WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET23ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งในกรอบคล้ายภูมิภาค หลังตัวเลขศก.สหรัฐฯดีกว่าคาด

      นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบ เนื่องจากตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวคละกันทั้งในแดนบวก-ลบ โดยตลาดหุ้นจีนปรับตัวลง แต่ตลาดประเทศอื่นก็ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ภายหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ออกมาดีกว่าคาดา ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวลง

     อย่างไรก็ดี ตลาดฯยังมีปัจจัยบวกจากผลการประชุม G20 ที่สนับสนุนให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยตลาดฯได้บ้าง แต่ในช่วงต้นสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลข PMI ภาคการผลิตของหลายประเทศ ซึ่งตลาดก็คาดว่าจะออกมาไม่ดี

      ดังนั้น เมื่อดัชนีฯปรับตัวขึ้นก็อาจจะมีแรงขายทำกำไรออกมาได้ โดยเฉพาะที่บริเวณแนวต้าน 1,350 จุดขึ้นไป เป็นจุดที่มองว่าน่าจะมีแรงขายมากขึ้น ส่วนแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,360 จุด และแนวรับให้ไว้ที่ 1,335-1,330 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

      - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (26 ก.พ.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,639.97 จุด ลดลง 57.32 จุด (-0.34%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,590.47 จุด เพิ่มขึ้น 8.26 จุด (+0.18%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,948.05 จุด ลดลง 3.65 จุด (-0.19%)

     - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 124.90 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 12.40 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 2.02 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 1.60 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 16.69 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 1.46 จุด

     ส่วนตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดทำการวันนี้ (29 ก.พ.) เนื่องในวันรำลึกสันติภาพ

     - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (26 ก.พ.59) 1,343.07 จุด เพิ่มขึ้น 9.65 จุด (+0.72%)

        - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,347.72 ล้านบาท เมื่อวันที่ 26 ก.พ.59

       - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (26 ก.พ.59) ปิดที่ 32.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 29 เซนต์ หรือ 0.9%

     - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (26 ก.พ.59) ที่ 7.54 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

     - เงินบาทเปิด 35.73/75 จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในสัปดาห์นี้

    - นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า ธปท.พร้อมจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก ถ้าสภาพการณ์เศรษฐกิจโลกไม่เคลื่อนไปในทิศทางที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อติดลบช่วงนี้ เป็นผลมาจากราคาน้ำมันถูกหากราคาน้ำมันไม่ปรับลดลงแรงต่อไปอีกอัตราเงินเฟ้อน่าจะฟื้นตัว

      - นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการเดินทางเยือนรัสเซีย วันที่ 23-25 ก.พ.ที่ผ่านมาว่านักธุรกิจรัสเซียต้องการลงทุนและค้าขายกับไทย โดยเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่ อาทิ Russian Technologies State Corpo ration (Rostec) ที่มีสินค้าตั้งแต่รถยนต์ การบิน ไอที ยา รวมถึงยางรถยนต์ และธุรกิจท่องเที่ยวและสปา รวมทั้งสนใจลงทุนในโครงการรถไฟ และต้องการซื้อยางจากไทยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์

      - ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.นี้กองทุนโครงสร้างเพื่ออนาคตประเทศไทย (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) จะเปิดดำเนินการ และจะเริ่มระดมทุนส่วนแรก 1 หมื่นล้านบาท จากวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 1 แสนล้านบาท โดยเสนอขายแบบเจาะจงให้นักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนวายุภักษ์ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ก่อนเป็นอันดับแรก

    - นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประธานกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2559 สคฝ.จะลดการคุ้มครองวงเงินเหลือเพียง 1 ล้านบาท ต่อ 1 บัญชี ต่อ 1 สถาบันการเงิน จากเดิมที่คุ้มครองเงินฝากที่ 25 ล้านบาท ซึ่งไม่มีผลต่อผู้ฝากเงิน เนื่องจากสัดส่วนผู้ฝากเงินต่ำกว่า 1 ล้านบาท มีอยู่สูงถึง 98.24% ของผู้ฝากเงินทั้งสิ้น 68.9 ล้านบัญชี จากวงเงินฝากประมาณ 12.3 ล้านล้านบาท

    - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชนจากจีน เกาหลี และยุโรป สนใจเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา หรือไลท์เรล เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติ จ.ภูเก็ตห้าแยกฉลอง รวมระยะทาง 60 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี โดย สนข.ตั้งเป้าเปิดใช้บริการในปี 2564

*หุ้นเด่นวันนี้

     - BEM (ทรีนีตี้) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 5.90 บาท ในระยะสั้นราคาหุ้นอาจเผชิญความผันผวนจากกระแสการประมูลงานโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และการประมูลสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ส่วนรายได้ในปี 59 จะมาจากการเติบโตของปริมาณจราจรทางด่วน, จำนวนผู้โดยสาร, เปิดเดินรถสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) ใน ส.ค.ส่งมอบความสุขให้ 2 ต่อ จากการบริหารการเดินรถสายสีม่วง และ upside ให้กับสายสีน้ำเงินเส้นทางปัจจุบัน (หัวลำโพง-ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ) และการเปิดเส้นทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกในช่วง 2H59 ซึ่งคาดจะทำให้รายได้ของบริษัทจะเติบโตขึ้นกว่า 20%

     - BEAUTY (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 6.10 บาท กำไรไม่หยุดทำ new high +29% Q-Q, +25% Y-Y ดีกว่าคาด Growth story ไม่จบ คาดกำไรสุทธิ 3 ปีข้างหน้าโตเฉลี่ย 22% จากการขยายสาขาในประเทศ 50 สาขา ต่างประเทศ 18 สาขา เพิ่มช่องทางออนไลน์ผ่าน Beautyplaza และเพิ่ม SKU สินค้านวัตกรรมใหม่ โครงสร้างการเงินแกร่ง ไม่มีหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย ROE 43% จ่ายปันผล 99% ของกำไร จึงสมควรซื้อขายที่ PE สูง ปัจจุบันมี PBV และ PE ที่ 14 และ 32 เท่า ยังมี Upside

     - BLA (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 56 บาท พลิกจากขาดทุนใน 3Q15 เป็นกำไรสุทธิ 2,285 ล้านบาทใน 4Q15 แต่ทรงตัว Y-Y ดีกว่าเราและตลาดคาดเพราะกลับรายการสำรองฯที่ตั้งไว้ และเบี้ยประกันภัยรับสุทธิสูงกว่าคาด ทำให้กำไรทั้งปี +54% Y-Y เราคงกำไรปีนี้ที่คาด -27% Y-Y เพราะบริษัทต้องการส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นทำให้ต้องออกประกันระยะสั้นเพิ่ม ทำให้อาจต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น

    - KAMART (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 9.50 บาท กำไรสุทธิ 4Q58 พุ่งแรง 74% Q-Q โดยมีการตีมูลค่าสินค้าเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท หากตัดรายการดังกล่าวออก กำไรปกติยังเพิ่มสูง +46% Q-Q, +3% Y-Y จากค่าใช้จ่ายโฆษณาลดลง โดยเชื่อว่าปี 59 จะเป็นปีทองเพราะตัดขาดทุนธุรกิจเก่าหมดแล้ว แบรนด์รู้จักมากขึ้น การผันไปทำต้นน้ำคือผลิตเองจะช่วยเพิ่มมาร์จิ้น และอุตสาหกรรมเครื่องสำอางขยายตัว 10-15%

    - BANPU (โกลเบล็ก) เป้า 22 บาท คาดปี 59 พลิกกำไร 1,510 ลบ.(+198% YoY) จากโรงไฟฟ้า BLCP และโรงไฟฟ้าหงสาผลิตไฟฟ้าครบทั้ง 3 หน่วย ชดเชยผลประกอบการถ่านหิน โดยปรับลดการลงทุนในธุรกิจถ่านหินเพื่อเน้นธุรกิจโรงไฟฟ้าสู่ 2.4 GW ในปี 63 โดยในปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ราว 1.63 GW (รวมหงสา 3 หน่วย) นำ BANPU POWER (BPP) เข้าตลท.ในช่วง 2H59 ช่วยชำระคืนเงินกู้แก่ BANPU ราว 400 ล้านดอลลาร์ และลดภาระดอกเบี้ยได้ราว 800 ล้านบาทต่อปี

