WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET26ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์-ซึมลง ราคาน้ำมันร่วงกดดัน-ขาดปัจจัยใหม่

       นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์และซึมลง เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจนหลุด 49 เหรียญฯ/บาร์เรลไปแล้ว ทำให้เกิดแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์

       นอกจากนี้ เชื่อว่าจะยังมีแรงขายหุ้น GL อย่างต่อเนื่องหลังจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศให้เป็นหลักทรัพย์ที่ต้องใช้เกณฑ์ Cash Balance อีกทั้งในมีหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมาย XD เพื่อจ่ายปันผลหลายตัว ซึ่งมีผลต่อดัชนี SET ราว 0.75 จุด

      ขณะที่ตลาดฯขาดปัจจัยใหม่ ระหว่างรอการประชุมของหลายธนาคารกลางในสัปดาห์นี้ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประชุม 14-15 มี.ค., ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประชุม 15-16 มี.ค., ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุม 16 มี.ค. รวมทั้งต้องติดตามการเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 15 มี.ค.นี้ด้วย

        ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่อยู่ในแดนบวก พร้อมให้แนวรับ 1,530-1,535 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,550 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

        - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (10 มี.ค.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,902.98 จุด เพิ่มขึ้น 44.79 จุด (+0.21%),  ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,861.73 จุด เพิ่มขึ้น 22.92 จุด (+0.39%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,372.60 จุด เพิ่มขึ้น 7.73 จุด (+0.33%)

       - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 58.87 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 3.31 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 74.63 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 28.67 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 5.02 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 5.69 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 0.83 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 67.47 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ลดลง 1.48 จุด

       - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (10 มี.ค.60) 1,539.91 จุด ลดลง 9.33 จุด (-0.60%)

      - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,287.31 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 มี.ค.60

      - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน เม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (10 มี.ค.60) ปิดที่ 48.49 ดอลลาร์/บาร์เรล  ลดลง 79 เซนต์ หรือ 1.60%

      - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (10 มี.ค.60) ที่ 5.85 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

      - เงินบาทเปิด 35.32 คาดพักฐานรอผลประชุม FOMC มองกรอบวันนี้ 35.20-35.50

      - "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2560 ได้เห็นชอบแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยาน เพื่อผลักดันไทยให้เป็นฮับสายการบินในภูมิภาค ในสัปดาห์นี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอรายชื่อคณะกรรมการนโยบายอุตสาหกรรมการบินให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามแต่งตั้ง

     -  นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า คาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ของปี 2560 จะอยู่ในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. โดยคาดว่าพีกสูงสุดจะ อยู่ที่ 30,086 เมกะวัตต์ ขยายตัว 1.6% จากปีก่อนที่ระดับ 29,618 เมกะวัตต์

     - เมื่อเร็วๆ นี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ประกอบด้วย คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมสรรพสามิต เพื่อกำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดแพ็กเกจมาตรการ สนับสนุนรวมเป็นชุดเดียวกัน และเตรียมจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือน มี.ค.นี้

     - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (นันแบงก์) เดือน ม.ค. 2560 ว่า จำนวนบัญชีผู้ใช้สินเชื่อรวมทั้งระบบลดลงจากเดือนก่อนหน้าถึง 1.02 ล้านบัญชี หรือ 7.5% จาก 13.7 ล้านบัญชี เหลือ 12.7 ล้านบัญชี โดยลดลงจากบัญชีของนันแบงก์ 1 ล้านบัญชี และธนาคารพาณิชย์ลดลง 2.4 หมื่นล้านบัญชี ขณะที่ยอดสินเชื่อรวมลดลง 5,951 ล้านบาท หรือ 1.8% จาก 3.38 แสนล้านบาท เหลือ 3.32 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่ 4,505 ล้านบาท ลดลงจากยอดสินเชื่อของนันแบงก์

     - กรมสรรพสามิตตั้งเป้าการเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2561 ที่จะเริ่มวันที่ 1 ต.ค. 2560 นี้ สูงถึง 6 แสนล้านบาท ขยายตัว 8.1% เทียบกับปีงบประมาณ 2560 ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ 5.55 แสนล้านบาท ถึงแม้ว่าการเก็บภาษีในช่วง 4 เดือนแรกจะต่ำกว่าเป้าหมาย 2,000 ล้านบาท แต่แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีจะทำให้เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น 5-10% ทำให้การเก็บภาษีปีงบประมาณ 2560 ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

