WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

16ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ซึมลง กังวล Bond Yield สหรัฐฯพุ่งสูงสุดรอบ 7 ปีหนุนเฟดขึ้นดบ. 4 ครั้งปีนี้, เกาะติดประชุมกนง.
นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งซึมลง เนื่องจากล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ของสหรัฐฯ อายุ 10 ปีได้พุ่งขึ้นมาที่ระดับราว 3.06% ทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี ทำให้มีโอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นไปได้ถึง 4 ครั้ง แต่ยังคงมองกรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเป็นไปได้ทั้ง 3-4 ครั้งในปีนี้
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ โดยให้ติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/61 ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วงโค้งสุดท้าย เพราะเท่าที่ดูหุ้นขนาดใหญ่ที่ประกาศงบฯออกมาก็เป็นไปตามคาด อย่างหุ้นในกลุ่มพลังงาน และกลุ่มปิโตรเคมี ทำให้ยังไม่มีแรงดันให้ตลาดฯขึ้นไปได้มาก แต่ตลาดฯยังได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดกลาง อย่างหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล และสาธารณูปโภค ที่มีการเล่นเก็งกำไรหุ้นขนาดกลางขึ้นมา
นอกจากนี้ ให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ ซึ่งตลาดฯคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน และให้ดูเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 จะมีการเลื่อนใช้หรือไม่ หากมีการเลื่อนใช้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเงิน และหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินอาจจะขึ้นมาช่วยหนุนตลาดฯได้บ้าง
ทั้งนี้ ดูแล้วภาพการลงทุนอาจจะยากขึ้น ดังนั้น ควรจะเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัว โดยให้เลือกลงทุนหุ้นที่ไม่มีความเสี่ยงและสามารถทำกำไรในระยะสั้นได้ด้วย โดยเน้นหุ้นในกลุ่มพลังงานที่ยัง Laggard อยู่ อย่างหุ้น BANPU, SAPPE ก็น่าสนใจเพราะปีนี้คาดว่าจะเติบโตดี จากฐานต่ำในปีที่แล้ว เป็นต้น
พร้อมให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,760-1,790 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (15 พ.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,706.41 จุด ร่วงลง 193.00 จุด (-0.78%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,711.45 จุด ลดลง 18.68 จุด (-0.68%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,351.63 จุด ลดลง 59.69 จุด (-0.81%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 87.90 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 11.89 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 137.31 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 1.19 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 11.90 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 7.26 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 3.63 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 16.49 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (15 พ.ค.61) 1,766.86 จุด ลดลง 6.24 จุด (-0.35%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,318.31 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 พ.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (15 พ.ค.61) ปิดที่ระดับ 71.31 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 35 เซนต์ หรือ 0.5%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (15 พ.ค.61) ที่ 6.57 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.12 แนวโน้มอ่อนค่า มองกรอบ 32.05-32.20 ติดตามประชุมกนง.วันนี้
- ครม.เคาะเพิ่มงบฯก่อสร้างสภาใหม่อีก 512 ล้านบาท แต่ตีกลับงบฯไอที 8 พันล้านบาท ให้ไปทบทวนใหม่ นายกฯ โวยของแพง ยอมไม่ได้ ไมโครโฟน 1.2 แสนบาท-นาฬิกา 7 หมื่นบาท "วิลาศ" ไม่แปลกใจ ครม.อนุมัติงบก่อสร้างสภาใหม่ ชี้แม่น้ำ 5 สายไหลไปทางเดียวกัน ตอกย้ำ หวังปราบทุจริตในยุค "ประยุทธ์" ไม่ได้ จ่อแฉปมตั้งงบตามเอกชนเสนอ ไม่มีราคากลาง
- ก.พลังงานรับลูกมหาดไทยทบทวนแผนซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนใหม่ให้สอดรับกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องคาด ก.ย.ได้ข้อสรุป วงในแย้มแนวโน้มรับซื้อเพิ่มมากกว่า 500 เมกะวัตต์ ขณะที่สมาคมการค้าพลังงานขยะจ่อถกท่าทีสมาชิก 6 มิ.ย.หวังส่งสัญญาณรัฐย้ำราคารับซื้อหากต่ำไปลงทุนไม่เกิดแน่ ด้าน "ครม." ไฟเขียว บ.พีอีเอ เอนคอม ร่วมทุน 3 บริษัทเดินหน้าโรงไฟฟ้า ชีวมวล 3 จังหวัดชายแดนใต้ลงทุนรวม 1.5 พันล้านบาท
- คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรกรับเอกสารชี้ชวนการลงทุนประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีผู้ให้บริการโทรศัพท์ 3 รายหลักเข้ารับเอกสาร โดยกลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส รับไป 2 ใบอนุญาต กลุ่มบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค รับไป 2 ใบอนุญาต และกลุ่มทรูมูฟ เอช รับไป 1 ใบอนุญาต ทำให้วันแรกมีการรับใบอนุญาตรวม 5 ใบ และจะเปิดให้รับเอกสารถึงวันที่ 14 มิ.ย.นี้
- รายงานข่าวจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่เข้าแสดงเจตจำนงจะเข้าร่วมประมูลสำรวจและประมูลปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณและบงกช ได้เข้ายื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น (พรี ควาลิฟิเคชั่น) หรือพรีคิว 2 ราย ได้แก่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต เข้ายื่นเอกสารเวลา 14.29 น. และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม เวลา 15.15 น.
