- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Wednesday, 03 October 2018 14:19
- Hits: 3980
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ลุ้นรีบาวด์หลังตอบรับศก.จีนชะลอตัวไปแล้ว-เล็งแรงหนุนจาก Domestic Plays
นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้จับตาโมเมนตัมของตลาดฯจะดีหรือเปล่า แต่ก็มีโอกาสที่จะรีบาวด์ขึ้นได้ หลังจากที่ตลาดฯได้ตอบรับเรื่องเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวไปแล้วรับผลจากสงครามการค้า แต่ที่มองบวกอยู่ที่ดัชนีฯยังไม่หลุดแนวรับสำคัญเส้นค่าเฉลี่ย 10 วันที่ระดับ 1,746-1,747 จุด และโมเมนตัมกำไรในไตรมาส 3/61 ยังเป็นบวก มองจากกลุ่มแบงก์ที่กำไรอาจจะมี upside หลังจากที่มีการเลื่อนใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่9 (IFRS9) อีกทั้งราคาน้ำมันก็ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดีเน้นลงทุนพวก Domestic plays อย่างกลุ่มโรงไฟฟ้า, ค้าปลีก, แบงก์ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มองเป็นลบ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย เนื่องจากแบงก์ชาติจะออกเกณฑ์มาคุมวันนี้ ดังนั้นนักลงทุนควรจะเลือกลงทุนเป็นรายตัว
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบคละกัน โดยเมื่อวานนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงได้ปรับตัวลงไปมาก ตอบรับความกังวลเศรษฐกิจจีนชะลอไปแล้วรับผลจากสงครามการค้า
พร้อมให้แนวรับ 1,745-1,740 จุด ส่วนแนวต้าน 1,755-1,760 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (2 ต.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,773.94 จุด พุ่งขึ้น 122.73 จุด (+0.46%) ขณะที่ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,923.43 จุด ลดลง 1.16 จุด (-0.04%) และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,999.55 จุด ลดลง 37.76 จุด (-0.47%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 51.43 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 14.66 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 286.18 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 0.89 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ลดลง 1.12 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 2.96 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 0.25 จุด
ส่วนตลาดหุ้นจีน ปิดทำการวันนี้ (3 ต.ค.) เนื่องในวันชาติ และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันสถาปนาประเทศ
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (2 ต.ค.61) 1,748.09 จุด ลดลง 12.38 จุด (-0.70%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,171.48 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 ต.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (2 ต.ค.61) ปิดที่ 75.23 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 7 เซนต์ หรือ 0.09%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (2 ต.ค.61) ที่ 6.01 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.37 มองกรอบวันนี้ 32.30-32.40 จับตาเงินทุนเคลื่อนย้าย-ตัวเลขศก.สหรัฐฯ
- "แบงก์ชาติ" เตรียมออกมาตรการคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เร่งหารือ ผู้เกี่ยวข้อง พร้อมเปิดรับฟังความเห็น เร็วๆนี้ หวังสกัดการเก็งกำไรป้องกันหนี้เสียลาม ด้านสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนออกมาตรการคุม ยอมรับ "แอลทีวี" ผ่อนปรนเกินไป หวั่นสร้างปัญหาต่อระบบในระยะข้างหน้า ขณะ ศูนย์วิเคราะห์ทีเอ็มบี ชี้การปล่อยแอลทีวีระดับสูงส่งผลต่อหนี้เสียเพิ่ม จับตาบ้านหรู กลุ่ม 10-20 ล้าน เอ็นพีแอลพุ่งมากสุด
