WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET24ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้อ่อนตัวตามตปท. ราคาน้ำมันลดลงถ่วงตลาด,จับตาการประชุมเฟด

        นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะอ่อนตัวลงตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ต่างปรับตัวลงกันทั่วหน้า ตามดัชนีดาวโจนส์ โดยตลาดฯต่างก็รอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ พร้อมคาดว่าหุ้นบิ๊กแคปจะยังอ่อนตัวลง

       นอกจากนี้ ตลาดฯยังได้แรงถ่วงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงด้วย อย่างไรก็ดีให้จับตาหุ้นบมจ.กรุ๊ปลีส (GL) จะยืนได้หรือไม่ ถ้ายืนได้ก็อาจจะยังมีแรงเก็งกำไรกันอยู่

พร้อมให้แนวรับ 1,538-1,531 จุด ส่วนแนวต้าน 1,550 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

       - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (14 มี.ค.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,837.37 จุด ลดลง 44.11 จุด (-0.21%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,856.82 จุด ลดลง 18.96 จุด (-0.32%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,365.45 จุด ลดลง 8.02 จุด (-0.34%)

       - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 80.75 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 3.93 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 122.88 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ลดลง 2.92 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 5.36 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 9.99 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 5.30 จุด

      - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (14 มี.ค.60) 1,543.15 จุด เพิ่มขึ้น 7.64 จุด (+0.50%)

       - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,991.45 ล้านบาท เมื่อวันที่ 14 มี.ค.60

       - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน เม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (14 มี.ค.60) ปิดที่ 47.72 ดอลลาร์/บาร์เรล  ลดลง 68 เซนต์ หรือ 1.4%

     - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (14 มี.ค.60) ที่ 5.74 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

       - เงินบาทเปิด 35.29 คาดเคลื่อนไหวกรอบแคบที่ 35.25-35.33 รอดูผลประชุมเฟดคืนนี้

        - "แอนนา กอร์บาโช" เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยภายหลังเดินทางมาประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2560 โดยมีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป การใช้จ่ายภาครัฐจะมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนเอกชนในระยะต่อไป

       - สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกปีนี้ไม่น่ากังวล คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) โลกน่าจะเติบโตดีขึ้นจาก 2.3% ในปีที่แล้วเพิ่มเป็น 2.7% และเศรษฐกิจสหรัฐจาก 1.6% เพิ่มเป็น 2.2% ส่วนจีนอาจจะโตลดลงบ้างแต่ยังสูงที่ 6.2% จากการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของโลก ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับขึ้น โดยราคาน้ำมันคาดว่าจะปรับจาก 43 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ในปีที่แล้วเป็น 53 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลในปีนี้ ทำให้เงินเฟ้อขยับขึ้น ดังนั้นอาจจะทำเห็นอัตราดอกเบี้ยไทยปรับขึ้นสัก 1 ครั้ง ที่ 0.25% ก็เป็นได้ จากเดิมที่คาดว่าไม่น่าจะขึ้นเลย

   - ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยมูลค่าจีดีพีเอสเอ็มอี ในปี 2559 สูงถึง 6.04 ล้านล้านบาท โดยขยายตัว 4.8% จากปี 2558 ซึ่งยังคงสูงกว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศที่ขยายตัว 3.2% และมีสัดส่วนต่อจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 41.2% เป็น 42.1% จากปีก่อนหน้า โดยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 เอสเอ็มอีเติบโต 4.1% ชะลอตัวลงจากไตรมาส 3/2559 ที่ขยายตัว 5.0% เนื่องมาจากการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารที่ขยายตัวเพียง 4.8% เทียบกับในไตรมาสก่อนที่ขยายตัวได้ถึง 13.5%

*หุ้นเด่นวันนี้

      - HMPRO (ธนชาต) "ซื้อ"เป้า 11.4 บาท แม้ปรับคาดการณ์กำไรลง 1.4-6.0% จากการบริโภคในประเทศที่อ่อนแอ แต่ยังมองแนวโน้มธุรกิจ และกำไรยังเติบโตดี 15-17% ในปี 2560-2561 จากอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นจากผลของ economy of scale, การขยายสาขา Mega Home ขณะที่การเพิ่ม dividend payout ratio เป็น 80% ส่งผล yield เพิ่มเป็น 3% ปีนี้

