WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

13 ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับตัวลงตามตลาดภูมิภาคหลังสหรัฐฯขู่จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเป็น 25%
 
นายเกษม พันธ์รัตนมาลา กรรมการและหัวหน้าส่วนงานวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ส่วนใหญ่จะปรับตัวลง หลังจากที่ทางสหรัฐฯได้มีการขู่จะปรับเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 25% จากเดิมจะเก็บ 10% คิดเป็นวงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้มองกันว่าการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีนในเรื่องการค้าอาจจะลำบากขึ้น
 
สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกมาคงอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ และมีการส่งสัญญาณว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.นี้ ซึ่งก็ไม่ผิดคาดอะไร เพราะตลาดฯมองไว้อยู่แล้วว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ คือในเดือนก.ย. และธ.ค.
 
ส่วนบ้านเราวันนี้ปรับฐานส่วนหนึ่งยังมาจากที่ตลาดฯได้ปรับตัวขึ้นมาพอควรแล้ว จึงน่าจะมีแรง Take profit บ้าง พร้อมให้แนวรับ 1,700 จุด ส่วนแนวต้าน 1,730 จุด
 
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (1 ส.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,333.82 จุด ลดลง 81.37 จุด (-0.32%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,813.36 จุด ลดลง 2.93 จุด (-0.10%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,707.29 จุด เพิ่มขึ้น 35.50 จุด (+0.46%)
 
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 69.97 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 9.19 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 181.73 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 2.46 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 2.93 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 13.70 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ไม่เปลี่ยนแปลง, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 6.17 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 11.20 จุด
 
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (1 ส.ค.61) 1,722.01 จุด เพิ่มขึ้น 20.22 จุด (+1.19%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,155.21 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 ส.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (1 ส.ค.61) ปิดที่ 67.66 ดอลลาร์/บาร์เรล  ร่วงลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.6%
 
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (1 ส.ค.61) ที่ 6.64 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 33.15 ทรงตัวจากวานนี้ แต่แนวโน้มแข็งค่ารับเม็ดเงินไหลเข้าต่อเนื่อง จับตา Fund Flow
- ชงบอร์ดอีอีซี 10 ส.ค.นี้ เสนอตั้งทีมคณะทำงานประสานการลงทุน 6 กลุ่มครอบคลุม 10 อุตฯ เป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่จับคู่ธุรกิจไทยต่างชาติ ด้าน "กอบศักดิ์" ลั่น 6 บิ๊ก โปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานหลักอีอีซี 7 แสนล้านบาท มั่นใจได้ผู้ชนะประมูลโครงการทันในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าเพื่อการันตีโครงการไม่พลิกแม้มีรัฐบาลใหม่
 
- ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตขึ้นมาก หรือโต 7-10% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในอัตราต่ำหรือไม่เกิน 2% และประเมินว่าจะเป็นอัตรานี้ต่อไปในระยะเวลาพอสมควร และมีผลทำให้โอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีน้อยลง หรือหากจะปรับขึ้นก็คาดว่าจะปรับขึ้นน้อย
 
- "พาณิชย์" เผยเงินเฟ้อ ก.ค.เพิ่ม 1.46% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 มีสาเหตุหลักจากน้ำมันแพงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ส่วนหมวดอาหารมีทั้งขึ้นและลง ขณะที่ 7 เดือนโต 1.04% มั่นใจทั้งปีอยู่ในกรอบ 0.8-1.6% มีค่ากลางอยู่ที่ 1.2%
 
- ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกครึ่งปีแรก 2561 ค่อนข้างคงที่ในทุกหมวดสินค้า ขณะที่จีดีพีประเทศเติบโตไตรมาสแรกโตถึง 4.9% ผลจากการส่งออกและการใช้จ่ายของภาครัฐ แต่การบริโภคเติบโตเพียง 3.2% ทิศทางเดียวกับค้าปลีกโตเพียง 3.3% ในครึ่งปีแรก โดยค้าปลีกทรงตัวเกือบทุกหมวดสินค้า และเป็นลักษณะกระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพฯและหัวเมืองหลักๆ ของการท่องเที่ยว
 
*หุ้นเด่นวันนี้
- BANPU (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 28 บาท ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว Q2/61 คาดมีกำไรสุทธิประมาณ 4 พันล้านบาท เทียบกับ Q1/61 ขาดทุน 1.26 พันล้านบาท นอกจากนี้ระยะสั้นยังได้ Sentiment บวกจากอินโดฯประกาศยกเลิกระเบียบให้เหมืองถ่านหินเพิ่มสัดส่วนการขายในประเทศ
 
