WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

13ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์-ซึมตัว, หวั่นเผชิญแรงขายทำกำไรก่อนการประชุมเฟด-กังวลสงครามการค้าสหรัฐฯ

นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์-ออกซึม ๆ เนื่องจากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียต่างติดลบกันทั่วหน้า คาดว่าจะเป็นเพราะไปโฟกัสในการรอดูการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 20-21 มี.ค.นี้ ซึ่งตลาดก็เข้าใจว่ามีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพียงแต่ต่างรอดูว่าจะพูดการปรับคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะมีจะมีผลต่อ Fund Flow บ้าง ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูเหตุการณ์ก่อน ทำให้เกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นขึ้น

นอกจากนี้ ยังกังวลถึงสงครามการค้า เพราะประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าในสัปดาห์นี้จะมีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีนำเข้าสินค้าพวกเทคโนโลยี โทรคมนาคม ซึ่งมีผลกระทบต่อจีน นักลงทุนกลัวว่าจีนจะมีการตอบโต้หรือไม่ จึงได้มีแรงขายทำกำไรออกมาก่อน ขณะที่บ้านเราไม่ค่อยได้รับผลกระทบเท่าไร ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดทำให้เงินบาทอ่อนค่า ก็น่าจะเป็นผลดีต่อไทย
พร้อมให้แนวรับ 1,805 จุด ส่วนแนวต้าน 1,818 จุด

ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (16 มี.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,946.51 จุด เพิ่มขึ้น 72.85 จุด (+0.29%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,752.01 จุด เพิ่มขึ้น 4.68 จุด (+0.17%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,481.99 จุด เพิ่มขึ้น 0.25 จุด (+0.00%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 138.61 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 4.95 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 131.50 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 22.89 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 1.98 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 3.81 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 0.53 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (16 มี.ค.61) 1,811.76 จุด ลดลง 4.32 จุด (-0.24%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,450.92 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 มี.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (16 มี.ค.61) ปิดที่ระดับ 62.34
ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 1.15 ดอลลาร์ หรือ 1.9%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (16 มี.ค.61) ที่ 7.16 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.24 คาดแกว่งในกรอบ 31.20-31.30 ตลาดจับตาการประชุมเฟดสัปดาห์นี้
- ขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยมีราคาประมาณ 17-18 บาท/กิโลกรัม ส่งผลให้ราคาขายปลีกเคลื่อนไหวในระดับ 21-21.50 บาท/กิโลกรัม โดยพบว่าหลังรัฐบาลลอยตัวราคาน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2560 ทำให้ราคาขายปลีกมีการแข่งขันมากขึ้น
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากระดับ 1.25-1.50% เป็น 1.50-1.75% ในการประชุมรอบที่สองของปีนี้ ในวันที่ 20-21 มีนาคม 2561 ทั้งนี้ ท่ามกลางปัจจัยที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับสูงกว่าระดับศักยภาพ โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่อัตราว่างงานมีโอกาสที่จะลดลงทำสถิติต่ำที่สุดในรอบกว่า 5 ทศวรรษ คงเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อนแรงเกินไป ขณะที่พัฒนาการของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างทรงตัวบ่งชี้ว่าเฟดยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งจังหวะของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน ช่วงนี้
- "พาณิชย์" งัด พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่ จัดการล้งผลไม้เอาเปรียบ หลังพบกดราคารับซื้อ หรือขอซื้อแบบเหมาสวม แต่ทิ้งสัญญา เตรียมตรวจสอบ หากพบผิดจริงฟันทันที ปรับ 10% ของมูลค่ายอดขายหรือจำคุก 2 ปี ส่วนการระบายผลไม้ เตรียมลงนาม MOU กับห้าง รับซื้อผลไม้ 5 หมื่นตัน มูลค่า 2.5 พันล้านบาท เพื่อช่วยระบายผลผลิตช่วงออกสู่ตลาดมาก
- การจัดตั้งกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ทีเอฟเอฟ) หรือไทยแลนด์ฟิวเจอร์ ฟันด์ วงเงิน 1 แสนล้านบาท ในส่วนของการระดมทุน 4.4 หมื่นล้านบาท จะไม่ล่าช้าไปกว่ากลางปีนี้ หลังจากที่ต้องเลื่อนมาหลายครั้งตั้งแต่ปลายปี 2560 เนื่องจากสหภาพแรงงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไปยื่นฟ้องศาลปกครองกลางให้พิจารณายกเลิกจัดตั้งกองทุนทีเอฟเอฟ
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เตรียมปรับโฉมศูนย์เอสเอ็มอี ไอทีซี ในพื้นที่ 10 นิคมอุตสาหกรรมใหม่ ให้ทันสมัยเช่นเดียวกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยี เพื่ออุตสาหกรรมแห่งมหานครโตเกียว หรือทีริ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อช่วยพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพของไทย ให้มีความรู้ ความสามารถ สร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ มารองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตได้ โดยจะใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ภายในเดือน ส.ค.นี้

