WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้อ่อนนลง เล็งแรงขายต่างชาติระลอกใหม่หลัง Bond Yield ทั่วโลกสูงขึ้น-หนุนกระแสเงินทุนไหลออก
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะอ่อนตัวลง จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติระลอกใหม่ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ทำให้อาจจะเกิดกระแสเงินทุนไหลออก
นอกจากนี้ยังใกล้ช่วงมีการประชุมของธนาคารกลางหลายแห่งที่จะต้องจับตา โดยสัปดาห์นี้มีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่วนสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาการประชุม G7 ไม่ได้ข้อสรุปอะไร เนื่องจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ได้ร่วมลงนามอะไรทั้งสิ้น
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบเล็กน้อยราว 0.2-0.3%
พร้อมให้แนวรับ 1,715-1,720 ถัดไป 1,710 จุด ส่วนแนวต้าน 1,730-1,740 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (8 มิ.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,316.53 จุด เพิ่มขึ้น 75.12 จุด (+0.30%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,779.03 จุด เพิ่มขึ้น 8.66 จุด (+0.31%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,645.51 จุด เพิ่มขึ้น 10.44 จุด (+0.14%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 7.55 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 9.81 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 58.31 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 12.57 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 2.67 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 13.70 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 3.90 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (8 มิ.ย.61) 1,722.04 จุด ลดลง 11.01 จุด (-0.64%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,290.73 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (8 มิ.ย.61) ปิดที่ 65.74 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 21 เซนต์ หรือ 0.3%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (8 มิ.ย.61) ที่ 5.05 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.00 แข็งค่าจากเย็นวันศุกร์ จับตาการเคลื่อนไหว SET ,รอดูประชุมเฟด-ผู้นำสหรัฐฯพบเกาหลีเหนือสัปดาห์นี้
- ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ตัดสินใจที่จะไม่ยกเว้นรายประเทศให้กับไทยตามที่ไทยร้องขอ โดยยังคงยืนยันการเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากไทยในอัตรา 25% และ 10% ตามลำดับ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะไม่หยุดเจรจาในเรื่องนี้
- ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า แม้ว่าภาครัฐจะออกมาประกาศว่า ภาพรวมจีดีพีโต 4.8% สูงสุดรอบ 5 ปี แต่หากมามองในด้านของอัตราการบริโภคของผู้บริโภคภายในประเทศถือว่า ยังอยู่ในระดับต่ำ มีการขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 3.2% เท่านั้น เนื่องจากผู้บริโภค ในตลาดต่างจังหวัดกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัว ในทิศทางที่ดีมากนัก
- อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การเก็บภาษีของกรมในรอบ 8 เดือนของปีงบประมาณ 2561 ได้ 7.28 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,426 ล้านบาท หรือ 1.9% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 3,766 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุนและเพื่อการบริโภคขยายตัวมาก การนำเข้าสินค้าผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังเพิ่มขึ้นสูงตามการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศที่ปี 2560 ขยายตัว 3.9% และปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.5%
- การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 7 ประเทศ หรือ G7 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแคนาดา ได้เสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อวัน
เสาร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายปกป้องการค้าของสหรัฐ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐได้สั่งการ
