- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Friday, 27 September 2019 13:32
- Hits: 3353
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานไม่ได้มีประเด็นที่จะทำให้ SET Index เคลื่อนไหวไปทิศทางใดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่ติดตามเช่น การเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ซึ่งกำหนดวันที่ 10-11 ต.ค. ส่วนในประเทศก็ยังอยู่ในเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงคาดว่า SET Index น่าอยู่ในกรอบ 1630-1640 จุด กยุทธ์การลงทุนวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต ส่วนหุ้น Top Picks เลือก LH ([email protected]), SPALI (FV@B 23.20) จากเงินปันผลที่สูง และ PLANB (FV@B 10.40) ที่เติบโตโดดเด่น
SET Index 1,636.75
เปลี่ยนแปลง (จุด) 8.37
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 47,265
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …เปิดกระโดดก่อนที่จะแกว่งทรงตัวในกรอบแคบ
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิดกระโดด 5 จุดก่อนที่จะแกว่งทรงตัวในกรอบแคบ จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1636.75 จุด เพิ่มขึ้น 8.37 จุด (+0.51%) มูลค่าการซื้อขาย 4.72 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ BGRIM(+3.01%) PTTEP(+0.41%) GULF(+3.62%) EA(+1.57%) กลุ่มสื่อสารเช่น ADVANC(+2.33%) INTUCH(+0.39%) TRUE(+3.88%) และกลุ่มการเงินอย่างเช่น SAWAD(+4.13%) KTC(+3.61%) MTC(+2.29%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่ได้แก่ BDMS(+1.27%) CPF(+0.95%) และ TU(+0.60%) เป็นต้น
ประเด็นต่างประเทศมี 2 เรื่องที่อยู่ในความสนใจเริ่มจากการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน ซึ่งได้กำหนดการเจรจาชัดเจน เป็นช่วง 10- 11 ต.ค. 2562 ซึ่งสถานการณ์แวดล้อมโดยรวมถูกคาดหวังผลเชิงบวกเช่นกเดียวกับการเจรจารอบผ่านๆ มา อีกเรื่องหนึ่งเป็นการประกาศ GDP Growth งวด 2Q62 ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามคาดกล่าวคืออยู่ที่ 2.3% YoY ชะลอตัวจาก 1Q62 ที่เติบโต 2.7% YoY และทำให้งวด 1H62 โต 2.6% ซึ่งตัวเลข GDP Growth ที่ชะลอตัวดังกล่าว ทำให้เกิดความคาดหวังว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในการประชุมอีก 2 รอบที่เหลือของปี 2562 สำหรับปัจจัยในประเทศเช้านี้ยังไม่มีเรื่องใหม่ๆ ที่กระทบภาพรวม แต่น่าจะให้ความสนใจไปที่ PTT ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ด และกำหนดว่าจะประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดยในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตรา 0.80 บาท/หุ้น ซึ่งหากเป็นไปในแนวทางเดียวกันก็น่าจะเป็นผลดีต่อหุ้น PTT (มีน้ำหนัก 10% ในพอร์ตจำลองของฝ่ายวิจัย) สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ฝ่ายวิจัยไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน โดยเห็นว่าโครงสร้างหุ้นที่อยู่ในพอร์ตปัจจุบันมีองค์ประกอบที่สมดุลอยู่แล้ว ทั้งในส่วนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล และหุ้น Growth Stock ที่คาดหวังผลตอบแทนจาก Capital Gain สำหรับ Top Picks วันนี้ เลือก 2 หุ้นที่ให้ Dividend Yield สูง ได้แก่ LH และ SPALI บวกกับอีก 1 หุ้น ที่เป็น Growth Stock ได้แก่ PLANB
การเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน กำหนด 10-11 ต.ค.
