- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Tuesday, 06 October 2015 10:31
- Hits: 2865
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าปรับขึ้นแนวเดียวกับภูมิภาคจากแรงซื้อคืนสินทรัพย์เสี่ยง
นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ต่างปรับตัวขึ้นกัน เนื่องจากมีแรงซื้อคืนในสินทรัพย์เสี่ยงเข้ามา ภายหลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯออกมาน้อยกว่าที่คาดไว้ ทำให้คาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ และก็ได้มีการมองว่าน่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปเป็นช่วงมี.ค.ปีหน้า(2559)
อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดบ้านเราจะมีแรงซื้อคืนเข้ามา แต่การปรับขึ้นของดัชนีฯก็คงจะเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากยังต้องการรอดูการฟื้นตัวเศรษฐกิจก่อน
พร้อมให้แนวรับ 1,360-1,353 จุด ส่วนแนวต้าน 1,370-1,380 จุด
ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(5 ต.ค.58) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,776.43 จุด พุ่งขึ้น 304.06 จุด(+1.85%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,781.26 จุด เพิ่มขึ้น 73.48 จุด(+1.56%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,987.05 จุด เพิ่มขึ้น 35.69 จุด(+1.83%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 296.92 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเพิ่มขึ้น 314.60 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 56.95 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 18.04 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 31.25 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 11.39 จุด
ส่วนตลาดหุ้นจีน ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันหยุดเฉลิมฉลองวันชาติ
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(5 ต.ค.58) 1,363.17 จุด เพิ่มขึ้น 16.82 จุด(+1.25%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 205.89 จุด เมื่อวันที่ 5 ต.ค.58
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(5 ต.ค.58) ปิดที่ 46.26 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 72 เซนต์ หรือ 1.6%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(5 ต.ค.58)ที่ 7.46 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิดวันนี้ 36.34 แข็งค่าตามภูมิภาค หลังคาดเฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ยออกไป
- ธนาคารโลกได้เปิดเผยรายงานเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยระบุว่าอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 2.5% การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ 0.8%
- "สมคิด"ดันประมูลก่อสร้างรถไฟกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทราอรัญประเทศเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ (East-West Corridor) กัมพูชา-ไทย-เมียนมาร์ รองรับนิคมฯทวาย คาดพ.ย.ผลศึกษาชัดเจนแซงหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ เหตุศึกษาช้ากว่า "คมนาคม" จ่อเจรจาญี่ปุ่นร่วมทุน ส่วนรถไฟแม่สอด-พิษณุโลก-มุกดาหาร ดันศึกษาเสร็จใน 1 ปี หวังเปิดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจด้านบน
- บริษัท ทีโอที ยังคงยืนยันสิทธิในการใช้คลื่น 900 MHz หลังหมดสัมปทาน เพราะตามบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2553 ระบุว่า ให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นเพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่
- รมว.คลังออกโรงปฏิเสธมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ยังไม่เข้า ครม. รอสรุปชัดเจนก่อน ส่วน ผอ.สศค.ห่วงตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว ขณะเดียวกัน รายงานข่าว จากก.พาณิชย์ ระบุ "สมคิด"สั่งเบรกแก้ไขพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าโยนกลับ"พาณิชย์"พิจารณาใหม่ ไม่อนุมัติให้ชงเรื่องเข้า ครม.
