WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET16ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์กรอบแคบ เจอแรงกดดันจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าต่อเนื่อง

     นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคระห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์ในกรอบแคบ แม้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวขึ้นเมื่อวานนี้ แต่เป็นปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละตลาดฯ โดยตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้น จากเรื่องผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดี และก็มีประเด็นเรื่องบริษัท เอที&ที ได้ประกาศซื้อกิจการของบริษัท ไทม์ วอร์เนอร์

     สำหรับ ปัจจัยในประเทศ คาดว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่จะออกมาไม่ได้เด่นมากนัก อีกทั้งเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดย US Dollar Index ได้ปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือน ทำให้ไปกดดันตลาดฯ

       ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ โดยสัปดาห์นี้ให้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ และการให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นต้น

พร้อมให้แนวรับ 1,490 จุด ส่วนแนวต้าน 1,505-1,510 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

     - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (24 ต.ค.59) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,223.03 จุด เพิ่มขึ้น 77.32 จุด (+0.43%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,309.83 จุด เพิ่มขึ้น 52.43 จุด (+1.00%), ดัชนี S&P500 ปิดที่  2,151.33 จุด เพิ่มขึ้น 10.17 จุด (+0.47%)

      - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 64.21 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 0.28 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 22.39 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 15.59 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 5.45 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 2.32 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 0.32 จุด

      - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (21 ต.ค.59) 1,500.37 จุด เพิ่มขึ้น 7.64 จุด (+0.51%)

     - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 534.74 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 ต.ค.59

     - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ธ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (24 ต.ค.59) ปิดที่ 50.52 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 33 เซนต์ หรือ 0.7%

    - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (24 ต.ค.59) ที่ 6.78 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

    - เงินบาทเปิด 35.07/08 แข็งค่าจากวันศุกร์ มองกรอบวันนี้ 34.95-35.15

     - นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างออกแบบการจัดเก็บภาษีจากส่วนต่างของราคาที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ทั้งถนน มอเตอร์เวย์ ท่าเรือ สนามบิน หรือรถไฟ รวมถึงโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจด้วย

      - รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำการศึกษาการเพิ่มการสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้งด้านภาษีและการลงทุนสำหรับรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด เพิ่มเติมขึ้นจากปัจจุบันให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับรถยนต์ไฟฟ้า แต่ไม่เทียบเท่ากับรถยนต์ไฟฟ้า

     - ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผย สศค.จะต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้อย่างใกล้ชิด โดยจับตาดูตัวเลขในเดือน ต.ค.มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นเดือนที่ประชาชนอยู่ในภาวะโศกเศร้า และอยู่ในช่วงแห่งความอาลัย ทำให้การบริโภคในประเทศอาจลดลงในบางกลุ่ม เช่น กลุ่มภาคบริการ กลุ่มร้านอาหารที่มีดนตรี และขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจกระทบกลุ่มภาคการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงได้

    - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจด้านการเงินและการธนาคาร ในส่วนเงินรับฝากและเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละภาค ประจำเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มียอดคงค้างเงินรับฝากอยู่ที่ 6.54 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 2.84 หมื่นล้านบาท หรือ 4.53% แต่มียอดคงค้างเงินให้สินเชื่ออยู่ที่ 8.06 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.01 หมื่นล้านบาท หรือ 2.56% ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงขึ้นเป็น 123.26% ซึ่งเป็นยอดการกู้เงินสูงที่สุดเมื่อเทียบกับภาคใต้และภาคเหนือ

       - ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ตามแผนของกระทรวงคมนาคมว่า ขณะนี้มีรถไฟฟ้า 2 สายที่ได้เสนอรายละเอียดการดำเนินโครงการไปให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วคือ 1.รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน (งานโยธา) 101,112 ล้านบาท และ 2.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน (งานโยธา) 14,790 ล้านบาท โดยจากนี้ทางกระทรวงคมนาคมจะมีการพิจารณารายละเอียดก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการ จากนั้น รฟม.จึงเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมา โดยตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างได้ใกล้เคียงทั้ง 2 สายปี 2560

     - ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯธอส.เผยตลาดที่อยู่อาศัยปีหน้าเข้าสู่จุดสมดุล ความกังวลเรื่องโอเวอร์ซัพพลายน้อยลง หลัง มาตรการรัฐช่วยดูดสต็อกเก่าได้มาก อีกทั้งผู้ประกอบการมีแนวโน้มเปิดโครงการใหม่ลดลง ต่ำสุดในรอบ 9-10 ปี

       - ธปท.ยอมรับสินเชื่อปีนี้ส่อโต ต่ำสุดรอบ 6 ปี หลัง 8 เดือนแรกโต เพียง 2% เหตุช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.โตอืด ชี้ผลจากเศรษฐกิจโตกระจุก อีกทั้งภาคเอกชน-รัฐหันระดมทุนผ่านตลาดบอนด์มากขึ้น

*หุ้นเด่นวันนี้

    - VNG (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 18 บาท มีแผนเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าชีวมวลที่คาดว่าจะเริ่มประมูลได้ช่วงเดือน ก.พ. ปี60 ขนาด 400MW เบื้องต้นคาดกำลังผลิตที่ 9.9 MW โดย VNG มีเศษไม้ที่เหลือจากการผลิตสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 20-30MW พร้อมคาดในปี 60 ผลการดำเนินงานมีโอกาสทำ New High ภายใต้การรับรู้กำลังการผลิตเต็มที่ ทั้ง MDF และ Laminate Flooring เพิ่มขึ้น 24% และ 19% ตามลำดับ ทำให้คาดรายได้ขาย 12,583 ล้านบาท +14% และคาดความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น โดยคาด Gross Profit Margin เฉลี่ยประมาณ 30% และคาดกำไรสุทธิ ประมาณ 1,884 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% หรือ 1.20 บาท/หุ้น

     - BAY (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้าปีหน้า 42 บาท ประกาศกำไรสุทธิ Q3/59 ออกมาแข็งแกร่งที่ 5.8 พันลบ. +11% Q-Q, +20% Y-Y ดีกว่าฟินันเซียฯและตลาดคาดจากทั้งรายได้ดอกเบี้ยและไม่ใช่ดอกเบี้ยที่โตแข็งแกร่งรวมถึงหนี้สูญรับคืน ขณะที่ฝั่งต้นทุนควบคุมได้ดี ทำให้ NIM ทรงตัวในระดับสูง 3.77% ใกล้เคียง 2Q59 เงินให้สินเชื่อเติบโตเกินคาด +7.7% YTD โดยมีการรวมกิจการ HKL ซึ่งเป็น Micro Finance ในกัมพูชาเป็นไตรมาสแรก ขณะที่ NPL ลดลงเหลือ 2.1% ซึ่งต่ำที่สุดในกลุ่มธนาคาร ส่วน Coverage Ratio อยู่ที่ 152% เป็นรองเพียง BBL

     - KTC (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้าปีหน้า 168 บาท ประกาศกำไรสุทธิ 3Q59 ดีกว่าฟินันเซียฯและตลาดคาดโดย +10% Q-Q, +28% Y-Y และทำจุดสูงสุดใหม่จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่แข็งแกร่ง ขณะที่ฝั่งต้นทุนยังสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2559-2560 เติบโตเฉลี่ยปีละ 18% Y-Y และเริ่มเห็น Upside จากรายได้ดอกเบี้ยที่อาจขยายตัวดีกว่าคาดจากการขยายตัวของสินเชื่อบุคคลซึ่งมีผลตอบแทนสูงและการตั้งสำรองที่น่าจะผ่อนคลายลงตามคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น โดยล่าสุด NPL ลดลงเหลือ 1.86%

      - SYNEX (เคทีบี) "ซื้อ"เป้าปีหน้า 6.80 บาท คาดกำไรสุทธิ Q3/59 จะกลับมาเด่น และดีสุดในรอบ 14 ไตรมาส จากรายได้ที่คาดว่าจะทำสถิติสูงสุดใหม่ และแนวโน้มรายได้งวด Q4/59 มีลุ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ได้ต่อ จึงมองอนาคตสดใส ทั้งกำไรที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงแผนธุรกิจใหม่ๆ ที่อยู่ระหว่างการเจรจา โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุป 1 ดีล ภายในปีนี้

