WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET47ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้ผันผวนในกรอบแคบอิงลงเล็กน้อย หลังไร้ปัจจัยใหม่-รอผลเฟด

     นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะผันผวนในกรอบแคบ อิงไปในทางลงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดฯไม่ได้มีปัจจัยใหม่ที่น่าตื่นเต้น

      ทางด้านกลุ่มสื่อสาร หลังจาก บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ไม่เข้าร่วมประมูล 4G คลื่น 900 MHz ทำให้เชื่อว่าราคาประมูลคงจะไม่สูงมากอีกแล้ว และแรงกดดันก็คงจะไม่กลับมาเพิ่มอีกหลังจากที่ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ได้รับแรงกดดันไปบ้างแล้วจากการแสดงความต้องการเข้าร่วมประมูล 4G ส่วนหุ้นในกลุ่มแบงก์ต่างก็รับรู้หนี้สงสัยสูญสูงขึ้น และการลดอัตราดอกเบี้ยที่มีผลกระทบต่อกลุ่มแบงก์

      ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะติดลบเล็กน้อย โดยต่างรอดูการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ พร้อมให้แนวรับ 1,400 จุด ส่วนแนวต้าน 1,420 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

       - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (22 เม.ย.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 18,003.75 จุด เพิ่มขึ้น 21.23 จุด (+0.12%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,906.23 จุด ลดลง 39.66 จุด (-0.80%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,091.58 จุด เพิ่มขึ้น 0.10 จุด (+0.00%)

      - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 41.07 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 9.27 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 58.48 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 5.39 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 0.56 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 9.82 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 3.58 จุด

      - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (22 เม.ย.59) 1,410.81 จุด ลดลง 13.09 จุด (-0.92%)

      - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 53.11 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 เม.ย.59

      - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (22 เม.ย.59) ปิดที่ 43.73 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 55 เซนต์ หรือ 1.3%

      - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (22 เม.ย.59) ที่ 5.17 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

   - เงินบาทเปิด 35.08/10 แนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง ลุ้นทดสอบ 35.20 ติดตามประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้

     - พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เปิดเผยว่าการหารือระหว่างตัวแทนไทยกับคณะกรรมาธิการยุโรปด้านประมงและทะเล สหภาพยุโรป (อียู) เรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) คืบหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงที่จะประชุมในวันที่ 19-22 พ.ค.นี้

      - นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า หลังจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งได้ทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง โดยลดดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลง 0.25% ในช่วงต้นเดือน เม.ย. และมาปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ประเภทเบิกเกินบัญชี (MOR) และดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยที่ดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงนั้น สศช.ได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่างไม่เป็นทางการว่า ขอให้ ธปท.ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดว่าเกิดความผิดปกติขึ้นในระบบการเงิน หรือเพราะธนาคารพาณิชย์ห่วงสถานการณ์ลูกค้าสินเชื่อโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี

     - กรรมการเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยแม้ช่วงนี้อยู่ในช่วงปิดหน้ายางประกอบกับภัยแล้งยาวทำให้น้ำยางสดขาดแคลน ส่งผลทำให้ราคาน้ำยางสดพุ่งสูงกว่ายางแผ่นดิบ โดยราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 62 บาท จากเดิม 56 บาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นไปตลอดทั้งปี เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอุตสาหกรรมยาง เช่น ถุงมือยาง ถุงมือแพทย์ ถุงยางอนามัย ต่างออกมาแข่งขันกันซื้อน้ำยางสดสต๊อกไว้ เนื่องจากในสต๊อกยังมีน้ำยางสดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

    - ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกของปี 2559 นั้น ยังคงถูกแรงกดดันภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การขยายตัวของสินเชื่ออันเป็นที่มาของรายได้หลักได้รับผลกระทบไปด้วย ขณะที่ปัญหาด้านคุณภาพหนี้ยังคงมีอยู่และทำให้ธนาคารต้องกันสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ส่งผลให้กำไรของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งลดลง และจากการกันสำรองที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มในระยะต่อไปที่ยังไม่น่าจะดีขึ้นนัก