ไม่ให้คณะผู้แทนสหรัฐให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุม G7 ในครั้งนี้ พร้อมกับทวีตข้อความโจมตีนายจัสติน ทรูโด นายก
รัฐมนตรีแคนาดา เพื่อตอบโต้การที่นายทรูโดได้วิจารณ์การเก็บภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐ
*หุ้นเด่นวันนี้
- BEAUTY (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 21 บาท หลังราคาหุ้นปรับตัวลงกว่า 30% จากระดับสูงสุดที่ 23.7 บาท PE ซื้อขายในปัจจุบันลดลงสู่ระดับค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ระดับ 32-33 เท่า และมี Upside จากราคาเป้าหมายกว่า 28% โดยคาดว่ากำไร Q1/61 จะเป็นจุดต่ำสุดของปี และจะเร่งตัวขึ้น qoq ตั้งแต่ Q2/61 จากการเริ่มออกสินค้าใหม่ และการจัดโปรโมชั่นทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น
- IT (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 6.90 บาท ยอดขายเดือน เม.ย.-พ.ค. 61 ยังโตดี 8-10% Y-Y ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลังที่แทบไม่โต ส่วน มิ.ย. 18 ก็ออกสตาร์ทสวยกับยอดขายทีวีที่เร่งตัวขึ้นรับบอลโลก ทำให้คาดว่ากำไรสุทธิ Q2/61 จะโตได้ทั้ง Q-Q และ Y-Y นอกจากนี้ เร่งขยายสาขาเชิงรุกในโลตัส โดยคาดว่าจะเปิดได้ 10 สาขาใน Q2/61 และจะทยอยเปิดไปจนถึงปลายปีนี้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 50 สาขา หนุนสาขารวมพุ่งเป็น 156 สาขา พร้อมคาดกำไรปีนี้โต 33% Y-Y อยู่ที่ 84 ลบ. จากทั้ง SSSG ที่เป็นบวกและการเปิดสาขาใหม่ที่มาพร้อมกันครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี
- TKN (ไอร่า) เป้า 24.50 บาท คาด Gross Profit Margin ปรับตัวดีขึ้นใน Q2/61 จากการรับรู้ต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกลง ทั้งนี้ คาด TKN เริ่มต้นใช้วัตถุดิบสาหร่าย Lot ใหม่ที่มีราคาถูกลงในช่วง Q2/61 คาดช่วยให้อัตรากำไรขั้นต้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังช่วง Q2/60 - Q1/61 ถูกกดดันอย่างหนักจากต้นทุนสาหร่ายที่สูงขึ้น พร้อมมองยอดขายเติบโตต่อเนื่องจาก Q1/61 ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 19% จากทั้งตลาดในประเทศ(+14%) และต่างประเทศ (+22%) ซึ่งเป็นผลจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น เช่น สาหร่ายอบ และเวย์โปรตีน รวมถึงขยายช่องทางและทำการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ และคาดปี 61 กำไรสุทธิ 799 ล้านบาท กลับมาเติบโต 31% หลังลดลง 22%เมื่อปี 60 จากความสามารถในการทำกำไรดีขึ้นตามลำดับ

ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ นักลงทุนจับตาประชุมซัมมิต ทรัมป์-คิม
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบในเช้าวันนี้ โดยนักลงทุนจับตาการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ที่สิงคโปร์
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,686.95 จุด ลดลง 7.55 จุด, -0.03% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,057.34 จุด ลดลง 9.81 จุด, -0.32% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,016.52 จุด เพิ่มขึ้น 58.31 จุด, +0.19% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,168.99 จุด เพิ่มขึ้น 12.57 จุด, +0.11% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,454.25 จุด เพิ่มขึ้น 2.67 จุด, +0.11% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,450.07 จุด เพิ่มขึ้น 13.70 จุด, +0.40% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,774.42 จุด ลดลง 3.90 จุด, -0.22%
สำนักข่าว KCNA ของทางการเกาหลีเหนือรายงานว่า นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ จะหารือกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ครั้งใหม่ ระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐ ในการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ที่สิงคโปร์
สำนักข่าว KCNA ระบุว่า ในการประชุมครั้งนี้ นายคิมและปธน.ทรัมป์จะแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับ "การสร้างกลไกการรักษาสันติภาพอันถาวรและยั่งยืนในคาบสมุทรเกาหลี" และจะหารือกันในประเด็นการปลดอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 23.33 จุด เหตุนักลงทุนกังวลประชุม G7 เดือด
