WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11 ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ดีดตัวทดสอบแนวต้าน 1,645 จุด รับแรงหนุนราคาน้ำมันขึ้น-Window Dressing
นายคณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสปรับขึ้นทดสอบบริเวณแนวต้าน 1,645 และ 1,650 จุด หลังราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแรงเมื่อวันศุกร์ ส่งผลต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มน้ำมันทั้ง PTT และ PTTEP ซึ่งมีผลต่อดัชนี ผนวกกับตลาดยังได้รับ Sentiment จากการทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชี (Window Dressing) ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของไตรมาส 2/61 ที่ตามสถิติ 5 ปีที่ผ่านมาในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย. มีการทำ Window Dressing ทำให้ดัชนีปรับขึ้น ยกเว้นเพียงปีเดียวที่ตลาดหุ้นไทยปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดน่าจะเป็นลักษณะการตั้งรับมากกว่าการไล่ราคาหุ้น เนื่องจากยังมีปัจจัยจากต่างประเทศ ที่จะยังเป็นแรงกดดันอยู่ หลังตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวในแดนลบ ขณะที่ตลาดยังมีความกังวลต่อปัญหาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และระหว่างสหรัฐฯและคู่ค้าประเทศอื่น ซึ่งน่าจะทำให้ตลาดหุ้นไทยยังมีจำนวนหุ้นที่ติดลบอยู่จำนวนมากและจะกดดันให้การปรับขึ้นของดัชนีอยู่ในกรอบจำกัด ขณะที่นักลงทุนต่างชาติแม้จะมีแรงขายในตลาดหุ้นไทยลดลง แต่ก็ยัง Short ในตลาดฟิวเจอร์สอยู่
พร้อมให้แนวรับที่ 1,628 และ 1,620 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,645 และ 1,650 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (22 มิ.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,580.89 จุด เพิ่มขึ้น 119.19 จุด (+0.49%) ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,754.88 จุด เพิ่มขึ้น 5.12 จุด (+0.19%) และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,692.82 จุด ลดลง 20.14 จุด (-0.26%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 26.73 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 13.69 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 12.58 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 65.21 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 5.33 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 7.87 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 12.87 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 176.86 จุด, ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 28.50 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (22 มิ.ย.61) 1,634.98 จุด เพิ่มขึ้น 0.54 จุด (+0.03%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 879.88 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (22 มิ.ย.61) ปิดที่ 68.58 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.04 ดอลลาร์ หรือ 4.6%
- เงินบาทเปิด 32.97 แนวโน้มยังอ่อนค่าจากเงินไหลออก-กังวลสงครามการค้าขยายวงกว้าง
- นักลงทุนสถาบันเริ่มหั่นเป้าดัชนีหุ้นไทย หลังสภาพคล่องการลงทุนลดลง ฟันธงตลาดสะท้อนปัจจัยเสี่ยงไปมากแล้ว เชื่อเป็นจังหวะดีทยอยลงทุนช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า ขณะค่ายประกันทยอยลดพอร์ต รอจังหวะเข้าลงทุนใหม่ ประเมินครึ่งปีหลังมีสัญญาณบวก ด้านนักวิเคราะห์เผยแรงซื้อสถาบันในประเทศเริ่มแผ่ว ด้าน ตลท.เตรียมปลุกตลาดทุนจัดไทยแลนด์โฟกัสชูไฮไลต์บริษัทไทยระดับโลกหวังดึงดูดนักลงทุนต่างชาติย้ำเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง
- สมาคมโบรกเกอร์เตรียมหารือตลาดหลักทรัพย์ หาแนวทางรับมือระบบซื้อขายหุ้นอัตโนมัติ หลังเห็นสัญญาณรุนแรงกระทบภาพรวมตลาด และแนวโน้มการใช้โปรแกรมเทรดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน'เคจีไอ"ยันในส่วนของโบรกเกอร์ไม่เป็นปัญหา เพราะทางการคุมเข้ม
- กระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรมเร่งออกมาตรการยกระดับราคาปาล์มหวังรับมือการผลิตฤดูใหม่ในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า รมว.พลังงาน จ่อเปิดโครงการขายบี 20 ให้กลุ่มรถบรรทุก 2 ก.ค.นี้ ก.อุตฯพร้อมแล้วคุมเปอร์เซ็นต์โรงสกัดปาล์มทั้งแบบหีบแยกและหีบรวม ด้านเกษตรกรแนะให้ภาครัฐติดตามผลผลิตออกใหม่สุดท้ายผลประโยชน์จะตกถึงมือเกษตรกรจริงหรือไม่
- รฟม.เล็งเปิดให้เอกชนร่วมทุน พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่ รวม 16 สถานี แบ่งเป็น 3 เกรด อัตราเช่าประมาณ 1,000-1,200 บาท/ตารางเมตร/เดือน ปีนี้เริ่ม 8 สถานีหลักก่อนให้เอกชนรายย่อยเช่าระยะสั้น อายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี
- "เอกชนไทย" ขยายลงทุนนอกพุ่งแตะ 1.36 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 4.4 ล้านล้านบาท พบปี 2560 เพิ่มกว่า 9.6 แสนล้านบาท โดยเฉพาะเงินลงทุน ทางตรงพุ่ง 23% ส่วนใหญ่ลงทุนในสหภาพยุโรปที่ขยายตัว 65% ขณะนักเศรษฐศาสตร์ประเมินธุรกิจไทยใหญ่เกินกว่าลงทุนในประเทศ
- พาณิชย์-หอการค้า เปิดผลวิเคราะห์สงครามการค้าจีน-สหรัฐ ยันไม่สะเทือนไทย ดันตัวเลขส่งออกเพิ่มขึ้น ด้านเอกชนเห็นสัญญาณจีนย้ายฐานลงทุนมาไทยดัน EEC เกิด ลูกค้ากลุ่มใหม่โยกมาซื้อสินค้าไทยแทน กกร.จ่อปรับเป้าส่งออกโตทะลุ 8% กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เตือนอย่าประมาทเครื่องใช้ไฟฟ้าจีนถล่มไทย
- นักค้าเงิน ห่วงแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ ประเทศที่อ่อนแอจะเป็นเป้านิ่งถูกโจมตีเหมือนฟิลิปปินส์-อาร์เจนตินา จนนำไปสู่ EM contagion วิกฤติการเงิน ซ้ำรอยปี 2540 จี้แบงก์ชาติส่งสัญญาณนโยบายการเงินฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักลงทุน ขณะที่"อนุสรณ์ ธรรมใจ"มองเงินบาทไทยยังมีความเสี่ยงต่ำที่จะถูกโจมตี เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง เงินเฟ้อต่ำและยังคงเกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังต้องเผชิญกระแสเงินทุนระยะสั้นไหลออกอีกระยะหนึ่ง อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าแตะระดับ 33.50-34.00 ในไตรมาสสาม
*หุ้นเด่นวันนี้
- PTTEP (เอเอสแอล) แนะ"ซื้อ" ราคาเหมาะสม 155 บาท แนวโน้มราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากประเด็นปัจจัยการเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และนอกโอเปกคลี่คลาย หลังผลการประชุมเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมามีการตกลงเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 7.7 แสนบาร์เรลต่อวัน ตามที่คาด ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่มองบวกสำหรับผลประกอบการใน Q2/61 จากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย Q2/61 QTD ที่ปรับเพิ่มมาราว 8%
- SAPPE (โกลเบล็ก) แนะ"ซื้อ"ราคาเหมาะสม 31.34 บาท คาดช่วง Q2/61 จะได้รับประโยชน์สองต่อจากการที่เป็น High Season ของสินค้าประเภทเครื่องดื่ม และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวมาถึง 32.96 บาท/ดอลลาร์ ต่อเนื่องจากช่วง 1Q61 บริษัทสามารถเติบโตได้โดดเด่นที่ 117 ล้านบาท +140% YoY โดยมีปัจจัยหลักจากยอดขายต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
- DTAC (กสิกรไทย) แนะ"ซื้อ"ราคาเป้าหมาย 43.53 บาท มองเชิงบวกมากขึ้นต่อ DTAC เนื่องจาก 1) กสทช. ประกาศจัดประชุม 25 มิ.ย.61 เพื่อจัดประมูลคลื่น 900 MHz และ 2) DTAC ให้ความสนใจคลื่น 900 MHz ทั้ง 2 ปัจจัยทำให้สมมติฐาน Scenario 2 กลับมามีน้ำหนักอีกครั้ง นอกจากนี้ ราคาหุ้นได้ปรับลดลง 26% ช่วง 6 วันที่ผ่านมา สูงกว่ามูลค่าพื้นฐานกรณีที่แย่ที่สุดที่ 35.10 บาทอยู่เพียง 4% ทั้งนี้ เชื่อ กสทช. และความตั้งใจ DTAC จะเข้าประมูลคลื่น 900 MHz จะช่วยฟื้นฟูขีดความสามารถการแข่งขันและส่งผลเชิงบวกต่อราคาหุ้น
ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ เหตุนักลงทุนยังวิตกสงครามการค้า
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบในเช้าวันนี้ ขณะที่นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐกับหลายประเทศ
