WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7 ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งตัวทิศทางเป็นบวก ขานรับศก.ไทยสดใส,แรงไถ่ถอน LTF ค่อนข้างจำกัด
       นักวิเคราะห์ฯคาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้แกว่งตัวทิศทางเป็นบวกจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะอุปสงค์ของภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนเร่งตัวขึ้น ขณะที่คาดว่าการไถ่ถอน LTF ที่ครบกำหนดค่อนข้างจำกัด ตามสถิติที่ผ่านมาไม่ได้กดดันต่อภาพรวมการลงทุนมากนัก อีกทั้งราคาน้ำมันที่ยังสูงเป็นบวกต่อกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย ส่วนภาพรวมต่างประเทศเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐบวก แต่ฝั่งยุโรปอ่อนตัวลง ด้านตลาดเอเชียเช้านี้แกว่งตัวบวก-ลบกรอบแคบ ให้แนวรับตลาดหุ้นไทยที่ 1,740 จุด และแนวต้านที่ 1,763-1,765 จุด
นายคณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนของดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบจำกัด แต่มีทิศทางเป็นบวก จากตัวเลขเศรษฐกิจของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะอุปสงค์ภายในประเทศของภาคเอกเชนทั้งการบริโภคและการลงทุนที่เร่งตัวขึ้น รวมถึงตัวเลขส่งออกเดือนพ.ย.ที่ปรับตัวขึ้น
สำหรับการไถ่ถอนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ครบกำหนดในปีนี้คาดว่าจะมีค่อนข้างจำกัด แม้ว่าในปีนี้จะมี LTF ที่ครบกำหนดไถ่ถอนราว 45,500 ล้านบาท โดยมีต้นทุนที่ดัชนีระดับกว่า 1,400 จุด ปรับขึ้นราว 24% เมื่อเทียบกับระดับดัชนีในปัจจุบัน แต่ตามสถิติที่ผ่านมาแรงขาย LTF ในช่วงต้นปีจะอยู่ที่ราวกว่า 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
ส่วนภาพรวมการลงทุนต่างประเทศเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นในแดนบวก แต่ฝั่งยุโรปอ่อนตัวลง ด้านตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้แกว่งตัวบวกลบในกรอบไม่มากนัก ขณะที่ยังต้องติดตามการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าวันสุดท้ายของปี 60 จะกลับเข้ามาซื้อสุทธิกว่า 2,300 ล้านบาทก็ตาม เพราะส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการปรับพอร์ตตามการปรับหุ้นเข้า-ออกในดัชนี SET50 และ SET100 สำหรับการคำนวณช่วงครึ่งปีแรกของปี 61 อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับที่สูง ก็จะยังเป็นบวกต่อการลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย
พร้อมให้แนวรับบริเวณ 1,740 จุด และแนวต้านที่ 1,763-1,765 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (2 ม.ค.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,824.01 จุด เพิ่มขึ้น 104.79 จุด (+0.42%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,695.81 จุด เพิ่มขึ้น 22.20 จุด (+0.83%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,006.90 จุด เพิ่มขึ้น 103.51 จุด (+1.50%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 0.59 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 143.42 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 48.88 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 4.40 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 3.09 จุด ,ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 4.98 จุด
ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันหยุด (Exchange Holiday)
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (29 ธ.ค.60) 1,753.71 จุด เพิ่มขึ้น 10.42 จุด (+0.60%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,340.64 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (2 ม.ค.) ปิดที่ระดับ 60.37 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 5 เซนต์
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (2 ม.ค.) ที่ 6.50 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.43 แข็งค่าสุดในรอบ 33 เดือนหลังมีแรงเทขายดอลลาร์ คาดกรอบวันนี้ 32.40-32.50
- สศช.ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 61 โต 4.1% จากปัจจัยทั้งภายใน-นอกประเทศ มองแนวโน้มลงทุนเอกชนเริ่มมา ดึงการจ้างงานกลับภาวะปกติ ขณะ"ทีดีอาร์ไอ"ฟันธงเศรษฐกิจ โตยกแผง 4 เครื่องยนต์หลักขยายตัวพร้อมกัน ด้าน "นักเศรษฐศาสตร์"มองปีนี้การเติบโตกระจายตัวมากขึ้น
- สภาผู้ส่งออก-หอการค้าประสานเสียง ส่งออกปี 61 โตต่อเนื่อง สภาผู้ส่งออกฯ ประเมินโต 5% หอการค้าคาดโต 4-6% อานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้นต่อเนื่อง ดันความต้องการสินค้าเพิ่ม ชี้สินค้าหมวดไอโอที-อาหารแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม-สินค้าเกาะเทรนด์สุขภาพมาแรง ยังห่วงบาทแข็งฉุดกำไร
- แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภายหลังสหรัฐไม่เสนอโครงการต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2560 ต่อสภาคองเกรสสหรัฐ ทำให้สินค้า 3,500 รายการ ที่สหรัฐให้สิทธิ จีเอสพีกับประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทยที่ได้รับสิทธิประมาณ 3,400 รายการ ต้องนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรสหรัฐ โดยชำระภาษีในอัตราปกติตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบความคืบหน้าการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ณ สิ้นเดือน พ.ย.60 ซึ่งเป็นเดือนที่ 2 ของปีงบประมาณ ปรากฏว่าภาพรวมมีการเบิกจ่ายแล้ว 6.35 แสนล้านบาท หรือ 21.9% ของงบประมาณทั้งสิ้น 2.9 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ต้องเบิกจ่าย 20.93%
- คลังเสนอมาตรการเพิ่มรายได้อุ้ม"คนจน"เข้าที่ประชุม ครม.วันนี้ ตามแผนงานเฟส 2 วางเป้าให้หายจน ประเดิมกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนบาท 'ดีอี'เผยรายละเอียด'สมาร์ทซิตี้'ประเดิมปี 61 พัฒนา 7 หัวเมืองเหนือจรดใต้
- ธปท.สั่งแบงก์ทดสอบใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 ปีหน้า พร้อมรายงานผลสิ้นมิ.ย.61 ดูผลกระทบรอบด้านก่อนออกเกณฑ์ใช้จริงปี62 "ไทยพาณิชย์" ชี้มาตรฐานบัญชีใหม่ต้องกันสำรองเพิ่ม กระทบเรื่องการบันทึกรายได้และการจ่ายภาษีที่ยังไม่ชัดเจน
- ธปท.เปิดเผยถึงแผนยุทธศาสตร์การทำงาน ในช่วงปี 60-62 ว่ามีพันธกิจจะมุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึงใน 3 ด้าน คือ 1.ด้านเสถียรภาพการเงิน เสถียรภาพ ระบบสถาบันการเงิน และเสถียรภาพการชำระเงิน 2.ด้านการพัฒนาระบบการเงิน การเชื่อมโยงกับต่างประเทศ ส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมถึงส่งเสริมการ เข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงเป็นธรรมและยั่งยืน และ 3.เสริมสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กร การจัดทำระบบและวิเคราะห์ข้อมูล
- กกพ.เผยทิศทางค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ปี 61 โดยเฉพาะงวดแรกของปี (ม.ค.-เม.ย.61) ที่ กกพ.ได้ประกาศตรึงค่าเอฟทีไว้คงเดิมที่ ติดลบ 15.90 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเรียกเก็บรวมค่าไฟฟ้าฐานอยู่ที่ 3.5966 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือแวต) ขณะที่งวดต่อไปคือ พ.ค.-ส.ค.61 หากดูทิศทางราคาก๊าซธรรมชาติที่สะท้อนจากราคาน้ำมัน ไม่ต่างจากงวดแรกมากนักขณะเดียวกันยังมีเงินเหลือจากการบริหารจัดการของงวดแรกปี 61 อีก 5,000 ล้านบาท
*จับตาหุ้นเด่น
-MONO (ไอร่า) ราคาเป้าหมาย 5.30 บาท คาดผลงานปี 60 พลิกฟื้นกลับมามีกำไรสุทธิ 175 ล้านบาท หลังขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี และคาดปี 61 กำไรสุทธิ 326 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากปี 60 ทั้งนี้ คาดรายได้ค่าโฆษณาของ MONO ยังมีศักยภาพในการเติบโต จากอัตราค่าโฆษณาเฉลี่ยต่อนาทีของ MONO29 ที่ยังคงถือว่าค่อนข้างถูก ในมุมของผู้เช่าเมื่อเปรียบเทียบกับอันดับ 3 อย่าง “Workpoint TV" ซึ่งค่าโฆษณาเฉลี่ยต่อนาทีสูงกว่าเท่าตัว ขณะที่ MONO ควบคุมต้นทุนค่อนข้างคงที่แล้ว นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์จากการที่ กสทช.มีมติเห็นชอบลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต Digital TV ลงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ คาดส่งผลให้ MONO มีค่าใช้จ่าย ลดลงประมาณ 20 ล้านบาท จากสัดส่วนรายได้ราว 2 ใน 3 จากธุรกิจทีวีดิจิตอล
-ADVANC (ฟันันเซีย ไซรัส) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 220 บาท โดยคาดกำไรปกติ Q4/60 โตแข็งแกร่ง +1.3% Q-Q, 16.5% Y-Y ส่วนทั้งปี 60 คาด -4.9% Y-Y ก่อนจะกลับมาโตครั้งแรกในรอบ 3 ปี +9.6% Y-Y ในปี 61 จากการลงทุนที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว การแข่งขันที่คาดว่าจะไม่รุนแรงกว่าเดิม และการขยายตลาด Enterprise
- NYT (เอเอสแอล) แนะ"ซื้อ"มูลค่าเหมาะสมเฉลี่ยที่ 6.95 บาท โดยมองว่าจะได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจทั้งใน-ต่างประเทศที่ยังเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลบวกโดยตรงต่อหุ้นกลุ่มท่าเรือขนาดเล็ก ซึ่ง NYT มี Catalyst จาก (1) ตัวเลขผลิตรถยนต์ที่ยังเร่งตัวขึ้น ยอดส่งออกรถยนต์ พ.ย.60 เพิ่มขึ้น 21.0% YoY (2) บริษัทเป็นผู้นำและมีส่วนแบ่งตลาดเป็นเบอร์หนึ่งในประเทศ (3) มุมมองบวกต่อที่ดินในเขต EEC รับรู้รายได้ค่าเช่า และ (4) บริษัทยังได้ประเด็นบวกจากโครงการรัฐที่หนุนผลิตรถยนต์ Hybrid หนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อเนื่อง ราคาหุ้นปัจจุบัน Laggard กลุ่มไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ใกล้เคียงกันอย่าง WICE รวมไปถึง PORT ซึ่งปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดไปแล้ว ขณะที่เงินปันผลยังโดดเด่นเฉลี่ยกว่า 4.6% สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมและตลาด

ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าปรับตัวขึ้น จากอานิสงส์หุ้นเทคโนโลยี
        ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าวันนี้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยบวกจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าที่ 30,615.75 จุด เพิ่มขึ้น 100.44 จุด, +0.33% ดัชนีหุ้นเซี่ยงไฮ้ปิดภาคเช้าบวก 0.91% ที่ 3,378.79 จุด ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดภาคเช้าที่ 1,793.06 จุด เพิ่มขึ้น 10.36 จุด, +0.58%
หุ้นซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ พุ่งขึ้น 1.33% ขณะที่หุ้นเทนต์เซนต์ บวก 1.24% ส่วนหุ้น Taiex บวก 0.79%
ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.1 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 53.9 ในเดือนพ.ย.
ดัชนี PMI ที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของสหรัฐยังคงมีการขยายตัว
นักลงทุนในตลาดการเงินจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนธ.ค.ในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นราว 190,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 228,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.1%
ส่วนตัวเลขรายได้ต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อนั้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ย.

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: เงินปอนด์แข็งค่า ฉุดฟุตซี่ปิดลบ 39.67 จุด
      ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเมื่อคืนนี้ (2 ม.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าอังกฤษจะเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอก็ตาม
ดัชนี FTSE 100 ลดลง 39.67 จุด หรือ -0.52% ปิดที่ 7,648.10 จุด
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อคืนนี้ ได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้น แม้ว่าไอเอชเอส มาร์กิต/ซีไอพีเอส จะเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนธ.ค.ของสหราชอาณาจักร ได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 56.3 จากระดับ 58.2 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าระดับคาดการณ์ของตลาดที่ 58
ค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3585 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ จากระดับ 1.3502 ดอลลาร์ที่ตลาดนิวยอร์กในคืนวันจันทร์ ซึ่งการแข็งค่าของเงินปอนด์ได้กดดันหุ้นกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน เนื่องจากรายได้ 75% ของบริษัทเหล่านี้มาจากธุรกิจในต่างประเทศ โดยหุ้นยูนิลีเวอร์ ร่วงลง 2% และหุ้นเรคกิตต์ เบนคิเซอร์ ลดลง 1.7%
หุ้นอินเตอร์เนชั่นแนล คอนโซลิเดเต็ด แอร์ไลน์ส กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส พุ่งขึ้น 2.7% หลังมีรายงานว่า ทางกลุ่มสายการบินจะซื้อสินทรัพย์จากสายการบินนิกิในออสเตรีย ซึ่งเป็นสายการบินชั้นประหยัดในเครือของแอร์ เบอร์ลินที่ประสบภาวะล้มละลา

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ หลังเงินปอนด์,ยูโรแข็งค่าฉุดหุ้นส่งออก
       ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ม.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ได้ฉุดหุ้นกลุ่มส่งออกร่วงลง โดยตลาดหุ้นยุโรปปิดในแดนลบแม้ไอเอชเอส มาร์กิตรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงขยายตัวได้ดีในเดือนธ.ค.ก็ตาม
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.2% ปิดที่ 388.35 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,871.39 จุด ลดลง 46.25 จุด หรือ -0.36% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,288.60 จุด ลดลง 23.96 จุด หรือ -0.45% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,648.10 จุด ลดลง 39.67 จุด หรือ -0.52%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อหุ้นในกลุ่มบริษัทที่ต้องพึ่งพาการส่งออก
ค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3585 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ จากระดับ 1.3502 ดอลลาร์ที่ตลาดนิวยอร์กในคืนวันจันทร์ ซึ่งการแข็งค่าของเงินปอนด์ได้กดดันหุ้นกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน เนื่องจากรายได้ 75% ของบริษัทเหล่านี้มาจากธุรกิจในต่างประเทศ โดยหุ้นยูนิลีเวอร์ ร่วงลง 2% และหุ้นเรคกิตต์ เบนคิเซอร์ ลดลง 1.7%
ขณะที่สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.2050 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ จากระดับ 1.2006 ดอลลาร์ที่ตลาดนิวยอร์กในคืนวันจันทร์