ความชัดเจนประเด็นการเจรจาการสหรัฐ-จีน ล่าสุดเช้านี้ทั้ง 2 ประเทศตกลงกำหนดวันที่ 10-11 ต.ค. 2562 จะจัดการเจรจาการค้าระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูง นำโดย ฝั่งจีนคือ นาย Liu He รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำเข้าร่วมเจรจา ที่กรุง Washington, D.C. โดย ASPS ให้น้ำหนักว่าจะมีพัฒนาการเชิงบวกที่ลดแรงกดดันหรือไม่ หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมาการเจรจาระดับเจ้าที่ มีพัฒนาการดีขึ้น คือ ทั้ง 2 ฝั่งมีการยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าบางส่วนให้กัน (ฝั่งจีนยกเลิกภาษีนำเข้า ถั่วเหลือง และเพิ่มการนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐราว 6 แสนตัน ขณะที่ฝั่งสหรัฐ ยกเว้นภาษีสินค้าจีน 437 สินค้า อาทิ ไฟประดับต้นคริสต์มาส, หลอดพลาสติก สายจูงสุนัข และแผงวงจรพิมพ์ เป็นต้น)
อย่างไรก็ตามตราบที่ทั้ง 2 ฝั่งยังคงเดินหน้าเก็บภาษีนำเข้ารวม 4 รอบ เชื่อว่าจะยังกระทบต่อเศรษฐกิจทั่ง 2 ฝั่ง ล่าสุดยังเห็นผลกระทบผ่าน GDP Growth สหรัฐ วานนี้ รายงานงวด 2Q62 ขยายตัว 2.3%yoy ชะลอลงจาก 2.7% ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ GDP Growth สหรัฐชะลอตัวลง คือการส่งออกงวด 2Q62 หดตัว 1.7% (หดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี 3 เดือน) กระทบต่อภาคธุรกิจชะลอการลงทุนตาม
ในสัปดาห์หน้าปัจจัยที่ให้น้ำหนัก 1 ต.ค. 2562 ญี่ปุ่นจะมีกำหนดขึ้นภาษีขาย (Sale Tax: VAT ของไทย) ขึ้นจาก 8% เป็น 10% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เพราะประชาชนลดการใช้จ่ายลง จากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ขณะที่จีนจะเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองวันชาติจีน (Golden Week) เป็นช่วงเทศกาลวันหยุดยาวในระหว่างวันที่ 1-7 ต.ค. 2562 ซึ่งคาดว่ามีการจับจ่ายใช้สอย และการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
เดือน ต.ค. เริ่มให้น้ำหนักการปรับเครดิตเรทติ้งไทย
ASPS เริ่มให้น้ำหนักประเด็นโอกาสที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ(Credit Rating Agency) ปรับเพิ่มอันดับ Credit Rating ของไทย 1 ขั้นเป็น Upper Medium Grade จากอยู่ที่ Lower Medium Grade ซึ่งในช่วงนับตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย.- ธ.ค.2562 เป็นช่วงที่สถาบันจัดอันดับต่างๆ จะประกาศมุมมองเครดิตเรทติ้ง
ทั้งนี้กระแสการโอกาสการปรับเครดิตเติ้ง เริ่มมาจากปลายเดือน ก.ค. 2562 ที่ผ่านมาสถาบัน Fitch Ratings และ Moody's ได้ปรับเพิ่มมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย (Outlook) เป็นระดับบวก (Positive) จากเดิมอยู่ในระดับคงที่ (Stable) เหตุผลคือ ไทยมีฐานะการเงินระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 2.2 แสนล้านเหรียญ และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันถึง 5 ปี เป็นต้น แม้จะยังคง Credit Rating ไทยที่ BBB+ และ Baa1 ตามลำดับ (คง Rating ติดต่อกันยาวนาน 16 ปี หรือตั้งแต่ปี 2546)
ในมุมมองของ ASPS ประเมินว่าในปีนี้มีโอกาส 2 ทางคือ
ไทยได้รับยกระดับ Credit Rating ขึ้น จะถือเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 19 ปี เชื่อว่าจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเงิน โดยเฉพาะเงินกู้จากต่างประเทศปรับลดลง เพราะนักลงทุนจากต่างชาติ มีความมั่นใจว่าไทยจะมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้น้อยลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งการลงทุนทางตรง เช่น การลงทุนในเครื่องจักร-เครื่องมือ, สร้างโรงงานใหม่ และการลงทุนทางอ้อม เช่น ในทุนตราสารหนี้ และหุ้น เป็นต้น และเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนภาคเอกชน และเศรษฐกิจไทยในอนาคตต่อไป