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,543.56 จุด เพิ่มขึ้น 26.73 จุด, +0.12% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,903.45 จุด เพิ่มขึ้น 13.69 จุด, +0.47% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 29,326.12 จุด ลดลง 12.58 จุด, -0.04% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,834.07 จุด ลดลง 65.21 จุด, -0.60% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,351.89 จุด ลดลง 5.33 จุด, -0.23% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,279.53 จุด ลดลง 7.87 จุด, -0.24% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,707.02 จุด เพิ่มขึ้น 12.87 จุด, +0.76% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,240.06 จุด เพิ่มขึ้น 176.86 จุด, +2.50% ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดวันนี้ที่ 5,850.31 จุด เพิ่มขึ้น 28.50 จุด, +0.49%
นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐและคู่ค้ารายใหญ่อย่างจีนและสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางความกังวลว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะลุกลามกลายเป็นปัจจัยถ่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่มาตรการตอบโต้ของ EU ในการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้ามูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์จากสหรัฐ เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์นี้
โดยล่าสุด ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทวีตข้อความขู่ที่จะเรียกเก็บภาษีจากรถยนต์ที่นำเข้าจาก EU หาก EU ไม่ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีต่อรถยนต์สหรัฐ
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 125.83 จุด หลังหุ้นพลังงานพุ่งรับผลประชุมโอเปก
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวแรงเมื่อคืนนี้ (22 มิ.ย.) จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน ภายหลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ขานรับที่ประชุมโอเปกมีมติเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน แต่ไม่ระบุปริมาณชัดเจน โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่าทางกลุ่มไม่น่าจะเพิ่มการผลิตมากอย่างที่ตลาดกังวลกันก่อนหน้านี้ และการเพิ่มกำลังการผลิตในระดับดังกล่าวจะไม่กดดันราคาน้ำมันให้ดิ่งลง
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวขึ้น 125.83 จุด หรือ 1.67% ปิดที่ 7,682.27 จุด และเพิ่มขึ้น 0.6% ตลอดทั้งสัปดาห์
ทั้งนี้ หลังจากที่ร่วงลงไปถึง 0.9% ในวันพฤหัสบดี ดัชนีหุ้นลอนดอนได้กลับมาดีดตัวขึ้นแข็งแกร่งในวันศุกร์ โดยได้แรงหนุนจากหุ้นบริษัทน้ำมันที่พุ่งรับราคาน้ำมันดิบที่ทะยานขึ้น หลังรับทราบผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่กรุงเวียนนา
โอเปกออกแถลงการณ์หลังการประชุมกำหนดนโยบายการผลิตวานนี้ โดยระบุว่าโอเปกจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน แต่ไม่มีการระบุปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
แถลงการณ์โอเปกระบุว่า เนื่องจากสมาชิกบางประเทศได้ลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ในเดือนพ.ย.2559 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้สมาชิก 12 ประเทศจากทั้งหมด 14 ประเทศ เพิ่มกำลังการผลิต เพื่อให้ตัวเลขความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันกลับสู่จำนวน 1.2 ล้านบาร์เรล/วันที่ตกลงกันไว้ในเดือนพ.ย.2559
ก่อนหน้านี้ โอเปกมีมติขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.2 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปีนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี สมาชิกโอเปกได้ให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันมากถึง 152% ซึ่งหมายความว่าสมาชิกโอเปกได้ปรับลดกำลังการผลิตรวมกันมากกว่า 1.2 ล้านบาร์เรล/วันที่ได้ตกลงกันไว้
แถลงการณ์การประชุมครั้งล่าสุดของโอเปกระบุว่า "สมาชิกโอเปกได้ให้ความร่วมมือลดกำลังการผลิตน้ำมันแตะระดับ 152% ในเดือนพ.ค. ส่งผลให้ที่ประชุมมีมติในวันนี้ให้ลดตัวเลขความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันสู่ระดับ 100% โดยเริ่มต้นวันที่ 1 ก.ค."
