WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9 ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้มีโอกาสสร้างฐานหลังขึ้นไป 3 วันซ้อน ,Bond Yield สหรัฐฯพุ่งต่อ-เงินบาทเริ่มอ่อนค่า
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะสร้างฐานหลังจากที่ได้ปรับขึ้นไป 3 วันติดต่อกันในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ทางเทคนิคเริ่มร้อน นอกจากนี้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ของสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาแตะที่ระดับ 2.96% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 4 ปี ทำให้อาจจะกดดันตลาดฯในวันนี้ได้
นอกจากนี้ เงินบาทก็เริ่มอ่อนค่า ซึ่งอาจจะกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อ รวมถึงวันนี้มีการขึ้นเครื่องหมาย XD หุ้น BBL, TMB ซึ่งอาจจะกดดันดัชนีฯราว 1 จุด
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบเล็กน้อยราว 0.1-0.3% โดยวันนี้ให้ติดตามตัวเลขการส่งออกของไทยงวดเดือนมี.ค. และให้ติดตามตัวเลข PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นงวดเม.ย.ของทั่วโลกด้วย
พร้อมให้แนวรับ 1,789-1,790 จุด ส่วนแนวต้าน 1,805-1,810 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (20 เม.ย.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,462.94 จุด ร่วงลง 201.95 จุด (-0.82%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,670.14 จุด ลดลง 22.99 จุด (-0.85%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,146.13 จุด ลดลง 91.93 จุด (-1.27%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 4.36 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 8.10 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 91.30 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 22.49 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 2.63 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 6.75 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 2.71 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (20 เม.ย.61) 1,801.28 จุด เพิ่มขึ้น 6.34 จุด (+0.35%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,151.97 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 เม.ย.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (20 เม.ย.61) ปิดที่ระดับ 68.38 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ หรือ 0.1%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (20 เม.ย.61) ที่ 5.70 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.36 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค, รอดูตัวเลขส่งออกของไทย-ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2561 จะขยายตัว 4% เท่ากับไตรมาสก่อน และตลอดทั้งปี 2561 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอยู่ 4.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่อยู่ 3.9% จากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ประกอบกับการเร่งใช้จ่ายของภาครัฐทั้งการลงทุนและเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก จะเป็นตัวเร่งให้การบริโภคภาคเอกชนมีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น
- ขณะนี้ กฟผ.มีความกังวลด้านความมั่นคงระบบผลิตไฟฟ้าภาคใต้ในปี 2563 ที่มีความเสี่ยงจะไม่เพียงพอ เนื่องจากความต้องการใช้ไฟภาคใต้สูงสุด (พีก) เมื่อปี 2560 อยู่ที่ 2,642 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าหลักคือจะนะและขนอมผลิตไฟฟ้า ได้จริง 2,024 เมกะวัตต์
- ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกประจำปี 2561 ที่ประกาศออกมาในสัปดาห์ที่แล้ว โดยธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งมีกำไรสุทธิรวม 54,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 53,655 ล้านบาท โดยธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงทำกำไรสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งที่ 11,364 ล้านบาท อันดับ 2 ธนาคารกสิกรไทย 10,765 ล้านบาท และอันดับ 3 ธนาคารกรุงเทพ 9,004 ล้านบาท
- เหตุการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ดันราคาทองคำพุ่งขึ้นในระยะสั้น ถือเป็นโอกาสที่นักลงทุนควรทำกำไร หากมีความแน่นอนสูงและสถานการณ์คาดการณ์ยาก นักลงทุนจะถือครองทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยง อาจช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาทองคำในระยะยาวได้
- กองทุนร่วมทุน 3 แบงก์รัฐ ยอดยังอืด ล่าสุด ณ 28 ก.พ.2561 มีอนุมัติสินเชื่อรวมแค่ 964 ล้านบาท เหตุระเบียบราชการไม่ยืดหยุ่น ทำให้หนุนสตาร์ทอัพเกิดยาก ด้าน สสว.เดินหน้าสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า
- คลัง หวัง "แบงก์ชาติ" จี้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเอสเอ็มอี ระบุชัด แม้ส่วนต่างดอกเบี้ยกู้-ฝาก เฉลี่ยที่ 2% แต่รายย่อยถูกชาร์จแพงกว่า ย้ำกลไกตลาดไม่สมบูรณ์ ผู้กำกับดูแลต้องทำให้ดี
*หุ้นเด่นวันนี้
- IVL (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 75 บาท ไม่มี Sentiment เชิงลบจากการประกาศปรับโครงสร้างหน้าโรงกลั่นของภาครัฐ ขณะที่ระยะสั้นยังได้ผลบวกจากราคาฝ้ายที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ระดับ 85 เซนต์/ปอนด์ คาดหนุนให้ราคาเส้นใยโพลีเอสเตอร์ของ IVL ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนฝ้ายปรับตัวขึ้นในอนาคตอันใกล้
- EKH (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 7.00 บาท คาดกำไรสุทธิ Q1/61 โตสูง 50% Y-Y เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มการแพทย์ ที่ได้ผลดีจากโรคระบาดและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนกำไรทั้งปีนี้คาดโต 10% Y-Y อยู่ที่ 92 ล้านบาท ด้านราคาหุ้นแม้จะเริ่มฟื้นขึ้นมาแล้ว แต่ 1 เดือนที่ผ่านมายัง laggard กลุ่มอยู่ราว 2% และถ้าย้อนไป 1 ปียัง laggard กลุ่มอยู่ถึง 20%
- SPA (ไอร่า) "ซื้อลงทุน"เป้า 21.70 บาท การปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญตั้งแต่ Q4/59 ถือเป็นเรื่องดี ล่าสุดสถานการณ์กลับมาเป็นปกติตั้งแต่กลางปี 60 ด้านนักท่องเที่ยวจีนที่ไม่ผ่านทัวร์ ซึ่งเป็นลูกค้าเป้าหมายของ SPA ขยับสัดส่วนขึ้นมาเป็น 60% (เดิม 40%) ทั้งนี้ ปี 61 มุ่งตลาดต่างประเทศเต็มตัว โดยแฟรนไชส์ในจีนจะขยายจากเดิมที่มี 1 สาขา เป็น 3 สาขา และเริ่มต้นเปิดแฟรนไชส์ในกัมพูชา อีก 3 สาขา พร้อมกันนี้ยังมีแผนเปิดสาขา Flagship ของตนเองที่เซี่ยงไฮ้ อีก 1 สาขา รวมถึงแผนการขยายสาขาในประเทศต่อเนื่องอีก 10 สาขาในปีนี้ (ได้สถานที่แล้ว 7 แห่ง) รวมเป็น 50 สาขาในประเทศ (ปี 60 มี 40 สาขา) ในระยะยาวมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากกระแสการดูแลตนเองที่มากขึ้น รวมถึงการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวจีน และการที่ SPA เริ่มเข้าไปลงทุนในจีนโดยตรง ด้านผลประกอบการปี 61-62 คาดทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ หลังดาวโจนส์ปิดร่วงกว่า 200 จุด
        ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงในเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงกว่า 200 จุดเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากมอร์แกน สแตนลีย์ ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดขาย iPhone ของบริษัทแอปเปิล อิงค์
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,157.88 จุด ลดลง 4.36 จุด, -0.02% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,063.44 จุด ลดลง 8.10 จุด, -0.26% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,327.03 จุด ลดลง 91.30 จุด, -0.30% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,756.89 จุด ลดลง 22.49 จุด, -0.21% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,473.70 จุด ลดลง 2.63 จุด, -0.11% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,566.63 จุด ลดลง 6.75 จุด, -0.19% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,890.46 จุด เพิ่มขึ้น 2.71 จุด, +0.14%
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยลบจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 2.92% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีทะยานขึ้นเหนือระดับ 3.10% เมื่อวันศุกร์ หลังจากรายงานของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียระบุว่า ดัชนีการผลิตพุ่งขึ้นสู่ระดับ 23.2 ในเดือนเม.ย. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 20.5 ซึ่งบ่งชี้ถึงการดีดตัวของราคาและอัตราเงินเฟ้อ โดยนักลงทุนกังวลว่าปัจจัยดังกล่าวอาจผลักดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้
ขณะเดียวกัน ตลาดยังคงจับตาสถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์จีน (MOC) ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวานนี้ว่า ทางการจีนได้รับข้อมูลที่ระบุว่า นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ มีความประสงค์ที่จะเดินทางเยือนจีน เพื่อหารือในประเด็นเศรษฐกิจและการค้า