   - SUTHA(ไอร่า) เป้า 8.30 บาท คาดปี 59 รายได้และกำไรสุทธิ 1,049 ล้านบาท และ 146 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% และ 26% ตามลำดับ คาด Div.Yield ประมาณ 5-6% โดยเพิ่มเตาผลิตปูนขาว 1 เตารวมเป็น 7 เตา เพิ่มกำลังการผลิตอีก 15% เพื่อรองรับ Demand ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมน้ำตาลที่รัฐสนับสนุนขยายพื้นที่ปลูกอ้อย และการออกใบอนุญาตโรงงานน้ำตาลในช่วงปลายปี 58 และการส่งเสริมให้ชาวนาหันมาปลูกอ้อยช่วยสนับสนุนการเติบโตระยะยาว โดยสัดส่วนลูกค้าโรงงานน้ำตาลของ SUTHA มีประมาณ 21% ใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมเหล็กและเคมี

ตลาดหุ้นเอเชียบวกขึ้นเช้านี้ ขานรับผลการประชุม G20

     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นโตเกียวเปิดตลาดพุ่งขึ้น ขานรับผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G20 ที่เห็นพ้องให้สร้างเสถียรภาพในตลาด

    ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.4% สู่ระดับ 120.08 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

   ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 16,313.31 จุด เพิ่มขึ้น 124.90 จุด, +0.77% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,754.81 จุด ลดลง 12.40 จุด, -0.45% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 19,366.17 จุด เพิ่มขึ้น 2.02 จุด, +0.01% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,921.76 จุด เพิ่มขึ้น 1.60 จุด, +0.08% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,666.07 จุด เพิ่มขึ้น 16.69 จุด, +0.63% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,661.98 จุด ลดลง 1.46 จุด, -0.09%

      ส่วนตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดทำการวันนี้ (29 ก.พ.) เนื่องในวันรำลึกสันติภาพ

    ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ 20 ประเทศ หรือ G20 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมระยะเวลาสองวันที่นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยให้คำมั่นว่าจะใช้เครื่องมือนโยบายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การคลัง และเชิงโครงสร้าง ทั้งใช้แยกกันและใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพของตลาดและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังคงซบเซาและไม่กระจายตัว

      นอกจากนี้ ที่ประชุมยังจะปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับตลาดปริวรรตเงินตรา โดยกลุ่มประเทศ G20 ได้ย้ำจุดยืนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่เคยให้คำมั่นกันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงการที่แต่ละประเทศจะไม่ลดค่าเงินเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแข่งขัน

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดบวก 83.2 จุด นำโดยหุ้นทรัพยากร แม้หุ้นอาร์บีเอสร่วง

   ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเป็นวันที่สองติดต่อกันเมื่อคืนนี้ (26 ก.พ.) จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ อย่าง เกลนคอร์ และ แองโกล อเมริกัน ซึ่งได้ปัจจัยหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ช่วยชดเชยหุ้นอาร์บีเอสที่ร่วงลงได้ หลังธนาคารรายงานผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่แปดแล้ว

    ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 83.20 จุด หรือ 1.38% ที่ 6,096.01 จุด และตลอดสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 2.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง

     ตลาดหุ้นลอนดอนวันศุกร์เดินหน้าขึ้นต่อเนื่องจากวันพฤหัสบดีที่ปิดพุ่งขึ้นถึงเกือบ 2.5% เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากหุ้นบริษัทเหมืองแร่และพลังงาน หลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวขึ้น

   นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายยังได้แรงบวกจากหุ้นเบอร์เบอร์รี หลังได้รับการปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุน

    อย่างไรก็ตาม หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ หรืออาร์เอสบีร่วงลง ภายหลังธนาคารเผยว่าขาดทุนเป็นเงิน 1.98 พันล้านปอนด์ในปี 2558 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมาย 3.6 พันล้านปอนด์ นอกจากนี้ธนาคารยังอ้างถึงรายจ่ายจากการปรับโครงสร้างขนานใหญ่ ทั้งนี้ หากไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว อาร์บีเอสมีกำไร 4.4 พันล้านปอนด์ แต่ก็ยังลดลงจาก 6 พันล้านปอนด์ในปีก่อนหน้า ส่งผลให้ธนาคารต้องงดจ่ายเงินปันผลไปอีกปี

    หุ้นเกลนคอร์พุ่งขึ้น 7.95% เป็นแกนนำหุ้นบวก ตามด้วยสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ที่พุ่งขึ้น 7.85% เบอร์เบอร์รี กรุ๊ป 7.54% ลอนดอน สต็อก เอ็กซ์เชนจ์ กรุ๊ป 6.95% แองโกล อเมริกัน 6.74% หุ้นบีพีบวก 1.24%

  ส่วนหุ้นลบนำโดย รอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ ที่ร่วงลงถึง 7.13% หุ้นไอเอจี บริษัทแม่ของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส ลบ 3.13% แม้กลุ่มบริษัทรายงานผลกำไรพุ่งขึ้นก็ตาม หุ้นโคคา-โคล่า เอชบีซี ลดลง 2.98% เซเว่น เทรนท์ ลดลง 1.30% และเมอร์ลิน เอนเตอร์เทนเมนท์ ลบ 0.97%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดบวกต่อ จากแรงซื้อหุ้นพลังงาน

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ (26 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากภาวะการซื้อขายที่เป็นบวกในตลาดหุ้นเอเชีย ตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อวันพฤหัสบดี ประกอบกับตลาดขานรับที่ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนได้ออกมาส่งสัญญาณใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่หุ้นพลังงานปรับตัวขึ้น หลังราคาน้ำมันฟื้นตัว

    ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 1.53% ปิดที่ 331.54 จุด ขณะที่ทั้งสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 1.6%

   ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดบวก 66.12 จุด หรือ 1.56% ที่ระดับ 4,314.57 ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันพุ่งขึ้น 181.82 จุด หรือ 1.95% ปิดที่ 9,513.30 จุด ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 83.20 จุด หรือ 1.38% ที่ 6,096.01 จุด

    ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างคึกคักต่อเนื่องจากวันพฤหัสบดีที่ดัชนีดีดตัวขึ้น 2% โดยตลาดได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มน้ำมันและพลังงานที่พุ่งขึ้นกว่า 3% หลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นราว 1% ในการซื้อขายระหว่างวัน ท่ามกลางความคาดหวังที่ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถจับมือกันผลักดันราคาให้ดีดตัวขึ้น หลังจากที่นายยูโลจิโอ เดล ปิโน รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันและเหมืองแร่ของเวเนซูเอล่าเปิดเผยว่า เวเนซูเอล่าจะเข้าร่วมประชุมกับรัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย และกาตาร์ ในช่วงกลางเดือนมี.ค. โดยมีเป้าหมายที่จะหารือกันเกี่ยวกับแนวทางการสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมัน

     นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยหนุนจากการที่นายโจว เสี่ยวฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า จีนยังคงมีช่องทางและเครื่องมือต่างๆมากขึ้นในการใช้นโยบายการเงินเพื่อรับมือกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจ

     ขณะเดียวกันมีกระแสคาดการณ์ว่า ECB อาจผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมในเดือนหน้า หลังเงินเฟ้อเยอรมนีร่วง โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยในวันศุกร์ว่า อัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนีร่วงลงสู่ระดับ 0% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน อันเนื่องมาจากการดิ่งลงถึง 8.5% ของราคาพลังงาน ส่งผลให้มีการคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะทำการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมเดือนหน้าเพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ

      นอกจากนี้ หากวัดด้วยดัชนี harmonized consumer price index (HICP) เพื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในยูโรโซน พบว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีปรับตัวลงสู่แดนลบ หลังจากช่วงเวลาเกือบ 6 เดือน

