WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET16 copyภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งแคบหลังไร้ปัจจัยใหม่หนุน,จับตารัฐส่งร่างกม.EEC เข้าสนช.สัปดาห์หน้า

    นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้แกว่งแคบ เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา จะมีเพียงก็ตัวเลขการส่งออกเดือนส.ค.ของไทยที่ออกมาดี และความคาดหวังว่ารัฐบาลจะนำร่างพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ในวันที่ 28 ก.ย.นี้

      ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ โดยให้ติดตามสถานการณ์ในเกาหลีเหนือ พร้อมให้แนวรับที่ 1,665 จุด ส่วนแนวต้าน 1,680 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

       - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (21 ก.ย.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 22,359.23 จุด ลดลง 53.36 จุด (-0.24%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 6,422.69 จุด ลดลง 33.35 จุด (-0.52%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,500.60 จุด ลดลง 7.64 จุด (-0.30%)

      - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 66.13 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 10.65 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 160.50 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 6.79 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 2.15 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 7.31 จุด

       ส่วนตลาดหุ้นมาเลเซีย ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันเอาวัล มุฮัรรอม (มาอัล ฮิจเราะห์)

      - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (21 ก.ย.60) 1,670.49 จุด ลดลง 0.16 จุด (-0.01%)

       - นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 122.96 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 ก.ย.60

       - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (21 ก.ย.60) ปิดที่ระดับ 50.55 ดอลลาร์/บาร์เรล  ลดลง 14 เซนต์ หรือ 0.3%

        - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (21 ก.ย.60) ที่ 8.12 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

        - เงินบาทเปิด 33.11 แข็งค่าหลังดอลล์อ่อนจากแรงขายทำกำไร มองกรอบวันนี้ 33.05-33.15

        - พาณิชย์เผยตัวเลขส่งออก ส.ค.โต 13.2% สูงสุดรอบ 55 เดือน รวม 8 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัว 8.9% สูงสุดรอบ 6 ปี เผยเศรษฐกิจโลกฟื้นดันตลาดหลักสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน โตทุกตลาด คาดส่งออกทั้งปีได้ตามเป้า 7% จับตา 10 สินค้าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านโครงสร้างอุตสาหกรรม มีอนาคต และปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยี หวั่นกระทบส่งออกระยะถัดไป

      - ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) มีกำหนดหารือร่วมกับวิปรัฐบาลเพื่อเตรียมนำร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในวาระที่ 1 คาดว่า สนช.จะเห็นชอบและประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในปีนี้

        - องค์การการค้าโลก (WTO) ปรับขึ้นคาดการณ์การค้าโลกปีนี้เป็นเติบโต 3.6% จากคาดการณ์เดิมในเดือน เม.ย. ที่เติบโต 2.4% โดยเป็นผลจากการค้าในเอเชียและการนำเข้าในอเมริกาเหนือที่ฟื้นตัว รวมถึงฐานของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวต่ำเพียง 1.3% อย่างไรก็ดี คาดว่าการค้าโลกในปี 2561 จะชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่เติบโต 3.2%

     - ผู้แทนสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนประจำเดือนก.ย. 2560 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 124.13 จุด เพิ่มขึ้น 19.34% จากเดือนก่อนที่อยู่ระดับปานกลางที่ 104.13 จุด อยู่ในเกณฑ์ร้อนแรงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน

     - ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 6 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยธนาคารและสถาบันการเงินที่ได้รับการคงอันดับเครดิตภายในประเทศ ที่ "AAA(tha)" แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) หรือ BOCT ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) หรือ ICBCT บริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) หรือ ICBCT

*หุ้นเด่นวันนี้

        - SUPER-W4 (ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญบมจ. ซุปเปอร์บล๊อก (SUPER)) เทรดวันนี้วันแรก มีจำนวน 5,469,683,077 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ : 1 หุ้นสามัญใหม่ ราคาการใช้สิทธิ 2.50 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 3 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (1 ก.ย. 60) ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ 0.00 บาทต่อหน่วย กำหนดวันใช้สิทธิครั้งแรก 30 พ.ย.60 ส่วนวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 31 ส.ค.63

