WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET26ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าปรับลงตามภูมิภาคราคาน้ำมันร่วงรับแรงกดดันวิตกศก.โลก

      นักวิเคราะห์ฯคาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวลงตามต่างประเทศที่ปรับตัวลดลงตามดัชนีหุ้ดาวโจนส์รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงต่อเนื่องจนหลุด 30 เหรียญ/บาร์เรลอีกอีกครั้ง หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ-จีนออกมาไม่ดี ทำให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก แนะติดตาม กนง.วันนี้คาดคงดอกเบี้ยนโยบาย ให้แนวรับ 1,260 - 1,275 จุด แนวต้าน 1,295-1,300 จุด

      นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ มองว่า ภาวะตลาดหุ้นเช้านี้ปรับตัวลงจากแรงกดดันในเรื่องราคาน้ำมันที่หลุด 30 เหรียญ/บาร์เรล และแรงกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลก หลังตัวเลขภาคการผลิตทั้งสหรัฐฯและจีนออกมาไม่ดี ทำให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคปรับลงเช่นกันเฉลี่ย 1% ตามแรงกดดันข้างต้น

     สำหรับ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันนี้ ซึ่งคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ แต่อาจจะมีความเห็นเกี่ยวกับความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกเช่นกัน อีกทั้งจับตาตัวเลขภาคการผลิต (PMI) ทั่วโลก,ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนม.ค.ของสหรัฐ

พร้อมให้แนวรับวันนี้ 1,260-1,275 จุด แนวต้าน 1,295-1,300 จุด

     ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

      - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (2 ก.พ.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,153.54 จุด ลดลง 295.64 จุด หรือ -1.80%, ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,516.95 จุด ลดลง 103.42 จุด (-2.24%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,903.03 จุด ลดลง 36.35 จุด (-1.87%)

      - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 253.27 จุด ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 535.96 จุด ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 12.77 จุด ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 14.02 จุด ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 16.52 จุด ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 28.00 จุด ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 30.00 จุด

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (2 ก.พ.59) 1,265.30 จุด ลดลง 12.04 จุด(-0.93%)

                - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 657.88 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 ก.พ.59

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (2 ก.พ.59) ปิดที่ 29.88 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 1.74 ดอลลาร์ หรือ 5.5%

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (2 ก.พ.59) ที่ 7.00 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 35.83 อ่อนค่าตามภูมิภาค จับตากนง.บ่ายนี้-ตัวเลขศก.สหรัฐฯ

                - รมช.พาณิชย์ ชี้ไทยจำเป็นต้องร่วมวง "ทีพีพี" ผุดไอเดียดึงเงินเอกชนตั้งกองทุนเยียวยาผลกระทบ พร้อมโชว์ศักยภาพไทยผันตัวเองสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ ด้านหอการค้าญี่ปุ่น ชี้ไทยเสี่ยงเสียเสน่ห์ดึงลงทุนนอกหากไม่เข้าร่วม ขณะกกร.ห่วงไทยหลุดห่วงโซ่อุปทาน ทำแผนแก้ปัญหาอุปสรรคลงทุนเหลว

                - ครม.อนุมัติงบกลาง 1,814 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อใช้ในโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาภัยแล้งปี 2558/2559 ระยะที่ 2/1 จำนวน 3,135 โครงการ จากที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอขอไป 1,833 ล้านบาท โดยส่วนที่ตัดเป็นงบการบริหารโครงการออกไป โดยจะโอนเงินไปยังท้องถิ่นได้ในวันที่ 4 ก.พ.นี้

                - ไทยทีวียันไม่จ่ายค่าใบอนุญาตงวด 2 ถ้า กสทช.ระงับออกอากาศทุกระบบจ่อฟ้องเพิ่ม นายสุชาติ ชมกุล ทนายความ บริษัท ไทยทีวี เปิดเผยว่า ทางบริษัท ยังยืนจะยังไม่จ่ายค่าใบอนุญาต งวดที่ 2 เนื่องจากขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ในศาลปกครองสูงสุด

                - การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันนี้จะพิจารณาราคาก๊าซหุงต้มประจำเดือนกุมภาพันธ์ 59 คาดเสนอ 2 แนวทางจากราคาแอลพีจีในปัจจุบัน คือ นำส่วนต่างราคาที่ลดลงมาเก็บเข้า กองทุนแอลพีจีเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 23 สตางค์ต่อกิโลกรัม (กก.) เพื่อตรึงราคาจำหน่ายแอลพีจีที่ 22.29 บาทต่อ กก.ต่อไป และอีกแนวทาง คือ การปรับลดราคาจำหน่ายแอลพีจีลง เพื่อให้ราคาสะท้อนต้นทุนตลาดที่ปรับลดลง

                - ครม.เห็นชอบกรอบงบประมาณประจำปีงบประมาณ 60 โดยยังจัดทำเป็นงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องอีก 390,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณก่อนส่วนงบประมาณรายจ่ายอยู่ที่ 2.733 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,000 ล้านบาท หรือ 0.5% มีงบประมาณการลงทุน 546,000 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของวงเงินงบประมาณขณะที่รายได้ประมาณการ 2.343 ล้านล้านบาท ซึ่งการจัดทำงบประมาณครั้งนี้ คิดภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 4% และอัตราเงินเฟ้อ 2%

                - งงทั้งทำเนียบฯ "บิ๊กตู่" หน้าเบี้ยวอารมณ์บูดแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยก่อนประชุม ครม. สื่อโดนฉะแหลกทั้งถาม-ตอบล้วนไม่เข้าหู ฉุนขาดโยนของใส่วงนักข่าว เหน็บยุแยงตะแคงรั่ว ล้วงแคะ แกะ เกา จนน่ารำคาญ คนใกล้ชิดเผยหงุดหวิดเรื่อง รธน.-แต่งตั้งทหาร ยอมรับอยากให้ประชามติผ่าน ยืนยันเลือกตั้ง 60 ไม่กลับมาเป็นนายกฯคนนอก ระบุถ้ามีเหตุขัดแย้งอาจไม่ได้เลือกตั้ง

*หุ้นเด่นวันนี้

                - TU (ธนชาต) แนะ"ซื้อ"เป้าหมาย 23 บาท ซื้อหุ้น 51% ของ Rugen Fisch ที่เป็นบริษัทอาหารทะเลรายใหญ่ในเยอรมนี เป็น Upside ต่อประมาณการกำไรปี 2016 อยู่ 2% ขณะที่ในทางเทคนิค TU ทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันเป็นสัญญาณ "บวก"เป้าหมายระยะสั้นที่ 19.6-19.8 บาท

                - PS (ยูโอบี เคย์เฮียน) แนะ"ซื้อ"เป้าหมาย 34 มี Townhouse ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทพร้อมโอนในมือค่อนข้างสูง ได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นการโอนและยอด presales ที่แข็งแกร่งด้วย บวกกับได้เน้นบ้านเดี่ยวและ segment ที่อยู่อาศัยแนวราบ ซึ่งไม่มีความเสี่ยงสูงและยังคงได้ประโยชน์จาก demand ที่ดีอยู่ ซื้อใกล้ๆ 25 upside 36%

                - EPG (ซีไอเอ็มบี) แนะ"ซื้อ"ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงแรงทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวลดลงตาม ประเมินกำไรปกติไตรมาส 3/58 ที่ 430 ล้านบาท เติบโต 190% yoy ช่วง High Season โดยเฉพาะธุรกิจบรรจุภัณฑ์ EPP และธุรกิจฉนวน AFC เราคาดกำไรปี15 -16 ที่ 1,572 ล้านบาท และ 1,839 ล้านบาทเติบโต 150% และ16.9% yoy

ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ เหตุวิตกราคาน้ำมันดิ่งหลุดระดับ 30 ดอลล์

      ตลาดหุ้นเอเชียต่างร่วงลงถ้วนหน้าในเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องและส่งผลอย่างรุนแรงต่อผลประกอบการของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงบีพี และเอ็กซอน โมบิล

      เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ตามเวลาโตเกียวในวันนี้ ดัชนี MSCI Asia Pacific ดิ่งลง 1.7%

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดที่ 17,497.41 จุด ลดลง 253.27 จุด, -1.43% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดที่ 18,910.88 จุด ลดลง 535.96 จุด, -2.76% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดที่ 1,893.83 จุด ลดลง 12.77 จุด, -0.67% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดที่ 8,117.22 จุด ลดลง 14.02 จุด, -0.17%