*หุ้นเด่นวันนี้
- BLA (กรุงศรี) "ซื้อเก็งกำไร" เป้า 39 บาท ได้ประโยชน์โดยตรงจากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐ และของไทยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพอร์ตลงทุนส่วนใหญ่ของบริษัทลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เมื่อ Bond yield สูงขึ้นจะทำให้กำไรจากพอร์ตการลงทุนเพิ่มขึ้น
- AMATA (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 30 บาท กำไรปกติ Q1/61 อยู่ที่ 413 ล้านบาท +31% Q-Q, +65% Y-Y ดีกว่าคาด จากยอดโอนที่ดินสูงถึง 107 ไร่ มากกว่า Q1/60 ที่โอนเพียง 35 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีมาร์จิ้นสูง โดยกำไร Q1/61 คิดเป็น 24% ของคาดการณ์ทั้งปีที่ 1.7 พันล้านบาท (+22% Y-Y) และด้วยยอดโอนที่ดินครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก จึงทะลุเป้าที่ 650 ได้ไม่ยาก พร้อมมองความเสี่ยงต่ำ เพราะกำลังได้ประโยชน์จาก EEC และมีกำไรจากธุรกิจสาธารณูปโภคช่วยจำกัด Downside อยู่ราว 35% ของกำไรรวมในแต่ละปี
- CK (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 32 บาท ทิศทางรายได้และกำไรยังคงแข็งแรงจากระดับ Backlog ที่ดี อีกทั้งยังมีแรงหนุนจากรายรับดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ปีละราว 800-1,000 ล้านบาท รอลุ้นภาครัฐทยอยเปิดประมูลโครงการตามแผน โดย CK สามารถเข้าประมูลงานก่อสร้างเอง หรือใช้กลยุทธ์การรับงานผ่านบริษัทลูก
- BGRIM (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ซื้อ"เป้า 34 บาท ชอบ BGRIM จากการเติบโตของกำลังการผลิตต่อเนื่องในช่วง 5 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ผลประกอบการเพิ่มไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีโอกาสเติบโตได้จากการลงทุนในต่างประเทศ โดยโครงการลงทุนในประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่ให้ความสนใจ ด้านเทคนิคกำลังแกว่งขึ้น ต้านสั้น 30 บาท รับ 27.5 บาท

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 12 จุด รับเงินปอนด์อ่อน,คาดแบงก์ชาติอังกฤษยังไม่ขึ้นดบ.
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 พ.ค.) เนื่องจากความผันผวนของข้อมูลแรงงานในอังกฤษได้ช่วยลดกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์ยังเป็นปัจจัยหนุนหุ้นบริษัทข้ามชาติดีดตัวขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,722.98 จุด เพิ่มขึ้น 12.00 จุด หรือ +0.16%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนได้รับปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนเชื่อว่า ธนาคารกลางอังกฤษจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้ หลังจากข้อมูลแรงงานของอังกฤษค่อนข้างผันผวน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ค่าจ้างในอังกฤษ ซึ่งไม่รวมโบนัส พุ่งขึ้น 2.9% ในไตรมาสแรก และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.7% อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างที่นับรวมเงินโบนัส ร่วงลง 2.6%
นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์ยังช่วยหนุนหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์จึงเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
หุ้นอีซีเจ็ท ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดทุนในช่วงครึ่งแรกของปีงบการเงิน 2561 ปรับตัวลดลง
หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านดีดตัวขึ้น หลังจากบริษัทเทย์เลอร์ วิมพีย์ ประกาศแผนการเพิ่มการจ่ายเงินปันผล โดยหุ้นเทย์เลอร์ วิมพีย์ พุ่งขึ้น 3.7% หุ้นเบิร์กลีย์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ปรับตัวขึ้น 1.5% และหุ้นเพอร์ซิมมอน ดีดตัวขึ้น 1.8%
หุ้นโวดาโฟน กรุ๊ป ร่วงลง 4.3% หลังจากบริษัทแถลงเมื่อวานนี้ว่า นายวิตโตริโอ โคลาโอ จะลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโวดาโฟน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดบวก รับข้อมูลเศรษฐกิจเยอรมนี,อังกฤษ
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 พ.ค.) หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่า เศรษฐกิจเยอรมนียังคงขยายตัวในไตรมาส 1 ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า การจ้างงานของอังกฤษพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีในไตรมาส 1
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น ปิดที่ 392.37 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,970.04 จุด ลดลง 7.67 จุด หรือ -0.06% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,553.16 จุด เพิ่มขึ้น 12.48 จุด หรือ +0.23% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,722.98 จุด เพิ่มขึ้น 12.00 จุด หรือ +0.16%
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับปัจจัยบวกจากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีได้เปิดเผยการประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1 ในวันนี้ โดยระบุว่า GDP ไตรมาส 1 ขยายตัว 0.3% โดยได้ปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งขึ้น