     - รฟม.เร่งหารือรถไฟจ้างเดินรถรับ-ส่งผู้โดยสารจากสถานีบางซ่อน-บางซื่อ เตรียมพร้อมเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่ ยันบริการฟรีควบคู่รถเมล์ ขสมก. ด้าน สนข.สรุปผลศึกษาสร้างรถไฟฟ้าทางคู่ หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ นำร่องสายแรกเชื่อมมาเลเซีย

     - กฟผ.เล็งนำเข้าก๊าซ LNG ป้อนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ แทนรับจาก ปตท.คาด "พีก" รอบใหม่เกิดต้นเดือน พ.ค.ที่ 29,000 เมกะวัตต์ ยืนยันไฟฟ้าเพียงพอ

     - พาณิชย์อัดงบอีก 400 ล้านบาท หนุน SME เจาะตลาดต่างประเทศ หลังจากโปรเจ็กต์แรก เพิ่มยอดส่งออกได้เกือบ 9,000 ล้านบาท

*หุ้นเด่นวันนี้

    - TOP (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 85 บาท คาด 1Q/59 มีกำไรสุทธิ 4,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% qoq ยังคงแข็งแกร่ง แม้มีผลขาดทุนสต็อกน้ำมันเล็กน้อย และค่าการกลั่นอ่อนตัวลง โดยเฉพาะค่าการกลั่นดีเซล แต่ธุรกิจปิโตรเคมีดีขึ้น พร้อมคาดผลงานปี 59 ยังคงโดดเด่น ไม่มีผลกระทบจากขาดทุนสต็อกมากอีก ขณะที่จะมีกำไรจากโรงไฟฟ้า SPP และโครงการ LAB เข้ามาเสริม คาดผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 4.8%

    - ILINK (เคทีบี) เป้าเฉลี่ย IAA Consensus 20.58 บาท โครงการนำสายไฟลงดิน 127.3 กม. ระยะเวลา 10 ปี มูลค่ารวม 48,717 ล้านบาทของภาครัฐจะส่งผลบวก เนื่องจากทำให้มีดีมานด์สายสัญญาณด้านการสื่อสารและระบบ ICT ต่าง ๆ มากขึ้น  โดยโครงการนำร่องเป็นการนำสายไฟลงดินนนทบุรี 2,500 ล้านบาท และยังมีโครงการเพิ่มเติมออกมาเป็นระยะๆ นอกจากนี้โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำเกาะสมุย 2,300 ล้านบาท คาดเซ็นสัญญา 3Q59 ส่วนนโยบายพัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เนตครอบคลุม 30,000 หมู่บ้าน และนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือ Digital Economy บวกต่อ sentiment กลุ่ม

      - TVD (เคจีไอ) "เก็งกำไร"เป้าพื้นฐาน 2.8 บาท ประเมินผลงานปีนี้ Turnaround เป็นกำไร 120 ล้านบาท (EPS 0.19 บาท) หลังตัดธุรกิจขาดทุนกลับมาเน้นโฮมช้อบปิ้งในไทยที่มีความเชี่ยวชาญ + ลดค่าใช้จ่าย และ Valuation ถูก PE ปีนี้ต่ำเพียง 11 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มค้าปลีกและหุ้นค้าออนไลน์ที่ 25 เท่า) ด้านเทคนิคประเมินแนวต้านแรกที่ 2.20 บาท หากผ่านได้ประเมินมีโอกาสทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 2.60 บาท แนวรับ 1.94 บาท และ 1.88 บาท (Stop loss 1.83 บาท)

      - PLANB (ดีบีเอส วิคเคอร์ส) "ซื้อ"เป้า บาท ได้เป็นผู้บริหารสิทธิประโยชน์สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ 4 ปี บริษัทคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากงานนี้ประมาณ 15% หรือเท่ากับ 486 ล้านบาทในเวลา 4 ปี คิดเป็นเฉลี่ย 121.5 ล้านบาท/ปี และเท่ากับ 0.035 บาท/หุ้น PLANB หรือ 29% ของ EPS 0.12 บาท/หุ้นของปี 58 ในระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสปรับขึ้นรับข่าวดีนี้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค ให้แนวต้านระยะสั้น 7.50 บาท และ Stop Loss ถ้าหลุด 6.50 บาท