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขาย ก่อนที่การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 7 ชาติ หรือ G7 จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงสุปสัปดาห์นี้ที่ควิเบก ประเทศแคนาดา ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าการพูดคุยหารือน่าจะเป็นไปอย่างดุเดือด โดยมีประเด็นนโยบายปกป้องการค้าของสหรัฐเป็นปมความขัดแย้ง
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,681.07 จุด ลดลง 23.33 จุด หรือ -0.30% ส่งผลให้ทั้งสัปดาห์ ดัชนีปรับตัวลดลง 0.3% ซึ่งเป็นการลดลงสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆ ของยุโรป ท่ามกลางแรงกดดันจากสถานการณ์ตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ กับชาติพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นแคนาดาและสหภาพยุโรป ก่อนที่การประชุม G7 จะมีขึ้นในวันศุกร์และวันเสาร์
โดยก่อนที่การประชุมสุดยอด G7 จะเปิดฉาก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทวีตข้อความโจมตีผู้นำแคนาดาและฝรั่งเศส โดยกล่าวหาทั้งสองประเทศว่าได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากต่อสินค้าสหรัฐ รวมทั้งตั้งกำแพงการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางการเงิน
"กรุณาบอกท่านนายกฯทรูโด และท่านประธานาธิบดีมาครองว่า พวกเขาได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากต่อสินค้าสหรัฐ และตั้งกำแพงการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางการเงิน โดยสหภาพยุโรปเกินดุลการค้ากับสหรัฐมากถึง 1.51 แสนล้านดอลลาร์ และแคนาดาก็ได้ออกมาตรการกีดกันเกษตรกรของเรา โดยเรียกเก็บภาษีต่อผลิตภัณฑ์นมสูงถึง 300% ผมหวังว่าจะพบกับพวกเขาในการประชุม G7" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ทางด้านนายเอมมานูเอล มาครอง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ทวีตข้อความขู่ที่จะออกแถลงการณ์ G7 โดยมีการลงนามเพียง 6 ชาติ ยกเว้นสหรัฐ
"ประธานาธิบดีสหรัฐอาจจะไม่กังวลที่จะถูกโดดเดี่ยว ซึ่งเราก็ไม่กังวลเหมือนกัน หากจำเป็นต้องมีการลงนามข้อตกลงเพียง 6 ประเทศ เพราะ 6 ประเทศนี้เป็นตัวแทนถึงคุณค่า เป็นตัวแทนถึงเศรษฐกิจตลาดซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และขณะนี้กำลังเป็นพลังที่สำคัญในระดับระหว่างประเทศ" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ทั้งนี้ สมาชิก G7 ประกอบด้วยแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐ
ในส่วนของความเคลื่อนไหวภาคธุรกิจ บีที กรุ๊ป บริษัทสื่อสารรายใหญ่ เปิดเผยว่า ซีอีโอ เกวิน แพทเทอร์สัน จะก้าวลงจากตำแหน่งหลังทำหน้าที่มา 5 ปี โดยหุ้นบีที บวก 1% หลังมีข่าวดังกล่าว
หุ้นสแตนดาร์ด ไลฟ์ อเบอร์ดีน ร่วง 3.6% หลังลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ขายหุ้นในบริษัท ขณะที่หุ้นลอยด์ลดลง 1.2%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลดลง เหตุนักลงทุนกังวลความขัดแย้งในการประชุม G7
ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนแรงลงเมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.) จากความกังวลของนักลงทุนต่อการประชุมสุดยอด G7 ในช่วงสุปสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าที่ประชุมจะมีความเห็นขัดแย้งกับสหรัฐเกี่ยวกับนโยบายการค้า
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.82 จุด หรือ -0.21% ปิดที่ 385.12 จุดในวันศุกร์ และลดลง 0.5% ตลอดทั้งสัปดาห์
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,766.55 จุด ลดลง 44.50 หรือ -0.35% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,681.07 ลดลง 23.33 หรือ -0.30% ขณะที่ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,450.22 จุด ขยับขึ้น 1.86 จุด หรือ +0.03%
นักลงทุนซื้อขายอย่างระมัดระวังก่อนการประชุม G7 ที่คาดว่าสหรัฐจะถูกสมาชิกรายอื่นโจมตีเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมในสัปดาห์ที่แล้ว รวมไปถึงการถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทวีตข้อความโจมตีผู้นำแคนาดาและฝรั่งเศส ก่อนการประชุมสุดยอด G7 จะเริ่มต้นขึ้นในวันศุกร์ โดยกล่าวหาทั้งสองประเทศว่าได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากต่อสินค้าสหรัฐ รวมทั้งตั้งกำแพงการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางการเงิน
"กรุณาบอกท่านนายกฯทรูโด และท่านประธานาธิบดีมาครองว่า พวกเขาได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากต่อสินค้าสหรัฐ และตั้งกำแพงการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางการเงิน โดยสหภาพยุโรปเกินดุลการค้ากับสหรัฐมากถึง 1.51 แสนล้านดอลลาร์ และแคนาดาก็ได้ออกมาตรการกีดกันเกษตรกรของเรา โดยเรียกเก็บภาษีต่อผลิตภัณฑ์นมสูงถึง 300% ผมหวังว่าจะพบกับพวกเขาในการประชุม G7" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ทางด้านนายเอมมานูเอล มาครอง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ทวีตข้อความขู่ที่จะออกแถลงการณ์ G7 โดยมีการลงนามเพียง 6 ชาติ ยกเว้นสหรัฐ
"ประธานาธิบดีสหรัฐอาจจะไม่กังวลที่จะถูกโดดเดี่ยว ซึ่งเราก็ไม่กังวลเหมือนกัน หากจำเป็นต้องมีการลงนามข้อตกลงเพียง 6 ประเทศ เพราะ 6 ประเทศนี้เป็นตัวแทนถึงคุณค่า เป็นตัวแทนถึงเศรษฐกิจตลาดซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และขณะนี้กำลังเป็นพลังที่สำคัญในระดับระหว่างประเทศ" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ทั้งนี้ สมาชิก G7 ประกอบด้วยแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐ
สำหรับภาวะการซื้อขายในเยอรมนีนั้น นอกจากประเด็นข้างต้นแล้ว ตลาดหุ้นยังถูกกดดันจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอด้วยเช่นกัน
สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.หดตัวลง 1% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยับขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีกำลังเผชิญกับความยากลำบากในการฟื้นตัว หลังจากที่อ่อนแรงลงตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้
ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติฯ รายงานด้วยว่า ยอดส่งออกเดือนเม.ย.ปรับตัวลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ขณะที่ยอดนำเข้าพุ่งขึ้น 2.2% ซึ่งส่งผลให้เยอรมนีมียอดเกินดุลการค้าในเดือนเม.ย.ทั้งสิ้น 1.94 หมื่นล้านยูโร น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 2.1 หมื่นล้านยูโร
ด้านตลาดหุ้นอิตาลีร่วงหนักเกือบ 2% หลังมีรายงานข่าวว่า ลุยจิ ดิไมโอ รัฐมนตรีอุตสาหกรรมคนใหม่ของประเทศ เตรียมขอเงินทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากงบประมาณของ EU
ในส่วนของข่าวคราวความเคลื่อนไหวภาคธุรกิจ หุ้นดอยซ์แบงก์ลดลง 0.7% และคอมเมิร์ซ แบงก์ ลดลง 1.6% หลังมีรายงานข่าวว่าดอยซ์แบงก์กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะควบรวมกิจการกับคอมเมิร์ซแบงก์
บีที กรุ๊ป บริษัทสื่อสารรายใหญ่ เปิดเผยว่า ซีอีโอ เกวิน แพทเทอร์สัน จะก้าวลงจากตำแหน่งหลังทำหน้าที่มา 5 ปี โดยหุ้นบีที บวก 1% หลังมีข่าวดังกล่าว
หุ้นสแตนดาร์ด ไลฟ์ อเบอร์ดีน ร่วง 3.6% หลังลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ขายหุ้นในบริษัท ขณะที่หุ้นลอยด์ลดลง 1.2%
สำหรับในสัปดาห์หน้ามีเหตุการณ์สำคัญที่นักลงทุนจับตาหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 12-13 มิ.ย., การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 14 มิ.ย. รวมไปถึงการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 มิ.ย.ที่สิงคโปร์

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 75.12 จุด นักลงทุนเมินสหรัฐขัดแย้งชาติ G7
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่สามเมื่อวันศุกร์ (8 มิ.ย.) ขณะที่นักลงทุนเมินความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตร ในการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 7 ชาติ หรือ G7 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแคนาดาในวันศุกร์และวันเสาร์นี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,316.53 จุด เพิ่มขึ้น 75.12 จุด หรือ +0.30% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,779.03 จุด เพิ่มขึ้น 8.66 จุด หรือ +0.31% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,645.51 จุด เพิ่มขึ้น 10.44 จุด, +0.14%
สำหรับทั้งสัปดาห์ ดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 2.8%, S&P เพิ่มขึ้น 1.6% และ Nasdaq เพิ่มขึ้น 1.2%
ตลาดหุ้นทั่วโลกจับตาการประชุม G7 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคาดว่าสหรัฐจะถูกสมาชิกรายอื่นโจมตีเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่านักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจะไม่กังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับชาติพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นแคนาดาและสหภาพยุโรป มากเท่าไรนัก
