WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

20ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้เปิดปรับลงก่อนลุ้นยืนแดนบวก เล็งแรงหนุนจากกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯหลังราคาน้ำมันขึ้น
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ยังมีลุ้นยืนในแดนบวกได้ แม้จะเปิดติดลบบ้าง เล็งแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้น ทำให้น่าจะไปช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี รวมถึงใกล้ปิดงบฯไตรมาส 1/61 ก็อาจจะทำมีแรงหนุนจากการทำ Window Dressing ด้วย
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ติดลบเกือบทุกตลาด ตามดาวโจนส์ที่ร่วงไปกว่า 400 จุด เนื่องจากวิตกสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน กลัวว่าเหตุการณ์จะบานปลาย ทำให้ตลาดหุ้นจีนเช้านี้ปรับตัวลงไปเกือบ 2% แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯไปเป็นเดือนก.ย. ทำให้หน่วยงานรัฐฯของสหรัฐฯบางแห่งไม่ต้อง Shut down แต่ดูเหมือนไม่ได้ช่วยหนุนตลาดฯมาก
สำหรับสัปดาห์นี้ให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ ตลาดฯคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มทีวีดิจิทัล และกลุ่มมือถือคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 27 มี.ค.นี้
พร้อมให้แนวรับ 1,784 จุด ส่วนแนวต้าน 1,800 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (23 มี.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,533.20 จุด ร่วงลง 424.69 จุด (-1.77%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,588.26 จุด ลดลง 55.43 จุด (-2.10%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,992.67 ลดลง 174.01 จุด (-2.43%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 194.49 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 35.44 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 42.22 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 39.76 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 2.08 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 20.44 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 4.34 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (23 มี.ค.61) 1,794.21 จุด ลดลง 4.34 จุด (-0.24%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 648.90 ล้านบาท เมื่อวันที่ 23 มี.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (23 มี.ค.61) ปิดที่ระดับ 65.88
ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 1.58 ดอลลาร์ หรือ 2.5%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (23 มี.ค.61) ที่ 7.12 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.18 มองกรอบวันนี้ 31.10-31.25 รอติดตามผลประชุมกนง.กลางสัปดาห์นี้ คาดคงอัตราดอกเบี้ย
- ร.ฟ.ท.คาดค่าเช่าพื้นที่มักกะสันศรีราชา 5-6 หมื่นล้าน อายุสัญญา 50 ปี คาดทีโออาร์แล้วเสร็จปลายเดือนนี้ เอกชนสนใจมักกะสันมากกว่าศรีราชา ประเมินราคาที่ดินมักกะสันแปลง A พุ่ง ตารางวาละ 5-6 แสน สำนักงานอีอีซีเตรียมชงครม. อนุมัติโครงการรถไฟฯเชื่อม 3 สนามบินพรุ่งนี้
- สบน.เผยสภาพคล่องในระบบล้นรองรับการระดมทุนโครงการลงทุนอีอีซีระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยงบลงทุน 1 ล้านล้านบาท จะมาจากงบประมาณ 30% ในจำนวนนี้ จะถูกบรรจุในงบประมาณรายจ่าย ที่ต้องกู้ราว 3-5 หมื่นล้านบาทต่อปีเท่านั้น พร้อมประเมินสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยไม่กระทบต้นทุนเงินกู้มากนัก
- นักเศรษฐศาสตร์ประเมิน ลงทุนเอกชนเริ่มฟื้น หลังส่งออกขยายตัวดี "สศค." มั่นใจทั้งปีโต 3.8% เผยสัญญาณบวก จากการนำเข้าที่สูงขึ้น ด้าน "กรุงศรี" คาดปีนี้ โต 3.5% อานิสงส์ลงทุนรัฐ ขณะ "ภัทร" มองขยายตัว เล็กน้อย ห่วงไทยเผชิญปัญหาขีดแข่งขันลด
- การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในรอบนี้ที่จะมีผลวันที่ 1 เม.ย. 2561 เป็นอัตราขึ้นที่ไม่มาก เพียงประมาณ 4% โดยเฉลี่ยจาก 305.4 เป็น 316 บาท/วัน มีผลกระทบต่อจีดีพีน้อยมากเพียง 0.005% เท่านั้น
- ตลาดหลักทรัพย์รายงานระดับหนี้สินต่อทุนของบริษัทจดทะเบียนไทยทุกบริษัทรวมกันในปี 2560 พบว่า มีดี/อี อยู่ที่ 2.67 เท่าลดลงจากปี 2559 ที่อยู่ในระดับ 2.82 เท่า โดยพบว่า ระดับหนี้สินต่อทุนของตลาดหุ้นไทยต่ำสุดรอบ 20 ปี
- "พาณิชย์" จ่อปลดล็อกธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 4.0 ออกจากบัญชีแนบท้าย 3 กฎหมายธุรกิจคนต่างด้าว หวังส่งเสริมเชื่อมั่นต่างชาติลงทุนไทย
*หุ้นเด่นวันนี้
- PTTEP (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ซื้อเก็งกำไร"เป้า 125 บาท ได้รับผลบวกโดยตรงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น แรงส่งดังกล่าวคาดต่อเนื่องไปใน Q2/61 จากการปรับราคาก๊าซฯ สะท้อนราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประเด็นการประมูลสัปทานต่ออายุคาดจะเป็น catalyst เชิงบวกในช่วงที่เหลือของปี ล่าสุด TOR จะถูกเสนอให้ กพช.อนุมัติในวันที่ 23 เม.ย. และประกาศ TOR ในช่วงปลายเดือน เม.ย.- พ.ค. ขั้นตอนการประมูลจะเริ่มในช่วง H2/61 และจะประกาศรายชื่อได้ในเดือน ธ.ค. 2561
- ORI (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 24 บาท ภายหลังการเปิดขาย 3 โครงการ KnightsBridge มูลค่ารวม 6 พันล้านบาท อย่างเป็นทางการในวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับดี และมียอด Presales รวมแตะระดับ 4.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 22% ของเป้าทั้งปีที่ 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่เราคาดหวังความสำเร็จจากการเปิดโครงการใหม่อีก 11 แห่ง มูลค่ารวม 2.4 หมื่นล้านบาท น่าจะช่วยหนุนให้ยอด Presales ทั้งปี +36% Y-Y ตามที่ตั้งไว้ได้ไม่ยาก โดยยังชอบ ORI ในแง่ของการเติบโตของกำไรปกติปีนี้ที่แข็งแกร่งที่สุด คาด +92% Y-Y เป็น 2.6 พันล้านบาท โดยมี Backlog รองรับประมาณการรายได้แล้วกว่า 79% มากกว่ารายอื่นที่เฉลี่ยเพียง 20 – 30%
- PTTGC (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 115 บาท คาดกำไรสุทธิในปีนี้จะพุ่งทำสถิติสูงสุดได้เป็นประวัติการณ์อีก 1 ปี จากแรงหนุนของปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น โดยปีนี้ PTTGC มีแผนเปิดโครงการใหม่ 2 โครงการ คือ โครงการ mLLDPE เริ่มผลิต Q1/61 และ โครงการ ME หน่วยที่ 2 เริ่มผลิต Q4/61 ขณะที่ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความต้องการที่สูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปีนี้คาดกำไรสุทธิประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น 14%yoy

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ นักลงทุนวิตกสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบเศรษฐกิจโลก
         ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงกว่า 400 จุดเมื่อวันศุกร์ (23 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 20,423.37 จุด ลดลง 194.49 จุด, -0.94% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,117.32 จุด ลดลง 35.44 จุด, -1.12% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,267.07 จุด ลดลง 42.22 จุด, -0.14% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,783.57 จุด ลดลง 39.76 จุด, -0.37% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,414.68 จุด ลดลง 2.08 จุด, -0.09% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,400.95 จุด ลดลง 20.44 จุด, -0.60% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,860.88 จุด ลดลง 4.34 จุด, -0.23%