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดร่วง 138.09 จุด วิตกผลประกอบการบริษัทน้ำมัน

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงบีพี

       ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันซึ่งส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทพลังงานและบริษัทผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์

     หุ้นกลุ่มเหมืองแร่และกลุ่มพลังงานนำตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลดลง โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ต่างก็ร่วงลงมากกว่า 4.3%

      หุ้นบีพีร่วงลง 8.7% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุน 6.5 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ บริษัทยังระบุว่าจะปลดพนักงาน 7 พันคนภายในปลายปีหน้า หรือราว 9% ของพนักงานทั้งหมด

    หุ้นฮิคมา ฟาร์มาซูติคอล พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นของบริษัท

     หุ้นเจ เซนเบอรี เพิ่มขึ้น 2.4% หลังจากบริษัทตกลงซื้อกิจการของโฮม รีเทล กรุ๊ป ในวงเงิน 1.3 พันล้านปอนด์ (1.9 พันล้านดอลลาร์) ส่งผลให้เจ เซนเบอรีกลายเป็นบริษัทปลีกยักษ์ใหญ่ของอังกฤษที่มีหลายร้อยสาขาและขายสินค้าครบทุกประเภทนับตั้งแต่เครื่องประดับไปจนถึงโทรทัศน์

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดร่วง วิตกราคาน้ำมันดิ่ง,ผลประกอบการบริษัทพลังงานซบ

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงบีพี

     ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 2.1% ปิดที่ 334.59 จุด

      ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,283.99 จุด ร่วงลง 108.34 จุด หรือ -2.47% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,581.04 จุด ดิ่งลง 176.84 จุด หรือ -1.81% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,922.01 จุด ลดลง 138.09 จุด หรือ -2.28%

      ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ดิ่งลงไปกว่า 4% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงพลังงานรัสเซียรายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของรัสเซียในเดือนม.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่า รัสเซีย และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังไม่มีแนวโน้มที่จะทำข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิต

    นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ของยุโรป โดยบีพีเปิดเผยว่า บริษัทประสบภาวะขาดทุน 6.5 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ บริษัทยังระบุว่าจะปลดพนักงาน 7 พันคนภายในปลายปีหน้า หรือราว 9% ของพนักงานทั้งหมด

    ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของบริษัทรอยัล ดัทช์ เชลล์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ลงสู่ระดับ A+ จากระดับ AA- และยังได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของบริษัทพลังงานรายอื่นๆของยุโรป ลงสู่ระดับ เชิงลบ ซึ่งรวมถึงบริษัทบีพี , โททาล เอสเอ, สแตทออยล์ เอเอสเอ, เรพซอล เอสเอ และ Eni SpA

       ทั้งนี้ หุ้นบีพี ร่วงลง 8.7% ส่วนหุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลงอย่างน้อย 6.7%

      หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ได้รับปัจจัยลบหลังจาก S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของบีเอชพี บิลลิตัน ลงสู่ระดับ A จากระดับ A+ เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ และความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทั่วโลก

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 295.64 จุด วิตกราคาน้ำมันดิ่งหนัก

   ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 290 จุดเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนต่างพากันกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันร่วงลงหลุดจากระดับ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงเอ็กซอน โมบิล และบีพี

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,153.54 จุด ดิ่งลง 295.64 จุด หรือ -1.80% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,516.95 จุด ร่วงลง 103.42 จุด หรือ -2.24% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,903.03 จุด ลดลง 36.35 จุด หรือ -1.87%

     ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กซบเซาลงอย่างหนัก หลังจากราคาน้ำมัน WTI ตลาดนิวยอร์กร่วงลงไปกว่า 5% สู่ระดับต่ำกว่า 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้นอีก เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ในเรื่องการปรับลดกำลังการผลิต

      นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ โดยเอ็กซอน โมบิล คอร์ป รายงานตัวเลขกำไรรายไตรมาสต่ำที่สุดในรอบกว่า 10 ปี เพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลง

