WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าเปิดลงแต่ไม่ลึกตามภูมิภาค หลังราคาน้ำมันยังทำ New Low

     นายชัยพร น้อมพิทักษ์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ สายงานวิจัยลูกค้าบุคคล บล.บัวหลวง กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะเปิดปรับตัวลงแต่ไม่ลึก ซึ่งภาพโดยรวมยังเป็นลักษณะของการแกว่งตัว เนื่องจากราคาน้ำมันยังคงทำ New Low และหุ้นในกลุ่มน้ำมันอาจโดนขายในวันนี้ เพราะเมื่อวานนี้หุ้นน้ำมันขนาดใหญ่ในไทยได้มีการดีดตัวแรง ขณะที่หุ้นในกลุ่มแบงก์กลับถูกขายออกมา ซึ่งดูแล้วไม่ Make Sense

    อย่างไรก็ดี เมื่อดัชนีฯลงมาแถว 1,450 จุดบวก/ลบ ถือว่าหุ้นไทยอยู่ในระดับ P/E ค่าเฉลี่ยไทยระยะยาว ซึ่งดัชนีฯปรับตัวลงมาก็ทำให้น่าสนใจที่จะเข้าลงทุนมากขึ้น เพียงตลาดฯคงอยู่ในภาพของการเขย่าอยู่ในระยะสั้น ทั้งนี้หุ้นในกลุ่มแบงก์ปัจจุบันมีการเทรด P/E 10 เท่า ซึ่งก็เหมาะที่จะลงทุนได้ ส่วนหุ้นในกลุ่มน้ำมันในระยะ 6 เดือนแรกควรจะหลีกเลี่ยงไปก่อน เพราะมองดูแล้วการกระเพื่อมของราคาน้ำมันยังสูง

     ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่อยู่ในแดนลบแต่ไม่มาก ซึ่งตลาดบ้านเราอาจเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดภูมิภาคได้ พร้อมให้แนวรับ 1,465 จุด ส่วนแนวต้าน 1,485 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :

                - ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(6 ม.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,371.64 จุด ร่วงลง 130.01 จุด(-0.74%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,592.74 จุด ลดลง 59.83 จุด(-1.29%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,002.61 จุด ลดลง 17.97 จุด(-0.89%)

                - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 74.93 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 88.71 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 3.60 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 3.55 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 0.01 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 1.88 จุด

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(6 ม.ค.58)1,477.58 จุด ลดลง 5.67 จุด(-0.38%)

                - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,905.23 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 ม.ค.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(6 ม.ค.58) ปิดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 2.11 ดอลลาร์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(6 ม.ค.58)ที่ 6.53 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 32.87/89 คาดวันนี้แกว่งในกรอบแคบ จับตาเงินทุนไหลเข้า

                - นายกฯ สั่งหน่วยงานรัฐเร่งเพิ่มขีดแข่งขัน หลังไทยถูกตัดสิทธิจีเอสพี เพิ่มวิจัยพัฒนาสินค้า ด้านเอกชนตั้งทีมศึกษาผล กระทบภายในม.ค.นี้ เสนอรัฐหามาตรการช่วย คาดส่งออกไปอียูลด 10% บัวแก้วประเมินกระทบสินค้ากว่า 6 พันรายการ มูลค่าปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท

                - แบงก์ระบุราคาน้ำมันที่ยังดิ่งลงต่อเนื่อง ส่งผลบวกต่อประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน กดเงินเฟ้อลด-หนุนบริโภค-ส่งออก คาดเศรษฐกิจกลุ่มอาเซียนเติบโตได้ 4.7-5.8% ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อไทยในไตรมาสแรกยังเคลื่อนไหวในระดับต่ำ แต่ไม่สะท้อนความเสี่ยงของภาวะเงินฝืด ระบุทิศทางราคสินค้ายังทรงตัว-ฟื้นขึ้นเล็กน้อย

                - ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยว่า สศค.จะปรับประมาณการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2558 ใหม่ จากเดิมที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ 2.325 ล้านล้านบาทเป็นการปรับประมาณการรายได้ของ 3 กรมภาษีใหม่ เพื่อนำไปใช้เป็นฐานในการคำนวณการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2559

                - สภาผู้ส่งออกฯยันตัวเลขส่งออกปี'58 โตแค่ 2.5% ผลกระทบหนักจากเศรษฐกิจตลาดหลักไม่ดีขึ้น ถูกตัดจีเอสพี ประเทศค้าน้ำมันรายได้หดลดนำเข้า สดใสแค่อาเซียน แนะรัฐใช้นโยบายบาทอ่อน และมองจีดีพีโตแค่ 3-3.5%

                - คลังเตรียมเสนอพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ เข้าครม.ปลายเดือนม.ค.นี้ พร้อมเร่งตีกรอบผ่อนผันผู้ประกอบการอสังหาฯ ถือแลนด์แบงก์ไม่ต้องเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ส่วนบ้านอยู่อาศัยได้ยกเว้นภาษีมีมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาท

*หุ้นเด่นวันนี้

                - INTUCH(โกลเบล็ก)เป้า Consensus 92.60 บาท คาดกำไรปี 2014 ยังคงเติบโตต่อเนื่องจากส่วนแบ่งรายได้และกำไรของบ.ลูก เช่น ADVANC THCOM ที่ขยายตัวขึ้นโดดเด่น  ทั้งนี้ระยะกลาง-ยาวยังโดดเด่นจาก ADVANC (พัฒนาการผู้ใช้ 3G 2.1GHz. มากสุดในอุตสาหกรรม และได้ประโยชน์จากการประมูล 4G) และ THCOM (กำไรแกร่ง)ด้าน div yield โดดเด่นราว 6-6.5%

                - KTB(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 27 บาท ประเมิน SET BANK -4.4% YTD เทียบกับ SET INDEX -1.4% จากการปรับพอร์ตของกองทุนในประเทศให้สอดคล้องกับการไถ่ถอนกองทุน LTF เป็นปัจจัยลบระยะสั้น และเปิดโอกาสให้เข้าสะสมหุ้นกลุ่มธนาคาร คาด KTB มี Downside ค่อนข้างจำกัด ผลตอบแทนจากเงินปันผลในเกณฑ์ดี, ซื้อขายระดับ PBV 58 ที่ 1.21 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่ 1.36 เท่า และคาดกำไรสุทธิปี 58 โต +10.3% yoy เป็น 36,538 ล้านบาท

                - กลุ่มโทรมือถือ(บัวหลวง)คาดผลกระทบจำกัดจากการปรับค่าโทรตามจริงเป็นวินาที ตามกรณีศึกษาจะกระทบกำไรสุทธิ ของ ADVANC และ DTAC ไม่เกิน 10% ยิ่งค่าเฉลี่ยการโทรของผู้ใช้บริการมากเกิน 3 นาที ขึ้นไปกำไรสุทธิจะกระทบเพียง 4-6% เท่านั้น และคาดว่า AIS และ DTAC จะสามารถขึ้นรายได้การให้บริการด้านอื่นเช่น Data service เพียงเล็กน้อยจะชดเชยรายได้ทั้งหมดที่หายไปจากการจ่ายค่าโทรตามวินาที

                - LPN(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 25 บาท ยอด Presales ในปี 57 ทำได้ 85% ของเป้า เพราะหลายโครงการเลื่อนมาเปิดในปีนี้ ขณะที่รายได้โอนก็พลาดเป้าเช่นกัน จึงปรับประมาณการกำไรปกติลง 17% เหลือ 1.94 พันล้านบาท หดตัว 16% Y-Y แต่คงประมาณการกำไรปี 58 ที่ 3.05 พันล้านบาท กลายเป็นโตก้าวกระโดด 57% Y-Y สูงสุดในกลุ่ม ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่ปรับลงมาตั้งแต่ปลายเดือนก่อนเริ่มยืนได้ คิดว่าน่าซื้อเก็งกำไรผลประกอบการ Q4/57 ที่คาดว่าจะดีขึ้นมาก +19% Q-Q, +20% Y-Y

ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนตัวลงเช้านี้ เหตุนักลงทุนยังวิตกราคาน้ำมันดิบร่วง

                ตลาดหุ้นเอเชียยังคงปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้  โดยได้รับปัจจัยถ่วงจากตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดในแดนลบ เนื่องจากนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง

                ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) ลดลง 0.3% สู่ระดับ 134.57 จุด เมื่อเวลา 9.03 น.ตามเวลาโตเกียว

                ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 16,808.26 จุด ลดลง 74.93 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,396.70 จุด ลดลง 88.71 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,051.94 จุด เพิ่มขึ้น 3.60 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,878.90 จุด ลดลง 3.55 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,281.94 จุด ลดลง 0.01 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,714.70 จุด ลดลง 1.88 จุด

                ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 47.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข่าวที่ว่าอิรักวางแผนที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบเป็น 3.3 ล้านบาร์เรลในเดือนนี้

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 50.65 จุด หลังตลาดผิดหวังข้อมูลเศรษฐกิจ

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากนักลงทุนผิดหวังกับข้อมูลเศรษฐกิจทั้งในประเทศ, ยูโรโซนและสหรัฐ

    ดัชนี FTSE 100 ลดลง 50.65 จุด หรือ 0.79% ปิดที่ 6,366.51 จุด

     ตลาดได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ โดยเมื่อวานนี้ มาร์กิตและ CPIS เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของอังกฤษในเดือนธ.ค. ร่วงลงแตะ 55.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือน จากระดับ 58.6 ในเดือนพ.ย.