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ ขณะจับตาผลประชุมเฟด, บีโอเจ

    ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 26-27 เม.ย. รวมถึงการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันที่ 28 เม.ย.นี้

    ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.3% สู่ระดับ 132.73 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.05 น.ตามเวลาโตเกียว

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 17,613.56 จุด เพิ่มขึ้น 41.07 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,949.97 จุด ลดลง 9.27 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,408.56 จุด ลดลง 58.48 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,541.14 จุด เพิ่มขึ้น 5.39 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,016.05 จุด เพิ่มขึ้น 0.56 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,930.61 จุด ลดลง 9.82 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,714.38 จุด ลดลง 3.58 จุด

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกข่าวโกงทดสอบค่าไอเสียรถยนต์ยุโรป

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนแรงลงเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มรถยนต์ จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการใช้ซอฟท์แวร์โกงการทดสอบค่าไอเสียของบริษัทผลิตรถยนต์บางแห่ง รวมทั้งข่าวที่ว่า ผู้ผลิตรถยนต์ 5 รายของเยอรมนีจะทำการเรียกคืนรถยนต์ดีเซลจำนวน 630,000 คันในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาระบบซอฟท์แวร์จัดการไอเสีย

       ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับลง 0.3% ปิดที่ 348.46 จุด

      ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,569.66 จุด ลดลง 13.17 จุด หรือ -0.29% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,373.49 จุด ลดลง 62.24 จุด หรือ -0.60% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,310.44 จุด ลดลง 71.00 จุด หรือ -1.11%

     ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงเนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มรถยนต์ หลังจากนายอเล็กซานเดอร์ โดบรินดท์ รมว.ขนส่งเยอรมนี กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์ 5 รายของเยอรมนีจะทำการเรียกคืนรถยนต์ดีเซลจำนวน 630,000 คันในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาระบบซอฟท์แวร์จัดการไอเสีย โดยบริษัททั้ง 5 ดังกล่าว ได้แก่ เมอร์เซเดส-เบนซ์, โอเปิล, โฟล์คสวาเกน, ออดี้ และปอร์เช่

        ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า เดมเลอร์ เอจี กำลังดำเนินการตรวจสอบภายในองค์กร เกี่ยวกับประเด็นการรับรองมาตรฐานการปล่อยมลพิษในรถยนต์ ตามคำร้องของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ โดยการตรวจสอบดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีข่าวอื้อฉาวโกงการตรวจสอบไอเสียในรถยนต์ดีเซลของโฟล์คสวาเกนเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา

      หุ้นเดมเลอร์ร่วงลง 5.1% หุ้นเปอร์โยต์ดิ่งลง 1.7% หุ้นเฟี๊ยต ไคร์สเลอร์ ออโต้โมบิลส์ ดิ่งลง 2.4% หุ้นบีเอ็มดับเบิลยู ปรับตัวลง 1.6% หุ้นโฟล์คสวาเกน ดิ่งลง 1.3%

      นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดัน หลังจากผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.0 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน จากระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค.

       ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคบริการของยูโรโซนในเดือนเม.ย.ขยับขึ้นแตะ 53.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบสองเดือน จากระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงแตะ 51.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน จากระดับ 51.6 ในเดือนมี.ค.

    ตัวเลข PMI ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การขยายตัวของภาคธุรกิจยูโรโซนชะลอตัวลงในเดือนนี้ โดยการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดนี้มีขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดร่วง 71 จุด เหตุวิตก PMI ยูโรโซนชะลอตัว

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) หลังจากมีรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการทดสอบค่าไอเสียในอุตสาหกรรมรถยนต์ยุโรป

     ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,310.44 จุด ลดลง 71.00 จุด หรือ -1.11%

      ตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงหลังจากผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.0 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน จากระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค.

