WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

8ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งแคบ-ลุ้นขึ้นได้แต่ไม่ไกล เล็งกลุ่ม Domestic plays หนุน, จับตา GDP ไทยงวด Q3/60
นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ ยังมีลุ้นขึ้นได้แต่คงจะไม่ไปไกล เนื่องจากคาดว่าจะมีแรงซื้อจากนักลงทุนในประเทศ โดยเล็งหุ้นพวก Domestic plays จะช่วยหนุนตลาดฯ แม้นักลงทุนต่างชาติจะไม่ซื้อก็ตาม
ขณะที่ตลาดต่างประเทศเช้านี้หลายตลาดฯปรับตัวลง อันเป็นผลจากความกังวลว่าร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีจะไม่ผ่านวุฒิสภาของสหรัฐฯ
พร้อมให้ติดตามการประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) งวดไตรมาส 3/60 ของไทย ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะแถลงในเช้าวันนี้ โดยตลาดคาดโต 3.8-3.9%
ทั้งนี้ ให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,700-1,719 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (17 พ.ย.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,358.24 จุด ลดลง 100.12 จุด (-0.43%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,578.85 จุด ลดลง 6.79 จุด (-0.26%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,782.79 จุด ลดลง 10.50 จุด (-0.15%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 116.82 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 21.55 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 28.04 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 5.15 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 2.81 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 21.63 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 15.02 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 2.11 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.20 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (17 พ.ย.60) 1,709.38 จุด เพิ่มขึ้น 18.13 จุด (+1.07%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 238.63 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 พ.ย.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ธ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (17 พ.ย.60) ปิดที่ระดับ 56.55 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.41 ดอลลาร์ หรือ 2.6%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (17 พ.ย.60) ที่ 7.25 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.79 แข็งค่าต่อเนื่องรับเม็ดเงินไหลเข้า-รอดูตัวเลข GDP ไทยเช้านี้
- "สมคิด" จุดความฝันสร้างจุดเปลี่ยนประเทศ เผยไตรมาส 3 เศรษฐกิจโต 4% ปีหน้าโตเกิน 4% ย้ำภาพใหญ่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว เร่งลงทุนรัฐวิสาหกิจและดึงทุนต่างชาติ ดันเม็ดเงินกระจายรายได้สู่ฐานรากกว่า 30 ล้านคน ผ่านการท่องเที่ยว "อาคม" ดึงงบค้างเบิกจ่ายปีละ 1 แสนล้าน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมเร่งแผนเมกะโปรเจค บูมลงทุนอีอีซี 5 ปีลงทุนกว่า 7 แสนล้าน
- รมว.คลัง เปิด เผยกำลังทำนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวสู่ภูมิภาค โดยจะให้ประชาชนนำมาหักลดหย่อน ภาษีเงินได้ 1.5 หมื่นบาท ในปีภาษี 2561 ซึ่งจะมีเงื่อนไขว่าต้องไปเที่ยวในท้องถิ่น สามารถนำค่าที่พักและอาหารมาหักภาษีได้ ซึ่งจะทำให้มีเงินหมุนเวียนลงไปทั่วถึงในกลุ่มฐานรากมากขึ้น
- การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 23 พ.ย.นี้ วาระสำคัญที่จะพิจารณา คือ แนวโน้มคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน พบว่าช่วง 4 เดือน คือตั้งแต่ ก.ค.-ต.ค. 2560 ค่อนข้างซบเซา ทำให้ช่วง 10 เดือนของปีนี้มียอดคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาทเท่านั้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ที่มียอดคำขอประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยตัวเลขคำขอช่วง 10 เดือนที่เพิ่มไม่มาก ทำให้เกิดความกังวลว่ายอดคำขอทั้งปีจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 6 แสนล้านบาทที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้
- ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยว่า กคช.อยู่ระหว่างดำเนินโครงการบ้านแลกบ้าน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านเอื้ออาทรมาแลกบ้านของ กคช.ด้วยกัน ซึ่งส่วนต่างของราคาจะเข้าไปสู่กระบวนการขอสินเชื่อกับธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีหลักทรัพย์เป็นตัวค้ำประกันกรณีที่กู้ไม่ผ่านก็นำโมเดลลีสโฮลด์ไฟแนนเชียล ซึ่งได้มีการจัดตั้งลิสซิ่งทูโลนมาดำเนินการแทน โดยมีบริษัทจัดการทรัพย์สินและชุมชนทำสัญญาเช่าซื้อ ขณะเดียวกันพร้อมเปิดโอกาสแลกบ้านกับเอกชน เพื่อลดจำนวนบ้านในตลาดซึ่งยังมีส่วนเกินอยู่จำนวนมาก อีกทั้งยังสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินได้ คาดว่าจะเริ่ม ธ.ค.นี้
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุจากเงินบาทแข็งค่าทะลุระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาที่ 32.83 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นสถิติแข็งค่าที่สุดในรอบ 30 เดือน ทั้งนี้ สถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทยังคงเป็นภาพที่สอดคล้องกับกระแสการแข็งค่าของสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย เพราะมีสาเหตุหลักร่วมกันจากทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งในช่วงนี้ขาดปัจจัยหนุนใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มเติม หลังจากตลาดทยอยรับรู้โอกาสของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือน ธ.ค. ที่จะถึงนี้มาระยะหนึ่งแล้ว
*หุ้นเด่นวันนี้
- PSH (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 28 บาท กำไรสุทธิ 9M60 อยู่ที่ 3.7 พันล้านบาท ปรับตัวลดลง 6.7% YoY จากยอดโอนที่อ่อนตัวลง ทั้งนี้ Q4/60 คาดเปิดโครงการใหม่อีก 18 โครงการ มูลค่ารวม 1.3 หมื่นล้านบาท ยอดขายกลุ่ม Premium ทะลุเป้า หนุนยอดโอนและ Gross Profit Margin ในปี 2561 พร้อมปรับคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560-2561 ลง 11.3% และ 4% จากการปรับยอดโอนลง 7.2% และ 5.9% ตามลำดับ
- BDMS (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "เก็งกำไร" หากเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลใหญ่ด้วยกันแล้ว มองว่า BDMS มีความน่าสนใจกว่า จากประเด็นการ Recovery ของโรงพยาบาลในเครือกว่า 10 โรง จากทั้งหมด 45 โรงทั่วประเทศ (ประมาณ 6,000 เตียง)ครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยเฉพาะ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และ ภาคกลาง (คิดเป็น 37% ของจำนวนเตียงภายใต้การบริหารของ BDMS) ซึ่งเป็นแหล่งที่ Case mix index สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ พร้อมคาดผลประกอบการไตรมาส 4 เติบโต YoY จากฤดูฝนที่ยาวนานกว่าปกติ ในขณะที่คนไข้จากต่างประเทศกลับมาในระดับปกติอีกครั้ง ทั้งจากตะวันออกกลางและตลาดใหม่ในอินโด-จีน ด้านราคาหุ้นปัจจุบัน YTD ยัง Laggard BH อยู่สูงกว่า 18%
- PTTEP (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 102 บาท ราคาน้ำมันฟื้นกลับครั้งแรกในรอบ 6 วันทำการ และคาดจะแกว่ง sideway up ไปจนถึงการประชุมโอเปก 30 พ.ย. เมื่อผนวกกับแรงขายของต่างชาติเริ่มเบาลง ทำให้กลุ่มพลังงานที่ laggard กลุ่มอื่นใน SET50 มีโอกาสกลับมาได้รับความน่าสนใจอีกครั้ง ทั้งนี้ หากหักการตั้งด้อยค่า 1.8 หมื่นล้านบาทออก กำไรปกติ Q3/60 ที่ 7.2 พันล้านบาท ถือว่าทำได้ดีกว่าคาด จากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งคาดว่าโมเมนตัมด้านปริมาณขายจะดีต่อเนื่องใน Q4/60 ส่วนราคาหุ้น laggard มากเกินไป โดยตั้งแต่ต้นปี -4% ตรงข้ามกับกลุ่มพลังงานที่ +12% YTD

ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ หลังดาวโจนส์ร่วง เหตุวิตกทิศทางกฎหมายปฏิรูปภาษีสหรัฐ 
      ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวผันผวนในช่วงเช้านี้ หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงกว่า 100 จุดเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการผลักดันร่างกฏหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันว่าจะสามารถผ่านการอนุมัติจากวุฒิสภาได้หรือไม่ หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้มีมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
      ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,279.98 จุด ลดลง 116.82 จุด, -0.52% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,361.36 จุด ลดลง 21.55 จุด, -0.64% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 29,227.08 จุด เพิ่มขึ้น 28.04 จุด, +0.10% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,706.79 จุด เพิ่มขึ้น 5.15 จุด, +0.05% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,536.80 จุด เพิ่มขึ้น 2.81 จุด, +0.11%
ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 8,332.71 จุด เพิ่มขึ้น 21.63 จุด, +0.26% ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดวันนี้ที่ 6,066.75 จุด เพิ่มขึ้น 15.02 จุด, +0.25% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,723.77 จุด เพิ่มขึ้น 2.11 จุด, +0.12% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,382.58 จุด เพิ่มขึ้น 0.20 จุด, +0.01%
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกัน โดยวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 227 ต่อ 205 ให้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา และได้ส่งต่อให้กับวุฒิสภาเพื่อทำการพิจารณาเป็นลำดับต่อไป
อย่างไรก็ตาม กระแสคาดการณ์ว่า สมาชิกเดโมแครตในวุฒิสภาอาจจะไม่สนับสนุนร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีฉบับดังกล่าว เนื่องจากวุฒิสมาชิกรีพับลิกันได้สร้างเงื่อนไขใหม่ที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ด้วยการพ่วงการยกเลิกเนื้อหาส่วนหนึ่งของกฎหมายโอบามาแคร์เข้ากับแผนการปฏิรูปภาษี

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: เงินปอนด์แข็งค่า ฉุดฟุตซี่ปิดร่วง 6.26 จุด
       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (17 พ.ย.) หลังได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้น โดยนับเป็นสัปดาห์ที่ 2 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงต่อเนื่องกัน
      ดัชนี FTSE 100 ลดลง 6.26 จุด หรือ -0.08% ปิดที่ 7,380.68 จุด สำหรับทั้งสัปดาห์ ดัชนีร่วงลง 0.7%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนในวันศุกร์ถูกกดดันด้วยสกุลเงินปอนด์ที่แข็งค่าขึ้น โดยเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะ 1.3210 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3182 ดอลลาร์ ทั้งนี้ รายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ดังนั้นการแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
       ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงจับตาความคืบหน้าในการผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งจะถูกส่งไปให้กับคณะกรรมาธิการด้านการเงินของวุฒิสภาทำการพิจารณาภายในสัปดาห์นี้ ส่วนการโหวตในวุฒิสภาแบบเต็มคณะ จะจัดขึ้นหลังจากพ้นเทศกาลวันหยุดขอบคุณพระเจ้าไปแล้ว โดยวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 23 พ.ย.
