WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

13 ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าแกว่ง Sideway Down-อิงลง ตามภูมิภาค หลังทรัมป์เพ่งเล็งจะเก็บภาษีฯจากญี่ปุ่น
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ คาดว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้จะแกว่ง Sideway Down แต่จะไม่ปรับตัวลงแรง เนื่องจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เพ่งเล็งไปที่ญี่ปุ่นในการจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้า ขณะที่การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป และสหรัฐฯที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีน วงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ยังมีความไม่แน่นอน
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ปรับตัวลง โดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับตัวลงกว่า 1% และตลาดหุ้นเกาหลีก็ปรับตัวลงด้วย พร้อมให้ติดตามทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน, ตัวเลข GDP ไตรมาส 2/61 ของยุโรป และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯคืนนี้
พร้อมให้แนวรับ 1,685-1,676 จุด ส่วนแนวต้าน 1695 ถัดไป 1,700-1,705 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (6 ก.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,995.87 จุด เพิ่มขึ้น 20.88 จุด (+0.08%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,878.05 จุด ลดลง 10.55 จุด (-0.37%) และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,922.73 จุด ลดลง 72.45 จุด (-0.91%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 136.10 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 5.09 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 78.95 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 1.75 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 9.53 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 13.72 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 2.71 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 41.29 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (6 ก.ย.61) 1,693.94 จุด เพิ่มขึ้น 7.57 จุด (+0.45%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,547.12 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 ก.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ต.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (6 ก.ย.61) ปิดที่ 67.77 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 95 เซนต์ หรือ 1.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (6 ก.ย.61) ที่ 5.92 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.78 แข็งค่าจากวานนี้เล็กน้อย ตลาดรอความชัดเจนระหว่างสหรัฐฯกับจีน-ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯคืนนี้
- สรท.เพิ่มเป้าส่งออกเติบโตทั้งปีแตะ 9% หลังตลาดหลักยังส่งสัญญาณบวก จับตาความผันผวนค่าเงินตลาดเกิดใหม่ ห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยส่งผลเงินบาทแข็งค่าขึ้น ด้าน"สมคิด"ยืนยันไม่ห่วงตลาดเงิน ชี้คลัง-แบงก์ชาติดูแลใกล้ชิด
- นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้นำคณะทำงาน สศค.เดินทางไปสิงคโปร์ เพื่อนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ให้กับนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่กว่า 20 แห่ง ที่ลงทุนในไทย โดยบางแห่งลงทุนในไทยถึง 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อชี้แจงพื้นฐานเศรษฐกิจและโครงการต่างๆ ที่ประเทศไทยจะเดินหน้าในอนาคต
- นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณารับทราบหลักการการจัดทำคำของบประมาณจากกองทุนฯ ประจำปี 2561 (เพิ่มเติม) สนับสนุนกลุ่มโครงการไทยนิยมยั่งยืน ในวงเงิน 5,200 ล้านบาท และงบประมาณจากกองทุนประจำปี 2562 ในวงเงิน 1.04 หมื่นล้านบาท
- รัฐมนตรี'ศิริ' สั่ง 'กกพ.' ศึกษาแนวทางหนุนสตาร์ตอัพจัดการพลังงานรองรับโซลาร์รูฟภาคประชาชน คาดเสร็จ ธ.ค.นี้ ยันต้องจำกัดโควต้า รับซื้อเพื่อความมั่นคง ด้านคลังเตรียมหารือ กกพ.เก็บภาษีผู้ผลิตไฟสัปดาห์หน้า
*หุ้นเด่นวันนี้
- DCC (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 3.1 บาท ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วจากยอดขายและมาร์จิ้นเพิ่มขึ้น และยังเปิดแผนธุรกิจใหม่ (one stop center) เพิ่มรายได้ประจำลดความผันผวนของผลประกอบการ
- PRM (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 9 บาท คาดกำไรสุทธิ H2/61 +170% Y-Y อยู่ที่ 660 ลบ. และทั้งปีนี้น่าจะจบได้ 1,000 ลบ. +39% Y-Y จากการแก้ไขธุรกิจที่เคยถ่วงกำไร และการรวมธุรกิจกับ Big Sea ซึ่ง QTD ทำได้ดีกว่าที่ PRM ตั้งเป้าไว้เป็นเท่าตัว และระยะยาวจะได้ประโยชน์จากการกลับมาลงทุนของกลุ่มพลังงาน ทำให้มีความต้องการใช้เรือเก็บน้ำมันและเรือขนส่งน้ำมัน+ปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- BANPU (เคจีไอ)"เก็งกำไร"เป้า 26 บาท ราคาถ่านหินล่าสุดยังยืนสูง 115 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (ขณะที่สมมติฐานในประมาณการฯของฝ่ายวิจัยฯใช้ที่ 95 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ขณะที่ราคาถ่านหินสูงกว่าสมมติฐานที่คาดแล้วยังมีปริมาณการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้น โดยเป้าผลผลิตถ่านหินที่อินโดนีเซียและออสเตรเลียใน Q3/61 +7% QoQ คาดกำไรปกติธุรกิจหลักใน Q3/61 จะโตเด่น
ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนตัวลงเช้านี้ วิตกข้อพิพาทการค้าสหรัฐ