      ทั้งนี้ เอ็กซอนเปิดเผยว่า บริษัทมีกำไร 2.78 พันล้านดอลลาร์ หรือ 67 เซนต์/หุ้นในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2002 จากระดับ 6.57 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.56 ดอลลาร์/หุ้นในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ เอ็กซอนยังวางแผนปรับลดการใช้จ่ายทุน สู่ระดับ 2.32 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ ลดลง 25% จากปีที่แล้ว

     ด้านบริษัทบีพี เปิดเผยตัวเลขขาดทุนหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่แล้ว พร้อมกับประกาศปลดพนักงานหลายพันคน หลังราคาน้ำมันทรุดตัวลง โดยบีพีระบุว่า บริษัทขาดทุน 6.5 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว  นอกจากนี้ บริษัทยังระบุว่าจะปลดพนักงาน 7 พันคนภายในปลายปีหน้า หรือราว 9% ของพนักงานทั้งหมด

    สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของบริษัทรอยัล ดัทช์ เชลล์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ลงสู่ระดับ A+ จากระดับ AA- พร้อมกับเตือนว่า อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก

    นอกจากนี้ S&P ยังได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของบริษัทพลังงานรายอื่นๆของยุโรป ลงสู่ระดับ เชิงลบ ซึ่งรวมถึงบริษัทบีพี , โททาล เอสเอ, สแตทออยล์ เอเอสเอ, เรพซอล เอสเอ และ Eni SpA

    ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ร่วงลง 2.23% หุ้นเชฟรอน คอร์ป ดิ่งลงกว่า 2% หุ้นรีฟายเนอร์ เทโซโร ร่วงลง 8.2% หุ้นทรานส์โอเชียน ดิ่งลง 7.5% และหุ้นมาราธอน ออยล์ ร่วงลงกว่า 7%

    หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงเนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ยังเคลื่อนไหวในระดับต่ำจะส่งผลกระทบต่อกำไรในภาคธนาคาร โดยหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วงลง 5.2% หุ้นซิตี้กรุ๊ป ดิ่งลง 4.9% และหุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลง 5%

    หุ้นไฟเซอร์ ผู้ผลิตยารายใหญ่ ปรับตัวลง 0.10% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4 ร่วงลงราวครึ่งหนึ่งจากปีก่อนหน้านี้ อันเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และจากการปรับโครงสร้าง

    ทั้งนี้ รายได้ของไฟเซอร์เพิ่มขึ้น 7% สู่ระดับ 1.405 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 613 ล้านดอลลาร์ หรือ 10 เซนต์/หุ้น โดยต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ที่ 1.23 พันล้านดอลลาร์ หรือ 19 เซนต์/หุ้น

   หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล อิงค์ พุ่งขึ้น 1.32% โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการในไตรมาส 4 ที่แข็งแกร่ง สวนทางกับแอปเปิลที่ยอดขายไอโฟนได้ตกต่ำลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวเมื่อ 8 ปีก่อน

     นักลงทุนจับตาดูข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ โดยในวันพุธ ADP จะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐประจำเดือนม.ค. ส่วนในวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และในวันศุกร์ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.