     ขณะเดียวกัน ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนในเดือนธ.ค.อยู่ที่ 51.4 ซึ่งขยับขึ้นจากระดับ 51.1 ในเดือนพ.ย. แต่ลดลงจากสถิติเบื้องต้นเดือนธ.ค.ที่ระดับ 51.7

     ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการของสหรัฐในเดือนธ.ค.ลดลงแตะ 56.2 จาก 59.3 ในเดือนพ.ย.

      หุ้นกลุ่มธนาคารนำตลาดหุ้นลอนดอนอ่อนแรงลง โดยหุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิงส์และหุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ต่างร่วงลงกว่า 1.7%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ นักลงทุนผิดหวัง PMI ยูโรโซนชะลอตัว

      ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อรายงานที่ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนในเดือนธ.ค.ชะลอตัวลงจากการประมาณการเบื้องต้น นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย

      ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.7% ปิดที่ 331.61 จุด

      ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,083.50 จุด ลดลง 27.86 จุด หรือ -0.68% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,469.66 จุด ลดลง 3.50 จุด หรือ -0.04% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.51 จุด ลดลง 50.65 จุด หรือ -0.79%

      ในช่วงแรกนั้น ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดฟื้นตัวขึ้นเนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากตลาดร่วงลงอย่างหนักเมื่อวานนี้ แต่ในเวลาต่อมาตลาดได้อ่อนแรงลงและปิดในแดนลบ หลังจากมาร์กิต อีโคโนมิคส์ เปิดเผยว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนในเดือนธ.ค.อยู่ที่ 51.4 ซึ่งแม้ว่ากระเตื้องขึ้นจากระดับ 51.1 ในเดือนพ.ย. แต่ก็ลดลงจากการประมาณการเบื้องต้นเดือนธ.ค.ที่ระดับ 51.7

     ขณะเดียวกัน มาร์กิตระบุว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการโดยเฉลี่ยทั้งไตรมาส 4 ของปี 2557 นั้น ทำสถิติย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2556 ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของยูโรโซนขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบกว่าหนี่งปี

     นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโปยังคงได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบ และความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศกรีซ โดยนักลงทุนจับตาดูผลการเลือกตั้งทั่วไปของกรีซในวันที่ 25 ม.ค.นี้อย่างใกล้ชิด หลังจากผลสำรวจบ่งชี้ว่าพรรคไซรีซา ซึ่งคัคค้านการใช้มาตรการรัดเข็มขัดนั้น อาจจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง

     ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคาร ใน Stoxx 600 ร่วงลง 1.5% โดยหุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ และหุ้นบังโค ซานตานเดร์ ต่างก็ร่วงลง 1.7% ส่วนหุ้นธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ ดิ่งลง 2.6%

    นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซนในวันนี้ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนพ.ย.ของเยอรมนี, ตัวเลขว่างงานของอิตาลีและเยอรมนี และข้อมูลเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือนธ.ค.ของยูโรโซน

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 130.01 จุด วิตกราคาน้ำมันร่วงต่อเนื่อง

    ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยดาวโจนส์ปิดในแดนลบติดต่อกัน 2 วันทำการ ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดอ่อนแรงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทุบตลาดร่วงลงด้วย

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,371.64 จุด ร่วงลง 130.01 จุด หรือ -0.74% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,592.74 จุด ลดลง 59.83 จุด หรือ -1.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,002.61 จุด ลดลง 17.97 จุด หรือ -0.89%

    ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 47.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข่าวที่ว่าอิรักวางแผนที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบเป็น 3.3 ล้านบาร์เรลในเดือนนี้

    นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย โดยมาร์กิตเปิดเผยว่า ตัวเลขขั้นสุดท้ายของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคบริการอยู่ที่ระดับ 53.3 ในเดือนธ.ค. ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ระดับ 53.6 โดยดัชนีภาคบริการเดือนธ.ค.มีอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2557

     ขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) เปิดเผยว่า ภาคบริการของสหรัฐมีการขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนธ.ค.2014 โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่ดัชนีการจ้างงาน, คำสั่งซื้อ และกิจกรรมทางธุรกิจต่างปรับตัวลง

     ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า คำสั่งซื้อใหม่สำหรับภาคการผลิตของสหรัฐร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนพ.ย.2014 ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของกิจกรรมภาคการผลิต และการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม

    หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง 1.3% โดยหุ้นเซาท์เวสเทิร์น เอนเนอร์จี และหุ้นเรนจ์ รีซอสเซส ต่างก็ปรับตัวลง 2.6%

   หุ้นกลุ่มอินเตอร์เน็ตร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นทริปแอดไวเซอร์ หุ้นแพนโดรา มิเดีย และหุ้นลิงค์อิน ต่างก็ร่วงลงกว่า 3.5%

    ส่วนหุ้น AOL ทะยานขึ้น 3.4% หลังจากมีข่าวว่าบริษัทเวริซอน คอมมูนิเคชันส์ อาจจะยื่นข้อเสนอซื้อกิจการ หรือ ควบรวมกิจการกับ AOL

    นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ รวมถึงตัวเลขจ้างงานเดือนธ.ค.จาก ADP และข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนพ.ย. นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนธ.ค.ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์นี้

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ม.ค.2557

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,371.64 จุด                         ลดลง 130.01 จุด     -0.74%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,592.74 จุด                     ลดลง 59.83 จุด      -1.29%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,002.61 จุด                      ลดลง 17.97 จุด      -0.89%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.51 จุด                   ลดลง 50.65 จุด      -0.79%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,469.66 จุด                            ลดลง 3.50 จุด       -0.04%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,083.50 จุด                        ลดลง 27.86 จุด      -0.68%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,346.20 จุด     ลดลง 83.30 จุด      -1.53%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,364.80 จุด           ลดลง 85.50 จุด      -1.57%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,048.34 จุด                           ลดลง 225.77 จุด     -2.43%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,883.19 จุด                    ลดลง 525.52 จุด     -3.02%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,882.45 จุด                        ลดลง 33.30 จุด      -1.74%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,351.45 จุด                    เพิ่มขึ้น 0.93 จุด      +0.03%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,277.74 จุด            เพิ่มขึ้น 1.11 จุด      +0.02%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,485.41 จุด                              ลดลง 235.91 จุด     -0.99%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,169.06 จุด    ลดลง 50.94 จุด      -0.98%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,716.58 จุด                    ลดลง 20.04 จุด      -1.15%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,281.95 จุด                     ลดลง 46.33 จุด      -1.39%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 26,987.46 จุด                       ลดลง 854.86 จุด     -3.07%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยดาวโจนส์ปิดในแดนลบติดต่อกัน 2 วันทำการ ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดอ่อนแรงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทุบตลาดร่วงลงด้วย 

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,371.64 จุด ร่วงลง 130.01 จุด หรือ -0.74% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,592.74 จุด ลดลง 59.83 จุด หรือ -1.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,002.61 จุด ลดลง 17.97 จุด หรือ -0.89%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อรายงานที่ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนในเดือนธ.ค.ชะลอตัวลงจากการประมาณการเบื้องต้น นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.7% ปิดที่ 331.61 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,083.50 จุด ลดลง 27.86 จุด หรือ -0.68% ดัชนีDAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,469.66 จุด ลดลง 3.50 จุด หรือ -0.04% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.51 จุด ลดลง 50.65 จุด หรือ -0.79%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากนักลงทุนผิดหวังกับข้อมูลเศรษฐกิจทั้งในประเทศ, ยูโรโซนและสหรัฐ

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 50.65 จุด หรือ 0.79% ปิดที่ 6,366.51 จุด

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กยังคงปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข่าวที่ว่าอิรักวางแผนที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบในเดือนนี้ 

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 2.01 ดอลลาร์ ปิดที่ 51.1 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องและวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศกรีซยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 15.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,219.40 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 42.4 เซนต์ ปิดที่ 16.637 ดอลลาร์/ออนซ์

          ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,221.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 7.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.40 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบเงินเยน แต่ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) ขณะที่การร่วงลงในช่วงที่ผ่านมาของราคาน้ำมันและตลาดหุ้นได้กระตุ้นความต้องการสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย

          ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1914 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1939 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5165 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5254 ดอลลาร์

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.63 เยน เทียบกับระดับ 119.52 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0082 ฟรังค์ จาก 1.0064 ฟรังค์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8109 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8091 ดอลลาร์

           

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 758.00 จุด ลดลง 3.00 จุด, -0.39%

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!