ตลาดหุ้นเอเชียบวกขึ้นเช้านี้ ขานรับผลประกอบการเอกชน-ข้อมูลศก.สหรัฐ

      ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในเช้าวันนี้ ตามทิศทางของตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดบวกเมื่อคืน ขานรับตัวเลขผลประกอบการที่สดใสของบริษัทต่างๆ รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น

     ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.2% สู่ระดับ 140.28 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 17,298.63 จุด เพิ่มขึ้น 64.21 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,127.97 จุด ลดลง 0.28 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,581.69 จุด ลดลง 22.39 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,338.09 จุด เพิ่มขึ้น 15.59 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,042.29 จุด ลดลง 5.45 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,854.36 จุด ลดลง 2.32 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,677.44 จุด ลดลง 0.32 จุด

    ทั้งนี้ ดัชนี PMI ของสหรัฐซึ่งจัดทำโดยมาร์กิต ดีดตัวขึ้นแตะระดับ 53.2 ในเดือนต.ค. ซึ่งสูงกว่าระดับคาดการณ์ที่ 51.2 และยังสูงกว่าระดับเดือนก.ย.ซึ่งอยู่ที่ 51.5

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 34.07 จุด หลังราคาน้ำมัน-หุ้นเฮลท์แคร์ร่วง

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (24 ต.ค.) หลังหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงบริษัทพลังงานและเหมืองแร่ ร่วงลงตามราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ภาวะซื้อขายยังถูกกดดันจากหุ้นกลุ่มบริการสุขภาพที่ปรับตัวลดลงด้วย

     ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลง 34.07 จุด หรือ -0.49% ที่ 6,986.4 จุด

     หุ้นปรับตัวลดลงเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม มีเพียงกลุ่มการเงินที่ปรับตัวขึ้น หลังนักวิเคราะห์จากเจพี มอร์แกน แนะให้นักลงทุนซื้อหุ้นแบงก์ยุโรป

    หุ้นโพรวิเดนท์ ไฟแนนเชียล บวก 2.80% หุ้นสแตนดาร์ด ไลฟ์ แอนด์ ชโรเดอร์ บวก 1.39%

    หุ้นพลังงานปิดแดนลบตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะสามารถบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายเรื่องการลดกำลังการผลิต ภายหลังเจ้าหน้าที่ของอิรักออกมาเผยว่า อิรักอาจไม่เข้าร่วมในข้อตกลงลดการผลิตของกลุ่มโอเปก

                โดยหุ้นบีพีลดลง 1.2% รอยัล ดัทช์ เชลล์ ลบ 0.2%

                หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลงเช่นกัน นำโดยแองโกล อเมริกัน ที่ลดลง 2.6% แรนด์โกลด์ รีซอร์สเซส ลบ 2.3%

                หุ้นกลุ่มบริการสุขภาพถ่วงตลาด หลังข้อเสนอเทคโอเวอร์บริษัทซินเจนทา ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตและจัดจำหน่ายเคมีเกษตรและเมล็ดพันธุ์พืชสัญชาติสวิส โดยบริษัทเคมไชน่านั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่ผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรป

                หุ้นแอสตร้าเซนเนก้าร่วง 2% หุ้นฮิกมา ฟาร์มาซูติคอลส์ ร่วงหนัก 2.7%

                หุ้นเบอร์เบอร์รี่ลบ 2.1% หลังจากที่ยังคงมีข่าวลืออย่างต่อเนื่องว่า บริษัทแฟชั่นระดับไฮเอนด์อาจควบรวมกิจการกับโค้ช

                หุ้นอีซี่เจ็ทพุ่ง 1.4% สวนทางตลาด หลังจากที่ยูบีเอสได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าลงทุนในหุ้น

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดเกือบทรงตัว หุ้นแบงก์แกร่ง, หุ้นเฮลท์แคร์ร่วง

