WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งขึ้นช้าๆ เก็งโผ ครม.-รับผลดีงานไทยแลนด์โฟกัส

     นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งตัวขึ้นได้อย่างช้าๆ จากการเก็งโผคณะรัฐมนตรี(ครม.)หลังจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งในช่วงเช้าวันนี้ และจะมีงาน Thailand Focus ที่คาดว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมรับฟังข้อมูล

    ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้มีการเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบคละกัน โดยขณะนี้เริ่มที่จะกลับมาจับตาสถานการณ์ในยูเครนอีกครั้ง หลังจากที่รัสเซียได้ส่งรถบรรทุกเข้าไปในยูเครน ซึ่งทางสหรัฐฯก็ขู่จะคว่ำบาตรอีก นอกจากนี้สหรัฐฯก็จะส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยในซีเรียด้วย

   พร้อมให้แนวรับ 1,545-1,550 จุด ส่วนแนวต้าน 1,560 จุด

   ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :

   - ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(22 ส.ค.)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,001.22 จุด ลดลง 38.27 จุด(-0.22%), ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,988.40 จุด ลดลง 3.97 จุด(-0.20%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 4,538.55 จุด เพิ่มขึ้น 6.45 จุด(+0.14%)

    - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้านี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 70.24 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 0.29 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 62.27 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 13.14 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 7.54 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 6.41 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.93 จุด

    - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(22 ส.ค.)1,556.97 จุด เพิ่มขึ้น 5.56 จุด (+0.36%)

    - นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 697.82 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 ส.ค.57

    - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(22 ส.ค.)ที่ 93.65 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 31 เซนต์ หรือ 0.3%

    - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(22 ส.ค.)ที่ 5.12 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

    - เงินบาทเปิด 31.99/32.01 อ่อนค่าตามภูมิภาคหลังดอลลาร์แข็ง

    - คลังเตรียมแพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจชงรัฐบาลใหม่ เล็งเรียกเงินคืนจาก 20 กองทุน 1.2 หมื่นล้านเข้าคงคลัง

   - "ทีโอที"แตกสายธุรกิจใหม่ 6 สาย ปรับแผนงาน เข้ากับยุทธศาสตร์ คสช. เน้นธุรกิจทำกำไร มุ่งโครงสร้างพื้นฐานโทรคม เสาโทรคม อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ 3จี บรอดแบนด์ และไอดีซี หวังหนีขาดทุน 8,900 ล้านบาท

    - นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) เปิดเผยว่า สมาคมได้สรุปข้อเสนอการปรับโครงสร้างราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เพื่อนำไปเป็นแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างพลังงานทั้งระบบให้กับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) แล้ว

    - อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับนายมาซายะสุ โฮซูมิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) คนใหม่ ชี้แจงให้นักลงทุนญี่ปุ่นทราบถึงการปรับขั้นตอนการออกใบอนุญาตกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ที่มีการปรับปรุงกระบวนการอนุญาตและกำหนดการออกใบอนุญาตไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่ยื่นเอกสารครบทั้งหมด

    - ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ประเมินภาคการท่องเที่ยวไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังไต่ระดับฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ แนะกระตุ้นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กำลังซื้อสูงให้เข้ามาใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อเร่งการฟื้นตัวหลังชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่การยกเลิกค่าธรรมเนียมวีซ่าจีนช่วยหนุนเม็ดเงินสะพัดอีกกว่า 1.2 พันล้านบาท

    - ส.อ.ท.หวังรัฐบาลใหม่เร่งกระตุ้นแรงซื้อคนไทยหลังที่ผ่านมายังคงไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรจะเป็นเหตุหนี้ครัวเรือนพุ่งหนัก แนะเร่งดูแลราคาสินค้าภาคเกษตร สร้างเชื่อมั่น ปราบคอร์รัปชัน แอบลุ้นตรึงค่าไฟงวดใหม่ หวังดัน GDP ปีนี้โต 2% เหตุพึ่งส่งออกเริ่มลำบาก