ทางด้านแหล่งข่าวเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ที่ประชุมโอเปกมีมติเพิ่มกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนก.ค.
การปรับเพิ่มกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน จะสอดคล้องกับที่ซาอุดิอาระเบียเสนอก่อนหน้านี้ ขณะที่รัสเซียเสนอให้ปรับเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสมาชิกโอเปกบางประเทศไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน เนื่องจากติดขัดจากปัจจัยในประเทศ ทำให้คาดว่าตัวเลขการเพิ่มการผลิตน้ำมันที่แท้จริงจะอยู่ในระดับเพียง 600,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และการเพิ่มกำลังการผลิตในระดับดังกล่าวจะไม่กดดันราคาน้ำมันให้ดิ่งลง
ด้านเงินปอนด์ยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธนาคารกลางอังกฤษได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดี แต่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ลงมติไม่เป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งนี้ด้วยคะแนนเสียง 6-3 ซึ่ง 3 เสียงดังกล่าวมีความเห็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.75%
หุ้นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ ทั้งบีพี และรอยัล ดัทช์ เชลล์ ต่างอ่อนตัวลงในช่วงเปิดตลาด แต่กลับมาดีดตัวขึ้นหลังผลประชุมโอเปก
หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ พุ่ง 3.5% และบีพี บวก 3.1%
หุ้นเกลนคอร์ บริษัทเหมืองแร่และสินค้าโภคภัณฑ์ข้ามชาติ ทะยาน 4.18%
ด้านหุ้นโคคา-โคลา เอชบีซี ผู้ผลิตขวดของบริษัทโคคา-โคลา ลดลง 0.78% หุ้นไชร์ บริษัทยาชีวภาพ ลดลง 0.54% หุ้นแอสตร้าเซนเนก้า ลบ 0.49%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดพุ่ง รับข้อมูล PMI ยูโรโซน, ผลประชุมโอเปก
ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (22 มิ.ย.) หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมในภาคธุรกิจของยูโรโซนนั้นเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นจากที่ชะลอตัวมาหลายเดือน ประกอบกับได้แรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน ภายหลังราคาน้ำมันดิบพุ่งรับผลประชุมโอเปกที่มีมติเพิ่มกำลังการผลิต แต่ไม่ระบุปริมาณชัดเจน ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าน่าจะเพิ่มขึ้นไม่มากอย่างที่ตลาดกังวลก่อนหน้านี้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 4.16 จุด หรือ 1.09% ปิดที่ 385.01 จุด อย่างไรก็ตาม ทั้งสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวลง 1.1%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,387.38 จุด เพิ่มขึ้น 71.37 จุด หรือ 1.34% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,579.72 จุด เพิ่มขึ้น 67.81 จุด หรือ 0.54% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,682.27 จุด เพิ่มขึ้น 125.83 จุด หรือ 1.67%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้แรงหนุนหลังจากที่ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้นของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.8 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 54.1 ในเดือนพ.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่า กิจกรรมในภาคธุรกิจของยูโรโซนขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น และเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ดัชนี PMI รวมปรับตัวขึ้น เพราะได้แรงหนุนจากภาคบริการ โดยดัชนี PMI ภาคบริการยูโรโซน อยู่ที่ 55.0 ในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นจาก 53.8 ในเดือนพ.ค. แม้ว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตลดลงมาอยู่ที่ 55.0 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 55.5 ในเดือนพ.ค.ก็ตาม
นอกจากนี้ กิจกรรมในภาคบริการของเยอรมนีและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสองประเทศใหญ่สุดในยูโรโซน ก็ออกมาดีกว่าการคาดการณ์ด้วย แม้กิจกรรมในภาคการผลิตจะชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน
ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้นของเยอรมนี เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 54.2 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 53.4 ในเดือนพ.ค. โดยได้รับปัจจัยหนุนจากยอดคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการ อยู่ที่ 53.9 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 52.1 ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิต อยู่ที่ 55.9 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือน จากระดับ 56.9 ในเดือนพ.ค.