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดเกือบทรงตัวเมื่อคืนนี้ (24 ต.ค.) โดยหุ้นกลุ่มธนาคารซึ่งปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ 5 ได้ช่วยชดเชยแรงขายหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์ นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายยังได้แรงหนุนจากข้อมูล PMI ของยูโรโซนและประเทศรายใหญ่ในภูมิภาคที่ออกมาสดใส ขณะที่ตลาดหุ้นสเปนพุ่งแรง หลังภาวะชะงักงันทางการเมืองที่ยืดเยื้อมานานนับ 10 เดือนได้คลี่คลายลง

      ดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับลง 0.03 จุด หรือ -0.01% ปิดที่ระดับ 344.26

      ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปรับตัวขึ้น 16.51 จุด หรือ +0.36% ปิดที่ 4,552.58 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันเพิ่มขึ้น 50.44 จุด หรือ +0.47% ปิดที่ 10,761.17 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 34.07 จุด หรือ -0.49% ปิดที่ 6,986.40 จุด

      ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงหนุนจากผลสำรวจ PMI ของยูโรโซนที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการผลิต ซึ่ง PMI ภาคการผลิตทั้งของยูโรโซน ฝรั่งเศส และเยอรมนีต่างทำสถิติสูงสุดในรอบปีนี้

      มาร์กิต อิโคโนมิคส์ เปิดเผยในวันจันทร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนขั้นเบื้องต้นเดือนต.ค. อยู่ที่ระดับ 53.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.6 ในเดือนก.ย. และทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 เดือน

    ดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมในภาคธุรกิจมีการขยายตัว ขณะที่ดัชนีต่ำกว่า 50 บ่งชี้ถึงภาวะหดตัว

     ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.5 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 เดือน จากระดับ 52.2 เมื่อเดือนก.ย. ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นในเดือนต.ค.ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 30 เดือนที่ 53.3 จากระดับ 52.6 ในเดือนก.ย.

      มาร์กิตระบุว่า เศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนเดือนต.ค.ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งที่สุดในปีนี้ นำโดยเยอรมนี โดยดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการของเยอรมนีขั้นเบื้องต้นเดือนต.ค. อยู่ที่ระดับ 55.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.8 ในเดือนก.ย. และทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 เดือน

     มาร์กิตระบุว่า กิจกรรมภาคบริการของเยอรมนีได้ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 54.1 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 50.9 เมื่อเดือนก.ย. ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นในเดือนต.ค. ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 33 เดือนที่ 55.1 จากระดับ 54.3 ในเดือนก.ย.

     ตลาดหุ้นเยอรมันได้แรงหนุนจากข้อมูล PMI ดังกล่าว เช่นเดียวกับตลาดหุ้นฝรั่งเศส โดยถึงแม้ดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นของฝรั่งเศสได้ลดลงสู่ระดับ 52.1 จากระดับ 53.3 ในเดือนก.ย. แต่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนต.ค. ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 51.3 จากระดับ 49.7 ในเดือนก.ย.

     ด้านตลาดหุ้นสเปนพุ่งแรงสุดในยุโรป โดยดัชนี IBEX บวก 1.27% หลังจากภาวะชะงักงันทางการเมืองนาน 10 เดือนได้สิ้นสุดลง ภายหลังพรรคสังคมนิยม ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ยอมยกเลิกการใช้สิทธิยับยั้งหรือวีโต้ขัดขวางพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคสายอนุรักษ์นิยมของนายมาริอาโน ราฮอย รักษาการนายกรัฐมนตรี ในการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย เปิดทางให้นายราฮอยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกหนึ่งสมัย

     หุ้นกลุ่มธนาคารทั่วยุโรปปรับตัวขึ้น หลังจากที่นักวิเคราะห์จากเจพี มอร์แกน แนะให้นักลงทุนซื้อหุ้นแบงก์ยุโรป