- "กกร." ปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจและส่งออกปีนี้เพิ่มขึ้นในกรอบล่าง โดยปรับจีดีพีจากเดิมโต 4.3-4.8% เป็น 4.4-4.8% ส่งออกจากโต 7-10% เป็นโต 8-10% กังวลสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนกระทบศก.มากขึ้นในปีหน้า รวมถึงราคาน้ำมันที่รัฐตรึงดีเซลจนทำให้กองทุนน้ำมันฯเริ่มลดลง พร้อมประสานเสียงอยากได้รัฐบาลใหม่โปร่งใส กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ชมเปาะยุคบิ๊กตู่โปร่งใส
- ฟิทช์ประเมินเศรษฐกิจโลกปีนี้เติบโต 3.3% และ 3.1% ในปีหน้า รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่เผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากตลาดเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น เชื่อประเทศไทยยังรับมือได้ ทั้งในส่วนของภาคการธนาคารจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ
- กสิกรไทยเผยเงินทุนต่างชาติไหลเข้าไทยไม่หยุด คาดยอดถือครองพันธบัตรระยะสั้นและยาว มีโอกาสทะลุ 1 ล้านล้านบาท ชี้ผลจากพฤติกรรมนักลงทุนตามกระแสล่าหาผลตอบแทนในช่วงดอกเบี้ยต่ำ ถือเป็นปีทำสถิติเอกชนออกหุ้นกู้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
*หุ้นเด่นวันนี้
- KCE (หยวนต้า) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 44 บาท ด้วย 3 เหตุผล 1.คาดกำไรปกติ Q3/61 ที่ 680 ล้านบาท (+29.0% QoQ, +19.9% YoY) โต YoY เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส และโต QoQ เป็นไตรมาสที่สอง จากฐานต่ำ การเข้าสู่ high season ค่าเงินบาท/USD ที่อ่อนค่า และราคาทองแดงลดลง, 2. คาดกำไร 9M61 คิดเป็น 68.4% ของประมาณการทั้งปี 2561 ขณะที่ Q4/61 กำไรอาจอ่อนตัวลง QoQ หลังเงินบาท/USD แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ทำให้ประมาณการปี 2561 มี downside risk ประมาณ 4-5% และ 3. ราคาหุ้น ณ ปัจจุบันซื้อขาย บน PER62 ที่ 17.0X (+0.5SD regional peer) สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อกำไรฟื้นตัวไปมากแล้ว ขณะที่เงินบาทกลับมาแข็งค่าจำกัด upside ระยะสั้น โดยมองว่าหุ้นจะกลับมาน่าสนใจ หากเงินบาท/USD อ่อนค่าต่ำกว่า 33.00 อย่างมีนัยยะ
- INTUCH (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 67.50 บาท ราคาหุ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมายัง laggard SET50 อยู่ราว 4% และ laggard กลุ่มสื่อสารราว 2% ในเชิง Valuation ยังน่าสนใจ จากราคาหุ้นที่ Discount NAV ของ ADVANC มากถึง 25% และให้ปันผลเฉลี่ยสูงถึง 5% ต่อปี เหมาะใช้เป็น Safe Haven ในช่วงตลาดหุ้นผันผวน
- TISCO (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 110 บาท ภาพรวม Q3/61 ทรงตัว QoQ แต่อาจเห็นสำรองหนี้ลดได้อีก โดยคาดกำไร 3Q61 ที่ 1,751 ล้านบาท ดีขึ้น 2%QoQ และ 11%YoY รายได้ดอกเบี้ยอาจดีขึ้นเล็กน้อยตามสินเชื่อ แต่มีแรงกดดันจากการปรับดอกเบี้ยเงินฝากเล็กน้อย พร้อมคาดรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจตลาดทุนอ่อนตัวลง QoQ ตามภาวะตลาด แนวโน้มคุณภาพหนี้ยังดี แต่อาจเห็นการตั้งสำรองส่วนเกิน ทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้โดยรวมลดลงจากไตรมาสก่อนเพียงเล็กน้อย
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ เหตุวิตกแผนงบประมาณอิตาลี
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลี หลังจากรัฐบาลอิตาลียืนยันที่จะปรับเพิ่มเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2562 โดยไม่ฟังคำเรียกร้องจากสหภาพยุโรป (EU)
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 24,219.19 จุด ลดลง 51.43 จุด, -0.21% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 26,840.20 จุด ลดลง 286.18 จุด, -1.05% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,918.74 จุด ลดลง 0.89 จุด, -0.01% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,257.31 จุด เพิ่มขึ้น 14.66 จุด, +0.45%
ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,797.90 จุด ลดลง 0.25 จุด, -0.01% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,129.40 จุด ลดลง 2.96 จุด, -0.04% ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดวันนี้ที่ 5,874.50 จุด ลดลง 1.12 จุด, -0.02% ส่วนตลาดหุ้นจีนปิดทำการเนื่องในวันชาติ และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการเนื่องในวันสถาปนาประเทศ
รัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของพรรคไฟว์ สตาร์ และพรรคเดอะ ลีก ยืนยันที่จะกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าไว้ที่ 2.4% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลชุดก่อนถึง 3 เท่า และคาดว่าจะทำให้สหภาพยุโรป (EU) ออกมาคัดค้าน เนื่องจากจะทำให้อิตาลีมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ รัฐบาลอิตาลียืนยันเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลจะกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณที่ระดับดังกล่าว แม้ว่ารัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนเรียกร้องให้รัฐบาลอิตาลีทบทวนแผนการกำหนดยอดขาดดุลงบประมาณก็ตาม
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 21.12 จุดตามทิศทางตลาดหุ้นยุโรป เหตุวิตกแผนงบประมาณอิตาลี
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ต.ค.) ตามทิศทางตลาดหุ้นอื่นๆในยุโรปที่ต่างก็ปรับตัวลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลี หลังจากรัฐบาลอิตาลียืนยันที่จะปรับเพิ่มเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2562 โดยไม่ฟังคำเรียกร้องจากสหภาพยุโรป (EU)
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,474.55 จุด ลดลง 21.12 จุด หรือ -0.28%
นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลี หลังจากรัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของพรรคไฟว์ สตาร์ และพรรคเดอะ ลีก ยืนยันที่จะกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าไว้ที่ 2.4% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลชุดก่อนถึง 3 เท่า และคาดว่าจะทำให้สหภาพยุโรป (EU) ออกมาคัดค้าน เนื่องจากจะทำให้อิตาลีมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ รัฐบาลอิตาลียืนยันเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลจะกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณที่ระดับดังกล่าว แม้ว่ารัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนเรียกร้องให้รัฐบาลอิตาลีทบทวนแผนการกำหนดยอดขาดดุลงบประมาณก็ตาม
หุ้นเฟอร์กูสัน ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ร่วงลง 6.8% หลังจากบริษัทเผชิญปัญหาการดำเนินธุรกิจในสหราชอาณาจักร พร้อมประกาศแผนการปรับโครงสร้างองค์กร
หุ้นเทสโก้ ปรับตัวลง 0.6% หลังจากกลุ่มเทสโก้ แอคชั่น กรุ๊ป ซึ่งเป็นตัวแทนของอดีตพนักงานและพนักงานในปัจจุบันของเทสโก้ แถลงว่า พนักงานเทสโก้จำนวนมากกว่า 8 พันคนได้ลงนามยื่นเรื่องร้องเรียนกรณีที่บริษัทละเมิดกฎหมายการจ้างงานที่เท่าเทียมกันประจำปี 2553 เนื่องจากทางบริษัทได้จ่ายเงินจ้างพนักงานผู้หญิงต่ำกว่าพนักงานผู้ชาย
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุด ผลการสำรวจของ Markit/CIPS พบว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคก่อสร้างของสหราชอาณาจักรปรับตัวลงสู่ระดับ 52.1 ในเดือนก.ย. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 53.1 หลังแตะระดับ 52.9 ในเดือนส.ค.
อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ภาคก่อสร้างยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว
ทางด้านเนชั่นไวด์ รายงานว่า ราคาบ้านในสหราชอาณาจักรมีการขยายตัวคงที่ที่ระดับ 2% ในเดือนก.ย. และเมื่อพิจารณารวมถึงปัจจัยด้านฤดูกาล ราคาบ้านปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย.