ภาวะการซื้อขายในตลาดยังคงได้รับแรงกดดันต่อเนื่องภายหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี เพื่อเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยระบุว่าเป็นการลงโทษจีนที่ได้ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทสหรัฐ ด้านรัฐบาลจีนตอบโต้ด้วยการประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์ โดยพุ่งเป้าเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐจำนวน 128 รายการ

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 30.65 จุด เหตุวิตกสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (23 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งให้เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่หุ้นสมิทส์ กรุ๊ป กลุ่มบริษัทวิศวกรรมสัญชาติอังกฤษร่วง หลังบริษัทรายงานผลกำไรลดลง
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,921.94 จุด ลดลง 30.65 จุด หรือ 0.44% ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ส่งผลให้ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีฟุตซี่ร่วงลงไป 3.4% ถือเป็นสัปดาห์ที่ดัชนีปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี เพื่อเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยระบุว่าเป็นการลงโทษจีนที่ได้ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทสหรัฐ ด้านรัฐบาลจีนตอบโต้ด้วยการประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์ โดยพุ่งเป้าเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐจำนวน 128 รายการ
ขณะเดียวกัน นักลงทุนรอดูการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ว่าที่ประชุมจะอนุมัติรับรองข้อตกลง Brexit ของอังกฤษหรือไม่ ทั้งนี้ EU และอังกฤษสามารถบรรลุข้อตกลงในการยืดเวลาให้อังกฤษยังคงอยู่ใน EU ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2563 แต่จะมีบทบาทและอำนาจที่ลดน้อยลง โดยทั้ง 2 ฝ่ายกำหนดช่วงเวลาในการดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นเวลา 21 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.2562 จนถึงสิ้นปี 2563 ก่อนที่อังกฤษจะแยกตัวออกจาก EU อย่างสมบูรณ์
การกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้ภาคธุรกิจและพลเมืองทั้งในอังกฤษและ EU มีเวลามากขึ้นในการเตรียมพร้อมสำหรับการแยกตัวของอังกฤษออกจาก EU และจะช่วยให้คณะเจรจาของอังกฤษและ EU มีเวลาในการสรุปการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายขณะเริ่มปี 2564 โดยเป็นที่คาดการณ์กันในวงกว้างว่าผู้นำชาติยุโรปจะรับรองข้อตกลงดังกล่าว
สำหรับหุ้นที่ร่วงลงวานนี้ นำโดย สมิทส์ กรุ๊ป บริษัทวิศวกรรมของอังกฤษ ร่วงลง 4.39% หลังบริษัทเผยกำไรลดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบการเงิน จากต้นทุนการวิจัยที่สูงขึ้น
หุ้นโอลด์ มูชวล กลุ่มธนาคารและการลงทุน ลดลง 3.20% อินเตอร์เท็ก กรุ๊ป บริษัทตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ ลบ 2.45%
ขณะที่หุ้นเน็กซ์ ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าและสินค้าในบ้านของอังกฤษ ทะยาน 7.67% เป็นแกนนำหุ้นบวก หลังผลกำไรที่ออกมาไม่ได้แย่อย่างที่นักลงทุนกังวล
หุ้นไมโคร โฟกัส อินเตอร์เนชั่นแนล ดีดขึ้น 4.85% จากที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมา 9 วัน หลังบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์เตือนนักลงทุนเกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการของบริษัท ขณะที่ซีอีโอประกาศลาออกเมื่อต้นสัปดาห์ หุ้นเฟรสนิลโล บวก 4.18%
หุ้นแกล็กโซสมิทไคล์น บวก 3.3% หลังจากที่วัคซีนของบริษัทได้รับการอนุมัติในยุโรปและญี่ปุ่น นอกจากนี้ บริษัทยายักษ์ใหญ่ของอังกฤษยังเผยด้วยว่า บริษัทได้ยุติการเจรจาเสนอซื้อธุรกิจการดูแลสุขภาพผู้บริโภคจากไฟเซอร์แล้ว

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ฉุดหุ้นยุโรปปิดลบต่อเนื่องเป็นวันที่ 3
       ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันในวันศุกร์ (23 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 3.33 จุด หรือ -0.90% ปิดที่ 365.82 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดในรอบกว่าหนึ่งปี และร่วงลง 3.2% ตลอดทั้งสัปดาห์
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,886.31 จุด ร่วงลง 213.77 จุด หรือ -1.77% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,095.22 จุด ลดลง 71.99 หรือ -1.39% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,921.94 จุด ลดลง 30.65 จุด หรือ -0.44%
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี เพื่อเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยระบุว่าเป็นการลงโทษจีนที่ได้ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทสหรัฐ ด้านรัฐบาลจีนตอบโต้ด้วยการประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์ โดยพุ่งเป้าเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐจำนวน 128 รายการ
ขณะเดียวกัน นักลงทุนรอดูการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ว่าที่ประชุมจะอนุมัติรับรองข้อตกลง Brexit ของอังกฤษหรือไม่ ทั้งนี้ EU และอังกฤษสามารถบรรลุข้อตกลงในการยืดเวลาให้อังกฤษยังคงอยู่ใน EU ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2563 แต่จะมีบทบาทและอำนาจที่ลดน้อยลง โดยทั้ง 2 ฝ่ายกำหนดช่วงเวลาในการดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นเวลา 21 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค.2562 จนถึงสิ้นปี 2563 ก่อนที่อังกฤษจะแยกตัวออกจาก EU อย่างสมบูรณ์
การกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้ภาคธุรกิจและพลเมืองทั้งในอังกฤษและ EU มีเวลามากขึ้นในการเตรียมพร้อมสำหรับการแยกตัวของอังกฤษออกจาก EU และจะช่วยให้คณะเจรจาของอังกฤษและ EU มีเวลาในการสรุปการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายขณะเริ่มปี 2564 โดยเป็นที่คาดการณ์กันในวงกว้างว่าผู้นำชาติยุโรปจะรับรองข้อตกลงดังกล่าว
หุ้นดอยซ์แบงก์ ลดลง 2.9% หุ้นธิสเซ่นครุปป์ กลุ่มอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี ร่วง 2.93% หุ้นคอนติเนนทอล บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ ลบ 2.83% หุ้นโฟลค์สวาเกน ลบ 2.70%
หุ้นมิชลิน ผู้ผลิตยางรถยนต์ฝรั่งเศส ร่วง 3.21% หุ้นแซง-โกแบ็ง ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ลดลง 2.67%
หุ้นปับลิซีส บริษัทโฆษณารายใหญ่อันดับสามของโลกสัญชาติฝรั่งเศส ปรับตัวขึ้น 0.54% หุ้นอาโทส ผู้ให้บริการดิจิทัล บวก 0.50%
หุ้นสมิทส์ กรุ๊ป บริษัทวิศวกรรมของอังกฤษ ร่วงลง 4.39% หลังบริษัทเผยกำไรลดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบการเงิน จากต้นทุนการวิจัยที่สูงขึ้น
ขณะที่หุ้นเน็กซ์ ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าและสินค้าในบ้านของอังกฤษ ทะยาน 7.67% เป็นแกนนำหุ้นบวก หลังผลกำไรที่ออกมาไม่ได้แย่อย่างที่นักลงทุนกังวล
หุ้นแกล็กโซสมิทไคล์น บวก 3.3% หลังจากที่วัคซีนของบริษัทได้รับการอนุมัติในยุโรปและญี่ปุ่น นอกจากนี้ บริษัทยายักษ์ใหญ่ของอังกฤษยังเผยด้วยว่า บริษัทได้ยุติการเจรจาเสนอซื้อธุรกิจการดูแลสุขภาพผู้บริโภคจากไฟเซอร์แล้ว

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 424.69 จุด วิตกสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบศก.โลก
       ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 400 จุดเมื่อวันศุกร์ (23 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยความกังวลดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่พุ่งสูงสุดรอบ 8 เดือน รวมถึงการที่สหรัฐเลี่ยงชัตดาวน์ครั้งที่ 3 ในปีนี้ได้ หลังปธน.ทรัมป์ลงนามร่างงบประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 424.69 จุด หรือ -1.77 ปิดที่ 23,533.20 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดในปีนี้ ดัชนี S&P500 ลดลง 55.43 จุด หรือ -2.10% ปิดที่ 2,588.26 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 174.01 จุด หรือ -2.43% ปิดที่ 6,992.67 จุด
สำหรับทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 5.7% ดัชนี S&P 500 ร่วง 6% และ Nasdaq ดิ่งลง 6.5% นับเป็นสัปดาห์ที่ทั้งสามดัชนีร่วงหนักสุดในรอบกว่าสองปี
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันต่อเนื่องจากเมื่อวันพฤหัสบดีที่นักลงทุนกระหน่ำเทขายจนส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงไปกว่า 700 จุด ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี เพื่อเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยระบุว่าเป็นการลงโทษจีนที่ได้ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทสหรัฐ ด้านรัฐบาลจีนตอบโต้ด้วยการประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์ โดยพุ่งเป้าเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐจำนวน 128 รายการ
ทั้งนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนได้บดบังปัจจัยอื่นๆในตลาด โดยประธานาธิบดีทรัมป์ได้ลงนามในร่างงบประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ ภายหลังจากที่วุฒิสภาสหรัฐลงมติอนุมัติร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 65 ต่อ 32 และสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้ลงมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียง 256 ต่อ 167
หากปธน.ทรัมป์ไม่ลงนามในร่างกฎหมายงบประมาณวงเงิน 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ก่อนกำหนดเส้นตายในเวลาเที่ยงคืนวันศุกร์ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับวันเสาร์เวลา 11.00 น.ตามเวลาไทย สหรัฐก็จะเผชิญกับการปิดหน่วยงานของรัฐ (ชัตดาวน์) เป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ปธน.ทรัมป์ได้วิพากษ์วิจารณ์กระบวนการเร่งรีบอนุมัติร่างงบประมาณซึ่งมีรายละเอียดมากกว่า 2,200 หน้า แต่เพิ่งมีการแจกจ่ายเมื่อวันพุธ พร้อมกล่าวว่า เขาจะไม่มีวันลงนามในร่างกฎหมายแบบนี้อีกต่อไป
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานเมื่อวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 3.1% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว หลังจากร่วงลง 3.5% ในเดือนม.ค.
การพุ่งขึ้นของยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของคำสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์
ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และสินค้าด้านอาวุธ โดยเป็นสิ่งบ่งชี้แผนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ พุ่งขึ้น 1.8% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 5 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.8% หลังจากร่วงลง 0.4% ในเดือนม.ค.
เมื่อเทียบรายปี ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐานดีดตัวขึ้น 7.4% ในเดือนก.พ.
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ในก.พ. โดยร่วงลง 0.6% เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 618,000 ยูนิต หลังจากแตะระดับ 622,000 ยูนิตในเดือนม.ค.
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดขายบ้านใหม่จะเพิ่มขึ้น 4.4% สู่ระดับ 623,000 ยูนิตในเดือนก.พ.
เมื่อเทียบรายปี ยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.พ.
สำหรับหุ้นลบวานนี้ นำโดยหุ้น 3M ที่ร่วงลง 3.9% หุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วง 3.5%
ด้านหุ้นดรอปบ็อกซ์ ทะยาน 35% ในการซื้อขายวันแรกในตลาด หุ้นไนกี้ บวก 0.3% หลังบริษัทเผยรายได้จากการขายสูงเกินคาด
--อินโฟเควสท์
OO6971

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!