ขณะเดียวกัน ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้นของฝรั่งเศส อยู่ที่ 55.6 ในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นจาก 54.2 เมื่อเดือนพ.ค. และทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 เดือน สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.4 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 54.3 ในเดือนพ.ค. ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 เดือน ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตปรับตัวลดลงแตะ 53.1 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 54.4 ในเดือนพ.ค. โดยทำสถิติต่ำสุดในรอบ 16 เดือน
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายยังเป็นไปอย่างคึกคักจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานที่ดีดตัวขึ้น ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น หลังนักลงทุนรับทราบผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่กรุงเวียนนา
โอเปกออกแถลงการณ์หลังการประชุมกำหนดนโยบายการผลิตวานนี้ โดยระบุว่าโอเปกจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน แต่ไม่มีการระบุปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
แถลงการณ์โอเปกระบุว่า "สมาชิกโอเปกได้ให้ความร่วมมือลดกำลังการผลิตน้ำมันแตะระดับ 152% ในเดือนพ.ค. ส่งผลให้ที่ประชุมมีมติในวันนี้ให้ลดตัวเลขความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันสู่ระดับ 100% โดยเริ่มต้นวันที่ 1 ก.ค."
ทางด้านแหล่งข่าวเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ที่ประชุมโอเปกมีมติเพิ่มกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนก.ค. ซึ่งการปรับเพิ่มกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน จะสอดคล้องกับที่ซาอุดิอาระเบียเสนอก่อนหน้านี้ ขณะที่รัสเซียเสนอให้ปรับเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสมาชิกโอเปกบางประเทศไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน เนื่องจากติดขัดจากปัจจัยในประเทศ ทำให้คาดว่าตัวเลขการเพิ่มการผลิตน้ำมันที่แท้จริงจะอยู่ในระดับเพียง 600,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และการเพิ่มกำลังการผลิตในระดับดังกล่าวจะไม่กดดันราคาน้ำมันให้ดิ่งลง
หุ้นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ ทั้งบีพี และรอยัล ดัทช์ เชลล์ ต่างอ่อนตัวลงในช่วงเปิดตลาด แต่กลับมาดีดตัวขึ้นหลังผลประชุมโอเปก โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ พุ่ง 3.5% และบีพี บวก 3.1% ในตลาดหุ้นลอนดอน
ด้านบริษัทน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ของฝรั่งเศสต่างพุ่งขึ้นเช่นกัน โดยหุ้นโททาล บวก 3.31% หุ้นเทคนิปเอฟเอ็มซี พุ่ง 5.66% ส่วนหุ้นแอร์บัส บวก 2.08% ในตลาดหุ้นปารีส
ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐและคู่ค้ารายใหญ่ อย่างจีน และสหภาพยุโรป อย่างใกล้ชิด ท่ามกลางความกังวลว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะลุกลามกลายเป็นปัจจัยถ่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่มาตรการตอบโต้ของ EU ในการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้ามูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์จากสหรัฐ เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์นี้
ส่วนหุ้นกลุ่มรถยนต์ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยถ่วงตลาดหุ้นเยอรมันไม่ให้พุ่งแรงเหมือนตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส โดยหุ้นเดมเลอร์ ลดลง 0.3% หุ้นโฟล์คสวาเกน ลบ 0.2% หุ้นบีเอ็มดับเบิลยู ร่วงลง 1.1%
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นกลุ่มรถยนต์ปรับตัวลงนั้น มาจากการที่เดมเลอร์ เอจี ได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561 อีกทั้งแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า ขณะที่หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานว่า กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนีได้ยื่นข้อเสนอเพื่อให้สหภาพยุโรป (EU) ยุติมาตรการเรียกเก็บภาษี 10% ต่อรถยนต์นำเข้าจากสหรัฐ
