WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

5 ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ดีดตัวขึ้นตามตปท. ราคาน้ำมันสร้างฐานเหนือ 65 เหรียญฯ/บาร์เรล-การเมืองในปท.ชัดเจนหนุน
นายชัยยศ จิวางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะดีดตัวขึ้นเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ส่วนใหญ่จะเคลื่อนไหวในแดนบวก ขณะที่ไม่ได้มีปัจจัยบวกหรือลบเข้ามาโดดเด่น แต่ปัจจัยในประเทศเรื่องการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบก็สามารถสร้างฐานยืนเหนือระดับ 65 เหรียญฯ/บาร์เรลได้ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ โดยสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก และอลูมิเนียมเพิ่มหลังจากที่ได้เรียกเก็บจากจีนไปแล้ว ก็ให้ติดตามความคืบหน้าต่อไป
พร้อมให้แนวรับ 1,725 จุด ส่วนแนวต้าน 1,740 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (5 มิ.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,799.98 จุด ลดลง 13.71 จุด (-0.06%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,748.80 จุด เพิ่มขึ้น 1.93 จุด (+0.07%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,637.86 จุด เพิ่มขึ้น 31.40 จุด (+0.41%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 19.23 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 5.04 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 68.57 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 11.03 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.16 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 1.48 จุด
ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวัน Memorial Day
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (5 มิ.ย.61) 1,732.71 จุด เพิ่มขึ้น 11.42 จุด (+0.66%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 216.62 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (5 มิ.ย.61) ปิดที่ 65.52 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 77 เซนต์ หรือ 1.2%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (5 มิ.ย.61) ที่ 5.85 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.92 แนวโน้มแข็งค่าตามภูมิภาค มองกรอบวันนี้ 31.83-32.00
- ครม.ไฟเขียว กฟผ.ลงทุน 7.2 พันล้านบาท เชื่อมระบบสายส่งไฟฟ้าโรงไฟฟ้า กัลฟ์ 5 พันเมกะวัตต์ เสริมความต้องการไฟฟ้า ภาคตะวันออก-ภาคกลาง คาดแล้วเสร็จปี 2565 นายกฯสั่งทำแผนรองรับเหตุไฟดับวงกว้าง หลังโรงไฟฟ้าหงสาขัดข้อง สั่งทำโซน ตัดระบบโรงไฟฟ้าเอสพีพีหวั่นกระทบภาพรวมเศรษฐกิจ
- ภาคเอกชนพร้อมใจปรับประมาณการจีดีพีใหม่ กกร.ประเมินแรงส่งไตรมาส 1 ดีเกินคาด มั่นใจโตมากกว่าเป้าหมายเดิมที่มองไว้ 4.5% ส่งออกไม่น้อยกว่า 8% แต่ติงการขยายตัวยังไม่กระจาย ลงฐานราก เร่งศึกษาแนวทางแก้ไขเสนอรัฐบาล ขณะที่ค่ายแบงก์กรุงศรีปรับเพิ่มทันทีจากเดิม 4.0 เป็นโต 4.7%
- นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) เผยในปี 2563 คาดว่าจะมีคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 90 เมกะเฮิรตซ์ ที่เดิมใช้ในกิจการทีวีดิจิทัลมาสู่การให้บริการโทรคมนาคมเพื่อรองรับเทคโนโลยี 5จี
- คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ เร่งส่งออก 3 แสนตันใน 5 เดือน พร้อมคุมเข้มลักลอบนำเข้ารักษาเสถียรภาพราคาปาล์ม
- กรุงศรีฯปรับจีดีพีโอกาสโตพุ่ง 4.7% ชี้ปัจจัยหนุนดีขึ้น ตั้งแต่เบิกจ่ายรัฐ ส่งออก และเลือกตั้ง เกาะติดเฟด-กนง.ปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก 2 รอบภายในปีนี้ ส่วนมุมมองหุ้นไทยครึ่งปีหลังสดใสอาจทะลุ 1,800 จุด
*หุ้นเด่นวันนี้
- CHEWA-W1 (ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบมจ.ชีวาทัย (CHEWA) เทรดวันนี้วันแรก มีจำนวน 467,335,804 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ : 1 หุ้นสามัญใหม่ ราคาการใช้สิทธิ 1.75 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (28 พ.ค. 61) ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ 0.00 บาทต่อหน่วย กำหนดวันใช้สิทธิครั้งแรก 28 ธ.ค. 2561 และวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 27 พ.ย. 2562
- AMATA (กรุงศรี) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 24.5 บาท รับอานิสงส์นายกฯยืนยัน Road map การเลือกตั้งยังเหมือนเดิมคาดเลือกตั้งได้ไม่เกินเดือน ก.พ.ปีหน้า เป็นบวกต่อ Sentiment การลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาและนิคมฯเลือก SEAFCO เป็น top pick กลุ่มเสาเข็มเจาะ และเลือก AMATA เป็น Top pick กลุ่มนิคมฯ
- RS (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อเก็งกำไรระยะสั้น"เป้า 32 บาท สินค้าเครื่องสำอางในกลุ่ม MPC ที่เคยมีปัญหาถูกแก้ไขหมดแล้ว ขณะที่เม็ดเงินโฆษณา Q2/61 ฟื้นตัวตามฤดูกาล ทำให้อัตราการใช้เวลาโฆษณาเพิ่มเป็นระดับ 40-50% และเริ่มปรับขึ้นค่าโฆษณาได้ คาดรายได้และกำไร Q2/61 จะโต Q-Q และก้าวกระโดด Y-Y ด้านราคาหุ้นต่ำกว่าช่วง 10 วันก่อนหน้ามากถึง 23% เป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ แรงขายเริ่มเบาลง จึงมีโอกาสเกิด Cover Short ในระยะสั้น
- PTTGC (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ซื้อ"เป้า 116 บาท แนวโน้มผลประกอบการ Q2/61 ที่มีโอกาสแข็งแกร่งกว่าตลาดคาด จากมาร์จิ้นธุรกิจโอเลฟินส์ที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 11% QoQ โดยเชื่อว่าปัจจัยบวกที่รออยู่จะมาจาก โอกาสนำไปสู่การปรับประมาณการผลประกอบการปี 2561 ขึ้นอีกครั้ง ตลาดปัจจุบันคาดเฉลี่ย 41,383 ล้านบาท (ต่ำกว่าประมาณการของเรา 7.1%) จาก Valuation ที่ไม่แพง ด้วย PER 8.9 เท่า ต่ำกว่าคู่แข่งในภูมิภาคและค่าเฉลี่ยในอดีต

ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ ขณะนักลงทุนวิตกสงครามการค้า
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบในเช้าวันนี้ ขณะที่นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและบรรดาประเทศคู่ค้า ซึ่งรวมถึงสหภาพยุโรป (EU)
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,520.31 จุด ลดลง 19.23 จุด, -0.09% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,109.17 จุด ลดลง 5.04 จุด, -0.16% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,162.02 จุด เพิ่มขึ้น 68.57 จุด, +0.22% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,111.14 จุด เพิ่มขึ้น 11.03 จุด, +0.10% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,483.32 จุด เพิ่มขึ้น 0.16 จุด, +0.00% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,753.66 จุด ลดลง 1.48 จุด, -0.08% ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการวันนี้เนื่องในวัน Memorial Day
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรป (EU) แคนาดา และเม็กซิโก หลังจากที่สหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ประเทศคู่ค้าเหล่านี้ได้ประกาศมาตรการตอบโต้เช่นกัน ส่วนการเจรจาการค้ารอบที่ 3 ระหว่างสหรัฐและจีนที่จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ทั้งสองฝ่ายยังคงไม่ได้ข้อยุติแต่อย่างใด
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 12-13 มิ.ย. โดยคาดว่าเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ในการประชุมดังกล่าว หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่ง และการพุ่งขึ้นของค่าจ้างแรงงาน

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 54.49 จุด เหตุเงินปอนด์แข็ง,หุ้น RBS ร่วงหนัก
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของเงินปอนด์เป็นปัจจัยฉุดหุ้นบริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงอย่างหนักของหุ้นธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ (RBS) หลังจากมีรายงานว่า รัฐบาลอังกฤษได้ปรับลดการถือครองหุ้นในธนาคารแห่งนี้
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,686.80 จุด ลดลง 54.49 จุด หรือ -0.70%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินปอนด์ได้สร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เงินปอนด์แข็งค่านั้น มาจากรายงานผลการสำรวจของไอเอชเอส มาร์กิต/ซีไอพีเอสซึ่งระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหราชอาณาจักรปรับตัวขึ้นแตะ 54.0 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. จากระดับ 52.8 ในเดือนเม.ย.
หุ้น RBS ดิ่งลง 5.3% และเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบ หลังจากรัฐบาลอังกฤษได้ปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในธนาคาร RBS ลงเหลือ 62.4% จาก 70.1%
หุ้นคาร์นิวัล ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเรือสำราญ ร่วงลง 6.4% หลังจากนักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ ได้ปรับลดคาดการณ์รายได้ในปีงบการเงิน 2562 ของคาร์นิวัลลง 11% เนื่องจากความเสี่ยงเกี่ยวกับต้นทุนเชื้อเพลิงและความผันผวนของค่าเงิน
หุ้นอีซีเจ็ท ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของยุโรป ร่วงลง 2.5% หลังจากนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ลิเบรัมได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นอีซีเจ็ท
หุ้นสกาย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายเคเบิลทีวีของยุโรป ปรับตัวขึ้น 0.3% หลังจากรัฐบาลอังกฤษอนุมัติให้บริษัทคอมแคสต์ของสหรัฐเข้าซื้อกิจการของสกาย ในวงเงินกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าวงเงินที่บริษัททเวนตี้ เฟิร์สต์ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ ของนายรูเพิร์ท เมอร์ดอค เสนอที่ระดับ 2.58 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของบริษัทสกายจำนวน 61% ที่ฟ็อกซ์ยังไม่ได้ถือครอง