*หุ้นเด่นวันนี้

- KBANK (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 264 บาท คาดว่ากำไรสุทธิปีนี้ จะเติบโต Y-Y ทุกไตรมาส จากแรงกดดันของการตั้งสำรองที่ลดลง โดยเฉพาะ Credit cost ที่จะต่ำสุดในรอบ 3 ปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และคุณภาพหนี้ที่แข็งแกร่งขึ้น โดยคาดกำไรสุทธิทั้งปีที่ 4.08 หมื่นล้านบาท +19% Y-Y ด้านราคาหุ้นปรับตัวลง 4% YTD สวนทาง Bank Index ที่ขึ้น 0.4% YTD ขณะที่ ยอด Short Sales เฉลี่ยต่อวัน มี.ค. 61 ลดลงชัดเจน โดยคิดเป็นเพียง 33% ของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ 109 ลบ.
- TACC (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 6 บาท บริษัทตั้งเป้ารายได้โต 10% Y-Y โดยจะเริ่มวางขายเครื่องดื่มโถกดสูตรใหม่น้ำตาลน้อยใน 7-11 ตั้งแต่ Q2/61 และจะวางขายเครื่องดื่มช็อคโกแลต Hershey’s เป็นโถกดถาวรด้วย รวมถึงการที่บริษัทได้รับ License ให้เป็นตัวแทนให้สิทธิ์ใช้ตัวการ์ตูน Rilakkuma ครอบคลุม 7 ประเทศ เป็นระยะเวลา 4 ปี ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ Q2/61 คาดว่าการโตของธุรกิจในประเทศจะช่วยชดเชยการแผ่วลงของธุรกิจในกัมพูชาได้ทั้งหมด ส่วนตลาดจีนยังติดปัญหาบางส่วน ทำให้การรับรู้รายได้ล่าช้าออกไป จึงยังคงประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ +11% Y-Y อยู่ที่ 125 ล้านบาท ระยะสั้นคาดกำไร Q1/61 ไม่สดใส แต่จะกลับมาโตดีตั้งแต่ Q2/61
- SCC (ยูโอบี เคย์เฮียน) ราคาหุ้นซื้อขายไม่แพงด้วย PER 10.68x ราคาหุ้นที่ Underperform ในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนแนวโน้มที่ผลการดำเนินงานจะถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นไปในระกับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ทำให้หุ้นกลายเป็น Laggard play และอาจเป็นเป้าหมาย switching ของนักลงทุนสถาบัน โดยคาดปันผล 10.50 บาท/หุ้น XD 4 เม.ย.61 จะช่วยค้ำยันราคาหุ้นได้
- SAWAD (เออีซี) "ซื้อ"เป้า 71 บาท ปี 61 คาดกำไรโต 38.4%YoY จากฐานลูกหนี้ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากดีมานด์ที่มีอยู่มากและแผนขยายสาขาอีก 300 สาขา บวกกับ NIM คาดผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วง Q4/60 รวมถึงค่าใช้จ่ายดำเนินงานคาดลดลง หลังพ้นช่วงปรับโครงสร้างเป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน + ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside 8%

ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ นักลงทุนจับตาการเมืองสหรัฐ-จีน
       ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบเช้านี้ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในสหรัฐ

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,537.90 จุด ลดลง 138.61 จุด, -0.64% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,264.93 จุด ลดลง 4.95 จุด, -0.15% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 31,370.47 จุด ลดลง 131.50 จุด, -0.42% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,004.81 จุด ลดลง 22.89 จุด, -0.21% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,491.99 จุด ลดลง 1.98 จุด, -0.08% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,515.95 จุด เพิ่มขึ้น 3.81 จุด, +0.11% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,846.92 จุด เพิ่มขึ้น 0.53 จุด, +0.03%

ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 102 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2547 โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 99.3 และสูงกว่าระดับ 99.9 ในเดือนก.พ.
ด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือน และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3%
อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐ หลังจากสื่อรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตัดสินใจปลดพลโท เฮอร์เบิร์ต เรย์มอนด์ แมคมาสเตอร์ ออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ รวมทั้งอาจมีการปลดพล.อ.จอห์น เคลลี หัวหน้าคณะทำงานประจำทำเนียบขาว ออกจากตำแหน่ง
นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 20-21 มี.ค.นี้ ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาการเมืองจีนอย่างใกล้ชิด หลังมีรายงานว่านายอี้ กัง ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางจีน แทนนายโจว เสี่ยวฉวน ที่จะเกษียณในเร็วๆนี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้เสนอชื่อนายอี้ต่อที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ชุดที่ 13 โดยที่ประชุมจะโหวตให้การรับรองตำแหน่งดังกล่าวในวันนี้

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 24.38 จุด รับเงินปอนด์อ่อน,ข้อมูลศก.สหรัฐสดใส
        ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (16 มี.ค.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงินปอนด์ ซึ่งช่วยหนุนหุ้นบริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 เดือน
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,164.14 จุด เพิ่มขึ้น 24.38 จุด หรือ +0.34%

การอ่อนค่าของเงินปอนด์ช่วยหนุนหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยในระหว่างการซื้อขายเมื่อคืนนี้ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.3889 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3936 ดอลลาร์
ทั้งนี้ รายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การอ่อนค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลในด้านบวกต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังได้รับปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ โดยผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 102 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2547 โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 99.3 และสูงกว่าระดับ 99.9 ในเดือนก.พ.
ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือน และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3% โดยได้แรงหนุนจากภาคก่อสร้าง, ภาคพลังงาน และเหมืองแร่
หุ้น NEX Group ทะยานขึ้น 30% หลังจากบริษัทยอมรับข้อเสนอการเทคโอเวอร์จาก CME Group
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านร่วงลง โดยหุ้นเทเลอร์ วิมพีย์ ดิ่งลง 1.4% และหุ้นเพอร์ซิมมอน ร่วงลง 1.3% ส่วนหุ้นเบอร์เคลีย์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ร่วงลง 5.4%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดบวก รับดาวโจนส์ดีดตัว,ข้อมูลศก.สหรัฐแข็งแกร่ง
       ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (16 มี.ค.) โดยได้ปัจจัยบวกจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ดีดตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 2 รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสูดในรอบ 14 ปี
ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.2% ปิดที่ 377.71 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,389.58 จุด เพิ่มขึ้น 44.02 จุด หรือ +0.36% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,164.14 จุด เพิ่มขึ้น 24.38 จุด หรือ +0.34% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,282.75 จุด เพิ่มขึ้น 15.49 จุด หรือ +0.29%
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ รวมทั้งขานรับรับปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ โดยผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 102 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2547 โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 99.3 และสูงกว่าระดับ 99.9 ในเดือนก.พ.
ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือน และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3% โดยได้แรงหนุนจากภาคก่อสร้าง, ภาคพลังงาน และเหมืองแร่
นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินยูโรยังช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทส่งออกในยุโรป
หุ้น NEX Group ทะยานขึ้น 30% หลังจากบริษัทยอมรับข้อเสนอการเทคโอเวอร์จาก CME Group
หุ้นอัลทิส ซึ่งเป็นบริษัทเทเลคอม พุ่งขึ้น 2.7% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้เพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/2560 พร้อมกับปรับเพิ่มแนวโน้มทางธุรกิจในตลาดฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านร่วงลง โดยหุ้นเทเลอร์ วิมพีย์ ดิ่งลง 1.4% และหุ้นเพอร์ซิมมอน ร่วงลง 1.3% ส่วนหุ้นเบอร์เคลีย์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ร่วงลง 5.4%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) ระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขั้นสุดท้ายของยูโรโซนชะลอตัวลงสู่ระดับ 1.1% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี โดยลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 1.2% และลดลงจากระดับ 1.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งการชะลอตัวของดัชนี CPI ได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงของราคาอาหาร
ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับหมวดพลังงานและอาหาร และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้ความสำคัญ ทรงตัวที่ระดับ 1.2% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี
ทั้งนี้ ดัชนี CPI ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของ ECB ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ ECB คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 1.4% ในปีนี้ และปีหน้า ก่อนที่จะพุ่งขึ้นแตะ 1.7% ในปี 2563