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตข้อความโจมตีผู้นำแคนาดาและฝรั่งเศส ก่อนการประชุมสุดยอด G7 จะเปิดฉาก โดยกล่าวหาทั้งสองประเทศว่าได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากต่อสินค้าสหรัฐ รวมทั้งตั้งกำแพงการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางการเงิน
"กรุณาบอกท่านนายกฯทรูโด และท่านประธานาธิบดีมาครองว่า พวกเขาได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากต่อสินค้าสหรัฐ และตั้งกำแพงการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางการเงิน โดยสหภาพยุโรปเกินดุลการค้ากับสหรัฐมากถึง 1.51 แสนล้านดอลลาร์ และแคนาดาก็ได้ออกมาตรการกีดกันเกษตรกรของเรา โดยเรียกเก็บภาษีต่อผลิตภัณฑ์นมสูงถึง 300% ผมหวังว่าจะพบกับพวกเขาในการประชุม G7" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ทางด้านนายเอมมานูเอล มาครอง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ทวีตข้อความขู่ที่จะออกแถลงการณ์ G7 โดยมีการลงนามเพียง 6 ชาติ ยกเว้นสหรัฐ
"ประธานาธิบดีสหรัฐอาจจะไม่กังวลที่จะถูกโดดเดี่ยว ซึ่งเราก็ไม่กังวลเหมือนกัน หากจำเป็นต้องมีการลงนามข้อตกลงเพียง 6 ประเทศ เพราะ 6 ประเทศนี้เป็นตัวแทนถึงคุณค่า เป็นตัวแทนถึงเศรษฐกิจตลาดซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และขณะนี้กำลังเป็นพลังที่สำคัญในระดับระหว่างประเทศ" ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ
ทั้งนี้ สมาชิก G7 ประกอบด้วยแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐ
ขณะเดียวกัน รายงานข่าวระบุว่า ประธานาธิบดีทรัมป์วางแผนที่จะออกจากการประชุม G7 ก่อนกำหนด เพื่อล่วงหน้าไปยังสิงคโปร์ เตรียมพร้อมสำหรับการประชุมกับนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือในวันอังคาร
ในส่วนของข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งขยับขึ้น 0.1% ในเดือนเม.ย. โดยสูงกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นซึ่งระบุว่าทรงตัวในเดือนเม.ย. หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนมี.ค.
เมื่อเทียบรายปี สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งดีดตัวขึ้น 5.8% ในเดือนเม.ย.
ขณะเดียวกัน ยอดขายในภาคค้าส่งพุ่งขึ้น 0.8% ในเดือนเม.ย. หลังจากดีดตัวขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค.
ยอดขายดังกล่าวบ่งชี้ว่า ผู้ค้าส่งจะใช้เวลา 1.28 เดือนในการจำหน่ายสินค้าทั้งหมดในสต็อก โดยลดลงจากระดับ 1.29 เดือนในเดือนมี.ค.
ด้านความเคลื่อนไหวในภาคธุรกิจ หุ้นดอยซ์แบงก์ร่วง 2.3% ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก หลังมีรายงานข่าวว่าธนาคารรายใหญ่ของเยอรมนีกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะควบรวมกิจการกับคอมเมิร์ซแบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารคู่แข่งในประเทศ
หุ้นเจนเนอรัล อิเลคทริค บวก 1.1% หลังบริษัทเผยว่าจะยังคงจ่ายเงินปันผลรายไตรมาสเท่าเดิม ซึ่งช่วยคลายความกังวลก่อนหน้านี้ของนักลงทุนที่ว่าบริษัทอาจลดหรืองดจ่ายปันผลเหมือนไตรมาสที่ผ่านมา
หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวขึ้น โดยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล พุ่ง 1.9% หุ้นโคคา-โคลา บวก 1.2%
สำหรับในสัปดาห์นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่นักลงทุนจับตาหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 มิ.ย.ที่สิงคโปร์, การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 12-13 มิ.ย., การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 14 มิ.ย. รวมไปถึงการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 14-15 มิ.ย.
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมดังกล่าว หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง โดยจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ ขณะที่คาดว่า ECB จะส่งสัญญาณปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จากระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดในเดือนก.ย.
--อินโฟเควสท์
OO9862

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!