*หุ้นเด่นวันนี้

     - XO(บมจ.เอ็กโซติคฟู้ด)เริ่มซื้อขายวันนี้ ประเมินราคาเป้าหมายปี 2014 ที่ 3.20 บาท และราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 3.70 บาท โดยคาดกำไรปี 2014 ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 85 ล้านบาท โตกว่า 9 เท่าจากปีก่อน และคาดกำไรปี 2015-16 โตเฉลี่ย 16% จากการขยายกำลังการผลิตในโรงงานแห่งใหม่ซึ่งจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ใน 4Q15

    ทั้งนี้ XO เป็นผู้ผลิตเครื่องปรุงรส (ซอส, น้ำจิ้มไก่) เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มจากผักและผลไม้ และอาหารสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์ของตนเอง ได้แก่ EXOTIC FOOD, THAI PRIDE, FLYING GOOSE, COCO LOTO โดยเป็นการส่งออก 99% ตลาดหลักคือยุโรป 76% ของรายได้รวม รองมาคือสหรัฐฯ 6% จุดแข็งของ XO คือความหลากหลายของสินค้าและช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกเช่น Metro, Makro และ Tesco เป็นต้น

    - PTT(ทรีนีตี้)"ซื้อ"เป้า 369 บาท ลงทุนธุรกิจปั๊มน้ำมันอาเซียน-สมาคาค้าก๊าซ LPG เล็งขึ้นราคาภาคขนส่ง คาดไม่กระทบปัจจัยพื้นฐาน

     - SAMART(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 36 บาท ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 58 ขึ้น 11% ตามการปรับกำไรบริษัทลูกทั้ง SIM +12% และ SAMTEL +17% รับอานิสงส์การฟื้นตัวเศรษฐกิจผลักดันยอดขายมือถือ และเสถียรภาพการเมืองส่งผลดีงานประมูลภาคธุรกิจสื่อสารกลับเข้าสู่ปกติ ปรับเพิ่มรายได้ของธุรกิจ Non-listed ผลจากการทบทวนประมาณการส่งผลให้กำไรสุทธิขยายตัวโดดเด่น +23.9% yoy ในปี 57 เป็น 1,820 ล้านบาท และ +24.0% yoy เป็น 2,256 ล้านบาท ในปี 58 มี Upside Risk นำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในปี 58 ได้แก่ Samart U-Trans บริษัทย่อยของ SAMART  และ BUG ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SIM ซึ่งจะส่งผลต่อ SAMART โดยตรง เนื่องจากเป็น การปลดล็อกมูลค่า Asset ให้สะท้อนราคาตลาดมากขึ้น

ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่บวกขึ้นเช้านี้ หลังประธานเฟดแถลง

      ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงในการประชุมที่แจ็คสัน โฮล ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียได้กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง

     ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) ขยับขึ้นไม่ถึง 0.1% สู่ระดับ 148.58 จุด เมื่อเวลา 9.29 น.ตามเวลาโตเกียว

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 15,609.43 จุด เพิ่มขึ้น 70.24 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 25,049.96 จุด ลดลง 62.27 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,393.24 จุด เพิ่มขึ้น 13.14 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,049.16 จุด ลดลง 7.54 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,331.91 จุด เพิ่มขึ้น 6.41 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,872.92 จุด เพิ่มขึ้น 1.93 จุด

    ประธานเฟดระบุว่า ไม่มีสูตรง่ายๆสำหรับนโยบายที่เหมาะสม เนื่องจากความยุ่งยากซับซ้อนในการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซบเซาและแรงกดดันเงินเฟ้อในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยนางเยลเลนยังคงสงวนท่าทีในการแสดงความเห็นว่าการฟื้นตัวดังกล่าวจะมีผลต่อนโยบายการเงินของเฟดหรือไม่

    เธอกล่าวย้ำว่า นโยบายการเงินไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า พร้อมกับเน้นย้ำด้วยว่า การเปลี่ยนไปใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดทันทีที่เงินเฟ้อปรับตัวกลับขึ้นสู่ระดับ 2% นั้นอาจเป็นการขัดขวางไม่ให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ และอาจไม่สอดคล้องกับ Dual Mandate (การจ้างงานสูงสุด และความมีเสถียรภาพด้านราคา) ของเฟด