ยังคงระดับ Credit Rating ไทยที่เดิม เนื่องจากยังมีปัจจัยแวดล้อมที่ยังไม่สนับสนุน คือ
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงชัดเจน GDP Growth 2Q62 ขยายตัว 2.3% ชะลอจาก 2.8% ในงวด 1Q62 หลักๆคือส่งออกเฉลี่ย 8M62 หดตัว 2.2% จากผลกระทบสงครามการค้า และค่าเงินบาทแข็งค่ากระทบต่อภาคการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความเสี่ยงจะทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มลดลงในอนาคต
หนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากหนี้ครัวเรือน 1Q62 มีจำนวน 12.97 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 78.7% ของ GDPเพิ่มขึ้นจาก 78.6% ใน 4Q61
ปัจจัยทางการเมืองที่อาจจะยังมีความไม่แน่นอน
โดย ASPS ให้น้ำหนักทางที่ 2 มากกว่า เนื่องจากพิจารณาในอดีต องค์ประกอบการสำคัญที่สถาบันเครดิตเรทติ้งพิจารณาปรับเครดิตเรทติ้งหลักๆ คือ การเติบโตของเศรษฐกิจและการเมืองต้องแข็งแกร่ง เป็นต้น สังเกตได้จากรอบที่ใกล้ที่สุด 2 รอบ ที่สถาบันเครดิตเรทติ้งปรับเพิ่มไทยขึ้น คือ
1.) มิ.ย. 2543 ปรับเพิ่มจาก Ba1 มาเป็น Baa3 โดย GDP Growth ไทย ปี 2543-2544 ขยายตัว 4.5% และ 3.4% ตามลำดับ
2.) และรอบที่ 2 คือ มี.ค. 2546 ปรับเพิ่มจาก Ba1 เป็น Baa1 พบว่า GDP Growth ไทยปี 2545-2546 ขยายตัว 6.1% และ 7.2% ตามลำดับ จากการส่งออกกลับมาฟื้นตัว (การส่งออกขยายตัว 9.1% ในปี 2546
TMB … กำหนดราคาใช้สิทธิ TSR @ 1.4 บาท
มติผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 23 ก.ย.62 อนุมัติการเข้าซื้อหุ้นของธนาคารธนชาต (TBANK) ทั้งจำนวน และอนุมัติการจัดหาแหล่งเงินทุนใน TBANK ด้วยการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ จำนวนไม่เกิน 6.24 หมื่นล้านหุ้น (ราคาพาร์ 0.95 บาท) ส่งผลให้จำนวนหุ้นจดทะเบียนหลังเพิ่มทุนเพิ่มขึ้นเป็น 1.06 แสนล้านหุ้น เทียบเท่า 1.01 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1) จำนวนหุ้นเพิ่มทุนไม่เกิน 3.148 หมื่นล้านหุ้น หรือมูลค่าไม่เกิน 4.25 หมื่นล้านบาท โดยออก TSR ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม สัดส่วน 1.444533 หุ้นเดิม ต่อ 1 TSR อัตราใช้สิทธิ 1 TSR ต่อ 1 หุ้นใหม่
2) จำนวนหุ้นส่วนที่เหลือ 3.09 หมื่นล้านบาท เสนอขายในลักษณะ PP ให้แก่ TCAP, Bank of Nova Scotia (BNS) ผู้ถือหุ้นรายย่อยของ TBANK พันธมิตรใหม่อื่นๆ รวมถึงผู้บริหารและพนักงานของธนาคารฯ กำหนดราคาหุ้นเพิ่มทุนที่ 1.1 เท่าของ BV หลัง TSR มูลค่าไม่เกิน 6.40 หมื่นล้านบาท ภายหลังการเพิ่มทุนทุกขั้นตอน คาดสัดส่วนการถือหุ้นของ ING และ TCAP ใกล้เคียงกันคือ 21.3% และ 20.4% ตามด้วยกระทรวงการคลัง 18.4%
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ธนาคารฯ ได้กำหนดราคาใช้สิทธิของ TSR เท่ากับ 1.4 บาท ดังนั้น ราคาหุ้น TMB หลังเพิ่มทุน TSR (price dilution) จะเท่ากับ 1.59 บาท ขณะที่ราคาประเมิน TSR เมื่อเข้าซื้อขายใน SET จะอยู่ในช่วง 0.32 บาท
คำแนะนำของฝ่ายวิจัย ASPS ประเมิน 2 ทาง คือ
1) ถ้าไม่ต้องการใช้สิทธิจองซื้อ TMB ให้นำ TSR ขายในกระดานที่ใกล้เคียงราคาประเมินที่บริเวณ 0.32 บาท
2) ถ้าใส่เงินตามสิทธิ TSR ในกรอบระยะเวลาลงทุนถึงสิ้นปี 2562 มีโอกาสได้ผลตอบแทนเนื่องจาก Fair Valueใหม่ หลังเพิ่มทุนจะอยุ่ที่ 1.77-1.8 บาท ( ราคาหุ้น TMB หลัง XT ล่าสุด อยู่ที่ 1.60 บาท ถือว่ายังมี Upside ราว 9.2% และ 11%ตามลำดับ)
แรงขายปรับพอร์ตเตรียมซื้อ AWC ใกล้จบ ยังชอบ SPALI, LH