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกปัญหาหนี้อิตาลี,เงินยูโรแข็งค่า
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของอิตาลี ขณะที่รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจูเซปเป คอนเต กำลังพยายามใช้มาตรการปรับลดหนี้สินมูลค่ามหาศาลในขณะนี้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.3% ปิดที่ 386.89 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,460.95 จุด ลดลง 11.96 จุด หรือ -0.22% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,686.80 จุด ลดลง 54.49 จุด หรือ -0.70% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,787.13 จุด เพิ่มขึ้น 16.38 จุด หรือ +0.13%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินเหล่านี้จะสร้างแรงกดดันต่อบริษัทข้ามชาติและบริษัทที่ต้องพึ่งพาการส่งออก
นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของอิตาลี โดยรัฐบาลอิตาลีกำลังพยายามอย่างเต็มที่ที่จะลดตัวเลขหนี้สินของประเทศซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับสูงถึง 130% ของตัวเลขจีดีพี
หุ้นกลุ่มธนาคารของอิตาลีร่วงลง โดยหุ้นยูนิเครดิต ดิ่งลง 3.6% หุ้นอินเทซา ซานเปาโล ร่วงลง 3.8% และหุ้นบีพีอีอาร์ บังคา ร่วงลง 3.4%
หุ้นธนาคารรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ (RBS) ดิ่งลง 5.3% และเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบ หลังจากรัฐบาลอังกฤษได้ปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในธนาคาร RBS ลงเหลือ 62.4% จาก 70.1%
หุ้นอีซีเจ็ท ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของยุโรป ร่วงลง 2.5% หลังจากนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ลิเบรัมได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นอีซีเจ็ท
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวลงสู่ระดับ 54.1 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 55.1 ในเดือนเม.ย.

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 13.71 จุด เหตุวิตกสงครามการค้า ขณะ Nasdaq ทำนิวไฮหลังหุ้นเทคโนฯพุ่ง
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) โดยนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและบรรดาประเทศคู่ค้า ซึ่งรวมถึงสหภาพยุโรป (EU) อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ปรับตัวลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่า ภาคบริการของสหรัฐขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนพ.ค. ขณะที่ดัชนี Nasdaq ทำสถิติปิดทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 2 หลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,799.98 จุด ลดลง 13.71 จุด หรือ -0.06% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,748.80 จุด เพิ่มขึ้น 1.93 จุด หรือ +0.07% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,637.86 จุด เพิ่มขึ้น 31.40 จุด หรือ +0.41%
ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดอ่อนแรงลง เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรป (EU), แคนาดา และเม็กซิโก หลังจากที่สหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ประเทศคู่ค้าเหล่านี้ได้ประกาศมาตรการตอบโต้เช่นกัน ส่วนการเจรจาการค้ารอบที่ 3 ระหว่างสหรัฐและจีนที่จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ทั้งสองฝ่ายยังคงไม่ได้ข้อยุติแต่อย่างใด
หุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวลง และเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดดัชนีดาวโจนส์ปิดในแดนลบ โดยหุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ร่วงลง 1.5% หุ้นโกลด์แมน แซคส์ ปรับตัวลง 0.7% หุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ลดลง 0.5% ส่วนหุ้นซิตี้กรุ๊ป และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ต่างก็ปรับตัวลง 0.9%
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และช่วยหนุนดัชนี Nasdaq ปิดทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อคืนนี้ โดยหุ้นเน็ตฟลิกซ์ พุ่งขึ้น 1.1% หุ้นอเมซอนดอทคอม ทะยานขึ้น 1.9% หุ้นแอปเปิล ปรับตัวขึ้น 0.8% ขณะที่หุ้นทวิตเตอร์ พุ่งขึ้น 5.1% ขานรับข่าวที่ว่า บริษัททวิตเตอร์ อิงค์ เตรียมนำหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในดัชนี S&P500
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับปัจจัยหนุนในระหว่างวัน จากข้อมูลภาคบริการที่สดใสของสหรัฐ โดยผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 58.6 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 56.8 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 57.6
ทางด้านไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ดีดตัวสู่ระดับ 56.8 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2558 จากระดับ 54.6 ในเดือนเม.ย.
นักลงทุนยังคงติดตามการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และนาย คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 มิ.ย. เพื่อดูว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือได้หรือไม่ ขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่า การประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่โรงแรมคาเปลลา บนเกาะเซนโตซาของสิงคโปร์ โดยการประชุมจะเปิดฉากขึ้นในเวลา 09.00 น.ตามเวลาสิงคโปร์
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 12-13 มิ.ย. โดยคาดว่าเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ในการประชุมดังกล่าว หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่ง และการพุ่งขึ้นของค่าจ้างแรงงาน
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนเม.ย., ผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 1/2561, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย.
--อินโฟเควสท์
OO9672

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!