     หากแยกเป็นภาคส่วนพบว่า ดัชนี PMI ภาคบริการของยูโรโซนในเดือนเม.ย.ขยับขึ้นแตะ 53.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบสองเดือน จากระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงแตะ 51.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน จากระดับ 51.6 ในเดือนมี.ค.

    นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า ผู้ผลิตรถยนต์ 5 รายของเยอรมนีจะทำการเรียกคืนรถยนต์ดีเซลจำนวน 630,000 คันในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาระบบซอฟท์แวร์จัดการไอเสีย โดยบริษัททั้ง 5 ดังกล่าว ได้แก่ เมอร์เซเดส-เบนซ์, โอเปิล, โฟล์คสวาเกน, ออดี้ และปอร์เช่

    หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง โดยหุ้นริโอทินโต ดิ่งลง 2.95% หุ้นเกลนคอร์ รีซอส ร่วงลง 3% และหุ้นแองโกล อเมริกัน ปรับตัวลง 1.9%

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวก 21.23 จุด รับราคาน้ำมันฟื้นตัว

   ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (22 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากราคาน้ำมัน WTI ที่ดีดตัวขึ้นกว่า 1% ซึ่งช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ขยับขึ้นในกรอบจำกัด เพราะตลาดได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ในสหรัฐ รวมถึงไมโครซอฟท์ และแคเทอร์พิลลาร์

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,003.75 จุด เพิ่มขึ้น 21.23 จุด หรือ +0.12% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,906.23 จุด ลดลง 39.66 จุด หรือ -0.80% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,091.58 จุด เพิ่มขึ้น 0.10 จุด หรือ +0.00%

    ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจน์ปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 0.6% ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้น 0.5% และดัชนี NASDAQ ลดลง 0.6%

    ดัชนี ดาวโจนส์ปิดตลาดในแดนบวก เพราะได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ดีดตัวขึ้น 1.3% เมื่อวันศุกร์ หลังจากเบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐลดลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด

     การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นด้วย โดยหุ้นเซาท์เวสเทิร์น เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 15% หุ้นอานาดาร์โค ปิโตรเลียม ทะยานขึ้น 5% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 5.1%

     อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างซบเซา โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิดร่วงลง เนื่องจากตลาดได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ในสหรัฐ

    บริษัทแคเทอร์พิลลาร์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 494 ล้านดอลลาร์ หรือ 67 เซนต์/หุ้นในไตรมาสแรก ลดลงจากระดับ 1.70 พันล้านดอลลาร์ หรือ 2.07 ดอลลาร์/หุ้นในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแคเทอร์พิลลาร์ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงในธุรกิจก่อสร้าง, น้ำมันและก๊าซ รวมทั้งเหมืองแร่ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวได้ฉุดหุ้นแคเทอร์พิลลาร์ ปิดลบ 0.4%

      หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล อิงค์ ร่วงลง 5.41% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 7.50 ดอลลาร์ในไตรมาสแรก ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 7.96 ดอลลาร์ ขณะที่หุ้นไมโครซอฟท์ ดิ่งลง 7.17% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 62 เซนต์ในไตรมาสแรก ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 64 เซนต์ โดยผลประกอบการของไมโครซอฟท์ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดคอมพิวเตอร์ PC

     ผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่างไมโครซอฟท์และอัลฟาเบท ได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงด้วย โดยหุ้นแอปเปิล อิงค์ ปรับลง 0.3% ขณะที่หุ้นควอลคอมม์ ร่วงลง 1.8%

    นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของมาร์กิตที่ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนเม.ย.ของสหรัฐ อยู่ที่ระดับ 50.8 ลดลงจากระดับ 51.5 ในเดือนมี.ค. โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย.เคลื่อนไหวที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2552

      นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 26-27 เม.ย.นี้ พร้อมกับจับตาแถลงการณ์หลังการประชุมเพื่อดูทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