วานนี้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว 8.37 จุด หรือ 0.51% ส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับพอร์ตเตรียมเงินลงทุนหุ้น AWC ของกองทุนเบาลงและใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดแล้ว เนื่องจากการเตรียมเงินลงทุนต้องใช้ระยะเวลา T+2 ก่อนวันจองซื้อ 1 – 3 ต.ค. นี้ รวมถึงแรงขายหุ้นไทยจากกองทุน ณ ปัจจุบันเบาลงมาก เมื่อเทียบกับช่วงวันที่ 13 – 24 ก.ย. 2562 ที่มีแรงขายสูงผิดปกติถึง 1.08 หมื่นล้านบาท ประเด็นดังกล่าวน่าจะลดแรงกดดันหุ้นกลุ่มอสังหาฯ และมีโอกาสฟื้นตัวในระยะถัดไป
ขณะเดียวกันต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยเล็กน้อย 10 ล้านเหรียญ หรือ 318 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) เช่นเดียวกับภาพรวมในตลาดหุ้นภูมิภาคที่มีการสลับมาซื้อสุทธิบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ 274 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 12 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิทุกประเทศในวันก่อนหน้า)
สรุปแรงขายจากการปรับพอร์ตของกองทุนที่ใกล้หมดลง บวกกับต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยช่วยหนุนให้ SET Index มี Downside จำกัด คาดว่าเคลื่อนไหวในกรอบ 1628 – 1642 จุด ในยามที่ตลาดยังไม่ปัจจัยอะไรใหม่ แต่อาจมีความผันผวนบ้างในช่วง 1 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดตลาด จากการปิดสถานะ หรือ Rollover สัญญาฟิวเจอร์สที่หมดอายุในเดือน ส.ค. (ซีรีย์ U)
Top picks วันนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงชื่นชอบหุ้นอสังหาฯ SPALI ([email protected]), LH ([email protected]) รวมถึงหุ้นสื่อครบวงจร PLANB (FV@B 10.40) โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังกล่าวข้างล่าง ขณะที่อีกหนึ่งหุ้นในพอร์ตจำลอง คาดว่าระยะสั้นน่าจะขับเคลื่อนได้ดีคือ PTT ([email protected]) วันนี้มีการประชุมบอร์ด ปตท. และรอลุ้นการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งปีแรกคาดราว 0.60 - 0.80 บาทต่อหุ้น (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทีมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลอยู่ที่ 0.80 บาท)
SPALI ([email protected]) ผู้บริหารกลับมาซื้อหุ้นครั้งแรกในปี 2562 และเป็นซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วันทำการ จำนวนทั้งสิ้น 5.12 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 91.6 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในธุรกิจ สอดคล้องกับมุมมองทางพื้นฐาน ที่คาดว่ายังมีความแข็งแกร่งจาก Backlog ระดับสูงสุดในกลุ่มฯ (กรณีไม่รวม JV) ด้วยมูลค่ามากถึง 4.3 หมื่นล้านบาท รองรับรายได้ 4-5 ปีข้างหน้า ขณะที่ Valuation คาดหวังอัตราเงินปันผลไดสูงเกือบ 6% ต่อปี และมี PER ซื้อขายเพียง 6.4 เท่า
LH ([email protected]) มี Dividend Yield สูงถึง 7.6% ต่อปี ทางด้านผลประกอบการ 2H62 คาดดีกว่า 1H62 จากเปิดขายแนวราบใหม่ และโอนฯ คอนโดฯ ใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูงอย่าง The Bangkok ทองหล่อ มูลค่า 4 พันล้านบาท (ขาย 54%) ตั้งแต่ ก.ย. นี้ รวมถึงขายโรงแรม Grand Centre Point ทองหล่อ เข้ากอง REIT ช่วงปลายปี คาดบันทึกกำไรพิเศษ (หลังภาษี) มูลค่า 1.76 พันล้านบาท ถือเป็นปัจจัยหนุนกำไร 4Q62 พีคสุดของปี
PLANB (FV@B 10.40) ผลประกอบการงวด2H62 คาดขยายตัวสูง +42% YoY, +49% HoH จากการเข้าสู่ช่วง High Season และจะเริ่มรับรู้รายได้จากการขยายสื่อโฆษณาใหม่ ส่วนการเติบโตอนาคตสดใสอย่างมาก รองรับจากทั้งการได้สิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020, บริหารพื้นที่สื่อโฆษณาใน 7-11 นอกจากนี้ ด้วยฐานะการเงินแข็งแกร่ง ทำให้ PLANB ยังมีศักยภาพที่จะเข้าลงในโครงการอื่นๆ และ M&A ขยายธุรกิจในอนาคต
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