ทางด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้น 197,000 ตำแหน่งในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2558 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 130,000 ตำแหน่ง
นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษยังเปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานในอังกฤษลดลง 46,000 คนในไตรมาสแรก สู่ระดับ 1.42 ล้านคน
หุ้นอีซีเจ็ท ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดทุนในช่วงครึ่งแรกของปีงบการเงิน 2561 ปรับตัวลดลง
หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านดีดตัวขึ้น หลังจากบริษัทเทย์เลอร์ วิมพีย์ ประกาศแผนการเพิ่มการจ่ายเงินปันผล โดยหุ้นเทย์เลอร์ วิมพีย์ พุ่งขึ้น 3.7% หุ้นเบิร์กลีย์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ปรับตัวขึ้น 1.5% และหุ้นเพอร์ซิมมอน ดีดตัวขึ้น 1.8%
อย่างไรก็ตาม หุ้นโวดาโฟน กรุ๊ป ร่วงลง 4.3% หลังจากบริษัทแถลงเมื่อวานนี้ว่า นายวิตโตริโอ โคลาโอ จะลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโวดาโฟน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้
ส่วนหุ้นแพนโดรา ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับของเดนมาร์ก ดิ่งลง 16% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรลดลง 15% ในไตรมาสแรก

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 193 จุด วิตกบอนด์ยีลด์พุ่ง,กระแสคาดเฟดขึ้นดบ. 4 ครั้งปีนี้
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 พ.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทโฮม ดีโปท์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ รวมทั้งกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,706.41 จุด ร่วงลง 193.00 จุด หรือ -0.78% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,711.45 จุด ลดลง 18.68 จุด หรือ -0.68% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,351.63 จุด ลดลง 59.69 จุด หรือ -0.81%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐที่พุ่งขึ้นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2554 โดยดีดตัวสู่ระดับ 3.059% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.189% เมื่อคืนนี้
สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นนั้น มาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ดีดตัวสู่ระดับ 20.1 ในเดือนพ.ค. สูงกว่าระดับ 15 ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนเม.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของยอดขายน้ำมันเบนซินตามการดีดตัวของราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินพุ่งขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดตลาดหุ้นวอลล์สตรีทและตลาดหุ้นทั่วโลก โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับอัตราเงินกู้จำนอง และอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ และเครื่องมือทางการเงินในระบบ
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยกดดันหลังจาก CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 51% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้ ขณะที่นักลงทุนยังคาดว่า เฟดมีโอกาส 95% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. และมีโอกาส 81.4% ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.
หุ้นโฮม ดีโปท์ ร่วงลง 1.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ในไตรมาส 1 อยู่ที่ระดับ 2.495 หมื่นล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.515 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดขายในไตรมาส 1 เพิ่มขึ้น 4.2% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 5.4%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ร่วงลง 2% หุ้นเฟซบุ๊ก ดิ่งลง 1.2% หุ้นแอปเปิล ปรับตัวลง 0.9% หุ้นไมโครซอฟท์ ปรับตัวลง 7% หุ้นอเมซอนดอทคอม ดิ่งลง 1.6% และหุ้นเน็ตฟลิกซ์ ปรับตัวลง 0.7%
นักลงทุนจับตาการเจรจาด้านการค้าระหว่างนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีนและที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งเดินทางเยือนสหรัฐตั้งแต่เมื่อวานนี้จนถึงวันเสาร์นี้ เพื่อหารือประเด็นข้อพิพาททางการค้าระดับทวิภาคี ซึ่งการเจรจาดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนคว้าน้ำเหลวในการเจรจาที่กรุงปักกิ่งในช่วงต้นเดือนนี้ โดยทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อคลี่คลายความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องภาษีนำเข้า
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีการผลิตเดือนพ.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย
--อินโฟเควสท์
OO8806

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!