      - BANPU (ธนชาต) "ซื้อ"เป้า 25 บาท มองบวกมากขึ้นต่อราคาถ่านหิน เพราะคาดว่าจีนจะยังคงรักษาราคาถ่านหินให้อยู่ในระดับสูงท่ามกลางการผลักดันพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม BANPU ยังคงน่าสนใจที่ PE ที่ 7-8 เท่า ในปี  2561-2562 และให้ yield ที่ 6%+  โดยมองว่ากำไรที่แข็งแกร่งใน 2H60F จะเป็นปัจจัยหลักหนุนราคาหุ้น

     - MTLS (ไอร่า) เป้า 39 บาท คาดกำไรสุทธิปี 60 เพิ่มขึ้น 61% อยู่ที่ 2,354 ล้านบาท หรือ 1.11 บาท/หุ้น ภายใต้ผลประกอบการ 2H/60 ดีกว่า 1H/60 หลังได้รับปัจจัยหนุนจาก New Loans คาดอยู่ที่ 55,000 ล้านบาท (1H/60 ทำได้แล้ว 26,000 ล้านบาท) และได้ประโยชน์จากการประหยัดขนาดของสาขาที่เปิดเมื่อปี 59 จำนวน 724 สาขา ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดนับแต่ก่อตั้งบริษัท และเริ่มรับรู้รายได้เต็มปี ขณะที่คาด OPEX ปรับเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยคาด Cost to Income ที่ 41%

     - ECL (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ทยอยสะสม" เป้า 5.00 บาท Upside risk ที่ยังไม่รวมในประมาณการ คือ (1) Cost saving (ต้นทุนการเงินที่ต่ำกว่า) จากการได้มาซึ่งพันธมิตรญี่ปุ่น (PFS) ซึ่งได้ผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ (2) คือ การรับประกันชิ้นส่วนรถยนต์มือ 2 ที่ลูกค้าซื้อ (เป็นเจ้าแรกของไทย) และธุรกิจศูนย์ซ่อมรถครบวงจร ซึ่งจะสามารถปิดจุดอ่อนของธุรกิจได้เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม เริ่มเห็นผล 4Q60 พร้อมคาดกำไรปี 2560-62 เฉลี่ยเติบโตสูงกว่า 60% เป็น 272 ล้านบาท และ 354 ล้านบาท ตามลำดับ

ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนตัวลงเช้านี้ หลัง S&P ลดอันดับความน่าเชื่อถือจีน

      ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ S&P หั่นอันดับความน่าเชื่อถือของจีนสู่ "A+" เมื่อวานนี้

       ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 20,413.61 จุด เพิ่มขึ้น 66.13 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,347.16 จุด ลดลง 10.65 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 27,949.83 จุด ลดลง 160.50 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,571.65 จุด ลดลง 6.79 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,404.35 จุด ลดลง 2.15 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,206.51 จุด ลดลง 7.31 จุด ส่วนตลาดหุ้นมาเลเซียปิดทำการวันนี้เนื่องในวันเอาวัล มุฮัรรอม (มาอัล ฮิจเราะห์)

        บริษัท S&P Global Ratings ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของจีนลง 1 ขั้น จาก "AA-" สู่ "A+" โดยระบุถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการปล่อยสินเชิ่อที่มากขึ้นของจีน

        "การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวสะท้อนถึงการประเมินของเราที่ว่าการขยายตัวด้านสินเชื่อที่แข็งแกร่งของจีน ได้เพิ่มความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ" S&P ระบุในแถลงการณ์

       อย่างไรก็ดี S&P ระบุว่า แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของจีนยังคงมีเสถียรภาพ

      การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของจีนจาก S&P มีขึ้น หลังจากที่มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของจีนในเดือนพ.ค. และมีขึ้นขณะที่รัฐบาลจีนเผชิญกับความท้าทายในการจำกัดความเสี่ยงทางการเงินที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยหวังที่จะบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 8.05 จุด แม้หุ้นแบงก์พุ่งรับถ้อยแถลงเฟด