ข้อเสนอดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่นายริชาร์ด เกรเนลล์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเยอรมนี ได้จัดการเจรจากับผู้บริหารของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของเยอรมนี ซึ่งได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู โฟล์คสวาเกน และเดมเลอร์ ซึ่งที่ประชุมได้มีแนวคิดในการยุติการตั้งกำแพงภาษีรถยนต์ระหว่างสหรัฐและ EU
ขณะที่ล่าสุด ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาทวีตข้อความในวันศุกร์ โดยขู่ที่จะเรียกเก็บภาษีจากรถยนต์ที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป หาก EU ไม่ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีต่อรถยนต์สหรัฐ
"จากการที่สหภาพยุโรปได้เรียกเก็บภาษี และตั้งกำแพงการค้าต่อบริษัทของสหรัฐ หากสหภาพยุโรปยังไม่ยกเลิกการเรียกเก็บภาษี และกำแพงการค้า เราก็จะเรียกเก็บภาษี 20% ต่อรถยนต์ทั้งหมดที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 119.19 จุด หลังหุ้นพลังงานพุ่งรับผลประชุมโอเปก
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (22 มิ.ย.) หลังจากร่วงลงติดต่อกันมา 8 วัน เช่นเดียวกับดัชนี S&P ที่ปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยตลาดได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่พุ่งขึ้นตามราคาน้ำมัน ภายหลังจากที่โอเปกมีมติเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมครั้งล่าสุด แต่ไม่ระบุปริมาณชัดเจน ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากอย่างที่ตลาดกังวลก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดแดนลบ เนื่องจากหุ้นเทคโนโลยีร่วงลง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,580.89 จุด เพิ่มขึ้น 119.19 จุด หรือ 0.49% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,754.88 จุด เพิ่มขึ้น 5.12 จุด หรือ 0.19% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,692.82 จุด ลดลง 20.14 จุด หรือ -0.26%
สำหรับทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 2% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงสองสัปดาห์ติดต่อกัน และเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ด้านดัชนี S&P ลดลง 0.9% และดัชนี Nasdaq ลดลง 0.3% หลังจากที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมาสี่สัปดาห์
ภาวะการซื้อขายในวันศุกร์นั้นได้ปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่พุ่งขึ้น 2.2% โดยนักลงทุนพากันเข้าซื้อหุ้นบริษัทน้ำมัน หลังราคาน้ำมันดิบทะยานขึ้น ภายหลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ออกแถลงการณ์หลังการประชุมกำหนดนโยบายการผลิต ที่กรุงเวียนนา วานนี้ โดยระบุว่าโอเปกจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน แต่ไม่มีการระบุปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
แถลงการณ์โอเปกระบุว่า เนื่องจากสมาชิกบางประเทศได้ลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ในเดือนพ.ย.2559 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้สมาชิก 12 ประเทศจากทั้งหมด 14 ประเทศ เพิ่มกำลังการผลิต เพื่อให้ตัวเลขความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันกลับสู่จำนวน 1.2 ล้านบาร์เรล/วันที่ตกลงกันไว้ในเดือนพ.ย.2559
ก่อนหน้านี้ โอเปกมีมติขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.2 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปีนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี สมาชิกโอเปกได้ให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันมากถึง 152% ซึ่งหมายความว่าสมาชิกโอเปกได้ปรับลดกำลังการผลิตรวมกันมากกว่า 1.2 ล้านบาร์เรล/วันที่ได้ตกลงกันไว้
แถลงการณ์การประชุมครั้งล่าสุดของโอเปกระบุว่า "สมาชิกโอเปกได้ให้ความร่วมมือลดกำลังการผลิตน้ำมันแตะระดับ 152% ในเดือนพ.ค. ส่งผลให้ที่ประชุมมีมติในวันนี้ให้ลดตัวเลขความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันสู่ระดับ 100% โดยเริ่มต้นวันที่ 1 ก.ค."