    ทั้งนี้ ดัชนี HICP ของเยอรมนีปรับตัวลงสู่ระดับ -0.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2558

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 57.32 จุด หลังมุมมองบวกศก.เริ่มอ่อนแรง

     ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (26 ก.พ.) เช่นเดียวกับ S&P 500 ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ภายหลังมุมมองบวกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นในช่วงหลายวันที่ผ่านมานั้นเริ่มอ่อนแรงลง ประกอบกับราคาน้ำมันได้กลับมาปรับลดลงอีกครั้ง หลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงสองวันที่ผ่านมา

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 57.32 จุด หรือ 0.34% ปิดที่ 16,639.97 ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 3.65 จุด หรือ 0.19% ที่ระดับ 1,948.05 ดัชนี Nasdaq บวก 8.26 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 4,590.47

      สำหรับ ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งสามดัชนีหลักปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง เพราะได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 1.5% ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 1.6% และดัชนี Nasdaq พุ่ง 1.9%

      ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดแดนบวกในวันศุกร์ ขานรับการปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 4 นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยหนุนภาวะการซื้อขายในช่วงเปิดตลาดเช่นกัน โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นไปถึง 0.6%

    กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ครั้งที่ 2 สำหรับไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ขยายตัว 1.0% โดยปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 0.7% ถึงแม้ต่ำกว่าระดับ 2.0% ในไตรมาส 3 และ 3.9% ในไตรมาส 2

   ตัวเลขจีดีพีล่าสุดสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า จีดีพีในไตรมาส 4 จะถูกปรับทบทวนลงสู่ระดับ 0.4%

   ด้านสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1% ในระหว่างวัน ท่ามกลางความคาดหวังที่ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถจับมือกันผลักดันราคาให้ดีดตัวขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินจำนวนมากในสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยที่หนุนตลาด

    อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นราคาหุ้นเริ่มปรับตัวเคลื่อนไหวในแดนลบ เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน เพราะได้รับแรงกดดันจากรายงานของรัฐบาลสหรัฐที่ว่า อัตราเงินเฟ้อระยะยาวปรับตัวขึ้นสองเท่าในเดือนม.ค.สู่ระดับ 1.3% ซึ่งขยับเข้าใกล้เป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของเฟด และจุดกระแสคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็วๆนี้

                ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจและตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้หุ้นบริษัทที่มีกิจการในต่างประเทศปรับตัวลดลง รวมถึงสร้างแรงกดดันต่อราคาน้ำมัน เพราะดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ที่ถือเงินสกุลอื่นๆ

                ในส่วนของข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันศุกร์นั้น นอกจากตัวเลขจีดีพีแล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังเปิดเผยในวันเดียวกันว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.5% ในเดือนม.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนธ.ค.

                นอกจากนี้ กระทรวงยังรายงานว่า รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 7.96 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.5% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว

                นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค.

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 26 ก.พ. 2559

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,639.97 จุด ลดลง 57.32 จุด, -0.34%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,590.47 จุด เพิ่มขึ้น 8.26 จุด, +0.18%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,948.05 จุด ลดลง 3.65 จุด, -0.19%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,314.57 จุด เพิ่มขึ้น 66.12 จุด, +1.56%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,513.30 จุด เพิ่มขึ้น 181.82 จุด, +1.95%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,096.01 จุด เพิ่มขึ้น 83.20 จุด, +1.38%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 23,154.30 จุด เพิ่มขึ้น 178.30 จุด, +0.78%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,649.38 จุด เพิ่มขึ้น 45.98 จุด, +1.77%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,663.44 จุด เพิ่มขึ้น 5.28 จุด, +0.32%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,733.15 จุด เพิ่มขึ้น 74.83 จุด, +1.61%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 19,364.15 จุด เพิ่มขึ้น 475.40 จุด, +2.52%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,771.30 จุด เพิ่มขึ้น 2.04 จุด, +0.03%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,767.21 จุด เพิ่มขึ้น 25.96 จุด, +0.95%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,920.16 จุด เพิ่มขึ้น 1.59 จุด, +0.08%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,188.41 จุด เพิ่มขึ้น 48.07 จุด, +0.30%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,411.16 จุด เพิ่มขึ้น 45.30 จุด, +0.54%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 4,880.00 จุด ลดลง 1.20 จุด, -0.02%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 4,945.10 จุด เพิ่มขึ้น 0.40 จุด, +0.01%

      ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (26 ก.พ.) เช่นเดียวกับ S&P 500 ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ภายหลังมุมมองบวกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นในช่วงหลายวันที่ผ่านมานั้นเริ่มอ่อนแรงลง ประกอบกับราคาน้ำมันได้กลับมาปรับลดลงอีกครั้ง หลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงสองวันที่ผ่านมา

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 57.32 จุด หรือ 0.34% ปิดที่ 16,639.97 ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 3.65 จุด หรือ 0.19% ที่ระดับ 1,948.05 ดัชนี Nasdaq บวก 8.26 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 4,590.47

       ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเมื่อวันศุกร์ (26 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากภาวะการซื้อขายที่เป็นบวกในตลาดหุ้นเอเชีย ตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อวันพฤหัสบดี ประกอบกับตลาดขานรับที่ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนได้ออกมาส่งสัญญาณใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่หุ้นพลังงานปรับตัวขึ้น หลังราคาน้ำมันฟื้นตัว

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 1.53% ปิดที่ 331.54 จุด ขณะที่ทั้งสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 1.6%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดบวก 66.12 จุด หรือ 1.56% ที่ระดับ 4,314.57 ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันพุ่งขึ้น 181.82 จุด หรือ 1.95% ปิดที่ 9,513.30 จุด ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 83.20 จุด หรือ 1.38% ที่ 6,096.01 จุด

       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเป็นวันที่สองติดต่อกันเมื่อวันศุกร์ (26 ก.พ.) จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ อย่าง เกลนคอร์ และ แองโกล อเมริกัน ซึ่งได้ปัจจัยหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ช่วยชดเชยหุ้นอาร์บีเอสที่ร่วงลงได้ หลังธนาคารรายงานผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่แปดแล้ว

          ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 83.20 จุด หรือ 1.38% ที่ 6,096.01 จุด และตลอดสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวขึ้น 2.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง

       สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (26 ก.พ.) เนื่องจากเทรดเดอร์ขายทำกำไรในช่วงท้ายตลาด หลังจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดลดลง 29 เซนต์ หรือ 0.9% แตะที่ 32.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ทั้งสัปดาห์ ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นประมาณ 3.2% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดลอนดอน ปิดลดลง 19 เซนต์ หรือ 0.5% แตะที่ 35.10 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับตลอดสัปดาห์ น้ำมันเบรนท์พุ่งขึ้นไปกว่า 6%

     สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ (26 ก.พ.) เนื่องจากถูกกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดลดลง 18.4 ดอลลาร์ หรือ 1.49% แตะที่ระดับ 1,220.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และลดลง 0.84% ตลอดทั้งสัปดาห์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดลดลง 48.5 เซนต์ หรือ 3.19 % แตะที่ 14.714 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดร่วงลง 11.9 ดอลลาร์ หรือ 1.28% แตะที่ 915.10 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดลบ 1.30 ดอลลาร์ แตะที่ 482.10 ดอลลาร์/ออนซ์

      ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักเกือบทุกสกุลเมื่อวันศุกร์ (26 ก.พ.) หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ออกมาแข็งแกร่ง สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

          ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0928 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1024 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงแตะ 1.3861 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3965 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 113.91 เยน จาก 112.96 เยน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9974 ฟรังก์ จาก 0.9903 ฟรังก์ แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ 1.3522 ดอลลาร์แคนาดา จาก 1.3540 ดอลลาร์แคนาดา

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7123 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7231 ดอลลาร์

       ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 327.00 จุด เพิ่มขึ้น 2.00 จุด, +0.62%

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!