WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET19 copyโบรกฯ คาดสัปดาห์หน้า SET ผันผวนลดลง ต่างชาติเริ่มขายตอบรับคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยเดือนธ.ค.นี้

    โบรกฯ คาดสัปดาห์หน้าหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนลดลง หลังเริ่มเห็นสัญญาณนักลงทุนต่างชาติเริ่มขายตอบรับคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือนธ.ค.นี้  และภาพรวมงบ Q3/59 ต่ำกว่าคาด กดกำไรต่อหุ้นลด ทำหุ้นไทยแพง แนะเน้นขายทำกำไรหรือลดพอร์ต ประเมินแนวรับ 1,460 จุด แนวต้าน 1,510 จุด

    นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า ดัชนีฯ หุ้นเคลื่อนผันผวนอิงทางลบ บรรยากาศการลงทุนค่อนข้างเงียบเหงา ถ้าไม่นับรวมมูลค่าการซื้อขายหุ้นเข้าใหม่จะพบว่ามูลค่าการซื้อขายเหลือเพียง 4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น โดยการซื้อขายในสัปดาห์นี้ ดัชนีฯ เคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากขาดปัจจัยหลักกระตุ้น

   ขณะเดียวกัน เริ่มเห็นแรงขายของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น สอดคล้องกับการปรับตัวของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาเร็วมาก ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อหุ้นไทย เพราะจะทำให้กระแสเงินทุนไหลออกได้

    "สิ่งที่ต้องติดตามในขณะนี้คือ bond yeild ของสหรัฐฯ เป็นหลัก ขึ้นมาเร็วมาก ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อหุ้นไทย เพราะทำให้โฟล์วในช่วงสั้นไหลออก" นายนณัฐชาตกล่าว

     ส่วนผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทย(บจ.) Q3/59 นับว่าน่าผิดหวัง โดยเฉพาะกลุ่มแบงก์ที่ออกมาต่ำกว่าคาดค่อนข้างมาก และมีแนวโน้มต้องตั้งสำรองสูงไปจนถึงปี 60 ทั้งปี และจะส่งผลกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวม เพราะบจ.ที่เหลือกำลังจะทยอยประกาศออกมา คาดว่าไม่มีอะไรโดดเด่น มีเพียงหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กบางตัวเท่านั้น เช่น กลุ่มส่งออกเกี่ยวกับอาหาร กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่ไม่ได้ส่งผลต่อดัชนีฯ มากนัก เพราะไม่ใช่หุ้นขนาดใหญ่

    สำหรับสัปดาห์หน้า คาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนอิงทางลง เนื่องจากเผชิญแรงกดดันจากการขายของนักลงทุนต่างชาติ ที่ตอบรับ (price in) ต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ล่าสุดเสียงคาดการณ์ใน Bloomberg concensus พุ่งขึ้นมา 73% และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก 

   "ต่างชาติ เริ่ม price in เรื่องเฟดขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งขณะนี้ 73% แล้ว และยังไม่จบเท่านี้ นั่นจะทำให้เงินยังมีโอกาสออกไปได้อีก" นายณัฐชาตกล่าว

    ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์หน้า มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น อัตราเงินเฟ้อ ตัวเลข ISM และตัวเลข non-farm payroll รวมถึงจีนที่จะประกาศตัวเลข PMI ด้วย อีกทั้งการประชุมธนาคารกลางสำคัญสองแห่ง ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แม้คาดว่าไม่น่าจะมีอะไรเพิ่มเติม แต่ยังไม่ตัดประเด็นว่า BOJ มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ติดลบมากขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ -0.10% และการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ย โดยให้น้ำหนักไปที่การประชุมเดือน ธ.ค. มากกว่า

    ด้านกลยุทธ์ แนะขายทำกำไรหรือขายเพื่อปรับลดพอร์ต ส่วนการซื้อหุ้น ควรพิจารณาเมื่อดัชนีฯ ย่อตัวไปที่แนวรับ 1,460-1,450 จุด พร้อมกับประเมินแนวรับ 1,460 จุด แนวต้าน 1,510 จุด

     "กลยุทธ์ตอนนี้ คนที่มีหุ้นเต็มพอร์ตหรือหุ้นเยอะ ให้ขายทำกำไรหรือขายปรับลดพอร์ต ที่ 1,500 จุด หรือ 1,490 จุด ยังพอได้ เพราะแนวโน้ม earning ที่ต่ำกว่าคาด จะกดให้ EPS ลดลง หุ้นจะแพงขึ้น ส่วนถ้าจะซื้อรอที่แนวรับ 1,460-1,450 จุด ดีกว่า ในแง่ของ valuation" นายณัฐชาตกล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!