- INTUCH (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 67.50 บาท กำไร Q2/61 ของ ADVANC ที่คาดว่าจะออกมาดี +2% Q-Q, +15.5% Y-Y เป็น 8,319 ลบ. (งบออกวันนี้) ย่อมเป็นบวกต่อ INTUCH โดยตรง โดยคาดกำไรปกติทั้งปีนี้ที่ 12,633 ลบ. +5.4% Y-Y พลิกมาโตครั้งแรกในรอบ 3 ปี ด้านราคาหุ้น Discount จาก NAV ของ ADVANC ถึง 25% และให้ปันผลสูงเฉลี่ย 5% ต่อปี
 
- KKP (เออีซี) "ซื้อ"เป้า Consensus 81.1 บาท  ปี 61 คาดกำไรเติบโต 8.8%YoY จากเป้าเติบโตธุรกิจสินเชื่อปีนี้ที่ 10%YoY หลักๆมาจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อธุรกิจกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ขณะที่ปีนี้จะลด NPL เหลือ 4.5% จากปี 60 ที่ 5% + มี Upside 8.5%
 
 
 
ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเดือนก.ย., วิตกการค้าสหรัฐ-จีน
 
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ในเช้าวันนี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดลบเมื่อคืน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายยังได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
 
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,676.73 จุด ลดลง 69.97 จุด, -0.31% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,815.34 จุด ลดลง 9.19 จุด, -0.33% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 28,159.01 จุด ลดลง 181.73 จุด, -0.64% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,095.67 จุด ลดลง 2.46 จุด, -0.02% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,304.14 จุด ลดลง 2.93 จุด, -0.13%
 
ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,824.52 จุด ลดลง 13.70 จุด, -0.17% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,788.31 จุด ไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดวันนี้ที่ 6,039.59 จุด เพิ่มขึ้น 6.17 จุด, +0.10% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,331.05 จุด เพิ่มขึ้น 11.20 จุด, +0.34%
 
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 1.75-2.00% ในการประชุมเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดี แถลงการณ์หลังการประชุมของเฟดได้ระบุถึงภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.
 
ทั้งนี้ จากการใช้เครื่องมือ FedWatch ของ CME Group วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 91% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. และมีโอกาส 71% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค.
 
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้สั่งการให้นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ระดับ 25% วงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์ จากแผนการเดิมที่ระดับ 10%
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 95.85 จุด วิตกสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
 
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าอีกครั้ง หลังจากมีรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งการให้คณะทำงานของรัฐบาลสหรัฐ พิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ระดับ 25%
 
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,652.91 จุด ลดลง 95.85 จุด หรือ -1.24%
 
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ปธน.ทรัมป์ได้สั่งการให้นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ระดับ 25% จากแผนการเดิมที่ระดับ 10% วงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์
 
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบหลังจากไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหราชอาณาจักร ปรับตัวลงสู่ระดับ 54.0 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 54.4 ในเดือนมิ.ย. โดยการร่วงลงของดัชนี PMI ได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงของคำสั่งซื้อใหม่ แม้มีการเพิ่มขึ้นของการจ้างงาน
 
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าได้ฉุดหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าโลหะมีค่าและโลหะอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลก โดยหุ้นริโอทินโต ดิ่งลง 3.4% หุ้นแองโกล อเมริกัน ร่วงลง 3.8% หุ้นอันโตฟากัสตา ลดลง 2.3% ขณะที่หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 0.6%
 
หุ้นเน็กซ์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายเสื้อผ้าและของแต่งบ้าน ร่วงลง 7.1% หลังจากบริษัทคงตัวเลขคาดการณ์ยอดขายและกำไรในปี 2562 เอาไว้ที่ระดับเดิม แม้ผลประกอบการไตรมาส 2/2561 ดีดตัวขึ้นก็ตาม
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ
 
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น หลังจากมีรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งการให้คณะทำงานของรัฐบาลสหรัฐ พิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนสู่ระดับ 25%
 
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดลบ 0.5% แตะที่ 389.84 จุด
 
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,737.05 จุด ลดลง 68.45 จุด หรือ -0.53% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,498.37 จุด ลดลง 12.93 จุด หรือ -0.23% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,652.91 จุด ลดลง 95.85 จุด หรือ -1.24%
 
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับผลกระทบจากรายงานที่ว่า ปธน.ทรัมป์ได้สั่งการให้นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ระดับ 25% จากแผนการเดิมที่ระดับ 10% วงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์
 
ทั้งนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าได้ฉุดหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าโลหะมีค่าและโลหะอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลก โดยหุ้นริโอทินโต ดิ่งลง 3.4% หุ้นแองโกล อเมริกัน ร่วงลง 3.8% หุ้นอันโตฟากัสตา ลดลง 2.3% ขณะที่หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 0.6%
 