       สำหรับหุ้นที่ร่วงลงนั้น นำโดยหุ้นของผู้ประกอบการด้านการประปา โดยหุ้นของยูไนเต็ด ยูทิลิตีส์ร่วงลง 4.37% หลังธนาคาร HSBC ปรับน้ำหนักหุ้นของบริษัทลง ขณะที่หุ้นของหุ้นเซเวิร์น เทรนท์ร่วงลง 2.43%
ด้านหุ้นเมดิคลินิก อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำปรับตัวลง 3.98%
หุ้นที่ปรับตัวขึ้นนำโดยหุ้นของบริษัทสกาย ซึ่งพุ่งขึ้นถึง 4.1% หลังมีรายงานว่า บริษัทคอมแคส คอร์ป และเวริซอน คอมมูนิเคชันส์ อิงค์ เตรียมจะเจรจาขอซื้อกิจการบางส่วนในเครือทเวนตี้-เฟิร์สท์ เซนจูรี ฟ็อกซ์
หุ้นคอนวาเทค กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีการแพทย์ระดับชั้นนำ ปรับตัวขึ้น 3.48%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุนลท.ผิดหวังผลประกอบการ,ยูโรแข็งค่า
    ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 พ.ย.) โดยตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 หลังบริษัทจดทะเบียนเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง อีกทั้งยังได้รับแรงกดดันจากการที่โบรกเกอร์ประกาศปรับลดน้ำหนักหุ้นของหลายบริษัท ประกอบกับการที่สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.3% ปิดที่ระดับ 383.80 จุด
      ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,993.73 จุด ลดลง 53.49 จุด หรือ -0.41% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,319.17 จุด ลดลง 17.22 จุด หรือ -0.32% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,380.68 จุด ลดลง 6.26 จุด หรือ -0.08%
     สำหรับภาพรวมตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 1.3%
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับปัจจัยลบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยหุ้นของบริษัทเอลลิเออร์ กรุ๊ป ร่วงลงกว่า 18% ขณะที่หุ้นของบริษัทคาริลเลียน ร่วงหนักถึง 48% หลังจากที่มีรายงานว่า ผลกำไรของบริษืทปีนี้จะออกมาต่ำกว่าระดับคาดการณ์ของตลาดอย่างมาก
     นอกจากนี้ การที่เหล่าโบรกเกอร์ได้ออกมาปรับลดน้ำหนักหุ้นของบริษัทต่างๆลง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างแรงกดดันให้กับตลาด โดยหุ้นของอินดุสเตรีย เด ดิเซโญ เตกซ์ตีล ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเสื้อผ้าแบรนด์ดังอย่างซารา ปรับตัวลง 1.7% หลังจากที่ธนาคารเบอเรนเบิร์กประกาศปรับลดน้ำหนักหุ้นของทางบริษัท ขณะที่หุ้นบริษัทเฟรซีเนียส เอสอี ซึ่งเป็นบริษัทด้านสุขภาพยักษ์ใหญ่ของยุโรปร่วงลง 5.4% หลังยูบีเอสลดน้ำหนักหุ้นลงสู่ระดับ "neutral"
     นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์ โดยสกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังจากมีรายงานข่าวว่าว่า ทีมสอบสวนคดีเกี่ยวกับการที่รัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2559 ได้ขออำนาจศาลในการร้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากทีมหาเสียงของปธน.ทรัมป์ ซึ่งข่าวดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน
     ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงจับตาความคืบหน้าในการผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งจะถูกส่งไปให้กับคณะกรรมาธิการด้านการเงินของวุฒิสภาทำการพิจารณาภายในสัปดาห์นี้ ส่วนการโหวตในวุฒิสภาแบบเต็มคณะ จะจัดขึ้นหลังจากพ้นเทศกาลวันหยุดขอบคุณพระเจ้าไปแล้ว โดยวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 23 พ.ย.