*หุ้นเด่นวันนี้

      - FN (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 10.20 บาท เปิดสาขาใหม่แห่งที่ 9 ที่ อ.หาดใหญ่ ใน เม.ย.นี้ มองบวกเพราะนอกจากจะเป็นการเปิดสาขาใหม่ตามแผนแล้ว ยังทำให้ร้าน Save Now ที่ยังขาดทุนเพราะทำเลที่ตั้งไม่ดีจะไม่ต้องรับรู้ผลขาดทุนอีกต่อไป ส่วนสาขาที่ 10 (สาขาที่ 2 ของปีนี้) จะเปิดใน Q4/60 แนวโน้มกำไรสุทธิใน Q1/60 น่าจะทรงตัวถึงดีขึ้น Q-Q และทำจุดสูงสุดของปีใน Q4/60 ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 60 +43.2% Y-Y เป็น Top pick กลุ่มค้าปลีก

      - KTB (โกลเบล็ก) เป้า 21.60 บาท คาดกำไรสุทธิปี 60 ราว 3.33 หมื่นลบ. +3.3%  จากสินเชื่อที่ขยายตัวขึ้น 4-6% ตามทิศทางการลงทุนภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และ SME รวมถึงได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น พร้อมคาดเงินปันผลปี 59 ราว 0.85 บาทต่อหุ้น yield 4.5%

     - AAV (ธนชาต) "ซื้อ"เป้า 7.20 บาท แม้มองธุรกิจการบินแข่งขันสูง แต่ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคู่แข่งส่งผลให้ AAV สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ ปรับกำไรขึ้น 28-31% ในปี 60-62 ถ้าพิจารณาในทางเทคนิคอิง Trade Code ราคาหุ้นอยู่ที่ รอฟื้นตัว" ลุ้นนทดสอบแนวต้าน 6.2-6.25 ระยะสั้น

ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ ขณะนักลงทุนจับตาประชุมเฟดสัปดาห์นี้

        ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในเช้าวันนี้ โดยตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวลงเนื่องจากเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นนิวยอร์ก ขานรับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่แข็งแกร่งในเดือนก.พ.

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,545.74 จุด ลดลง 58.87 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,209.45 จุด ลดลง 3.31 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,643.30 จุด เพิ่มขึ้น 74.63 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,656.56 จุด เพิ่มขึ้น 28.67 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,102.37 จุด เพิ่มขึ้น 5.02 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,139.04 จุด เพิ่มขึ้น 5.69 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,716.75 จุด ลดลง 0.83 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,213.74 จุด เพิ่มขึ้น 67.47 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดวันนี้ที่ 5,389.20 จุด ลดลง 1.48 จุด

       ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐพุ่งขึ้น 235,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.7% ซึ่งข้อมูลจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่งส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค.นี้

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดบวก 28.12 จุด ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษ,สหรัฐ

     ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) หลังจากปิดปรับตัวลงติดต่อกัน 6 วันทำการ โดยตลาดได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษและสหรัฐ

       ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 7,343.08 จุด เพิ่มขึ้น 28.12 จุด หรือ +0.38%

      ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวขึ้น หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ รายงานว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าอยู่ที่ระดับ 1.0833 หมื่นล้านปอนด์ในเดือนม.ค. ลดลงจากระดับ 1.0915 หมื่นล้านปอนด์ในเดือนธ.ค.

                ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติยังเปิดเผยว่า ตัวเลขการผลิตในภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.4% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน แต่เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบรายปี

                นอกจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นที่ตลาดลอนดอนจากปัจจัยข้อมูลการจ้างงานสหรัฐแข็งแกร่ง

                กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 235,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.7%

                นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 4.7%

                CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 93% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 91% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐเมื่อคืนนี้

                หุ้น BT บริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ของอังกฤษ พุ่งขึ้น 3.7% หลังจากประกาศเตรียมแยกธุรกิจบรอนด์แบนด์ Openreach ซึ่งช่วยคลี่คลายข้อพิพาทกับองค์กรกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของอังกฤษ (Ofcom) ในประเด็นความโปร่งใสของบริษัท

                หุ้น Esure ปรับตัวขึ้น 7.9% หลังเปิดเผยผลกำไรตลอดปีพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นในกรอบจำกัด วิตกข่าวจนท. ECB ถกประเด็นขึ้นดบ.

            ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) โดยบรรยากาศการซื้อขายได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาตลาดลดช่วงบวก หลังจากมีรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้หารือกันประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนยุติโครงการซื้อพันธบัตร

                ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 373.23 เพิ่มขึ้น 0.1%

                ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,993.32 จุด เพิ่มขึ้น 11.81 จุด หรือ +0.24% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,963.18 จุด ลดลง 15.21 จุด หรือ -0.13% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,343.08 จุด เพิ่มขึ้น 28.12 จุด หรือ +0.38%

                ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงหนุนจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนก.พ.

                กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 235,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.7%

                นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 4.7%

                CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 93% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 91% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐเมื่อคืนนี้

                อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปลดช่วงบวกในเวลาต่อมา หลังจากมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ ECB ได้หารือกันในการประชุมวันพฤหัสบดีว่า ธนาคารจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จะยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือไม่ โดยข่าวดังกล่าวสวนทางกับการเปิดเผยของนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB ภายหลังการประชุม โดยนายดรากีระบุยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะใช้นโยบายการเงินเพิ่มเติม

                ในการประชุมวันพฤหัสบดี ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

                ECB ยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.4% ซึ่งหมายความว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายค่าฝากแก่ ECB หากมีการนำเงินส่วนเกินมาพักไว้ที่ ECB ซึ่งมาตรการดังกล่าวของ ECB มีขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ แทนที่จะนำมาพักไว้ที่ ECB

                นอกจากนี้ ECB ยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25%

                ขณะเดียวกัน ECB ได้ประกาศคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือนจนถึงสิ้นเดือนมี.ค. ก่อนที่จะปรับลดสู่ระดับ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน ตั้งแต่เดือนเม.ย.-ธ.ค.

                หุ้น Repsol ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของสเปน พุ่งขึ้น 2.5% หลังจากบริษัทได้ค้นพบแหล่งน้ำมันซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองถึง 1.2 พันล้านบาร์เรลในบริเวณ North Slope ของรัฐอลาสกาของสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการค้นพบแหล่งน้ำมันบนบกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปีของสหรัฐ

                หุ้นยูบีเอส ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ เพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากมีรายงานว่าธนาคารได้ปรับลดค่าจ้างประธานบริหารในปีที่ผ่านมา

                หุ้นโฟล์คสวาเกน เพิ่มขึ้น 0.2% จากข่าวว่ากับบริษัทกำลังหารือกับทาทา มอเตอร์ เพื่อเดินหน้าความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์

                ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.5%

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวก 44.79 จุด รับตัวเลขจ้างงานสหรัฐแกร่ง

                ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (10 มี.ค.) ขานรับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่งในเดือนก.พ. ซึ่งบ่งชี้ความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า

                ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,902.98 จุด เพิ่มขึ้น 44.79 จุด หรือ +0.21% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,861.73 จุด เพิ่มขึ้น 22.92 จุด หรือ +0.39% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,372.60 จุด เพิ่มขึ้น 7.73 จุด หรือ +0.33%

                ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 235,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.7%

                นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 4.7%

                ขณะเดียวกัน ตัวเลขรายได้ต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. หรือ 2.8% เมื่อเทียบรายปี

                ส่วนตัวเลขอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของสหรัฐ ซึ่งแสดงสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 63.0% ในเดือนก.พ.

                ข้อมูลจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า

                ทั้งนี้ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 93% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 91% ก่อนการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐเมื่อคืนนี้

       ในสัปดาห์ที่แล้วนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐที่ Executives Club of Chicago โดยเธอระบุว่า "ในการประชุมครั้งต่อไปของเฟดซึ่งจะมีขึ้นในเดือนนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) จะประเมินว่า ตัวเลขการจ้างงานและเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของเราหรือไม่ ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ก็เป็นเรื่องที่เหมาะสม"

       สำหรับ หุ้นบลูชิพส่วนใหญ่หรือเกิน 2 ใน 3 ปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้  โดยหุ้นเจเนอรัลอิเล็กทริก เพิ่มขึ้น 2.09% หุ้นโกลด์แมน แซคส์ลดลง 0.72% หุ้นยูไนเต็ดเฮลธ์พุ่งขึ้น 1.17%

                หุ้นเซาธ์เวสต์ แอร์ไลน์ส ลดลง 0.9% หลังจากสายการบินปรับลดแนวโน้มรายได้ในไตรมาสแรก

                หุ้น ULTA ซึ่งเป็นธุรกิจร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์ความงาม พุ่งขึ้น 4.6% ขานรับแนวโน้มผลประกอบการสดใส

                ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 0.5% ดัชนี S&P 500 ลดลง 0.4% และดัชนี NASDAQ ลดลง 0.2%

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!