    ดัชนี และภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 เม.ย. 2559

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 18,003.75 จุด เพิ่มขึ้น 21.23 จุด, +0.12%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,906.23 จุด ลดลง 39.66 จุด, -0.80%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,091.58 จุด เพิ่มขึ้น 0.10 จุด, +0.00%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,569.66 จุด ลดลง 13.17 จุด, -0.29%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,373.49 จุด ลดลง 62.24 จุด, -0.60%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,310.44 จุด ลดลง 71.00 จุด, -1.11%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 25,838.14 จุด ลดลง 42.24 จุด, -0.16%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,940.43 จุด ลดลง 20.35 จุด, -0.69%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,717.96 จุด ลดลง 3.51 จุด, -0.20%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,914.74 จุด เพิ่มขึ้น 11.65 จุด, +0.24%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 21,467.04 จุด ลดลง 155.21 จุด, -0.72%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,255.39 จุด ลดลง 2.46 จุด, -0.03%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,959.24 จุด เพิ่มขึ้น 6.35 จุด, +0.22%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,236.40 จุด ลดลง 36.30 จุด, -0.69%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,299.20 จุด ลดลง 37.20 จุด, -0.70%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,015.49 จุด ลดลง 6.61 จุด, -0.33%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 17,572.49 จุด เพิ่มขึ้น 208.87 จุด, +1.20%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,535.75 จุด ลดลง 32.90 จุด, -0.38%

     ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (22 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากราคาน้ำมัน WTI ที่ดีดตัวขึ้นกว่า 1% ซึ่งช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ขยับขึ้นในกรอบจำกัด เพราะตลาดได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ในสหรัฐ รวมถึงไมโครซอฟท์ และแคเทอร์พิลลาร์

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,003.75 จุด เพิ่มขึ้น 21.23 จุด หรือ +0.12% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,906.23 จุด ลดลง 39.66 จุด หรือ -0.80% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,091.58 จุด เพิ่มขึ้น 0.10 จุด หรือ +0.00%

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนแรงลงเมื่อวันศุกร์ (22 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มรถยนต์ จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการใช้ซอฟท์แวร์โกงการทดสอบค่าไอเสียของบริษัทผลิตรถยนต์บางแห่ง รวมทั้งข่าวที่ว่า ผู้ผลิตรถยนต์ 5 รายของเยอรมนีจะทำการเรียกคืนรถยนต์ดีเซลจำนวน 630,000 คันในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาระบบซอฟท์แวร์จัดการไอเสีย

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับลง 0.3% ปิดที่ 348.46 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,569.66 จุด ลดลง 13.17 จุด หรือ -0.29% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,373.49 จุด ลดลง 62.24 จุด หรือ -0.60% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,310.44 จุด ลดลง 71.00 จุด หรือ -1.11%

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (22 เม.ย.) หลังจากมีรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการทดสอบค่าไอเสียในอุตสาหกรรมรถยนต์ยุโรป

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,310.44 จุด ลดลง 71.00 จุด หรือ -1.11%

   สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (22 เม.ย.) หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าภาวะอุปทานน้ำมันในสหรัฐเริ่มปรับตัวลดลง โดยเบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐลดลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า การผลิตน้ำมันของสหรัฐปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 55 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 43.73 ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 58 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 45.11 ดอลลาร์/บาร์เรล

      สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 20 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ (22 เม.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้กดดันให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำ นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 20.3 ดอลลาร์ หรือ 1.63% ปิดที่ 1,230.00 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 19 เซนต์ หรือ 1.11% ปิดที่ 16.9 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 20.7 ดอลลาร์ หรือ 2.01% ปิดที่ 1,011.20 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 3.85 ดอลลาร์ หรือ 0.6% ปิดที่ 606.20 ดอลลาร์/ออนซ์

               สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (22 เม.ย.) โดยดอลลาร์พุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากมีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะขยายนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ขณะที่เงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากมีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

          ยูโรร่วงลงสู่ระดับ 1.1227 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1289 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ขยับขึ้นสู่ระดับ 1.4411 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4321 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7709 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7736 ดอลลาร์สหรัฐ

          ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 111.71 เยน จากระดับ 109.56 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9789 ฟรังค์ จากระดับ 0.9744 ฟรังค์

    ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI  ปิดวันทำการล่าสุดที่ 688.00 จุด เพิ่มขึ้น 18.00 จุด, +2.69%

อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!