WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET32ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าผันผวนกรอบแคบไม่มีปัจจัยใหม่ ราคาน้ำมันพลิกกลับมาลดลง

  นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ผันผวนกรอบแคบ ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา โดยยังต้องติดตามธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่

    ด้านปัจจัยในประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค.ลดลงครั้งแรก และมีประเด็นการเมือง โดยรวมก็ไม่มีปัจจัยหนุน ราคาน้ำมันดิบกลับมาขยับลงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มสื่อสารไม่มีประเด็นเพิ่มเติมรอดูเรื่องการจ่ายค่าใบอนุญาต กลุ่มสื่อสารก็เลือกลงทุนรายตัวที่มีการจ่ายปันผลดี เช่น ADVANC INTUCH

พร้อมให้กรอบแนวรับ 1,285 จุด แนงวต้าน 1,310 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (4 ก.พ.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,416.58 จุด เพิ่มขึ้น 79.92 จุด (+0.49%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,509.56 จุด เพิ่มขึ้น 5.32 จุด (+0.12%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,915.45 จุด เพิ่มขึ้น 2.92 จุด (+0.15%)

- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 254.46 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 2.06 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 104.27 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 1.71 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 10.59 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 2.17 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 11.35 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 8.79 จุด

ด้านตลาดหุ้นไต้หวันปิดทำการวันนี้

- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (4 ก.พ.59) 1,297.11 จุด เพิ่มขึ้น 5.34 จุด (+0.41%)

- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 838.86 ล้านบาท เมื่อวันที่ 4 ก.พ.59

- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (4 ก.พ.59) ปิดที่ 31.72 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 56 เซนต์ หรือ 1.7%

- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (4 ก.พ.59) ที่ 6.33 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

- บาทเปิด 35.60/62 คาดแกว่งในกรอบ 35.45-35.75 รอตัวเลขศก.สหรัฐคืนนี้

- ธนาคารโลกชี้เสถียรภาพการเมือง ปัจจัยเสี่ยงฉุดลงทุนไทย เชื่อปีนี้ไม่ใช่ "ปีแห่งการลงทุน" ระบุสิทธิประโยชน์ไม่ใช่ประเด็นใหญ่แต่อุปสรรคสำคัญคือขาดแคลนแรงงาน ด้าน "ปลัดคลัง" เผยต่างชาติสนใจ "ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์" หลังไทยไม่ลงทุนนับ 10 ปี ขณะรัฐวิสาหกิจลงทุนไตรมาสแรกต่ำเป้า

- "ประยุทธ์" สั่งเร่งเบิกจ่ายภายในไตรมาสแรกงัดมาตรการเด็ดขาด ทำไม่ได้ตามแผนยึดงบคืน ด้านสำนักงบฯ คาดปีนี้ยึดคืนงบลงทุนกว่า 5 หมื่นล้าน เตรียมเสนอแก้กฎหมายงบฯ บังคับใช้ หวังใช้งบตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี

- กยท.ระบุราคายางตลาดโลกปรับเพิ่มหลังไทย มาเลย์ อินโดฯ ประกาศใช้มาตรการลดส่งออก 6 แสนตันเอกชนวอนรัฐสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำประคองธุรกิจช่วงใช้มาตรการ 6 เดือน ด้านผู้ผลิตยางล้อกู๊ดเยียร์ หนุนรัฐเข้มคุณภาพ ดึงลงทุน ขจัดปัญหาความแตกต่างมาตรฐานระหว่างประเทศ

- ตลาดหุ้นไทยแข็งแกร่ง ปรับตัวได้ดีเป็นอันดับ 2 ของโลก แม้ตลาดหุ้นผันผวนแรง เชื่อประกาศหลังผลประกอบการไตรมาส 4 ความเชื่อมั่นจะฟื้น แนะคณะกรรมการนโยบายการเงิน ลดดอกเบี้ย สร้างเสริมเชื่อมั่น

- ก.ล.ต.เผย 13 บริษัทจดทะเบียน คะแนนประเมินการป้องกันคอร์รัปชันขยับขึ้นอยู่ระดับ 5 สะท้อนการดำเนินงานที่โปร่งใสในองค์กร