      หุ้นกลุ่มบริการด้านสุขภาพปรับตัวลดลง หุ้นแอสตร้าเซนเนก้าร่วง 2% หุ้นโรชลดลง 0.7%

      หุ้นซินเจนทา บริษัทผู้ผลิตผลิตและจัดจำหน่ายเคมีเกษตรและเมล็ดพันธุ์พืชสัญชาติสวิส ร่วง 5.8% หลังบริษัทซินเจนทาและบริษัทเคมไชน่าไม่สามารถยื่นชี้แจงเรื่องการผูกขาดการค้าต่อหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปได้ทันกำหนดเส้นตาย ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าข้อเสนอของเคมไชน่าในการควบรวมกิจการซินเจนทาอาจประสบกับความล้มเหลว

     หุ้นฟิลิปส์พุ่ง 4.4% หลังบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเนเธอร์แลนด์เปิดเผยผลกำไรไตรมาส 3 ปี 2559 พุ่งขึ้นแข็งแกร่งถึง 18% จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นและจากแผนการประหยัดต้นทุน

      หุ้นอีซี่เจ็ทพุ่ง 1.4% หลังจากที่ยูบีเอสได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าลงทุนในหุ้น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวก 77.32 จุด อานิสงส์ผลประกอบการ-ข่าวควบรวมกิจการ

    ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวสูงขึ้นเมื่อคืนนี้ (24 ต.ค.) เนื่องจากตัวเลขผลประกอบการที่สดใสของบริษัทต่างๆ รวมทั้งข่าวการประกาศการควบรวมกิจการ

      ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,223.03 จุด เพิ่มขึ้น 77.32 จุด หรือ 0.43% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,309.83 จุด เพิ่มขึ้น 52.43 จุด หรือ 1.00% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,151.33 จุด เพิ่มขึ้น 10.17 จุด หรือ 0.47%

     หุ้นทีโมบายล์ ดีดตัวขึ้นถึง 9.50% แตะระดับ 51.19 ดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังจากที่บริษัทได้รายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่สูงกว่าคาดการณ์

     ทีโมบายล์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไร้สายได้รายงานรายได้สุทธิไตรมาส 3 ปี 2559 ว่า อยู่ที่ 366 ล้านดอลลาร์ หรือ 42 เซนต์ต่อหุ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 138 ล้านดอลลาร์ หรือ 15 เซนต์ต่อหุ้น

      เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา บริษัท เอที&ที ได้ประกาศซื้อกิจการของบริษัท ไทม์ วอร์เนอร์ มูลค่า 8.54 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนโฉมบริษัทให้กลายเป็นบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่

     หุ้นเอที&ที ร่วงลง 1.68% แตะ 36.86 ดอลลาร์ เมื่อวานนี้ ภายหลังจากการประกาศข่าวดังกล่าว ส่วนหุ้นไทม์ วอร์เนอร์ ร่วงลง 3.06% แตะ 86.74 ดอลลาร์

     ขณะที่ฮิลตัน เวิลด์ไวด์ โฮลดิ้ง เปิดเผยว่า บริษัท เอชเอ็นเอ ของจีน จะซื้อหุ้นประมาณ 25% ที่ฮิลตันถือครองอยู่ในบริษัท แบล็คสโตน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ

       มูลค่าการทำธุรกรรมคาดว่า จะอยู่ที่ 6.5 พันล้านดอลลาร์ หรือ 26.25 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหุ้นของแบล็คสโตนในฮิลตันลดลงเหลือประมาณ 21%

      จากข่าวดังกล่าวทำให้หุ้นฮิลตัน ขยับขึ้น 0.13% แตะ 22.94 ดอลลาร์ เมื่อวานนี้ ส่วนหุ้นแบล็คสโตน พุ่งขึ้น 2.99% แตะ 24.79 ดอลลาร์ในเดือนต.ค. จากระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนในเดือนก.ย.ที่ 51.5

       นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยดัชนี PMI ของสหรัฐซึ่งจัดทำโดยมาร์กิต ดีดตัวขึ้นแตะระดับ 53.2 ในเดือนต.ค. ซึ่งสูงกว่าระดับคาดการณ์ที่ 51.2 และยังสูงกว่าระดับเดือนก.ย.ซึ่งอยู่ที่ 51.5

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!