     - KSL (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 8.30 บาท แม้ว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะอยู่ระดับต่ำกว่า 20 เซนต์/ปอนด์ มาเกือบ 2 สัปดาห์จากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า แต่ทิศทางราคาน้ำตาลยังดูดี สดใสกว่าราคายาง ถั่วเหลือง และปาล์ม เพราะน้ำตาลโลกขาดดุลเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน KSL ใกล้ประกาศงบฯ 1Q60 (พ.ย.2559 – ม.ค.2560) ที่ยังไม่สดใสนักเพราะราคาขายบางส่วนยังเป็นราคาเก่าที่ยังไม่ได้ปรับขึ้น แต่แนวโน้มจะทยอยดีขึ้นในไตรมาสถัด ๆ ไป โดยยังคงคาดกำไรปกติปี 2560 (สิ้นสุดต.ค.2560) +167% Y-Y

                - SVI (เคทีบี) "ซื้อ"เป้า 6.60 บาท ฟื้นตัวเต็มที่ ต้อนรับปี 2560 เตรียมสร้างฐานใหม่ กลุ่มสินค้าใหม่ของ SVI เตรียมขยายตัวสู่ System Build เติบโตผ่าน SVI-EU โดย SVI เข้าสู่ภาวะปกติเริ่มต้นฐานใหม่สำหรับไตรมาส 1 คาดกำไรสุทธิ 1Q60 ประมาณ 160 – 180 ล้านบาท และรายได้ประมาณ 2,500 – 2,600 ล้านบาท พร้อมมองปี 2560 สดใสขึ้น ปรับประมาณการกำไรขึ้นจากเดิมเล็กน้อย

       - PTTGC (โกลเบล็ก) เป้า 77 บาท คาดกำไรปี 2560 อยู่ที่ 2.68 หมื่นล้านบาท +5%YoY(มีแนวโน้มปรับประมาณการเพิ่ม) โดยได้รับผลบวกจากธุรกิจอะโรเมติกส์ที่ส่วนต่างผลิตภัณฑ์ปรับตัวขึ้นทั้ง PXและ BZ ที่ปรับตัวขึ้น 31% และ 31%YTD ตามลำดับ(PTTGC เป็นผู้ผลิตใหญ่สุดในกลุ่ม PTT) และธุรกิจโอเลฟินส์ที่ราคาผลิตภัณฑ์ HDPE LDPE และ LLDPE ปรับตัวตัวขึ้น 5% 10% และ 3% YTD ตามลำดับเนื่องจากน้ำมันดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำราคาทรงตัวในระดับสูงเมื่อเทียบกับปี 2559 แม้ว่าธุรกิจโรงกลั่นจะอ่อนตัวลงจากกำไรจากสต๊อกน้ำมันดิบปรับตัวลง และมี Upside จากการซื้อบริษัทจาก PTT คาดใช้เงินราว 2.6 หมื่นล้านบาทซื้อบริษัทสายพลาสติกจาก PTT 6 บริษัท (จะเริ่มรับโอนบริษัทช่วง ต.ค.60) ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มกำไรได้ราวปีละ 2.4 พันล้านบาท(ยังไม่ได้รวมในประมาณการ) พร้อมกันนี้เตรียมนำบริษัท GGC เข้าจดทะเบียนในตลาดปีนี้

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ นักลงทุนชะลอซื้อขายก่อนทราบผลประชุมเฟด

      ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ ตามทิศทางของตลาดหุ้นนิวยอร์ก หลังจากมีรายงานว่าสมาชิกของกลุ่มโอเปกหลายรายยังคงผลิตน้ำมันเกินกว่าโควตาที่กำหนด นอกจากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ

       ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,528.75 จุด ลดลง 80.75 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,235.40 จุด ลดลง 3.93 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,705.07 จุด ลดลง 122.88 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,741.29 จุด ลดลง 2.92 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,128.42 จุด ลดลง 5.36 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,133.41 จุด ลดลง 9.99 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,717.17 จุด ลดลง 5.30 จุด

       ทั้งนี้ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 93% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ เพิ่มขึ้นจากระดับ 91% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: แรงเทขายหุ้นพลังงาน-ธนาคาร ฉุดฟุตซี่ปิดลบ 9.23 จุด

      ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) ด้วยแรงฉุดจากหุ้นกลุ่มพลังงานและธนาคารที่ปรับตัวลงกันถ้วนหน้า ขณะที่นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์การเมืองในอังกฤษ หลังนายกรัฐมนตรีสกอตแลนด์เตรียมขอการอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษให้มีการจัดลงประชามติรอบที่ 2 เพื่อขอแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร ก่อนที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)

       ดัชนี FTSE 100 ลดลง 9.23 จุด หรือ -0.13% ปิดที่ 7,357.85 จุด

        ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อวานนี้ ดัชนี FTSE 100 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างที่ 7,386.17 จุด ซึ่งอยู่เหนือระดับ 7,382.90 จุดอันเป็นระดับปิดสถิติ อย่างไรก็ตาม ดัชนี FTSE 100 ปรับตัวลงในเวลาต่อมา จากแรงเทขายในหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) รายงานว่า สมาชิกโอเปกหลายรายยังไม่ได้ลดกำลังการผลิตในระดับที่ได้สัญญาไว้ ซึ่งสร้างความวิตกเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานทั่วโลกที่กำลังล้นตลาด

       หุ้นบีพี บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ ร่วงลง 1.4% ขณะที่หุ้นรอยัล ดัตช์ เชลล์ ร่วง 1.7%

      บรรยากาศการซื้อขายเมื่อวานนี้ ยังมีปัจจัยลบจากความวิตกกังวลในสถานการณ์การเมืองในสหราชอาณาจักร หลังนิโกลา สเตอร์เจียน นายกรัฐมนตรีสกอตแลนด์ ได้กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เธอเตรียมจะขอการอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษให้มีการจัดลงประชามติรอบที่ 2 เพื่อขอแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นกลุ่มธนาคารรายใหญ่ร่วงลง โดยหุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ ร่วง 3% และหุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ลดลง 1%

       หุ้นจดทะเบียนรายใหญ่ที่น่าจับตา หุ้นแอนโตฟากาสตา ขยับขึ้น 0.5% หลังบริษัทรายงานผลกำไรในปี 2559 พุ่งขึ้น 79% สู่ระดับ 1.63 พันล้านดอลลาร์ ด้วยแรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งในเหมืองทองแดงเซนติเนลา

        หุ้นพรูเดนเชียล พุ่งขึ้น 3% หลังบริษัทประกันภัยดังกล่าวรายงานผลกำไรจากการดำเนินงานพุ่งขึ้น 7% ในปี 2559 และได้ประกาศปรับเพิ่มเงินปันผล

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นพลังงานร่วง ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ

      ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงเนื่องจากรายงานที่ว่า สมาชิกของกลุ่มโอเปกหลายรายยังคงผลิตน้ำมันเกินกว่าโควตาที่กำหนด นอกจากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการเลือกตั้งของเนเธอร์แลนด์ และผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

        ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.3% ปิดที่ 373.46 จุด

       ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,974.26 จุด ลดลง 25.34 จุด หรือ -0.51% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,988.79 จุด ลดลง 1.24 จุด หรือ -0.01% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,357.85 จุด ลดลง 9.23 จุด หรือ -0.13%

       หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง โดยหุ้นโททาล ดิ่งลง 1.7% หุ้นทุลโลว์ ออยล์ ร่วงลง 6.2% หุ้นเรพซอล ลดลง 2.1% ส่วนหุ้นจอห์น วู๊ด กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านบ่อน้ำมัน ร่วงลง 6% หลังจากบริษัทประกาศเข้าซื้อกิจการ เอเมค ฟอสเตอร์ วีลเลอร์ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง ในวงเงิน 2.73 พันล้านดอลลาร์

        นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 12.8 จุดในเดือนมี.ค. จากระดับ 10.4 จุดในเดือนก.พ. แต่ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 13.1 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งในหลายประเทศในยุโรป และผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี

       หุ้นพรูเดนเชียล ทะยานขึ้น 3.3% หลังจากบริษัทประกาศเพิ่มการจ่ายเงินปันผล ภายหลังจากมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 7% ในปี 2559

     นักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น โดยผลการสำรวจความคิดเห็นล่าสุดโดย Peilingwijzer ระบุว่า พรรค People's Party for Freedom and Democracy (VVD) ของนายมาร์ค รุตเต นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ จะสามารถกวาดที่นั่งในสภา 24-28 ที่นั่ง ส่วนพรรค PVV จะสามารถกวาดที่นั่งไปได้ 20-24 ที่นั่ง รองลงมาคือพรรค Christian Democrats (CDA) ที่คาดว่าจะได้ที่นั่ง 18-20 ที่นั่ง ส่วนพรรค Democrats (D66) คาดว่า จะได้ 17-19 ที่นั่ง

       นักลงทุนจับตาผลการประชุมเฟดในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 93% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 91% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : หุ้นสายการบินร่วงฉุดดาวโจนส์ปิดลบ 44.11 จุด ตลาดจับตาประชุมเฟด

     ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงอย่างหนักของหุ้นกลุ่มสายการบิน หลังจากสายการบินต่างๆได้ยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมาก อันเนื่องมาจากผลกระทบของพายุหิมะ ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากมีรายงานว่า สมาชิกของกลุ่มโอเปกหลายรายยังคงผลิตน้ำมันเกินกว่าโควตาที่กำหนด นอกจากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ

      ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,837.37 จุด ลดลง 44.11 จุด หรือ -0.21% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,856.82 จุด ลดลง 18.96 จุด หรือ -0.32% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,365.45 จุด ลดลง 8.02 จุด หรือ -0.34%

     หุ้นกลุ่มสายการบินร่วงลงอย่างหนัก หลังจากที่สายการบินต่างๆได้ยกเลิกเที่ยวบินรวมกันมากกว่า 6,000 เที่ยว ท่ามกลางพายุหิมะที่กำลังพัดถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ โดยหุ้นยูไนเต็ด คอนติเนนตัล โฮลดิ้งส์ ร่วงลง 4.7% หุ้นอเมริกัน แอร์ไลน์ส ร่วงลง 2.7% หุ้นเดลต้า แอร์ไลน์ ดิ่งลง 2.26% หุ้นเซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ ปรับตัวลง 3%

      ทั้งนี้ อิทธิพลของพายุหิมะในสหรัฐยังส่งผลให้การพบปะระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้ถูกเลื่อนออกไป ขณะที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในนครนิวยอร์กต้องปิดทำการเมื่อวานนี้เช่นกัน

      อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐได้ออกแถลงการณ์เมื่อวานนี้ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟด จะยังคงจัดการประชุมกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 14-15 มี.ค.ตามกำหนด แม้กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงานของเฟดกำลังเผชิญกับพายุหิมะ เช่นเดียวกับฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ จนส่งผลกระทบต่อการเดินทางก็ตาม

       ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า สมาชิกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) หลายรายยังคงผลิตน้ำมันเกินกว่าโควตาที่กำหนด โดยหุ้นมาราธอน ออยล์ ร่วงลง 3.3% หุ้นทรานส์โอเชียน ร่วงลง 1.6% ขณะที่หุ้นกองทุน ETF กลุ่มพลังงานของสหรัฐ ปรับตัวลงติดต่อกัน 7 วันทำการ

        หุ้นเมซีส์ ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของสหรัฐ ดีดตัวขึ้น 0.2% หลังจากมีรายงานว่า ฮัดสันส์ เบย์ ห้างค้าปลีกของแคนาดาซึ่งเคยเสนอซื้อกิจการเมซีส์นั้น ได้หันไปยื่นข้อเสนอซื้อกิจการ Neiman Marcus ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าระดับหรูของสหรัฐ

       หุ้นกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพปิดทรงตัวเป็นส่วนใหญ่ หลังจากมีกระแสคาดการณ์ว่า ร่างกฎหมาย "อเมริกันเฮลธ์แคร์" ซึ่งพรรครีพับลิกันเสนอให้นำมาใช้แทนกฎหมายประกันสุขภาพ "Affordable Care Act (ACA)" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "โอบามาแคร์" นั้น จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรส

       ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมของเฟดในวันนี้ตามเวลาสหรัฐฃ

      CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 93% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 91% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์

        นอกเหนือจากการประชุมเฟดแล้ว นักลงทุนยังจับตาเหตุการณ์อื่นๆที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง การเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ในวันนี้, การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพุธและพฤหัสบดี รวมทั้งการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G20 ในวันศุกร์และเสาร์นี้

         สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ตลาดจับตาในสัปดาห์นี้ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนก.พ., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนเดือนม.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. และ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

      อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!