    ตลาดแทบไม่มีปฏิกิริยาต่อถ้อยแถลงของเยลเลน เนื่องจากเธอไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆแก่นักลงทุนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุดในเวลานี้

    สำหรับสถานการณ์ความขัดแย้งล่าสุดระหว่างยูเครนและรัสเซียนั้นดูเหมือนว่าจะกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง เมื่อรถบรรทุกมากกว่า 150 คันได้ลำเลียงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากรัสเซียข้ามพรมแดนมายังยูเครน และมุ่งหน้าไปยังเมืองลูฮานสก์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศยูเครนได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำอันรุกรานและไตร่ตรองไว้ก่อนของทางฝั่งรัสเซีย

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 2.41 จุด หลังปธ.เฟดแถลง, ความขัดแย้งในยูเครนปะทุอีก

    ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (22 ส.ค.) หลังจากที่เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวว่า ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงซบเซา

     ดัชนี FTSE 100 ลดลง 2.41 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,775.25 จุด อย่างไรก็ดี ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 1.3% เนื่องจากในช่วงต้นสัปดาห์ นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน จากการที่สองฝ่ายเปิดการเจรจากัน

    สำหรับบรรยากาศการซื้อขายในวันศุกร์นั้น ด้วยเหตุที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลาดจึงต่างรอดูถ้อยแถลงของนางเยลเลนที่การประชุมประจำปีของเฟด สาขาแคนซัส ซิตี้ เป็นพิเศษ โดยนางเยลเลนกล่าวในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลว่า "ยังคงมีภาวะซบเซาในตลาดแรงงานสหรัฐ" เนื่องจากระดับการจ้างงานนั้นมี "ความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก" แม้เศรษฐกิจสหรัฐได้ฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตการเงินเมื่อปี 2551 แล้วก็ตาม

     ในการซื้อขายระหว่างวัน หุ้นอังกฤษร่วงลงไปถึง 0.5% หลังจากที่ประธานสภาความมั่นคงของยูเครนเผยว่า การเคลื่อนขบวนรถจัดส่งความช่วยเหลือของรัสเซียเข้ามาในภาคตะวันออกของยูเครนนั้นถือเป็นการรุกราน โดยวาเลนทีน นาลีเวย์เชนโก กล่าวกับ TV5 ว่า เครมลินใช้รถบรรทุกบังหน้าการบุกรุกเข้ามายังพรมแดนของยูเครน

    ส่วนข่าวคราวความเคลื่อนไหวอื่นๆในตลาด กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (LSE) ประกาศเมื่อวันศุกร์ว่าจะเพิ่มทุน 938 ล้านปอนด์ (1.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมจองซื้อหุ้นใหม่ เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปใช้ในการเข้าเทคโอเวอร์บริษัทแฟรงค์ รัสเซลล์ คอมพานี ของสหรัฐ

   ด้านเดลี่เมลรายงานกระแสข่าวที่ว่า กลุ่มที่ปรึกษาของเอทีแอนด์ทีกำลังเตรียมยื่นข้อเสนอซื้อหุ้นโวดาโฟนเป็นเงินสดกว่า 300 เพนซ์ต่อหุ้น ทางหนังสือพิมพ์ไม่ได้เผยว่าได้ข้อมูลนี้มาจากแหล่งใด โดยก่อนหน้านี้ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสื่อสารรายใหญ่ของสหรัฐได้ปฏิเสธเมื่อเดือนม.ค.ว่าบริษัทวางแผนเสนอซื้อโวดาโฟน ซึ่งทำให้การเสนอซื้อดังกล่าวไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งผ่านมาอีกหกเดือน

    หุ้นรอยัล เมล พุ่งขึ้น 2.16% เป็นแกนนำหุ้นบวก ตามด้วยหุ้นฮาร์กรีฟส์ แลนส์ดาวน์ พุ่ง 1.85% หุ้นโวดาโฟน กรุ๊ป บวก 1.60% หุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป บวก 1.34%

