WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ลุ้นรีบาวน์แต่ไม่มาก เล็งแรงหนุนจากกลุ่มสายการบิน
     นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนายการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคจีไอ(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะรีบาวน์ได้แต่ไม่มากนัก โดยอาจได้รับแรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มสายการบิน เนื่องจาก Story ได้มีการพลิกกลับ จากทางญี่ปุ่นที่มีข่าวว่าจะอนุญาติให้ทำการบินเข้าญี่ปุ่นได้ และคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติที่ยังซื้อสุทธิ อีกทั้งยังเห็นแรงซื้อจากกองทุนเข้ามาในตลาดฯอยู่ อย่างไรก็ดี มองว่าภาพรวมตลาดฯยังผันผวนได้อยู่
     ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในแดนลบตามตลาดสหรัฐฯที่ได้ติดลบไป 200 จุดเมื่อคืนที่ผ่านมา มีเพียงตลาดจีนและฮ่องกงที่ยืนในแดนบวกได้ คาดว่าจะเป็นผลจากตัวเลข PMI ภาคการผลิตเดือนมี.ค.ของจีนออกมาฟื้นตัวเล็กน้อย โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตของจีนในเดือนมี.ค.ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยแตะ 50.1 จาก 49.9 ในเดือนก.พ.
พร้อมให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,500-1,510 จุด


ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(31 มี.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,776.12 จุด ร่วงลง 200.19 จุด(-1.11%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,900.88 จุด ลดลง 46.56 จุด(-0.94%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,067.89 จุด ลดลง 18.35 จุด(-0.88%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 77.24 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 0.44 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 11.33 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 5.63 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 7.25 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 0.57 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(31 มี.ค.58)1,505.94 จุด เพิ่มขึ้น 9.43 จุด(+0.63%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,033.24 ล้านบาท เมื่อวันที่ 31 มี.ค.58
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(31 มี.ค.58) ปิดที่ 47.60 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 1.08 ดอลลาร์
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(31 มี.ค.58)ที่ 8.78 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.51/53 แนวโน้มแข็งค่าตามภูมิภาคจากเงินทุนไหลเข้า
- นายกฯ ขีดเส้นเร่งทำแผนมาตรฐานความปลอดภัย ตามเงื่อนไขไอซีเอโอภายในเดือนนี้ แก้ปมระงับเพิ่มเที่ยวบินจากไทย "ประจิน" ส่งทีมเจรจาเกาหลี-จีน พร้อมดึง EASA จากยุโรป ร่วมวางมาตรฐานการบินในไทย ย้ำใช้มาตรา 44 เร่งแก้ปัญหา เตรียมยกเครื่องโครงสร้างกรมการบินพลเรือน ตั้งสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติ แยกหน่วยงานปฏิบัติออกจากหน่วยงานควบคุมมาตรฐาน
- พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2558 เวลา 16.45 น. ทางกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่นได้แจ้งมายังกรมการบินพลเรือน (บพ.) ว่า จะทบทวนมาตรการยกเลิกเที่ยวบิน ไม่ประจำในเส้นทางบินญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้เสนอให้ปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะทำให้สายการบินในไทยสามารถให้บริการผู้โดยสารได้เช่นเดิมตามตารางบิน
- ธปท.เผยภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.ยังโตช้า แต่เริ่มเห็นเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐดีขึ้น เชื่อหากโตได้ต่อเนื่อง ช่วย "ปลดล็อก" เศรษฐกิจ ดึงเอกชนลงทุนตาม ขณะที่ "ประสาร" มั่นใจเศรษฐกิจยังฟื้นตัว แม้ช้าหน่อยห่วงเศรษฐกิจจีนชะลอกระทบส่งออกไทย ด้านหนี้ครัวเรือนไตรมาส 4 โต 6.5% ดันสัดส่วนต่อจีดีพีแตะ 85.9%
- ภาคธุรกิจหนุนเลิกกฎอัยการศึก เชื่อฟื้นความเชื่อมั่น เป็นผลดีต่อท่องเที่ยวลงทุน ขณะนายกฯเผยทูลเกล้าฯยกเลิกแล้ว เตรียมประกาศใช้มาตรา 44 ออกคำสั่ง คสช. 5-6 ข้อ ให้ทหารมีอำนาจควบคุม-สอบสวนผู้ต้องสงสัย 7 วัน คดีความมั่นคงขึ้นศาลทหาร สู้คดีได้ 3 ศาล "วิษณุ" แจงเหตุผลเพื่อ "ปรองดอง-เร่งรัดปฏิรูป" ยันไม่ออกมาตรการใหม่แย่กว่าเดิม
- แบงก์ชาติเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ก.พ.อยู่ที่ 49.4 จาก ม.ค.ที่ 49.0 ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจ ก.พ.ฟื้นตัวช้า ภาคครัวเรือนภาคธุรกิจยังระวังใช้จ่าย ยกเว้นท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
- แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 วงเงิน 2.57 ล้านล้านบาทเบิกจ่ายจนถึงวันที่ 27 มี.ค. 2558 ที่ผ่านมา หรือเกือบครบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ สามารถเบิกจ่ายไปได้