                        อินโฟเควสท์

ภาวะตลาดหุ้นไทย : ปิดลบ 7.69 จุด ตามหุ้นทั่วโลกรับน้ำมันปรับฐานอีกครั้ง-บ่ายเกาะติด กนง.
ตลาดหลักทรัพย์ ดัชนี ปิดเช้านี้ที่ 1,277.61 จุด ลดลง 7.69 จุด ซื้อขาย 19,783.94 ล้านบาท
การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงเช้า โดยแตะจุดสูงสุดของช่วงเช้าที่ 1,282.91 จุด และจุดต่ำสุดที่ระดับ 1,275.41 จุด
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้อ่อนตัวลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างก็ปรับตัวลงกัน เนื่องจากมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับฐานลงมาอีกครั้ง ทำให้หุ้นในกลุ่มพลังงานปรับตัวลง
นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่มแบงก์ก็ปรับตัวลงหลังมีประเด็นความเสี่ยงจากการไปค้ำประกันให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล และสื่อสารบางบริษัท อย่างไรก็ดี ให้ติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ช่วงบ่ายนี้ แต่ไม่น่า Surprise จากตลาดฯคาดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% เช่นเดิม
สำหรับ ปัจจัยต่างประเทศ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯจะประกาศออกมาในคืนวันศุกร์นี้ น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในประเด็นการปรับอัตราดอกเบี้ย
แนวโน้มการลงทุนในช่วงบ่ายนี้ นายณัฐชาต กล่าวว่า ตลาดฯน่าจะแกว่งแคบ โดยมีแนวรับ 1,270 จุด ส่วนแนวต้าน 1,290 จุด
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่
PTT      มูลค่าการซื้อขาย 1,467.82 ล้านบาท ปิดที่ 223.00 บาท ลดลง  9.00 บาท
ADVANC   มูลค่าการซื้อขาย 1,234.96 ล้านบาท ปิดที่ 169.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท
AOT      มูลค่าการซื้อขาย 1,073.26 ล้านบาท ปิดที่ 365.00 บาท ลดลง  7.00 บาท
DTAC     มูลค่าการซื้อขาย   897.08 ล้านบาท ปิดที่  34.75 บาท ลดลง  0.75 บาท
JAS      มูลค่าการซื้อขาย   897.05 ล้านบาท ปิดที่   2.88 บาท ลดลง  0.04 บาท
อินโฟเควสท์
 