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 39.25 จุด รับเงินปอนด์อ่อนหนุนหุ้นบริษัทข้ามชาติ
        ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (20 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากอ่อนค่าของเงินปอนด์ หลังจากนายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ส่งสัญญาณว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนเพิ่มขึ้น 39.25 จุด หรือ +0.54% ปิดที่ 7,368.17 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบ 11 สัปดาห์
ตลาดหุ้นลอนดอนได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของเงินปอนด์ ซึ่งช่วยหนุนหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยเงินปอนด์อ่อนค่าลงหลังจากผู้ว่าการ BoE กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้
การส่งสัญญาณดังกล่าวของผู้ว่าการ BoE ได้สกัดกระแสคาดการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ว่า BoE อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า แม้อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค.ของอังกฤษปรับตัวลงต่ำสุดในรอบ 1 ปีก็ตาม
ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงของเงินปอนด์ได้ช่วยหนุนราคาหุ้นของบริษัทข้ามชาติ โดยหุ้นแกล็คโซสมิธไคลน์ พุ่งขึ้น 1.6% และหุ้นบริติช อเมริกัน โทแบคโค ดีดตัวขึ้น 1.4%
หุ้นเรกคิทท์ เบนคีเซอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าผู้บริโภค ร่วงลง 2.8% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายที่ต่ำกว่าคาดในไตรมาส 1
หุ้นไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ ร่วงลง 3.9% หลังจากบริษัทอัลเลอร์แกน พีแอลซีเปิดเผยว่า ทางบริษัทยังไม่มีแผนที่จะเสนอซื้อกิจการของไชร์ ขณะที่บริษัททาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ทางบริษัทยังคงเดินหน้ายื่นข้อเสนอซื้อกิจการของไชร์ต่อไป แม้ว่าไชร์ได้ปฏิเสธข้อเสนอการเทคโอเวอร์กิจการมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์จากทาเคดะเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม
นักลงทุนยังคงจับตากระบวนการที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หลังจากนายเจมส์ แมคคอร์แมค หัวหน้านักวิเคราะห์ระดับโลกของฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Brexit และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรหลังช่วง Brexit จะส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือ

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดขยับลง หลังบริษัทจดทะเบียนเผยผลประกอบการอ่อนแอ
         ตลาดหุ้นยุโรปปิดขยับลงเล็กน้อย ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนเมื่อคืนนี้ (20 เม.ย.) โดยตลาดได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นลอนดอนดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินปอนด์ได้ช่วยหนุนหุ้นบริษัทข้ามชาติ
ดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับลง 0.03% ปิดที่ 381.84 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,540.50 จุด ลดลง 26.92 จุด หรือ -0.21% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,368.17 จุด เพิ่มขึ้น 39.25 จุด หรือ +0.54% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,412.83 จุด เพิ่มขึ้น 21.19 จุด หรือ +0.39%
หุ้นเรกคิทท์ เบนคีเซอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าผู้บริโภค ร่วงลง 2.8% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายที่ต่ำกว่าคาดในไตรมาส 1
หุ้นเอเอสเอ็ม อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ของเนเธอร์แลนด์ ดิ่งลง 8.4% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดในไตรมาส 1 และยังได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2561
หุ้นไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ ร่วงลง 3.9% หลังจากบริษัทอัลเลอร์แกน พีแอลซีเปิดเผยว่า ทางบริษัทยังไม่มีแผนที่จะเสนอซื้อกิจการของไชร์ ขณะที่บริษัททาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ทางบริษัทยังคงเดินหน้ายื่นข้อเสนอซื้อกิจการของไชร์ต่อไป แม้ว่าไชร์ได้ปฏิเสธข้อเสนอการเทคโอเวอร์กิจการมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์จากทาเคดะเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยได้ปัจจัยหนุนจากอ่อนค่าของเงินปอนด์ หลังจากนายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ส่งสัญญาณว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้
ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงของเงินปอนด์ได้ช่วยหนุนราคาหุ้นของบริษัทข้ามชาติ โดยหุ้นแกล็คโซสมิธไคลน์ พุ่งขึ้น 1.6% และหุ้นบริติช อเมริกัน โทแบคโค ดีดตัวขึ้น 1.4

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 201.95 จุด เหตุหุ้นเทคโนฯดิ่ง,วิตกบอนด์ยีลด์พุ่ง
            ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (20 เม.ย.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากมอร์แกน สแตนลีย์ได้ปรับลดคาดการณ์ยอดขาย iPhone ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังสร้างแรงกดดันต่อตลาด และบดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่อย่างเจเนอรัล อิเลคทริค (GE)
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,462.94 จุด ร่วงลง 201.95 จุด หรือ -0.82% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,670.14 จุด ลดลง 22.99 จุด หรือ -0.85% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,146.13 จุด ลดลง 91.93 จุด หรือ -1.27%
ส่วนตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 0.4% ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 0.4% และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 0.5%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ยังคงได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากมอร์แกน สแตนลีย์ระบุว่า ยอดขาย iPhone ในไตรมาส 2 จะต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ มอร์แกน สแตนลีย์ยังมองว่า ยอดขาย iPhone ที่อ่อนแอของแอปเปิลเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้บริษัทไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ แมนูแฟคเจอริง (TSMC) ซึ่งเป็นบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์รายใหญ่ที่สุดที่ผลิตชิพให้แก่บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เช่น แอปเปิลนั้น ปรับลดคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 2
ทั้งนี้ หุ้นแอปเปิลร่วงลง 4.1% และได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงเช่นกัน โดยหุ้นไมโครซอฟท์ ปรับตัวลง 1.1% หุ้นซิสโก ซิสเต็มส์ ลดลง 1% หุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ดิ่งลง 1.1% หุ้นเฟซบุ๊ก ปรับตัวลง 1.08% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ ร่วงลง 1.4% และหุ้นอเมซอนดอทคอม ดิ่งลง 1.9%
ส่วนหุ้นของบริษัทที่เป็นซัพพลายเออร์ให้กับแอปเปิลนั้น ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นสกายเวิร์ค โซลูชั่น ดิ่งลง 2.8% หุ้นควอลคอม ร่วงลง 2.1% หุ้นเซอร์รัส ลอจิค ร่วงลง 2.7% และหุ้นบรอดคอม ร่วงลง 2.3%
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยลบจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 2.92% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีทะยานขึ้นเหนือระดับ 3.10% เมื่อวันศุกร์ หลังจากรายงานของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียระบุว่า ดัชนีการผลิตพุ่งขึ้นสู่ระดับ 23.2 ในเดือนเม.ย. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 20.5 ซึ่งบ่งชี้ถึงการดีดตัวของราคา และอัตราเงินเฟ้อ โดยนักลงทุนกังวลว่าปัจจัยดังกล่าวอาจผลักดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลง หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงในระหว่างวัน ก่อนที่จะปิดตลาดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ว่าพยายามผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้นในระยะนี้ โดยหุ้นเชฟรอน ร่วงลง 1.1% หุ้นเอ็กซอนโมบิล ปรบตัวลง 0.5% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี ร่วงลง 1% และหุ้นชลัมเบอร์เกอร์ ร่วงลง 1.5%
อย่างไรก็ตาม หุ้น GE พุ่งขึ้น 3.9% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 1 อยู่ที่ 16 เซนต์/หุ้น สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 11 เซนต์/หุ้น ส่วนรายได้อยู่ที่ 2.866 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 7% จากระดับ 2.688 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
นักลงทุนจับตาการรายงานผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง อัลฟาเบท เฟซบุ๊ก อินเทล และไมโครซอฟท์
--อินโฟเควสท์
OO7812

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!