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุวิตกแผนงบประมาณอิตาลี-กรีซ
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ต.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลี หลังจากรัฐบาลอิตาลียืนยันที่จะปรับเพิ่มเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2562 โดยไม่ฟังคำเรียกร้องจากสหภาพยุโรป (EU) ขณะเดียวกันนักลงทุนกังวลต่อแผนงบประมาณของกรีซ หลังจากรัฐบาลกรีซได้ยื่นร่างงบประมาณประจำปี 2562 ต่อรัฐสภา โดยไม่รวมแผนการปรับลดเงินบำนาญ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กรีซได้ทำข้อตกลงร่วมกับกลุ่มเจ้าหนี้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.5% ปิดที่ 381.94 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,287.58 จุด ลดลง 51.45 จุด หรือ -0.42% ขณะที่ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,474.55 จุด ลดลง 21.12 จุด หรือ -0.28% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,467.89 จุด ลดลง 38.92 จุด หรือ -0.71%
ขณะที่ดัชนี Greece’s ASX Composite ตลาดหุ้นกรีซ ร่วงลง 1.5% แตะระดับ และดัชนี FTSE MIB ตลาดหุ้นอิตาลี ปรับตัวลง 0.2% แตะที่ระดับ 20,562.31 จุด
ตลาดหุ้นยุโรปยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลี หลังจากรัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของพรรคไฟว์ สตาร์ และพรรคเดอะ ลีก ยืนยันที่จะกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าไว้ที่ 2.4% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลชุดก่อนถึง 3 เท่า และคาดว่าจะทำให้สหภาพยุโรป (EU) ออกมาคัดค้าน เนื่องจากจะทำให้อิตาลีมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ รัฐบาลอิตาลียืนยันเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลจะกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณที่ระดับดังกล่าว แม้ว่ารัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนเรียกร้องให้รัฐบาลอิตาลีทบทวนแผนการกำหนดยอดขาดดุลงบประมาณก็ตาม
ทางด้านรัฐบาลกรีซได้ยื่นร่างงบประมาณประจำปี 2562 ต่อรัฐสภา โดยไม่รวมแผนการปรับลดเงินบำนาญ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กรีซได้ทำข้อตกลงร่วมกับกลุ่มเจ้าหนี้ภายใต้โครงการความช่วยเหลือซึ่งได้สิ้นสุดลงไปเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา
นายยานนิส สตรูนาราส ผู้ว่าการธนาคารกลางกรีซ กล่าวว่า กรีซยังคงเผชิญความท้าทายจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แม้กรีซสามารถออกจากโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ก็ตาม
หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง โดยหุ้นเครดิต สวิส ดิ่งลง 1.8% หุ้น BBVA ร่วงลง 2.7% และหุ้นนอร์เดีย แบงก์ ร่วงลง 3.7%
หุ้นเฟอร์กูสัน ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ร่วงลง 6.8% หลังจากบริษัทเผชิญปัญหาการดำเนินธุรกิจในสหราชอาณาจักร พร้อมประกาศแผนการปรับโครงสร้างองค์กร
หุ้นเทสโก้ ปรับตัวลง 0.6% หลังจากกลุ่มเทสโก้ แอคชั่น กรุ๊ป ซึ่งเป็นตัวแทนของอดีตพนักงานและพนักงานในปัจจุบันของเทสโก้ แถลงว่า พนักงานเทสโก้จำนวนมากกว่า 8 พันคนได้ลงนามยื่นเรื่องร้องเรียนกรณีที่บริษัทละเมิดกฎหมายการจ้างงานที่เท่าเทียมกันประจำปี 2553 เนื่องจากทางบริษัทได้จ่ายเงินจ้างพนักงานผู้หญิงต่ำกว่าพนักงานผู้ชาย
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 122.73 จุด รับหุ้นอุตสาหกรรมพุ่ง ขณะหุ้นเทคโนฯร่วงฉุด Nasdaq ปิดลบ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ต.ค.) ทำสถิติปิดในแดนบวกติดต่อกัน 4 วันทำการ โดยตลาดได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงหุ้นแคทเธอร์พิลลาร์และหุ้นโบอิ้ง อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้นเฟซบุ๊กที่ดิ่งลงเกือบ 2% อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,773.94 จุด พุ่งขึ้น 122.73 จุด หรือ +0.46% ขณะที่ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,923.43 จุด ลดลง 1.16 จุด หรือ -0.04% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,999.55 จุด ลดลง 37.76 จุด หรือ -0.47%