      สำหรับความเคลื่อนไหวด้านอื่นๆ นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป ได้กล่าวสุนทรพจน์ในงาน Frankfurt Banking Congress ที่เมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนีเมื่อวานนี้ว่า ถึงแม้ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนจะอยู่ในสภาพที่สดใส แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ยังคงขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นจากธนาคารกลางยุโรป
ประธานธนาคารกลางยุโรป กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ด้านเงินเฟ้อยังคงซบเซา ดังนั้น ในขณะที่เรามีความเชื่อมั่นในเรื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เราจะเป็นต้องอดทนและใช้วิธีการที่ต่อเนื่องกับนโยบายการเงิน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า จะสามารถบรรลุเป้าหมายในเรื่องราคาในระยะกลางได้

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 100.12 จุด เหตุนักลงทุนยังกังวลมาตรการปฏิรูปภาษี ทรัมป์
      ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (17 พ.ย.) โดยดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ได้ปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการผลักดันร่างกฏหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันว่า จะสามารถผ่านการอนุมัติจากวุฒิสภาได้หรือไม่ หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้มีมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
      ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,358.24 จุด ลดลง 100.12 จุด หรือ -0.43% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,578.85 จุด ลดลง 6.79 จุด หรือ -0.26% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,782.79 จุด ลดลง 10.50 จุด หรือ -0.15%
สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 0.3% ส่วนดัชนี S&P ลดลง 0.1% และ Nasdaq เพิ่มขึ้น 0.5%
โดยภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์กในวันศุกร์นั้น นักลงทุนยังคงจับตาความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดว่า ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรเต็มคณะไปแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมานั้น จะสามารถผ่านการอนุมัติจากวุฒิสภา ซึ่งจะลงมติหลังจากช่วงเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้าในวันที่ 23 พ.ย.นี้หรือไม่
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลของนักลงทุน ซึ่งไม่แน่ใจว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะสามารถผ่านร่างกฏหมายดังกล่าวได้สำเร็จทันภายในปีนี้หรือไม่ เนื่องจากอาจได้รับเสียงสนับสนุนไม่เพียงพอ
ขณะเดียวกัน กระแสข่าวที่ว่า ทีมสอบสวนคดีรัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2559 ของนายโรเบิร์ต มุลเลอร์ ได้ขออำนาจศาลในการร้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากทีมหาเสียงของปธน.ทรัมป์ ก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่ส่งผลกระทบต่อตลาด แม้ก่อนหน้านี้ ทางการรัสเซียและปธน.ทรัมป์จะออกมาปฏิเสธข้อหาดังกล่าวแล้วก็ตาม
สำหรับหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่น่าสนใจนั้น หุ้นทเวนตี้-เฟิร์สท์ เซนจูรี ฟ็อกซ์ ทะยานขึ้น 6.2% หลังมีรายงานว่าบริษัทคอมแคส คอร์ป และเวริซอน คอมมูนิเคชันส์ อิงค์ เตรียมจะเจรจาขอซื้อกิจการบางส่วนของเจ้าพ่ออาณาจักรสื่อยักษ์ใหญ่อย่างรูเพิร์ต เมอร์ด็อก ส่งผลให้หุ้นคอมแคสร่วงลง 2.5% ขณะที่หุ้นเวอริซอนปรับตัวขึ้น 1.5%
หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ อาร์ท อิงค์ ปรับตัวลง 2.5% หลังจากที่ทางบริษัทได้ออกมาประกาศถอดระบบเติมเงินเกม Star Wars Battlefront II เป็นการชั่วคราว เนื่องจากที่ถูกกระแสเกมเมอร์โจมตีอย่างหนัก หลังเปิดตัวเกมใหม่ไปได้เพียงไม่นาน
หุ้นเทสลาปรับตัวขึ้น 0.8% หลังจากที่ทางบริษัทได้เปิดตัวรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ซึ่งมีระบบขับเคลื่อนกึ่งอัตโนมัติ (semi-autonomous) เมื่อคืนวันพฤหัสบดีตามเวลาสหรัฐ
หุ้นเจบี ฮันท์ ทรานสปอร์ต เซอร์วิส ปรับตัวลง 1.5% หลังจากที่ทางบริษัทประกาศเมื่อวานนี้ว่า ทางบริษัทได้จองซื้อรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าหลายคันจากเทสลา
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยวานนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านพุ่งขึ้น 13.7% ในเดือนต.ค. สู่ระดับ 1.29 ล้านยูนิต เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเริ่มสร้างบ้านในเขตมิดเวสท์และรัฐทางใต้ที่เริ่มจะฟื้นตัวจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคน ในขณะที่ความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้สร้างบ้านยังคงแข็งแกร่งมาโดยตลอด ด้วยแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และอัตราดอกเบี้ยการจำนองที่อยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ ยอดการอนุมัติสร้างอาคาร เพิ่มขึ้น 5.9% สู่ระดับ 1.3 ล้านยูนิต
--อินโฟเควสท์
OO2532

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!