หุ้นแอลเอสอีเพิ่มขึ้น 1.20%

       ส่วนหุ้นลบนำโดยเฟรสนิลโลที่ร่วงลง 1.76%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดปรับตัวลง จากสถานการณ์ตึงเครียดยูเครน-รัสเซีย

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (22 ส.ค.) ภายหลังยูเครนออกมาระบุว่า การที่รัสเซียส่งขบวนรถบรรเทาทุกข์ข้ามพรมแดนมายังภาคตะวันออกของยูเครนนั้นถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายบุกรุก ซึ่งสัญญาณความขัดแย้งล่าสุดระหว่างยูเครนและรัสเซียได้จุดกระแสความวิตกกังวลของนักลงทุนให้หวนกลับคืนมาอีกครั้ง

     ดัชนี Stoxx Europe 600 ลบ 0.2% ปิดที่ 336.75 จุด สำหรับตลอดสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 2.1% เนื่องจากนักลงทุนเชื่อว่า การชะลอตัวของกิจกรรมภาคธุรกิจในยูโรโซนจะเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางยุโรปนำมาตรการซื้อสินทรัพย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อมาตรการ QE มาใช้

     ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันลดลง 62.36 จุด หรือ 0.66% ปิดที่ 9,339.17 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสร่วงลง 40.13 จุด หรือ 0.93% ปิดที่ 4,252.80 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนขยับลง 2.41 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,775.25 จุด

     รถบรรทุกมากกว่า 150 คันได้ลำเลียงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากรัสเซียข้ามพรมแดนมายังยูเครน และมุ่งหน้าไปยังเมืองลูฮานสก์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศยูเครนได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำอันรุกรานและไตร่ตรองไว้ก่อนของทางฝั่งรัสเซีย

    โดยในระหว่างวัน ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลงไปถึง 0.7% จากข่าวรัสเซียส่งรถบรรทุกลำเลียงความช่วยเหลือเข้าไปยังดินแดนของยูเครนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐบาลยูเครน ดัชนีหุ้นเยอรมันมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและตะวันตกอย่างมาก ขณะที่ดัชนีหุ้นอังกฤษมีความยืดหยุ่นในการรับมือกับข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่างๆได้ดีกว่า

   นอกจากวิกฤตยูเครนแล้ว นักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งกล่าวในการประชุมเศรษฐกิจประจำปีในแจ็คสัน โฮล ว่าตลาดแรงงานสหรัฐกำลังปรับตัวดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีภาวะซบเซาอยู่ โดยนางเยลเลนยังคงสงวนท่าทีในการแสดงความเห็นว่าการฟื้นตัวดังกล่าวจะมีผลต่อนโยบายการเงินของเฟดหรือไม่

    ด้านมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป มีกำหนดการขึ้นกล่าวที่งานนี้ภายหลังตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการซื้อขายในวันศุกร์ ซึ่งนักลงทุนรอดูว่าจะมีการส่งสัญญาณใดๆเกี่ยวกับมาตรการใหม่ๆหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อในยูโรโซนที่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 38.27 จุด หลังเยลเลนแถลง, ความขัดแย้งยูเครน-รัสเซียปะทุอีก

   ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (21 ส.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P 500 ก็ขยับลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำสถิติไว้เมื่อวันก่อน หลังจากที่ถ้อยแถลงของเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ในการประชุมที่แจ๊คสัน โฮล ไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุน ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียได้กลับมาปะทุขึ้นอีก ซึ่งจุดกระแสความวิตกกังวลให้เกิดขึ้นในตลาด

   ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 38.27 จุด หรือ 0.22% ปิดที่ 17,001.22 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 3.97 จุด หรือ 0.20% ปิดที่ 1,988.40 จุด ดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 6.45 จุด หรือ 0.14% ปิดที่ 4,538.55 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบสี่ปีครึ่ง