หุ้นเน็กซ์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายเสื้อผ้าและของแต่งบ้าน ร่วงลง 7.1% หลังจากบริษัทคงตัวเลขคาดการณ์ยอดขายและกำไรในปี 2562 เอาไว้ที่ระดับเดิม แม้ผลประกอบการไตรมาส 2/2561 ดีดตัวขึ้นก็ตาม
 
หุ้นโฟล์คสวาเกน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนี ร่วงลง 3.7% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 2 ลดลง 13% สู่ระดับ 3.95 พันล้านยูโร
 
หุ้นริโอทินโต ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองรายใหญ่ ดิ่งลง 3.4% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 4.42 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 4.6 พันล้านดอลลาร์
 
หุ้นแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม พุ่งขึ้น 4.2% หลังจากบริษัทได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการในไตรมาส 3 และตลอดปีงบการเงิน 2561 แม้กำไรในไตรมาส 2 ร่วงลงแตะระดับ 109 ล้านยูโร (127.6 ล้านดอลลาร์) จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 593 ล้านยูโร เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ผละงานประท้วงของนักบิน
 
หุ้นอาร์เซลอร์ มิตตัล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ระดับโลก พุ่งขึ้น 2.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ที่ระดับ 1.87 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่ระดับ 1.32 พันล้านดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาเหล็ก
 
 
 
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 81.37 จุด หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเดือนก.ย.
 
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัทแอปเปิล อิงค์ เปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด
 
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,333.82 จุด ลดลง 81.37 จุด หรือ -0.32% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,813.36 จุด ลดลง 2.93 จุด หรือ -0.10% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,707.29 จุด เพิ่มขึ้น 35.50 จุด หรือ +0.46%
 
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 1.75-2.00% ในการประชุมเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดี แถลงการณ์หลังการประชุมของเฟดได้ระบุถึงภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.
 
ทั้งนี้ จากการใช้เครื่องมือ FedWatch ของ CME Group วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 91% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. และมีโอกาส 71% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค.
 
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้สั่งการให้นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ระดับ 25% จากแผนการเดิมที่ระดับ 10% วงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์
 
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระลอกใหม่นี้ ได้ฉุดหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมร่วงลง โดยหุ้นโบอิ้ง ร่วงลง 1% หุ้นแคทเธอร์พิลลาร์ ดิ่งลง 3.7% หุ้น 3M ปรับตัวลง 2.5% ยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์ ลดลง 0.7% หุ้นเอเมอร์สัน อิเล็กทริก ร่วงลง 1.4% และหุ้นอีตัน คอร์ป ร่วงลง 1%
 
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ WTI เมื่อคืนนี้ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นสวนทางการคาดการณ์ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ร่วงลง 1.4% หุ้นเชฟรอน ลดลง 0.8% หุ้นฮัลลิเบอร์ตัน ลดลง 0.8% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี ร่วงลง 5.5% หุ้นมาราธอน ออยล์ ดิ่งลง 3.9% และหุ้นอ็อคซิเดนเชียล ปิโตรเลียม ร่วงลง 1.5%
 
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดีดตัวขึ้น นำโดยหุ้นแอปเปิล พุ่งขึ้น 5.9% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. ซึ่งเป็นไตรมาส 3 ตามปีงบการเงินของบริษัท โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 17% อยู่ที่ระดับ 5.33 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.23 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 2.34 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40% และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.18 ดอลลาร์
 
ส่วนหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีนั้น หุ้นอเมซอน เพิ่มขึ้น 1.1% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ เพิ่มขึ้น 0.3% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ดีดตัวขึ้น 0.5% หุ้นไมโครซอฟท์ เพิ่มขึ้น 0.2% หุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดิไวซ์ (เอเอ็มดี) ดีดตัวขึ้น 0.8% และหุ้นอินเทล พุ่งขึ้น 1.5%
 
หุ้นกลุ่มธนาคารดีดตัวขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นทะลุระดับ 3% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีนี้ โดยหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา พุ่งขึ้น 1.2% ขณะที่หุ้นเจพีมอร์แกน และหุ้นเวลส์ ฟาร์โก ต่างก็ดีดตัวขึ้น  0.6%
 
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 219,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง
 
ขณะที่ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ร่วงลงสู่ระดับ 58.1 ในเดือนก.ค. จากระดับ 60.2 ในเดือนมิ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัวสู่ระดับ 59.5 อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ
 
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนก.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมิ.ย., ดุลการค้าเดือนมิ.ย.,  ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. และดัชนีภาคบริการเดือนก.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
 
--อินโฟเควสท์ 
OO11972

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!