หุ้นอินเตอร์เนชั่นแนล คอนโซลิเดเต็ด แอร์ไลน์ส กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส พุ่งขึ้น 2.7% หลังมีรายงานว่า ทางกลุ่มสายการบินจะซื้อสินทรัพย์จากสายการบินนิกิในออสเตรีย ซึ่งเป็นสายการบินชั้นประหยัดในเครือของแอร์ เบอร์ลินที่ประสบภาวะล้มละลาย
หุ้นบีเอ็มดับเบิลยู ปรับตัวลง 0.5% หลังจากนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์อีเวนคอร์ ได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นบีเอ็มดับเบิลยู

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 104.79 จุด รับหุ้นเทคโนฯพุ่ง,นลท.มีมุมมองบวกต่อตลาด
        ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ม.ค.) โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีดีดตัวขึ้นทำนิวไฮ เพราะได้ปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดในปี 2561 รวมข้อมูลล่าสุดที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของภาคการผลิตในสหรัฐ ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่เหนือระดับ 7,000 จุดเป็นครั้งแรก โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,824.01 จุด เพิ่มขึ้น 104.79 จุด หรือ +0.42% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,695.81 จุด เพิ่มขึ้น 22.20 จุด หรือ +0.83% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,006.90 จุด เพิ่มขึ้น 103.51 จุด หรือ +1.50%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างคึกคักเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นวันทำการวันแรกของปี 2561 เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มตลาด โดยผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนซึ่งจัดทำโดย AAII ระบุว่า 50.5% ของนักลงทุนที่ได้รับการสำรวจล่าสุดนี้ มีความเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นในช่วงเวลา 6 เดือนนี้ ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานของไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนธ.ค.ของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2558 จากระดับ 53.9 ในเดือนพ.ย. สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของภาคการผลิตสหรัฐ ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตปรับตัวสูงขึ้น และการจ้างงานในภาคการผลิตพุ่งขึ้นในอัตราเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2557
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทะยานขึ้น 1.4% และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนบวก โดยหุ้นแอปเปิล พุ่งขึ้น 1.7% หุ้นเฟซบุ๊ก ทะยานขึ้น 2.8% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ดีดตัวขึ้น 1.8% หุ้นอเมซอนดอทคอม พุ่งขึ้น 1.7%
ขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ พุ่งขึ้น 2.8% โดยหุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดิไวซ์ (AMD) พุ่งขึ้น 6.8% หุ้นไมครอน เทคโนโลยี พุ่งขึ้น 6.2% และหุ้น Nvidia ดีดตัวขึ้น 3%
สำหรับหุ้นที่นักลงทุนให้ความสนใจนั้น หุ้นแอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส พุ่งขึ้น 3% หลังจากเจพีมอร์แกน ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นแอ๊บบอตขึ้นสู่ระดับ "overweight" จากระดับ "neutral" ขณะที่หุ้นเน็ตฟลิกซ์ พุ่งขึ้น 4.8% หลังจากนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์แมคควอรี ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นเน็ตฟลิกซ์ขึ้นสู่ระดับ "outperform"
หุ้นกลุ่มค้าปลีกดีดตัวขึ้น หลังจากซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ว่า บริษัทค้าปลีกของสหรัฐจะได้รับประโยชน์จากมาตรการปรับลดภาษี โดยหุ้นเจซี เพนนี หุ้นนอร์ดสตรอม และหุ้นโคล์ท ต่างก็ปิดตลาดในแดนบวก
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ดัชนีภาคการผลิตเดือนธ.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนพ.ย., รายงานการประชุมประจำวันที่ 12-13 ธ.ค. 2560 ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC), ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนธ.ค.จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนธ.ค.จากมาร์กิต และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธ.ค.
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างจับตาเหตุการณ์สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งรวมถึงการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มจะประกาศแผนการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ พร้อมทั้งจับตานโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟด ต่อจากนางเจเน็ต เยลเลน ในเดือนก.พ.ปีนี้
--อินโฟเควสท์
OO4037

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!