       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเมื่อคืนนี้ (21 ก.ย.) ท่ามกลางภาวะการซื้อขายที่ผันผวน ถึงแม้หุ้นกลุ่มธนาคารจะปรับตัวขึ้นกันถ้วนหน้า ภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ส่งสัญญาณที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้และเตรียมปรับลดขนาดงบดุลบัญชีของเฟดในเดือนหน้า

       ดัชนี FTSE 100 ลดลง 8.05 จุด หรือ -0.11% ปิดที่ 7,263.90 จุด

       ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อคืนนี้เป็นไปอย่างผันผวน โดยตลาดได้รับปัจจัยบางส่วนจากแถลงการณ์ของที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยเฟดระบุว่าจะเดินหน้าปรับลดงบดุลบัญชี ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณเตรียมพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งในปีนี้ และอาจขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปีหน้า ซึ่งหมายความว่า ต้นทุนการกู้ยืมของสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อธุรกิจ จะเพิ่มสูงขึ้น

       หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นขานรับถ้อยแถลงของเฟด โดยหุ้นบาร์เคลย์ส พุ่งขึ้น 2.4% หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ เพิ่มขึ้น 1.6% หุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป พุ่งขึ้น 2.7% และหุ้นสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ขยับขึ้น 0.5%

        อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวลงตามทิศทางของราคาแร่โลหะที่ถูกกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ภายหลังจากเฟดได้เปิดเผยแถลงการณ์เมื่อวันพุธ โดยหุ้นเฟรสนิลโล ผู้ผลิตแร่ทองคำรายใหญ่ ร่วงลง 2.2% หุ้นแรนด์โกลด์ รีซอสเซส ร่วง 2.3% หุ้นแอนโตฟากาสตา ร่วงลง 2.3% และหุ้นริโอ ทินโต ลดลง 1.2%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดบวก หลังหุ้นกลุ่มแบงก์พุ่งรับเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (21 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.

       ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.2% ปิดที่ 382.88 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.

      ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,600.03 จุด เพิ่มขึ้น 30.86 จุด หรือ +0.25% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,267.29 จุด เพิ่มขึ้น 25.63 จุด หรือ +0.49% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,263.90 จุด ลดลง 8.05 จุด หรือ -0.11%

       หุ้นกลุ่มธนาคารได้รับแรงหนุนหลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐได้ส่งสัญญาณในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของเฟดจะมีขึ้นในเดือนธ.ค.

        นอกจากนี้ เฟดยังประกาศว่าจะเริ่มปรับลดงบดุลที่ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาล, ตราสารหนี้ของหน่วยงานของรัฐ และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน หรือ MBS ในเดือนต.ค. จากปัจจุบันที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์

     ทั้งนี้ หุ้นดอยซ์แบงก์ พุ่งขึ้น 2.7% หุ้นโซซิเอเต เจเนอรัล (ซอคเจน) พุ่งขึ้น 2.2% หุ้นบังโค ซานตานเดร์ ปรับตัวขึ้น 1.2% หุ้นยูนิเครดิต พุ่งขึ้น 2% หุ้นบีเอ็นพี พาริบาส์ ปรับขึ้น 1%

       หุ้นไรอันแอร์ ปิดตลาดฟื้นตัวขึ้น 0.1% หลังจากที่ราคาหุ้นร่วงลงอย่างหนักก่อนหน้านี้ สืบเนื่องมาจากการที่ไรอันแอร์ประกาศยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยทางบริษัทยอมรับว่าเกิดความสับสนในการจัดทำแผนวันหยุดของนักบิน

      นักลงทุนจับตาการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนีในวันที่ 24 ก.ย.นี้ ขณะที่ผลการสำรวจของ Forsa ระบุว่า พรรค CDU/CSU ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เริ่มมีคะแนนนิยมแผ่วลง เมื่อเทียบกับพรรค Social Democratic  (SPD) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของเยอรมนี

       ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า คะแนนนิยมของพรรค SPD ทรงตัวที่ระดับ 23% ขณะที่พรรค CDU/CSU มีคะแนนเสียงลดลง 1% โดยอยู่ที่ 36%

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 53.36 จุด หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเดือนธ.ค.

     ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือนธ.ค.นี้ นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้ออกคำสั่งคว่ำบาตรเกาหลีเหนือรอบใหม่เมื่อวานนี้

       ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 22,359.23 จุด ลดลง 53.36 จุด หรือ -0.24% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,500.60 จุด ลดลง 7.64 จุด หรือ -0.30% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,422.69 จุด ลดลง 33.35 จุด หรือ -0.52%

        ดัชนี ดาวโจนส์ปิดตลาดอ่อนแรงลงหลังจากทำนิวไฮติดต่อกัน 7 วันทำการก่อนหน้านี้ โดยตลาดได้รับปัจจัยกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือนธ.ค. หลังจากที่คณะกรรมการ FOMC ได้ส่งสัญญาณในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ เฟดยังประกาศว่าจะเริ่มปรับลดงบดุลที่ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาล, ตราสารหนี้ของหน่วยงานของรัฐ และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน หรือ MBS ในเดือนต.ค. จากปัจจุบันที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์

       ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมเฟดออกแถลงการณ์ดังกล่าว CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 70% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 51% ในช่วงก่อนที่เฟดจะออกแถลงการณ์

       นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า ปธน.ทรัมป์ได้ออกคำสั่งคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อเกาหลีเหนือเมื่อวานนี้ โดยมีการขึ้นบัญชีดำบุคคล และหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจกับเกาหลีเหนือ เพื่อเป็นการลงโทษเกาหลีเหนือที่ได้ทำการทดลองนิวเคลียร์ และขีปนาวุธครั้งใหม่

      "ผมได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีครั้งใหม่ โดยเราจะขยายการดำเนินการของเราในการพุ่งเป้าบริษัท สถาบันการเงิน ซึ่งให้เงินทุน และอำนวยความสะดวกทางการค้าแก่เกาหลีเหนือ คำสั่งของเราจะตัดแหล่งเงินทุนของเกาหลีเหนือซึ่งใช้สนับสนุนการพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูง"" ปธน.ทรัมป์กล่าว

       หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง นำโดยหุ้นแอปเปิล ร่วงลง 1.7% หุ้น Nvidia ดิ่งลง 2.7% หุ้นเฟซบุ๊ก ปรับตัวลง 0.6% ส่วนหุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดิไวซ์ (เอเอ็มดี) ปิดตลาดร่วงลง 2% หลังจากที่ดีดตัวขึ้นในระหว่างวัน จากข่าวที่ว่าเอเอ็มดีจะร่วมมือกับบริษัทเทสลา มอเตอร์ เพื่อผลิตชิพสำหรับใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า

      หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ปรับตัวลง 0.2% หลังจากกูเกิลแถลงเมื่อวานนี้ว่า ทางบริษัทลงนามในข้อตกลงความร่วมมือวงเงิน 1.1 พันล้านดอลลาร์กับบริษัทเอชทีซี ซึ่งเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนของไต้หวัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจสมาร์ทโฟน และฮาร์ดแวร์ของบริษัท โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว กูเกิลจะซื้อทีมพนักงานของเอชทีซี ซึ่งเคยทำงานเกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟน Pixel ของกูเกิล ขณะที่เอชทีซีจะได้รับเงินสด 1.1 พันล้านดอลลาร์

      สำหรับ ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดและมีผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 23,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 259,000 ราย สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 300,000 ราย โดยตัวเลขผู้ที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกยังคงอยู่ต่ำกว่า 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 133 ติดต่อกัน ซึ่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1970

       นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ สัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนก.ย.จากมาร์กิต และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.ย.จากมาร์กิต

         อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!