   อย่างไรก็ดี ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้น 2.0% และ S&P 500 บวก 1.7% ซึ่งปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน นอกจากนี้ ทั้งดาวโจนส์และ S&P 500 ยังทำสถิติดัชนีรายสัปดาห์ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบสี่เดือนอีกด้วย เนื่องจากนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส และผลประกอบการแข็งแกร่งที่มีการเปิดเผยในรอบสัปดาห์ ขณะที่ Nasdaq พุ่งขึ้น 1.6% ตลอดทั้งสัปดาห์

   ด้านบรรยากาศการซื้อขายในวันศุกร์นั้น ด้วยเหตุที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในวันศุกร์ นักลงทุนจึงจับตาดูถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐเป็นพิเศษ โดยเยลเลนกล่าวว่า ตลาดแรงงานสหรัฐกำลังปรับตัวดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีภาวะซบเซาอยู่

   ประธานเฟดระบุว่า ไม่มีสูตรง่ายๆสำหรับนโยบายที่เหมาะสม เนื่องจากความยุ่งยากซับซ้อนในการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซบเซาและแรงกดดันเงินเฟ้อในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยนางเยลเลนยังคงสงวนท่าทีในการแสดงความเห็นว่าการฟื้นตัวดังกล่าวจะมีผลต่อนโยบายการเงินของเฟดหรือไม่

   เธอกล่าวย้ำว่า นโยบายการเงินไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า พร้อมกับเน้นย้ำด้วยว่า การเปลี่ยนไปใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดทันทีที่เงินเฟ้อปรับตัวกลับขึ้นสู่ระดับ 2% นั้นอาจเป็นการขัดขวางไม่ให้ตลาดแรงงานฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ และอาจไม่สอดคล้องกับ Dual Mandate (การจ้างงานสูงสุด และความมีเสถียรภาพด้านราคา) ของเฟด

   ตลาดแทบไม่มีปฏิกิริยาต่อถ้อยแถลงของเยลเลน เนื่องจากเธอไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆแก่นักลงทุนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุดในเวลานี้

   ด้านเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟด เซนต์หลุยส์ ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นบีซีในช่วงเช้าวันศุกร์ โดยเขายังคงยืนยันการคาดการณ์ของตนเองว่า อาจเริ่มมีการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงท้ายไตรมาสแรกของปี 2558 ขณะที่เดนนิส ล็อกฮาร์ท ประธานเฟด แอตแลนตา กล่าวกับซีเอ็นบีซีภายหลังเยลเลนแถลงว่า เขาคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกอาจมีขึ้นในช่วงกลางปีหน้า

  สำหรับสถานการณ์ความขัดแย้งล่าสุดระหว่างยูเครนและรัสเซียนั้นดูเหมือนว่าจะกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง เมื่อรถบรรทุกมากกว่า 150 คันได้ลำเลียงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากรัสเซียข้ามพรมแดนมายังยูเครน และมุ่งหน้าไปยังเมืองลูฮานสก์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศยูเครนได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำอันรุกรานและไตร่ตรองไว้ก่อนของทางฝั่งรัสเซีย

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 ส.ค. 2557

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,001.22 จุด ลดลง 38.27 จุด, -0.22%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,538.55 จุด เพิ่มขึ้น 6.45 จุด, +0.14%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,988.40 จุด ลดลง 3.97 จุด, -0.20%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,252.80 จุด ลดลง 40.13 จุด, -0.93%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,339.17 จุด ลดลง 62.36 จุด, -0.66%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,775.25 จุด ลดลง 2.41 จุด, -0.04%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,380.10 จุด เพิ่มขึ้น 126.72 จุด, +1.37%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 15,539.19 จุด ลดลง 47.01 จุด, -0.30%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,056.70 จุด เพิ่มขึ้น 12.49 จุด, +0.61%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,645.60 จุด เพิ่มขึ้น 6.70 จุด, +0.12%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,240.81 จุด เพิ่มขึ้น 10.35 จุด, +0.46%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,133.09 จุด เพิ่มขึ้น 36.60 จุด, +0.52%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 25,112.23 จุด เพิ่มขึ้น 118.13 จุด, +0.47%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,198.90 จุด ลดลง 7.24 จุด, -0.14%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,870.99 จุด ลดลง 3.82 จุด, -0.20%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,325.50 จุด เพิ่มขึ้น 1.41 จุด, +0.04%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 26,419.55 จุด เพิ่มขึ้น 59.44 จุด, +0.23%

               ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (22 ส.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P 500 ก็ขยับลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำสถิติไว้เมื่อวันก่อน หลังจากที่ถ้อยแถลงของเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ในการประชุมที่แจ๊คสัน โฮล ไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุน ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียได้กลับมาปะทุขึ้นอีก ซึ่งจุดกระแสความวิตกกังวลให้เกิดขึ้นในตลาด

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 38.27 จุด หรือ 0.22% ปิดที่ 17,001.22 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 3.97 จุด หรือ 0.20% ปิดที่ 1,988.40 จุด ดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 6.45 จุด หรือ 0.14% ปิดที่ 4,538.55 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบสี่ปีครึ่ง

               ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (22 ส.ค.) ภายหลังยูเครนออกมาระบุว่า การที่รัสเซียส่งขบวนรถบรรเทาทุกข์ข้ามพรมแดนมายังภาคตะวันออกของยูเครนนั้นถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายบุกรุก ซึ่งสัญญาณความขัดแย้งล่าสุดระหว่างยูเครนและรัสเซียได้จุดกระแสความวิตกกังวลของนักลงทุนให้หวนกลับคืนมาอีกครั้ง

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ลบ 0.2% ปิดที่ 336.75 จุด สำหรับตลอดสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 2.1% เนื่องจากนักลงทุนเชื่อว่า การชะลอตัวของกิจกรรมภาคธุรกิจในยูโรโซนจะเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางยุโรปนำมาตรการซื้อสินทรัพย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อมาตรการ QE มาใช้

               ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (22 ส.ค.) หลังจากที่เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวว่า ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงซบเซา

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 2.41 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,775.25 จุด อย่างไรก็ดี ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 1.3% เนื่องจากในช่วงต้นสัปดาห์ นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน จากการที่สองฝ่ายเปิดการเจรจากัน

               สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (22 ส.ค.) เนื่องจากตลาดขาดปัจจัยขับเคลื่อนราคา ประกอบกับมีแนวโน้มว่าความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐจะเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากฤดูกาลขับขี่รถท่องเที่ยวในสหรัฐใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ลดลง 31 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 93.65 ดอลลาร์/บาร์เรล

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 34 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 102.29 ดอลลาร์/บาร์เรล

               สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (22 ส.ค.) หลังจากที่ปรับตัวลงมา 5 วันทำการติดต่อกัน โดยภาวะการซื้อขายได้ปัจจัยหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนที่กลับมาปะทุขึ้นอีก

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ปรับตัวขึ้น 4.80 ดอลลาร์ หรือ 0.38% ปิดที่ 1,280.20 ดอลลาร์/ออนซ์ สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาทองร่วงลง 1.9% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 18 ก.ย. ซึ่งในสัปดาห์นั้น สัญญาทองร่วงลงไปถึง 2.09%

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 2.9 เซนต์ หรือ 0.15% ปิดที่ 19.386 ดอลลาร์/ออนซ์

          ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ลดลง 80 เซนต์ หรือ 0.06% ปิดที่ 1,418.50 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 7.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 887.60 ดอลลาร์/ออนซ์

               ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อวันศุกร์ (22 ส.ค.) หลังจากที่เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุในการประชุมสุดยอดของผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลกว่า ตลาดแรงงานกำลังปรับตัวดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อกำหนดเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

          ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3241 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3281 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับลงที่ 1.6577 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6585 ดอลลาร์

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 103.93 เยน เทียบกับระดับ 103.80 เยน แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9138 ฟรังค์ จากระดับ 0.9114 ฟรังค์ และปรับตัวขึ้นแตะ 1.0947 ดอลลาร์แคนาดา จาก 1.0946 ดอลลาร์แคนาดา

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9317 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9302 ดอลลาร์

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 1,088.00 จุด ลดลง 8.00 จุด, -0.73%

--อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!