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,351.84 จุด ลดลง 136.10 จุด, -0.61% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,696.68 จุด เพิ่มขึ้น 5.09 จุด, +0.19% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 26,895.87 จุด ลดลง 78.95 จุด, -0.29% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,922.55 จุด ลดลง 1.75 จุด, -0.02% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,278.08 จุด ลดลง 9.53 จุด, -0.42%
ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,133.97 จุด ลดลง 13.72 จุด, -0.44% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,801.28 จุด เพิ่มขึ้น 2.71 จุด, +0.15% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,597.42 จุด ลดลง 41.29 จุด, -0.54%
ภาวะการซื้อขายในตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยรัฐบาลจีนได้ส่งสัญญาณเตือนว่าจะใช้มาตรการตอบโต้ทันที หากสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ ตามที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขู่ไว้ก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายในขณะที่รอผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา โดยตัวแทนเจรจาการค้าของทั้งสองฝ่ายได้เปิดฉากการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่อีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ขณะที่ปธน.ทรัมป์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา จะทราบผลในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ล่าสุด หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังพยายามแก้ปัญหาในกรณีที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้เกิดกระแสความวิตกกังวลว่า สหรัฐจะเดินหน้าทำสงครามการค้ากับบรรดาประเทศคู่ค้าต่อไป
วอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า แม้ปธน.ทรัมป์กล่าวว่าสหรัฐมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำญี่ปุ่น แต่ก็ได้ส่งสัญญาณว่า ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวอาจสิ้นสุดลง หลังจากที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 64.32 จุด วิตกข้อพิพาทการค้า,เงินปอนด์แข็งกดดันตลาด
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่สามเมื่อคืนนี้ (6 ก.ย.) โดยตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งการเจรจาการค้าที่ยังคงยืดเยื้อระหว่างสหรัฐและแคนาดา นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์ยังสร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติด้วยเช่นกัน
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,318.96 จุด ลดลง 64.32 จุด หรือ -0.87%
ตลาดหุ้นลอนดอนยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยรัฐบาลจีนได้ส่งสัญญาณเตือนว่าจะใช้มาตรการตอบโต้ทันที หากสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ ตามที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขู่ไว้ก่อนหน้านี้
นักลงทุนรอดูผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา โดยตัวแทนเจรจาการค้าของทั้งสองฝ่ายได้เปิดฉากการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่อีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ขณะที่ปธน.ทรัมป์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา จะทราบผลในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์ได้สร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
หุ้นจัส อีท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการส่งอาหารทางออนไลน์ ดิ่งลง 5.3% ขณะที่หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลง 4.55% ส่วนหุ้นโอคาโด กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกออนไลน์ ปรับตัวลง 4.1%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกข้อพิพาทการค้า ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (6 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า รวมทั้งวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ขณะเดียวกันนักลงทุนรอดูผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดลบ 0.1% แตะที่ระดับ 375.46 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,243.84 จุด ลดลง 16.38 จุด หรือ -0.31% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,955.25 จุด ลดลง 85.21 จุด หรือ -0.71% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,318.96 จุด ลดลง 64.32 จุด หรือ -0.87%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยรัฐบาลจีนได้ส่งสัญญาณเตือนว่าจะใช้มาตรการตอบโต้ทันที หากสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ ตามที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขู่ไว้ก่อนหน้านี้
ขณะเดียวกันนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายในขณะที่รอผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา โดยตัวแทนเจรจาการค้าของทั้งสองฝ่ายได้เปิดฉากการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่อีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ขณะที่ปธน.ทรัมป์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา จะทราบผลในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากวิกฤตเศรษฐกิจและค่าเงินที่เกิดขึ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยสกุลเงินของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ถูกเทขายอย่างหนัก โดยค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียที่ร่วงลงเช่นเดียวกับค่าเงินของตุรกีและอาร์เจนตินาที่ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
หุ้นไบเออร์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตยาและเคมีภัณฑ์ด้านการเกษตรของเยอรมนี ร่วงลง 4.1% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดในไตรมาส 2 พร้อมกับปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการตลอดปีงบการเงิน 2561 นอกจากนี้ ไบเออร์ยังได้รับผลกระทบจากการถูกฟ้องร้องทางกฎหมาย สืบเนื่องมาจากการที่ทางบริษัทได้เข้าซื้อกิจการบริษัทมอนซานโต ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของสหรัฐ
ส่วนหุ้นตัวอื่นๆที่ปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ หุ้นโคเวสโทร ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ร่วงลง 2.7% และหุ้นอินฟิเนียน เทคโนโลยีส์ ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ ดิ่งลง 2.4%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีรายงานว่า คำสั่งซื้อในภาคการผลิตของเยอรมนีได้ชะลอตัวลงในเดือนก.ค. โดยได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
ทั้งนี้ สำนักงานสถิติรายงานว่า คำสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลง 0.9% ในเดือนก.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.8%
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวกเพียง 20.88 จุด ขณะหุ้นเทคโนฯร่วงฉุด Nasdaq ปิดลบ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (6 ก.ย.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ซบเซา เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า ขณะที่ดัชนี Nasdaq และ S&P 500 ปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 หลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มพลังงานร่วงลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ในวันนี้ เพื่อเป็นปัจจัยบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,995.87 จุด เพิ่มขึ้น 20.88 จุด หรือ +0.08% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,878.05 จุด ลดลง 10.55 จุด หรือ -0.37% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,922.73 จุด ลดลง 72.45 จุด หรือ -0.91%
ดัชนี Nasdaq ปิดร่วงลงตามทิศทางหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นบริษัทเทคโนโลยีในกลุ่ม FAANG ((เฟซบุ๊ก แอปเปิล อเมซอน เน็ตฟลิกซ์ และอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล) โดยหุ้นเฟซบุ๊ก ร่วงลง 2.8% หุ้นแอปเปิล ลดลง 1.7% หุ้นอเมซอน รี่วงลง 1.8% และหุ้นอัลฟาเบท ปรับตัวลง 1.7% หุ้นทวิตเตอร์ ดิ่งลง 5.9% หุ้นสแนป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสแนปแชท ร่วงลง 3% หุ้นไมโครอน เทคโนโลยีส์ ดิ่งลง 9.9% หุ้นอินเทล ปรับตัวลง 1%
นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์เคนนี แอนด์ โค กล่าวว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงเนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า สงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการชิปคอมพิวเตอร์ รวมทั้งความวิตกกังวลที่ว่า รัฐบาลสหรัฐอาจเพิ่มมาตรการกำกับดูแลที่เข้มงวดมากขึ้นต่อบริษัทโซเชียลมีเดีย หลังจากผู้บริหารของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ได้เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐเกี่ยวกับการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว โดยการเข้าชี้แจงครั้งนี้ ผู้บริหารเฟซบุ๊กได้ยอมรับในความบกพร่องของการดำเนินการที่ช้าเกินไปและไม่ทันท่วงที
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงติดต่อกันสองวันทำการเมื่อคืนนี้ โดยล่าสุดราคาได้ร่วงหลุดจากระดับ 68 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้ หุ้นเอ็กซอน โมบิล ร่วงลง 1.1% หุ้นเชฟรอน ดิ่งลง 3.1% หุ้นอ็อคซิเดนเชียล ปิโตรเลียม ร่วงลง 2% หุ้นมาราธอน ออยล์ ร่วงลง 4% และหุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี ดิ่งลง 5.8% ส่วนหุ้นฮัลลิเบอร์ตัน ลดลง 0.7% หลังจากบริษัทคาดการณ์ว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 อาจชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการขุดเจาะน้ำมันในแหล่งเพอร์เมียน เบซิน
หุ้นบาร์นส์ แอนด์ โนเบิล ร่วงลง 8.1% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายและกำไรสุทธิที่ร่วงลงอย่างหนักในไตรมาสแรกของปีงบการเงินของบริษัท
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยรัฐบาลจีนได้ส่งสัญญาณเตือนว่าจะใช้มาตรการตอบโต้ทันที หากสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ ตามที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขู่ไว้ก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายในขณะที่รอผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา โดยตัวแทนเจรจาการค้าของทั้งสองฝ่ายได้เปิดฉากการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่อีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ขณะที่ปธน.ทรัมป์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา จะทราบผลในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีผลต่อภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 163,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว
ทางด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 0.8% ในเดือนก.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 0.6% ขณะที่ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 58.5 ในเดือนส.ค. โดยอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 56.8 จากระดับ 55.7 ในเดือนก.ค.
นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันนี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย ขณะที่ผลการสำรวจของนักวิเคราะห์ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 191,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 157,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. และคาดว่าอัตราการว่างงานเดือนส.ค.จะลดลงสู่ระดับ 3.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 18 ปี จากระดับ 3.9% ในเดือนก.ค.
 
--อินโฟเควสท์ 
OO13482

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!