*หุ้นเด่นวันนี้
- AAV(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 6.90 บาท ผลกระทบต่อผลประกอบการมีจำกัดมากเพราะ AAV ไม่มีการบินแบบเช่าเหมาลำไปจีน เส้นทางที่ไปจีนทั้งหมด 10 เมืองรวม 21 เที่ยวบินต่อวันล้วนเป็นเส้นทางประจำ ซึ่งจีนยังคงให้บินปกติ แต่ไม่ให้ขยายเพิ่ม ขณะที่บริษัทมีแผนเปิดเส้นทางบินเพิ่มในช่วง ต.ค.-พ.ย. ยังมีเวลาแก้ปัญหา ส่วนเส้นทางไปญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ AAV ไม่มีไฟล์บินตรง จึงไม่กระทบ (แต่กระทบ Thai Air Asia X ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ AAV) ราคาหุ้นที่ปรับลงกว่า 10% ในช่วง 2 วันที่ผ่านมาสะท้อนข่าวร้ายมากเกินไป เพราะหากรายได้จากตลาดจีนหายไปทั้งหมดซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ ราคาเป้าหมายจะเหลือประมาณ 5.00-5.50 บาท
- WHA(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)“ทยอยสะสม"เป้า 43.13 บาท คาดราคาหุ้น WHA จะตอบรับเชิงบวก หลังสิ้นสุดการทำ Tender Offer หุ้น HEMRAJ ในวันที่ 10 เม.ย. และส่งผลให้บริษัทรวมงบการเงินของ HEMRAJ เข้าสู่งบรวมได้ตั้งแต่ 2Q58 เป็นต้นไป และเป็นปัจจัยผลักดันให้กำไรสุทธิเติบโต yoy และมี Catalyst รออยู่ คือการแตกพาร์จาก 1.00 บาท เป็น 0.10 บาท เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติในวันที่ 24 เม.ย. พร้อมคงมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตในระยะยาวจากการเข้าซื้อ HEMRAJ เนื่องจากจะส่งผลให้ WHA ก้าวขึ้นสู่ผู้นำธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมแบบครบวงจร
- LPN(บัวหลวง)"ซื้อ"เปิดตัวรังสิตเฟส 2 สร้างเสร็จเดือนต.ค.นี้ ทั้งหมด 4400 unit บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 3000 unit โดยคาดว่า presale ยอดขายปรับขึ้น ขณะที่มูลค่าหุ้นเทรด Discount Valuation PE 9x
- BLA(ธนชาต)"ซื้อ"เป้า 65 บาท ยังคงเป็น Top pick ในกลุ่มประกัน ด้วยกำไรที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง 92.5% ในปีนี้ตามด้วยการเติบโตเฉลี่ย 15.5% ถึงปี 2020 ทำให้คิดว่าการที่ BLA ซื้อขายที่ระดับ 0.13 ของ PBV/ROE ซึ่งเป็นระดับค่าเฉลี่ย 3 ปีของบริษัท ยังคงถูกจนเกินไป ทั้งนี้ จากข้อมูลของสมาคมประกันชีวิตไทยเดือน ม.ค. BLA รายงานเบี้ยรับรวมเติบโต 12.1% y-y ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของเบี้ยรับรวมของตลาดที่เติบโต 9.5%

ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนแรงลงเช้านี้ หลังพุ่งแข็งแกร่งเมื่อวาน
     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยการนำของหุ้นกลุ่มวัสดุและหุ้นกลุ่มผู้บริโภค หลังจากที่ตลาดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อวานนี้
     ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วงลง 0.3% สู่ระดับ 145.85 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,129.75 จุด ลดลง 77.24 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,575.11 จุด ลดลง 11.33 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,035.40 จุด ลดลง 5.63 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,439.76 จุด ลดลง 7.25 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,831.35 จุด เพิ่มขึ้น 0.57 จุด
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดร่วง 118.93 จุด หลังหุ้นเหมือง,พลังงานปรับตัวลง
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) โดยมีแรงถ่วงจากการปรับตัวลงของหุ้นกลุ่มเหมืองและกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลง

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 118.39 จุด หรือ 1.72% ปิดที่ 6,773.04 จุด
      หุ้นเหมืองและกลุ่มพลังงานนำตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลง หลังสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานในตลาดโลกที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมี.ค.
หุ้นแองโกล อเมริกัน รูดลง 4.53% ขณะหุ้นบีจี กรุ๊ป ร่วง 2.70% และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ปรับตัวลงกว่า 2.5%
ทั้งนี้ ตลาดปิดอ่อนแรงลง แม้ว่ามีข้อมูลเชิงบวกจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) ที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษขยายตัว 2.8% ในปีที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่ 2.6%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุวิตกตลาดแรงงาน,เงินฝืดยูโรโซน

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะซบเซาในตลาดแรงงานของยูโรโซน หลังจากมีรายงานว่าอัตราว่างงานเดือนก.พ.ปรับตัวลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ การที่อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนยังอยู่ในระดับติดลบ ยังส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดของยูโรโซน
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.6% ปิดที่ 397.3 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,033.64 จุด ลดลง 49.88 จุด หรือ -0.98% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,966.17 จุด ร่วงลง 119.84 จุด หรือ -0.99% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,773.04 จุด ดิ่งลง 118.39 จุด หรือ -1.72%
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงหลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปหรือยูโรสแตทเปิดเผยว่า อัตราว่างงานยูโรโซนเดือนก.พ.อ่อนตัวลงแตะ 11.3% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2555 อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานเดือนก.พ.ปรับตัวลงไม่มากเท่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 11.2%


     นอกจากนี้ ตลาดยังวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดของยูโรโซน หลังจากยูโรสแตทเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นในกลุ่มยูโรโซนอยู่ที่ระดับติดลบ 0.1% ในเดือนมี.ค.
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า ภาวะเงินฝืดในยูโรโซนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อบริษัทเอกชนและประเทศต่างๆทั่วโลก มากกว่าการร่วงลงของราคาน้ำมัน เนื่องมาจากเศรษฐกิจยูโรโซนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ ยูโรโซนยังเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่สุดและยังเป็นแหล่งการปล่อยเงินกู้ข้ามพรมแดนที่ใหญ่ที่สุด ดังนั้นประเทศในภูมิภาคอื่นๆอาจจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย หากยูโรโซนเผชิญภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจชะลอตัวลง

    ดัชนี หุ้นกลุ่มบริษัทผลิตรถยนต์และกลุ่มเคมีภัณฑ์ต่างก็ปรับตัวลง ขณะที่ดัชนีหุ้นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ดิ่งลงกว่า 1% หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงลงเมื่อคืนนี้

   อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลงของราคาน้ำมันช่วยหนุนหุ้นกลุ่มสายการบิน โดยหุ้นแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม กรุ๊ป และหุ้นไรอันแอร์ โฮลดิงส์ ต่างก็ปรับตัวขึ้นกว่า 1.9%


ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 200.19 จุด หุ้นพลังงานดิ่ง,วิตกเฟดขึ้นดบ.
     ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ริชมอนด์ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่เร็วขึ้น
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,776.12 จุด ร่วงลง 200.19 จุด หรือ -1.11% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,900.88 จุด ลดลง 46.56 จุด หรือ -0.94% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,067.89 จุด ลดลง 18.35 จุด หรือ -0.88%
สำหรับ ตลอดเดือนก.พ.นั้น ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงทั้งสิ้น 2% ดัชนี S&P 500 ปรับลง 1.7% และดัชนี NASDAQ ร่วงลง 1.3%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ รวมถึงดัชนีราคาบ้านทั่วสหรัฐ ที่ขยับขึ้นเพียง 4.5% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 4.6% ในเดือนธ.ค. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกประจำเดือนมี.ค.ขยับขึ้นสู่ระดับ 46.3 จากระดับ 45.8 ในเดือนก.พ.ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2552
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบหลังจากที่นายเจฟฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า เขาคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราว่างงานของสหรัฐจะปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่เร็วขึ้น
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง นำโดยหุ้นเชฟรอนร่วงลง 1.8% และหุ้นเอ็กซอน โมบิล ปรับลง 0.7% หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กดิ่งลงเมื่อคืนนี้ อันเป็นผลมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานในตลาดโลกที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมี.ค.
หุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวลงเช่นกัน รวมถึงหุ้นอเมริกัน เอ็กซ์เพรส หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา และหุ้นดิสคัฟเวอร์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส
นักลงทุนจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.ของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินทิศทางการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขจ้างงานอาจจะเพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 295,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดว่า อัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 5.5% ในเดือนมี.ค.
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 31 มี.ค.2558
ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,776.12 จุด ลดลง 200.19 จุด -1.11%
ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,900.88 จุด ลดลง 46.56 จุด -0.94%
ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,067.89 จุด ลดลง 18.35 จุด -0.88%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,773.04 จุด ลดลง 118.39 จุด -1.72%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,966.17 จุด ลดลง 119.84 จุด -0.99%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,033.64 จุด ลดลง 49.88 จุด -0.98%
ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,861.90 จุด เพิ่มขึ้น 45.60 จุด +0.78%
ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,891.50 จุด เพิ่มขึ้น 45.40 จุด +0.78%
ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,586.44 จุด เพิ่มขึ้น 64.57 จุด +0.68%
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 19,206.99 จุด ลดลง 204.41 จุด -1.05%
ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,041.03 จุด เพิ่มขึ้น 10.99 จุด +0.54%
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,747.90 จุด ลดลง 38.67 จุด -1.02%
ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,940.49 จุด เพิ่มขึ้น 41.08 จุด +0.52%
ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,900.89 จุด เพิ่มขึ้น 45.77 จุด +0.18%
ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,518.68 จุด เพิ่มขึ้น 80.02 จุด +1.47%
ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,830.78 จุด เพิ่มขึ้น 8.95 จุด +0.49%
ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,447.01 จุด ลดลง 7.25 จุด -0.21%
ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,957.49 จุด ลดลง 18.37 จุด -0.07%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ริชมอนด์ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่เร็วขึ้น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,776.12 จุด ร่วงลง 200.19 จุด หรือ -1.11% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,900.88 จุด ลดลง 46.56 จุด หรือ -0.94% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,067.89 จุด ลดลง 18.35 จุด หรือ -0.88%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะซบเซาในตลาดแรงงานของยูโรโซน หลังจากมีรายงานว่าอัตราว่างงานเดือนก.พ.ปรับตัวลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ การที่อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนยังอยู่ในระดับติดลบ ยังส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดของยูโรโซน
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.6% ปิดที่ 397.3 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,033.64 จุด ลดลง 49.88 จุด หรือ -0.98% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,966.17 จุด ร่วงลง 119.84 จุด หรือ -0.99% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,773.04 จุด ดิ่งลง 118.39 จุด หรือ -1.72%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) โดยมีแรงถ่วงจากการปรับตัวลงของหุ้นกลุ่มเหมืองและกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลง
ดัชนี FTSE 100 ลดลง 118.39 จุด หรือ 1.72% ปิดที่ 6,773.04 จุด

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานในตลาดโลกที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมี.ค. รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่ายอดส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านจะเพิ่มขึ้น หากชาติมหาอำนาจมีมติยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 1.08 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.60 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 1.18 ดอลลาร์ ปิดที่ 55.11 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 2.1 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ระดับ 1,183.20 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 7.6 เซนต์ ปิดที่ 16.598 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 26 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,143.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 6.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 735.30 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 วันเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดินหน้าความพยายามที่จะหนุนเศรษฐกิจของภูมิภาคด้วยโครงการซื้อพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้
ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0742 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0823 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.4845 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4815 ดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.95 เยน เทียบกับระดับ 120.16 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9723 ฟรังก์ จาก 0.9676 ฟรังก์
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7612 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7652 ดอลลาร์
ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 602.00 จุด เพิ่มขึ้น 3.00 จุด, +0.50%
อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!