหรับบริษัทก่อสร้าง ร่วงลงกว่า 5% โดยได้รับผลกระทบจากข่าวการล้มละลายของบริษัทคาริลเลียน เนื่องจากคาริลเลียนเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของสปีดดี้ ไฮร์ ขณะที่นักลงทุนวิตกว่าการล้มละลายของคาริลเลียนจะกระทบสถานะการเงินของสปีดดี้ ไฮร์
หุ้น GKN ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิศวกรรมของอังกฤษ พุ่งขึ้น 4.1% หลังจากมีรายงานว่า บริษัทคาร์ลิล ซึ่งเป็นไพรเวทอิควิตี้รายใหญ่ของสหรัฐ กำลังพิจารณาแผนการเข้าซื้อกิจการ GKN
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 228.46 จุด ขานรับผลประกอบการแบงก์แข็งแกร่ง
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (12 ม.ค.) ขานรับผลประกอบการสถาบันการเงินแข็งแกร่ง โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปิดทำนิวไฮพร้อมกันอีกครั้ง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,803.19 จุด เพิ่มขึ้น 228.46 จุด หรือ +0.89% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,786.24 จุด เพิ่มขึ้น 18.68 จุด หรือ +0.67% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 7,261.06 จุด เพิ่มขึ้น 49.28 จุด หรือ +0.68%
ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากสถาบันการเงินเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่ง
เจพีมอร์แกน เชส เปิดเผยว่า ทางธนาคารมีกำไร และรายได้ในไตรมาส 4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยธนาคารมีรายได้ 2.545 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.76 ดอลลาร์/หุ้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์รายได้ที่ระดับ 2.515 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.69 ดอลลาร์/หุ้นในไตรมาส 4
แบล็คร็อค ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่า ทางบริษัทมีกำไรและรายได้ในไตรมาส 4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทพุ่งขึ้นทะลุระดับ 6 ล้านล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ แบล็คร็อค ระบุว่า บริษัทมีกำไร 6.24 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.02 ดอลลาร์/หุ้น และบริษัทมีรายได้ 3.469 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.321 พันล้านดอลลาร์
แบล็คร็อคยังระบุว่า บริษัทมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการมูลค่า 6.288 ล้านล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.248 ล้านล้านดอลลาร์
เวลส์ ฟาร์โก ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของสหรัฐ เมื่อพิจารณาจากมูลค่าสินทรัพย์ เปิดเผยว่า ทางธนาคารมีกำไรในไตรมาส 4 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ แต่มีรายได้ต่ำกว่าคาด โดยธนาคารมีรายได้ 2.205 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.16 ดอลลาร์/หุ้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์รายได้ที่ระดับ 2.238 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.07 ดอลลาร์/หุ้น
ทั้งนี้ หุ้นเจพีมอร์แกน เชส ปรับตัวขึ้น 1.65% หุ้นเวลส์ ฟาร์โก ปรับตัวลง 0.71% และหุ้นแบล็คร็อค พุ่งขึ้น 3.27%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากพุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ย.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในรายงานอีกฉบับว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% หลังจากที่ทรงตัวในเดือนต.ค.
สำหรับสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจที่ไม่รวมรถยนต์ ซึ่งมีการนำไปคำนวณตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนต.ค.
ส่วนกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยับขึ้น 0.1% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ย.
หากไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดัชนี CPI พื้นฐานพุ่งขึ้น 0.3% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของค่าเช่า, การดูแลสุขภาพ และราคารถยนต์
หุ้นเฟซบุ๊กร่วงลง 4.5% หลังจากมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊กระบุว่า เฟสบุ๊กเตรียมคุมเข้มเนื้อหาบนไทม์ไลน์ โดยจะแสดงเนื้อหาข่าวให้น้อยลง เน้นแสดงข้อมูลเพื่อนฝูงและครอบครัวมากขึ้น
หุ้นสแนปร่วงลง 3.4% หลังจากเรย์มอนด์ เจมส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสแนปสู่ระดับ Underperform
ในสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้น 2% ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 1.6% และดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 1.7%
--อินโฟเควสท์
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (12 ม.ค.) ขานรับผลประกอบการสถาบันการเงินแข็งแกร่ง โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปิดทำนิวไฮพร้อมกันอีกครั้ง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,803.19 จุด เพิ่มขึ้น 228.46 จุด หรือ +0.89% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,786.24 จุด เพิ่มขึ้น 18.68 จุด หรือ +0.67% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 7,261.06 จุด เพิ่มขึ้น 49.28 จุด หรือ +0.68%
ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากสถาบันการเงินเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่ง
เจพีมอร์แกน เชส เปิดเผยว่า ทางธนาคารมีกำไร และรายได้ในไตรมาส 4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยธนาคารมีรายได้ 2.545 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.76 ดอลลาร์/หุ้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์รายได้ที่ระดับ 2.515 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.69 ดอลลาร์/หุ้นในไตรมาส 4
แบล็คร็อค ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่า ทางบริษัทมีกำไรและรายได้ในไตรมาส 4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทพุ่งขึ้นทะลุระดับ 6 ล้านล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ แบล็คร็อค ระบุว่า บริษัทมีกำไร 6.24 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.02 ดอลลาร์/หุ้น และบริษัทมีรายได้ 3.469 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.321 พันล้านดอลลาร์
แบล็คร็อคยังระบุว่า บริษัทมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการมูลค่า 6.288 ล้านล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.248 ล้านล้านดอลลาร์
เวลส์ ฟาร์โก ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของสหรัฐ เมื่อพิจารณาจากมูลค่าสินทรัพย์ เปิดเผยว่า ทางธนาคารมีกำไรในไตรมาส 4 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ แต่มีรายได้ต่ำกว่าคาด โดยธนาคารมีรายได้ 2.205 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.16 ดอลลาร์/หุ้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์รายได้ที่ระดับ 2.238 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำไร 1.07 ดอลลาร์/หุ้น
ทั้งนี้ หุ้นเจพีมอร์แกน เชส ปรับตัวขึ้น 1.65% หุ้นเวลส์ ฟาร์โก ปรับตัวลง 0.71% และหุ้นแบล็คร็อค พุ่งขึ้น 3.27%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากพุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ย.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในรายงานอีกฉบับว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% หลังจากที่ทรงตัวในเดือนต.ค.
สำหรับสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจที่ไม่รวมรถยนต์ ซึ่งมีการนำไปคำนวณตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนต.ค.
ส่วนกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยับขึ้น 0.1% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ย.
หากไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดัชนี CPI พื้นฐานพุ่งขึ้น 0.3% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย. โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของค่าเช่า, การดูแลสุขภาพ และราคารถยนต์
หุ้นเฟซบุ๊กร่วงลง 4.5% หลังจากมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊กระบุว่า เฟสบุ๊กเตรียมคุมเข้มเนื้อหาบนไทม์ไลน์ โดยจะแสดงเนื้อหาข่าวให้น้อยลง เน้นแสดงข้อมูลเพื่อนฝูงและครอบครัวมากขึ้น
หุ้นสแนปร่วงลง 3.4% หลังจากเรย์มอนด์ เจมส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสแนปสู่ระดับ Underperform
ในสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้น 2% ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 1.6% และดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 1.7%
--อินโฟเควสท์
OO4492