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าปรับลงตามภูมิภาคราคาน้ำมันร่วงรับแรงกดดันวิตกศก.โลก
นักวิเคราะห์ฯคาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวลงตามต่างประเทศที่ปรับตัวลดลงตามดัชนีหุ้ดาวโจนส์รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงต่อเนื่องจนหลุด 30 เหรียญ/บาร์เรลอีกอีกครั้ง หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ-จีนออกมาไม่ดี ทำให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก แนะติดตาม กนง.วันนี้คาดคงดอกเบี้ยนโยบาย ให้แนวรับ 1,260 - 1,275 จุด แนวต้าน 1,295-1,300 จุด
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ มองว่า ภาวะตลาดหุ้นเช้านี้ปรับตัวลงจากแรงกดดันในเรื่องราคาน้ำมันที่หลุด 30 เหรียญ/บาร์เรล และแรงกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลก หลังตัวเลขภาคการผลิตทั้งสหรัฐฯและจีนออกมาไม่ดี ทำให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคปรับลงเช่นกันเฉลี่ย 1% ตามแรงกดดันข้างต้น
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม คือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันนี้ ซึ่งคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ แต่อาจจะมีความเห็นเกี่ยวกับความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกเช่นกัน อีกทั้งจับตาตัวเลขภาคการผลิต (PMI) ทั่วโลก,ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนม.ค.ของสหรัฐ
พร้อมให้แนวรับวันนี้ 1,260-1,275 จุด แนวต้าน 1,295-1,300 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (2 ก.พ.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,153.54 จุด ลดลง 295.64 จุด หรือ -1.80%, ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,516.95 จุด ลดลง 103.42 จุด (-2.24%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,903.03 จุด ลดลง 36.35 จุด (-1.87%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 253.27 จุด ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 535.96 จุด ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 12.77 จุด ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 14.02 จุด ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 16.52 จุด ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 28.00 จุด ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 30.00 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (2 ก.พ.59) 1,265.30 จุด ลดลง 12.04 จุด(-0.93%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 657.88 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 ก.พ.59
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (2 ก.พ.59) ปิดที่ 29.88 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 1.74 ดอลลาร์ หรือ 5.5%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (2 ก.พ.59) ที่ 7.00 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 35.83 อ่อนค่าตามภูมิภาค จับตากนง.บ่ายนี้-ตัวเลขศก.สหรัฐฯ
- รมช.พาณิชย์ ชี้ไทยจำเป็นต้องร่วมวง "ทีพีพี" ผุดไอเดียดึงเงินเอกชนตั้งกองทุนเยียวยาผลกระทบ พร้อมโชว์ศักยภาพไทยผันตัวเองสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ ด้านหอการค้าญี่ปุ่น ชี้ไทยเสี่ยงเสียเสน่ห์ดึงลงทุนนอกหากไม่เข้าร่วม ขณะกกร.ห่วงไทยหลุดห่วงโซ่อุปทาน ทำแผนแก้ปัญหาอุปสรรคลงทุนเหลว
- ครม.อนุมัติงบกลาง 1,814 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อใช้ในโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาภัยแล้งปี 2558/2559 ระยะที่ 2/1 จำนวน 3,135 โครงการ จากที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอขอไป 1,833 ล้านบาท โดยส่วนที่ตัดเป็นงบการบริหารโครงการออกไป โดยจะโอนเงินไปยังท้องถิ่นได้ในวันที่ 4 ก.พ.นี้
- ไทยทีวียันไม่จ่ายค่าใบอนุญาตงวด 2 ถ้า กสทช.ระงับออกอากาศทุกระบบจ่อฟ้องเพิ่ม นายสุชาติ ชมกุล ทนายความ บริษัท ไทยทีวี เปิดเผยว่า ทางบริษัท ยังยืนจะยังไม่จ่ายค่าใบอนุญาต งวดที่ 2 เนื่องจากขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ในศาลปกครองสูงสุด
- การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันนี้จะพิจารณาราคาก๊าซหุงต้มประจำเดือนกุมภาพันธ์ 59 คาดเสนอ 2 แนวทางจากราคาแอลพีจีในปัจจุบัน คือ นำส่วนต่างราคาที่ลดลงมาเก็บเข้า กองทุนแอลพีจีเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 23 สตางค์ต่อกิโลกรัม (กก.) เพื่อตรึงราคาจำหน่ายแอลพีจีที่ 22.29 บาทต่อ กก.ต่อไป และอีกแนวทาง คือ การปรับลดราคาจำหน่ายแอลพีจีลง เพื่อให้ราคาสะท้อนต้นทุนตลาดที่ปรับลดลง
- ครม.เห็นชอบกรอบงบประมาณประจำปีงบประมาณ 60 โดยยังจัดทำเป็นงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องอีก 390,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณก่อนส่วนงบประมาณรายจ่ายอยู่ที่ 2.733 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,000 ล้านบาท หรือ 0.5% มีงบประมาณการลงทุน 546,000 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของวงเงินงบประมาณขณะที่รายได้ประมาณการ 2.343 ล้านล้านบาท ซึ่งการจัดทำงบประมาณครั้งนี้ คิดภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 4% และอัตราเงินเฟ้อ 2%