ทางด้านแหล่งข่าวเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ที่ประชุมโอเปกมีมติเพิ่มกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนก.ค.
การปรับเพิ่มกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน จะสอดคล้องกับที่ซาอุดิอาระเบียเสนอก่อนหน้านี้ ขณะที่รัสเซียเสนอให้ปรับเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสมาชิกโอเปกบางประเทศไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน เนื่องจากติดขัดจากปัจจัยในประเทศ ทำให้คาดว่าตัวเลขการเพิ่มการผลิตน้ำมันที่แท้จริงจะอยู่ในระดับเพียง 600,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และการเพิ่มกำลังการผลิตในระดับดังกล่าวจะไม่กดดันราคาน้ำมันให้ดิ่งลง
หุ้นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ ทั้งเชฟรอน และเอ็กซอน โมบิล ต่างปิดทะยานขึ้นมากกว่า 2% หลังผลประชุมโอเปก
ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐและคู่ค้ารายใหญ่ อย่างจีน และสหภาพยุโรป อย่างใกล้ชิด ท่ามกลางความกังวลว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะลุกลามกลายเป็นปัจจัยถ่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่มาตรการตอบโต้ของ EU ในการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้ามูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์จากสหรัฐ เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์นี้
โดยล่าสุด ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทวีตข้อความขู่ที่จะเรียกเก็บภาษีจากรถยนต์ที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU) หาก EU ไม่ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีต่อรถยนต์สหรัฐ
"จากการที่สหภาพยุโรปได้เรียกเก็บภาษี และตั้งกำแพงการค้าต่อบริษัทของสหรัฐ หากสหภาพยุโรปยังไม่ยกเลิกการเรียกเก็บภาษี และกำแพงการค้า เราก็จะเรียกเก็บภาษี 20% ต่อรถยนต์ทั้งหมดที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ทวีตดังกล่าวของทรัมป์ส่งให้หุ้นบริษัทรถยนต์พากันปรับตัวลดลง
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยวานนี้ ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต และภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ อ่อนตัวลงสู่ระดับ 56.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน หลังจากแตะ 56.6 ในเดือนพ.ค.
การปรับตัวลงของดัชนี PMI ในเดือนมิ.ย. ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจใหม่ และการจ้างงาน
อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐยังคงมีการขยายตัว
ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น อยู่ที่ 54.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จากระดับ 56.4 ในเดือนพ.ค.
สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น อยู่ที่ 56.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 56.8 ในเดือนพ.ค.
หุ้นกลุ่มน้ำมันพุ่งรับผลประชุมโอเปก โดยเอ็กซอน โมบิล บวก 2.1% เชฟรอน บวก 2.1% เช่นกัน
ขณะที่หุ้นกลุ่มยานยนต์ปรับตัวลดลงหลังจากทวีตล่าสุดของทรัมป์ โดยเจนเนอรัล มอเตอร์ส ลดลงไป 0.3% ฟอร์ด มอเตอร์ ลบ 0.5% เทสลา ร่วง 3.8%
ด้านหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงหลังหลายบริษัทรายงานผลประกอบการที่สร้างความผิดหวังให้กับตลาด โดยหุ้นเรดแฮตร่วงหนักกว่า 14% หลังบริษัทซอฟต์แวร์เปิดเผยแนวโน้มผลประกอบการรายไตรมาสที่น้อยกว่าคาด
หุ้นแบล็คเบอร์รี ร่วงเกือบ 9% โดยถึงแม้บริษัทรายงานกำไรไตรมาสแรกดีกว่าคาด แต่รายได้กลับออกมาน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ดี หุ้นคาร์แม็กซ์ บริษัทขายรถมือสอง พุ่ง 12.86% หลังจากที่บริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกดีกว่าการคาดการณ์
--อินโฟเควสท์
OO10407

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!