- "ทีเอ็มบี" ระบุ ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี โดยเฉพาะภาค "ใต้-อีสาน" กังวลสูง เพราะผลกระทบราคาสินค้าเกษตร ยังไม่มีทีท่าฟื้นหรือปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาวะ "เศรษฐกิจ-กำลังซื้อ" ชะลอตัว กระทบเอสเอ็มอีอ่อนแอ

- "ซุปเปอร์-เอสพีซีจี" คาดรายได้ปีนี้แตะ 5 พันล้าน "เอสพีซีจี" ปรับกลยุทธ์รุกโซลาร์รูฟเอกชน ชี้มีโอกาสเติบโต ส่วน "ซุปเปอร์" เล็งประกาศจ่ายไฟเพิ่ม 100 เมกะวัตต์ แจงบอร์ดวันนี้ หวังหลักเกณฑ์โซลาร์สหกรณ์ราชการประกาศ มี.ค.นี้ เล็งกู้แบงก์กรุงเทพ 1 หมื่นล้าน รับโครงการใหม่ เผยหุ้นใหญ่แจงราคาร่วงแรงไม่เกี่ยวยันลงทุนยาว

*หุ้นเด่นวันนี้

                - ADVANC (เคจีไอ)"ซื้อ"เป้าพื้นฐาน 203 บาท (ปรับลงเล็กน้อยจาก 214 บาท) รายงานกำไรไตรมาส 4/58 = 1.08 หมื่นล้านบาท (+18% YoY และ +25% QoQ) ดีกว่าคาด 11% และจ่ายปันผล 6.49 บาท/หุ้น (XD 31 มี.ค.) อย่างไรก็ดีฝ่ายวิจัยฯปรับลดเป้าหมายลงเล็กน้อย สะท้อน CAPEX ที่อาจมากกว่าคาด

                - MINT(ฟินันเซียไซรัส)"ซื้อ"ราคาพื้นฐานที่ 36 บาท แนวโน้มกำไรใน 4Q15 จะออกมาดีเพราะเป็น high season (วันนี้มีประชุมนักวิเคราะห์) และคาดทั้งปี 2015 น่าจะโตได้ 8% Y-Y ส่วนกำไรปกติในปีนี้ที่เราคาดไว้เดิมว่าโต 14% Y-Y ยังไม่ได้รวมโรงแรม Tivoli ที่เพิ่งซื้อมา 7 แห่ง ราคาพื้นฐานที่ 36 บาท จึงมีโอกาสปรับขึ้น MINT ยังคงเป็นหุ้น Top pick ในกลุ่มท่องเที่ยว

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังเยนแข็งค่าฉุดหุ้นญี่ปุ่นอ่อนแรง

                ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ โดยได้รับปัจจัยถ่วงจากการร่วงลงของตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังเงินเยนยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หุ้นกลุ่มส่งออกอ่อนตัวลง

                ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.5% แตะ 120.53 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.15 น.ตามเวลาโตเกียว

                ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 16,790.53 จุด ลดลง 254.46 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,783.08 จุด เพิ่มขึ้น 2.06 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 19,287.36 จุด เพิ่มขึ้น 104.27 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,914.55 จุด ลดลง 1.71 จุด

                ส่วนดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,569.08 จุด เพิ่มขึ้น 10.59 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,654.60 จุด ลดลง 2.17 จุด ด้านตลาดหุ้นไต้หวันปิดทำการวันนี้

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดบวก 61.62 จุด ขานรับสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัว

                ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) หลังจากร่วงลงในช่วง 3 วันก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์

                ดัชนี FTSE 100 ปิดเพิ่มขึ้น 61.62 จุด หรือ 1.06% ที่ 5,898.76 จุด

                ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวในแดนบวก หลังจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐได้ช่วยหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และส่งผลให้หุ้นกลุ่มเมืองและกลุ่มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น

                ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จากความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งได้สกัดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้

                หุ้นกลุ่มเหมืองพุ่งขึ้นนำตลาด โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน ทะยานขึ้น 20%, หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ดีดขึ้น 11% และหุ้นริโอ ทินโต ปรับขึ้น 10%

                ส่วนหุ้นกลุ่มน้ำมันก็ปรับตัวแข็งแกร่ง โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ พุ่ง 6.1% และหุ้นบีพี ดีดตัวขึ้น 5.6%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุวิตกผลประกอบการเอกชนอ่อนแอ

                ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) หลังจากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ รวมถึงเครดิต สวิส และเดมเลอร์ ขณะที่ภาวะการซื้อขายในตลาดยังคงผันผวนเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและภาคการผลิตในยูโรโซน

                ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.2% ปิดที่ 328.76 จุด

                ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,393.36 จุด ลดลง 41.46 จุด หรือ -0.44% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,898.76 จุด เพิ่มขึ้น 61.62 จุด หรือ +1.06% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,228.53 จุด เพิ่มขึ้น 1.57 จุด หรือ +0.04%

                หุ้นเครดิต สวิส ร่วงลงหนักสุดในรอบหลายปี หลังจากธนาคารเปิดเผยผลประกอบการที่ย่ำแย่ ขณะที่หุ้นเดมเลอร์ ดิ่งลง 3.2% หลังจากบริษัทปรับลดแนวโน้มผลประกอบการ

                ราคาหุ้นของเครดิต สวิส ยังคงอยู่ในช่วงขาลง นับตั้งแต่ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ได้ออกมาปฏิเสธข่าวที่ว่าทางธนาคารกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อซื้อธุรกิจบางส่วนของเครดิต สวิส

                ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและภาคการผลิตของยูโรโซน หลังจากกบริษัทมาร์กิตเปิดเผยว่า เศรษฐกิจในยูโรโซนชะลอตัวในเดือนม.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะผันผวนในตลาดการเงินโลกกำลังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจในภูมิภาค

                ทั้งนี้ มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ซึ่งวัดกิจกรรมของทั้งภาคการผลิตและภาคบริการในเขตยูโรโซน ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 53.6 ในเดือนม.ค. จากระดับ 54.3 ในเดือนธ.ค.

                นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วพุ่งขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 285,000 ราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 280,000 ราย

                ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐร่วงลงหนักที่สุดในรอบ 1 ปีในเดือนธ.ค.  โดยยอดสั่งซื้อร่วงลง 2.9% เนื่องจากผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และอุปสงค์ที่อ่อนแอในต่างประเทศ

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวก 79.92 จุด จากแรงซื้อหุ้นอุตสาหกรรม

            ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบและกลุ่มอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากมุมมองที่ว่า การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์จะช่วยกระตุ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์และช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทข้ามชาติให้ฟื้นตัวขึ้นด้วย

                ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,416.58 จุด เพิ่มขึ้น 79.92 จุด หรือ +0.49% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,509.56 จุด เพิ่มขึ้น 5.32 จุด หรือ +0.12% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,915.45 จุด เพิ่มขึ้น 2.92 จุด หรือ +0.15%

                ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบและกลุ่มอุตสาหกรรม โดยหุ้นอัลโค อิงค์ หุ้นฟรีพอร์ท-แมคมอแรน ต่างก็พุ่งขึ้นอย่างน้อย 10% ขณะที่หุ้นแคทเทอร์พิลลาร์ ปรับขึ้น 4.3% หุ้นเจนเนอรัล อิเล็กทริก ปรับตัวขึ้น 1.8%

                ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกว่า การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์จะช่วยกระตุ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์และช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทข้ามชาติให้ฟื้นตัวขึ้นด้วย

                ส่วนหุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และหุ้นยูเอส บังคอร์ป ต่างก็ปรับตัวขึ้นกว่า 1.7%

                หุ้นกลุ่มขนส่งดีดตัวขึ้น โดยหุ้นไรเดอร์ ซิสเต็มส์ พุ่งขึ้น 9.2% ส่วนหุ้นเรลโรดส์ ยูเนียน แปซิฟิก และหุ้นแคนซัส ซิตี้ เซาท์เทิร์น ปรับตัวขึ้นกว่า 4.5%

                นอกจากนี้ ตลาดยังคงขานรับการส่งสัญญาณที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ส่งสัญญาณว่า เฟดยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า เมื่อพิจารณาจากสภาวะการเงินที่ยังคงตึงตัว

                ด้านนายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวว่า เฟดจำเป็นต้องใช้ความอดทนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัว และภาวะตึงตัวมากขึ้นในตลาดการเงินโลก

                อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน และส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วพุ่งขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 285,000 ราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 280,000 ราย

                ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐร่วงลงหนักที่สุดในรอบ 1 ปีในเดือนธ.ค.  โดยยอดสั่งซื้อร่วงลง 2.9% เนื่องจากผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และอุปสงค์ที่อ่อนแอในต่างประเทศ

                นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อบ่งชี้ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ขณะที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.จะเพิ่มขึ้นเพียง 200,000 ตำแหน่ง โดยลดลงจากระดับ 292,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 5.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปี

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 4 ก.พ.2559

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,416.58 จุด                         เพิ่มขึ้น 79.92 จุด      +0.49%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,509.56 จุด                      เพิ่มขึ้น 5.32 จุด       +0.12%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,915.45 จุด                       เพิ่มขึ้น 2.92 จุด       +0.15%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,898.76 จุด                    เพิ่มขึ้น 61.62 จุด      +1.06%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,393.36 จุด                             ลดลง 41.46 จุด       -0.44%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,228.53 จุด                        เพิ่มขึ้น 1.57 จุด       +0.04%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,029.30 จุด      เพิ่มขึ้น 98.50 จุด      +2.00%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 4,980.40 จุด            เพิ่มขึ้น 103.60 จุด     +2.12%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 17,044.99 จุด                      ลดลง 146.26 จุด      -0.85%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,916.26 จุด                         เพิ่มขึ้น 25.59 จุด      +1.35%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,781.02 จุด                     เพิ่มขึ้น 41.78 จุด      +1.53%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,652.83 จุด             เพิ่มขึ้น 131.35 จุด     +2.01%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 19,183.09 จุด                              เพิ่มขึ้น 191.50 จุด     +1.01%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,665.82 จุด      เพิ่มขึ้น 69.71 จุด      +1.52%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,656.77 จุด                      เพิ่มขึ้น 23.47 จุด      +1.44%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,558.49 จุด                      เพิ่มขึ้น 7.75 จุด       +0.30%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 24,338.43 จุด                        เพิ่มขึ้น 115.11 จุด     +0.48%

      ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบและกลุ่มอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากมุมมองที่ว่า การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์จะช่วยกระตุ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์และช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทข้ามชาติให้ฟื้นตัวขึ้นด้วย

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,416.58 จุด เพิ่มขึ้น 79.92 จุด หรือ +0.49% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,509.56 จุด เพิ่มขึ้น 5.32 จุด หรือ +0.12% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,915.45 จุด เพิ่มขึ้น 2.92 จุด หรือ +0.15%

      ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) หลังจากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ รวมถึงเครดิต สวิส และเดมเลอร์ ขณะที่ภาวะการซื้อขายในตลาดยังคงผันผวนเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและภาคการผลิตในยูโรโซน

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.2% ปิดที่ 328.76 จุด

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,393.36 จุด ลดลง 41.46 จุด หรือ -0.44% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,898.76 จุด เพิ่มขึ้น 61.62 จุด หรือ +1.06% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,228.53 จุด เพิ่มขึ้น 1.57 จุด หรือ +0.04%

      ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) หลังจากร่วงลงในช่วง 3 วันก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์

          ดัชนี FTSE 100 ปิดเพิ่มขึ้น 61.62 จุด หรือ 1.06% ที่ 5,898.76 จุด

     สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแข็งแกร่งในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด รวมทั้งความไม่แน่นอนที่ว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จะปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 56 เซนต์ หรือ 1.7% ปิดที่ 31.72  ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 58 เซนต์ หรือ 1.7% ปิดที่ 34.46 ดอลลาร์/บาร์เรล

    สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และหลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาส่งสัญญาณว่า เฟดยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 16.2 ดอลลาร์ หรือ 1.42% ปิดที่ระดับ 1,157.50 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 11.6 เซนต์ หรือ 0.79% ปิดที่ 14.85 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 26.2 ดอลลาร์ หรือ 2.98% ปิดที่ 906.30 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ขยับขึ้นเล็กน้อยและปิดที่ระดับ 515.60  ดอลลาร์/ออนซ์

   ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้มีกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

          ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1207 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1092 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.4588 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4598 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 116.75 เยน จาก 117.72 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9925 ฟรังก์ จาก 1.0052 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7200 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7178 ดอลลาร์

     ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 298.00 จุด ลดลง 5.00 จุด, -1.65%

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!