*หุ้นเด่นวันนี้
- PTT(เคเคเทรด)เป้า 363 บาท Valuation ไม่แพง ซื้อขายที่ P/BV 1 เท่า, ได้รับผลบวกเชิง Sentiment จากการฟื้นตัวระยะสั้นของราคาน้ำมัน, คาดงบ 3Q58 ได้รับผลกระทบเชิงลบน้อยกว่าบริษัทอื่นในกลุ่มพลังงานเนื่องจากมีการถือหุ้นในบริษัทลูกกระจายในหลายธุรกิจ (Diversification)
- SAMTEL(เคเคเทรด)เป้า 23 บาท คาดกำไรฟื้นตัวอย่างมีนัยใน 2H58 จากงานในมือและการประมูลงานใหม่ จากการเร่งการลงทุนของภาครัฐ
- KSL(ฟินันเซีย ไซรัส)"เก็งกำไร"ถูกสุดในกลุ่ม ราคาน้ำตาลขึ้นแรงสัปดาห์ที่ผ่านมา 8% อยู่ที่ 13.5 เซนต์ต่อปอนด์ สูงสุดในรอบ 7 เดือน เพราะฝนตกในบราซิลช่วงปลายหีบอ้อย กังวลผลผลิตอาจต่ำกว่าคาด นอกจากนี้ Petrobas บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของบราซิลขึ้นราคา Gasoline อาจจูงใจให้นำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น ราคาน้ำตาลก็อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน จึงมองว่ามีโอกาสขึ้นต่อ
- PS(เคทีบี)"ซื้อ"เป้า 31 บาท ยอด Presales เดือน ก.ย.ที่ 3,324 ล้านบาท ลดลง 28% MoM และ 21% YoY ส่วนใหญ่เป็นผลจากยอด Presales ของโครงการคอนโดฯลดลงมาก อย่างไรก็ตามรวมงวดเดือน ม.ค.-ก.ย.58 มียอด Presales ที่ 34,455 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY คิดเป็น 73% ของเป้าหมายปีนี้ที่ 47,000 ล้านบาท คาด 3Q58 ปรับตัวลง QoQ จากผู้ซื้อบ้านบางส่วนชะลอรอความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นอสังหาฯของภาครัฐ แต่เชื่อมาตรการจะเริ่มใช้และเป็นผลบวกต่อผลงานใน 4Q58 และปี 59 ทั้งนี้ ยังคงประเมินกำไรสุทธิปี 58 ที่ 6,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% YoY
ตลาดหุ้นเอเชียทะยานขึ้นเช้านี้ รับคาดการณ์เฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ย
ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการปิดพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นนิวยอร์ก จากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ดัชนี MSCI Asia Pacific ทะยาน 0.8% แตะ 128.88 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 18,302.41 จุด เพิ่มขึ้น 296.92 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,169.10 จุด เพิ่มขึ้น 314.60 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,409.31 จุด เพิ่มขึ้น 56.95 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,996.29 จุด เพิ่มขึ้น 18.04 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,882.50 จุด เพิ่มขึ้น 31.25 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,658.98 จุด เพิ่มขึ้น 11.39 จุด ส่วนตลาดหุ้นจีนปิดทำการเนื่องในวันหยุดเฉลิมฉลองวันชาติ
ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เนื่องจากตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานเมื่อวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 142,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 200,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 5.1% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์
นอกจากนี้ ความอ่อนแอของข้อมูลภาคบริการซึ่งสหรัฐเปิดเผยล่าสุดนั้น ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้มีน้อยลง โดยสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 56.9 ในเดือนก.ย. จากระดับ 59 ในเดือนส.ค. โดยตัวเลขเดือนก.ย.เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา หรือในรอบสามเดือน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงแตะที่ 57.5
ขณะที่มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 55.1 ในเดือนก.ย. ปรับตัวลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 55.6 และลดลงจากระดับ 56.1 ในเดือนส.ค.
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดพุ่ง 168.94 จุด จากแรงซื้อหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงหุ้นเกลนคอร์ที่ทะยานขึ้นกว่า 20%
ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 168.94 จุด หรือ 2.76% ที่ 6,298.92 จุด
ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นทั่วโลก
หุ้นเกลนคอร์พุ่งขึ้น 21% หลังราคาหุ้นของบริษัทพุ่งขึ้น 72% ที่ตลาดหุ้นฮ่องกง หลังจากปรับตัวลดลงมากถึง 77% ในช่วงก่อนหน้านี้ ท่ามกางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการยื่นล้มละลายของบริษัท ในขณะที่หุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นอันโตฟากัสตา ต่างก็พุ่งขึ้นสูงกว่า 4.7%
หุ้นแสตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ซึ่งมีรายได้จากจีนสูงเป็นอันดับสามของรายได้ทั้งหมดของบริษัทพุ่งขึ้น 6.3%
หุ้นเอเบอร์ดีน แอสเซท แมเนจเมนท์ ซึ่งลงทุนประมาณหนึ่งในสี่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น 5.3%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: แรงซื้อหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ หนุนตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่ง
ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงหุ้นเกลนคอร์ที่ทะยานขึ้นกว่า 20%
ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 3% ปิดที่ 358.33 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,616.90 จุด เพิ่มขึ้น 158.02 จุด หรือ +3.54% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 814.79 จุด เพิ่มขึ้น 261.72 จุด, +2.74% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,298.92 จุด เพิ่มขึ้น 168.94 จุด, +2.76%
หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ทะยานขึ้นแข็งแกร่ง โดยหุ้นเกลนคอร์พุ่งขึ้น 21% หลังจากที่ทำสถิติทะยานขึ้น 72% ที่ตลาดหุ้นฮ่องกงเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่บริษัทจดทะเบียนในปี 2554
หุ้นเกลนคอร์ได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า ทางบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างเพื่อรับมือกับการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และเพื่อสนับสนุนการเงินของบริษัท
นอกจากนี้มีรายงานว่า กองทุนความมั่งคั่งของสิงคโปร์, บริษัทมิตซุยแอนด์โคของญี่ปุ่น และกองทุนบำนาญของแคนาดา ได้แสดงความสนใจที่จะซื้อหุ้นในธุรกิจการเกษตรของเกลนคอร์
หุ้นอาร์เซลอร์มิททัล พุ่งขึ้น 8.7% หลังจากบริษัทปรับเพิ่มคาดการณ์อุปสงค์โลหะในตลาดยุโรป
หุ้นเทเลนอร์ ปรับขึ้น 3.5% ขณะที่หุ้นโฟล์คสวาเกนปรับตัวขึ้น 1.3%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศยุโรปที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น มาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของยูโรโซนในเดือนก.ย.ปรับตัวลงแตะ 53.7 จาก 54.4 ในเดือนส.ค. และลดลงเมื่อเทียบกับข้อมูลเบื้องต้นที่ 54.0 ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการของเยอรมนีในเดือนก.ย.ลดลงที่ 54.1 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก 54.9 ในเดือนส.ค.
ทั้งนี้ ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ถึงภาวะการขยายตัวของภาคบริการ ส่วนระดับที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมภาคบริการหดตัวลง
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 304.06 จุด รับคาดการณ์เฟดยังไม่ขึ้นดบ.
ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (5 ต.ค.) ทำสถิติปิดบวกติดต่อกัน 2 วันทำการ เพราะได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากตัวเลขจ้างงานออกมาซบเซา นอกจากนี้ ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของภาคบริการของสหรัฐ ยิ่งทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้มีน้อยลง
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,776.43 จุด พุ่งขึ้น 304.06 จุด หรือ +1.85% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,781.26 จุด เพิ่มขึ้น 73.48 จุด หรือ +1.56% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,987.05 จุด เพิ่มขึ้น 35.69 จุด หรือ +1.83%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้แรงหนุนจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เนื่องจากตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานเมื่อวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 142,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 200,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 5.1% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์
นอกจากนี้ ความอ่อนแอของข้อมูลภาคบริการซึ่งสหรัฐเปิดเผยล่าสุดนั้น ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้มีน้อยลง โดยสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 56.9 ในเดือนก.ย. จากระดับ 59 ในเดือนส.ค. โดยตัวเลขเดือนก.ย.เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา หรือในรอบสามเดือน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงแตะที่ 57.5
ขณะที่มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 55.1 ในเดือนก.ย. ปรับตัวลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 55.6 และลดลงจากระดับ 56.1 ในเดือนส.ค.
คริส วิลเลียมสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมาร์กิตระบุในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอในไตรมาสสาม เมื่อพิจารณาจากผลสำรวจ PMI โดยลดลงมาขยายตัวที่ราว 2.2% อย่างไรก็ดี การชะลอตัวดังกล่าวนั้นมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่เศรษฐกิจดีดตัวแข็งแกร่งในไตรมาสสอง ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐกลับมาขยายตัวในระดับปานกลาง สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยในระยะยาว
หุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดในบรรดาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่คำนวณในดัชนี S&P500 โดยหุ้นคอนโซล เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 9% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี ดีดขึ้น 6.7%
หุ้นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าประเภททุนปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นยูไนเต็ด เรนทัล พุ่งขึ้น 8% หุ้นเดียร์ แอนด์ โค ทะยานขึ้น 6.3%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนส.ค., สินเชื่อผู้บริโภคเดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, รายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 16-17 ก.ย. , ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย. และต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนส.ค.
อินโฟเควสท์