ดัชนีดาวโจนส์ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหุ้นบริษัทโบอิ้งและแคทเธอร์พิลลาร์ที่ถือเป็นตัวชี้วัดการค้าของสหรัฐ เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีการลงทุนจำนวนมากในต่างประเทศ โดยหุ้นแคทเธอร์พิลลาร์ พุ่งขึ้น 1.6% หุ้นโบอิ้ง เพิ่มขึ้น 0.7% หุ้น 3M พุ่งขึ้น 1.5% หุ้นยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์ เพิ่มขึ้น 0.4% และหุ้นเอเมอร์สัน อิเล็กทริก เพิ่มขึ้น 0.3% หุ้นอีตัน คอร์ป เพิ่มขึ้น 0.5%
หุ้นอินเทลพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 3.5% และเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยหนุนดัชนีดาวโจนส์ หลังจากมีรายงานว่าทางบริษัทอาจเร่งการผลิตชิป "10-nanometer" เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะผลิตในเดือนมิ.ย.ปีหน้า
หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นดุ๊ค เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 1.1% หุ้นคอนโซลิเดทเต็ด เอดิสัน อิงค์ พุ่งขึ้น 1.7%
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดดัชนี Nasdaq ปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 โดยหุ้นเฟซบุ๊ก ร่วงลง 1.91% หลังจากทีมวิศวกรของเฟซบุ๊กตรวจพบปัญหาด้านความปลอดภัยที่เปิดช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลของบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กเกือบ 50 ล้านบัญชี โดยแฮกเกอร์ได้อาศัยช่องโหว่ในฟีเจอร์ "View As" ของเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ทำให้เห็นว่าคนอื่นๆ มองเห็นหน้าโปรไฟล์ของตนเองอย่างไร และช่องโหว่ดังกล่าวเปิดทางให้แฮกเกอร์เข้ามาขโมยโทเคน หรือกุญแจดิจิทัล เพื่อเจาะเข้าบัญชีผู้ใช้คนอื่นได้
ส่วนหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีนั้น หุ้นอเมซอนดอทคอม ร่วงลง 1.7% หลังจากบริษัทประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับพนักงานทั่วสหรัฐสู่ระดับ 15 ดอลลาร์/ชั่วโมง หรือราว 485 บาท/ชั่วโมง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ขณะที่หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ดิ่งลง 1.1% และหุ้นไมโครซอฟท์ ปรับตัวลง 0.4%
หุ้นเทสลา ร่วงลง 3.1% แม้บริษัทเปิดเผยยอดการผลิตรถยนต์รุ่น Model 3 จำนวน 55,840 คัน ซึ่งสูงกว่าที่นายอีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทสลา คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 50,000-55,000 คัน
หุ้นเป๊ปซี่โค ร่วงลง 1.8% แม้บริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 3 ที่ระดับ 1.59 ดอลลาร์/หุ้น สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 1.57 ดอลลาร์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ระดับ 1.649 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 1.636 หมื่นล้านดอลลาร์
สำหรับความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนให้ความสนใจนั้น นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เฟดสามารถสกัดอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น ด้วยการชี้นำการคาดการณ์ในตลาด แม้ว่าอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ นายพาวเวลยังระบุว่า เฟดจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ได้เริ่มวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.2558
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ย.จาก ADP, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนก.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค. และดุลการค้าเดือนส.ค.
--อินโฟเควสท์
OO14542