- งงทั้งทำเนียบฯ "บิ๊กตู่" หน้าเบี้ยวอารมณ์บูดแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยก่อนประชุม ครม. สื่อโดนฉะแหลกทั้งถาม-ตอบล้วนไม่เข้าหู ฉุนขาดโยนของใส่วงนักข่าว เหน็บยุแยงตะแคงรั่ว ล้วงแคะ แกะ เกา จนน่ารำคาญ คนใกล้ชิดเผยหงุดหวิดเรื่อง รธน.-แต่งตั้งทหาร ยอมรับอยากให้ประชามติผ่าน ยืนยันเลือกตั้ง 60 ไม่กลับมาเป็นนายกฯคนนอก ระบุถ้ามีเหตุขัดแย้งอาจไม่ได้เลือกตั้ง
*หุ้นเด่นวันนี้
- TU (ธนชาต) แนะ"ซื้อ"เป้าหมาย 23 บาท ซื้อหุ้น 51% ของ Rugen Fisch ที่เป็นบริษัทอาหารทะเลรายใหญ่ในเยอรมนี เป็น Upside ต่อประมาณการกำไรปี 2016 อยู่ 2% ขณะที่ในทางเทคนิค TU ทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันเป็นสัญญาณ "บวก"เป้าหมายระยะสั้นที่ 19.6-19.8 บาท
- PS (ยูโอบี เคย์เฮียน) แนะ"ซื้อ"เป้าหมาย 34 มี Townhouse ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทพร้อมโอนในมือค่อนข้างสูง ได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นการโอนและยอด presales ที่แข็งแกร่งด้วย บวกกับได้เน้นบ้านเดี่ยวและ segment ที่อยู่อาศัยแนวราบ ซึ่งไม่มีความเสี่ยงสูงและยังคงได้ประโยชน์จาก demand ที่ดีอยู่ ซื้อใกล้ๆ 25 upside 36%
- EPG (ซีไอเอ็มบี) แนะ"ซื้อ"ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงแรงทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวลดลงตาม ประเมินกำไรปกติไตรมาส 3/58 ที่ 430 ล้านบาท เติบโต 190% yoy ช่วง High Season โดยเฉพาะธุรกิจบรรจุภัณฑ์ EPP และธุรกิจฉนวน AFC เราคาดกำไรปี15 -16 ที่ 1,572 ล้านบาท และ 1,839 ล้านบาทเติบโต 150% และ16.9% yoy
ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ เหตุวิตกราคาน้ำมันดิ่งหลุดระดับ 30 ดอลล์
ตลาดหุ้นเอเชียต่างร่วงลงถ้วนหน้าในเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องและส่งผลอย่างรุนแรงต่อผลประกอบการของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงบีพี และเอ็กซอน โมบิล
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ตามเวลาโตเกียวในวันนี้ ดัชนี MSCI Asia Pacific ดิ่งลง 1.7%
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดที่ 17,497.41 จุด ลดลง 253.27 จุด, -1.43% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดที่ 18,910.88 จุด ลดลง 535.96 จุด, -2.76% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดที่ 1,893.83 จุด ลดลง 12.77 จุด, -0.67% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดที่ 8,117.22 จุด ลดลง 14.02 จุด, -0.17%
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดร่วง 138.09 จุด วิตกผลประกอบการบริษัทน้ำมัน
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงบีพี
ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันซึ่งส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทพลังงานและบริษัทผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่และกลุ่มพลังงานนำตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลดลง โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ต่างก็ร่วงลงมากกว่า 4.3%
หุ้นบีพีร่วงลง 8.7% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุน 6.5 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ บริษัทยังระบุว่าจะปลดพนักงาน 7 พันคนภายในปลายปีหน้า หรือราว 9% ของพนักงานทั้งหมด
หุ้นฮิคมา ฟาร์มาซูติคอล พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นของบริษัท
หุ้นเจ เซนเบอรี เพิ่มขึ้น 2.4% หลังจากบริษัทตกลงซื้อกิจการของโฮม รีเทล กรุ๊ป ในวงเงิน 1.3 พันล้านปอนด์ (1.9 พันล้านดอลลาร์) ส่งผลให้เจ เซนเบอรีกลายเป็นบริษัทปลีกยักษ์ใหญ่ของอังกฤษที่มีหลายร้อยสาขาและขายสินค้าครบทุกประเภทนับตั้งแต่เครื่องประดับไปจนถึงโทรทัศน์
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดร่วง วิตกราคาน้ำมันดิ่ง,ผลประกอบการบริษัทพลังงานซบ
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงบีพี
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 2.1% ปิดที่ 334.59 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,283.99 จุด ร่วงลง 108.34 จุด หรือ -2.47% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,581.04 จุด ดิ่งลง 176.84 จุด หรือ -1.81% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,922.01 จุด ลดลง 138.09 จุด หรือ -2.28%
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ดิ่งลงไปกว่า 4% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงพลังงานรัสเซียรายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของรัสเซียในเดือนม.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่า รัสเซีย และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ยังไม่มีแนวโน้มที่จะทำข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิต
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ของยุโรป โดยบีพีเปิดเผยว่า บริษัทประสบภาวะขาดทุน 6.5 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ บริษัทยังระบุว่าจะปลดพนักงาน 7 พันคนภายในปลายปีหน้า หรือราว 9% ของพนักงานทั้งหมด
ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของบริษัทรอยัล ดัทช์ เชลล์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ลงสู่ระดับ A+ จากระดับ AA- และยังได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของบริษัทพลังงานรายอื่นๆของยุโรป ลงสู่ระดับ เชิงลบ ซึ่งรวมถึงบริษัทบีพี , โททาล เอสเอ, สแตทออยล์ เอเอสเอ, เรพซอล เอสเอ และ Eni SpA
ทั้งนี้ หุ้นบีพี ร่วงลง 8.7% ส่วนหุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลงอย่างน้อย 6.7%
หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ได้รับปัจจัยลบหลังจาก S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของบีเอชพี บิลลิตัน ลงสู่ระดับ A จากระดับ A+ เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ และความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทั่วโลก
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 295.64 จุด วิตกราคาน้ำมันดิ่งหนัก
ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 290 จุดเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนต่างพากันกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันร่วงลงหลุดจากระดับ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ รวมถึงเอ็กซอน โมบิล และบีพี
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,153.54 จุด ดิ่งลง 295.64 จุด หรือ -1.80% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,516.95 จุด ร่วงลง 103.42 จุด หรือ -2.24% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,903.03 จุด ลดลง 36.35 จุด หรือ -1.87%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กซบเซาลงอย่างหนัก หลังจากราคาน้ำมัน WTI ตลาดนิวยอร์กร่วงลงไปกว่า 5% สู่ระดับต่ำกว่า 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้นอีก เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ในเรื่องการปรับลดกำลังการผลิต
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทพลังงานรายใหญ่ โดยเอ็กซอน โมบิล คอร์ป รายงานตัวเลขกำไรรายไตรมาสต่ำที่สุดในรอบกว่า 10 ปี เพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลง
ทั้งนี้ เอ็กซอนเปิดเผยว่า บริษัทมีกำไร 2.78 พันล้านดอลลาร์ หรือ 67 เซนต์/หุ้นในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2002 จากระดับ 6.57 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.56 ดอลลาร์/หุ้นในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ เอ็กซอนยังวางแผนปรับลดการใช้จ่ายทุน สู่ระดับ 2.32 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ ลดลง 25% จากปีที่แล้ว
ด้านบริษัทบีพี เปิดเผยตัวเลขขาดทุนหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่แล้ว พร้อมกับประกาศปลดพนักงานหลายพันคน หลังราคาน้ำมันทรุดตัวลง โดยบีพีระบุว่า บริษัทขาดทุน 6.5 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว  นอกจากนี้ บริษัทยังระบุว่าจะปลดพนักงาน 7 พันคนภายในปลายปีหน้า หรือราว 9% ของพนักงานทั้งหมด
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของบริษัทรอยัล ดัทช์ เชลล์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ลงสู่ระดับ A+ จากระดับ AA- พร้อมกับเตือนว่า อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก
นอกจากนี้ S&P ยังได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของบริษัทพลังงานรายอื่นๆของยุโรป ลงสู่ระดับ เชิงลบ ซึ่งรวมถึงบริษัทบีพี , โททาล เอสเอ, สแตทออยล์ เอเอสเอ, เรพซอล เอสเอ และ Eni SpA
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ร่วงลง 2.23% หุ้นเชฟรอน คอร์ป ดิ่งลงกว่า 2% หุ้นรีฟายเนอร์ เทโซโร ร่วงลง 8.2% หุ้นทรานส์โอเชียน ดิ่งลง 7.5% และหุ้นมาราธอน ออยล์ ร่วงลงกว่า 7%
หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงเนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ยังเคลื่อนไหวในระดับต่ำจะส่งผลกระทบต่อกำไรในภาคธนาคาร โดยหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วงลง 5.2% หุ้นซิตี้กรุ๊ป ดิ่งลง 4.9% และหุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลง 5%
หุ้นไฟเซอร์ ผู้ผลิตยารายใหญ่ ปรับตัวลง 0.10% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4 ร่วงลงราวครึ่งหนึ่งจากปีก่อนหน้านี้ อันเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และจากการปรับโครงสร้าง
ทั้งนี้ รายได้ของไฟเซอร์เพิ่มขึ้น 7% สู่ระดับ 1.405 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 613 ล้านดอลลาร์ หรือ 10 เซนต์/หุ้น โดยต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ที่ 1.23 พันล้านดอลลาร์ หรือ 19 เซนต์/หุ้น
หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล อิงค์ พุ่งขึ้น 1.32% โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการในไตรมาส 4 ที่แข็งแกร่ง สวนทางกับแอปเปิลที่ยอดขายไอโฟนได้ตกต่ำลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวเมื่อ 8 ปีก่อน
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ โดยในวันพุธ ADP จะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐประจำเดือนม.ค. ส่วนในวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และในวันศุกร์ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.
อินโฟเควสท์
 
 
 
 
 
 
 
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!