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 72.85 จุด รับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง
       ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (16 มี.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.ที่ขยายตัวแข็งแกร่งสุดในรอบ 4 เดือน อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในสหรัฐและผลกระทบของสงครามการค้า ยังคงสร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,946.51 จุด เพิ่มขึ้น 72.85 จุด หรือ +0.29% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,752.01 จุด เพิ่มขึ้น 4.68 จุด หรือ +0.17% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,481.99 จุด เพิ่มขึ้น 0.25 จุด หรือ +0.00%
ส่วนตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงราว 1.5% ดัชนี S&P ลดลง 1.2% และดัชนี Nasdaq ลดลง 1%
ดัชนีดาวโจนส์ดีดตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อวันศุกร์ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ โดยผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 102 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2547 โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 99.3 และสูงกว่าระดับ 99.9 ในเดือนก.พ.
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นที่พุ่งขึ้นในเดือนมี.ค.ได้แรงหนุนจากมุมมองเชิงบวกของผู้บริโภคต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ และฐานะการเงินส่วนบุคคล
ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือน และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3% โดยได้แรงหนุนจากภาคก่อสร้าง, ภาคพลังงาน และเหมืองแร่
หุ้นวอลมาร์ท พุ่งขึ้น 1.2% ส่วนหุ้นอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ปรับตัวขึ้น 1% ขานรับความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.ของสหรัฐที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี
หุ้นจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ขยับขึ้น 0.5% หลังจากจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันได้รับข้อเสนอจากบริษัทพลาตินัม อิควิตี้ เพื่อซื้อธุรกิจ "ไลฟ์สแกน" ซึ่งเป็นธุรกิจผลิตอุปกรณ์ตรวจน้ำตาลในเลือด ในวงเงิน 2.1 พันล้านดอลลาร์
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดีดตัวขึ้น โดยหุ้นอะโดบี ซิสเต็มส์ ดีดตัวขึ้น 3.1% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้และผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด ขณะที่หุ้นไมครอน เทคโนโลยี พุ่งขึ้น 3% หลังจากนักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายราคาหุ้นไมครอน เทคโนโลยี สู่ระดับ 100 ดอลลาร์ ส่วนหุ้นเวสเทิร์น ดิจิทัล ทะยานขึ้น 4.1% หลังจากนักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นเวสเทิร์น ดิจิทัล ขึ้นสู่ระดับ "outperform"
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ดีดตัวขึ้น 0.9% หุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี พุ่งขึ้น 1.3% และหุ้นฮัลลิเบอร์ตัน พุ่งขึ้น 1.3% เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐ หลังจากสื่อรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ตัดสินใจปลดพลโท เฮอร์เบิร์ต เรย์มอนด์ แมคมาสเตอร์ ออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ รวมทั้งอาจมีการปลดพล.อ.จอห์น เคลลี หัวหน้าคณะทำงานประจำทำเนียบขาว ออกจากตำแหน่ง
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ปธน.ทรัมป์ได้ประกาศปลดนายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งด้านนโยบายต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา โดยปธน.ทรัมป์ได้แต่งตั้งนายไมค์ ปอมเปโอ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (CIA) ให้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศแทนนายทิลเลอร์สัน และให้นางจีน่า แฮสเปล รองผอ.CIA ขึ้นเป็นผอ.CIA คนใหม่
นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ, โทรคมนาคม และสินค้าเพื่อผู้บริโภคจากจีน ในวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อตอบโต้การทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พยายามกดดันให้จีนปรับลดยอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐลง 1 แสนล้านดอลลาร์
นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 20-21 มี.ค.นี้ ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ และมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนมิ.ย. และครั้งที่ 3 ในเดือนก.ย.
--อินโฟเควสท์

OO6646

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!