- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Friday, 09 February 2018 13:29
- Hits: 781
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลงตามดาวโจนส์ดิ่งหลังวิตกเฟดขึ้นดบ.เร็วกว่าคาด,สนช.ผ่านร่างกม.อีอีซีพยุงตลาด
นักวิเคราะห์ฯคาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับลงตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังเมื่อคืนนี้ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงกว่า 1,000 จุด จากความกังวลเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด อย่างไรก็ตามการที่สนช.ผ่านร่างกฎหมายอีอีซีเมื่อวานนี้ ก็น่าจะเป็นปัจจัยช่วยประคองตลาดทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาได้บ้าง แต่ภาพรวมยังคงถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก รวมถึงนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย โดยมองแนวรับที่บริเวณ 1,760 จุด และแนวต้าน 1,785 จุด
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับลงตามดัชนีดาวโจนส์ที่ดิ่งลงอย่างหนักมากกว่า 1,000 จุดเมื่อคืนนี้ จากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
หลังจากนั้นตลาดอาจมีแรงซื้อกลับเข้ามาขานรับปัจจัยภายในประเทศที่เมื่อวานนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ก่อนจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศตามมา
อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการผ่านร่างกฎหมายอีอีซีดังกล่าว คงเกิดขึ้นในระยะกลางถึงยาว แต่ในช่วงสั้นภาพรวมตลาดยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศกดดันจากประเด็นทิศทางอัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทย
พร้อมให้แนวรับบริเวณ 1,760 จุด และแนวต้านที่ 1,785 จุด
นักวิเคราะห์ฯคาดตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับลงตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังเมื่อคืนนี้ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงกว่า 1,000 จุด จากความกังวลเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด อย่างไรก็ตามการที่สนช.ผ่านร่างกฎหมายอีอีซีเมื่อวานนี้ ก็น่าจะเป็นปัจจัยช่วยประคองตลาดทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาได้บ้าง แต่ภาพรวมยังคงถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก รวมถึงนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย โดยมองแนวรับที่บริเวณ 1,760 จุด และแนวต้าน 1,785 จุด
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับลงตามดัชนีดาวโจนส์ที่ดิ่งลงอย่างหนักมากกว่า 1,000 จุดเมื่อคืนนี้ จากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
หลังจากนั้นตลาดอาจมีแรงซื้อกลับเข้ามาขานรับปัจจัยภายในประเทศที่เมื่อวานนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ก่อนจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศตามมา
อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการผ่านร่างกฎหมายอีอีซีดังกล่าว คงเกิดขึ้นในระยะกลางถึงยาว แต่ในช่วงสั้นภาพรวมตลาดยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศกดดันจากประเด็นทิศทางอัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทย
พร้อมให้แนวรับบริเวณ 1,760 จุด และแนวต้านที่ 1,785 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (8 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,860.46 จุด ร่วงลง 1,032.89 จุด (-4.15%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,581.00 จุด ลดลง 100.66 จุด (-3.75%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,777.16 จุด ลดลง 274.82 จุด (-3.90%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 383.12 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 89.20 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 772.06 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 157.51 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 60.89 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 61.06 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 32.63 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 99.20 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (8 ก.พ.61) 1,786.66 จุด เพิ่มขึ้น 1.22 จุด (+0.07%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,337.31 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (8 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 61.15 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 64 เซนต์ หรือ 1%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (8 ก.พ.61) ที่ 6.97 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.85 ทิศทางยังอ่อนค่า มีลุ้นแตะ 32 จับตาตลาดหุ้นไทย-กระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย
- ก.ล.ต.เตรียมเสนอผลการรับฟังความเห็นการกำกับดูแลไอซีโอคาดได้ข้อสรุปมีนาคมนี้ พร้อมอยู่ระหว่างพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องร่วมกับหน่วยงานหลักภายใน 1 เดือน แนะผู้ลงทุนติดตามข้อมูลเป็นระยะ
- รมว.คลัง เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน (พ.ร.บ.PPP) ในเร็วๆ นี้ เพื่อเปิดทางให้เอกชนทั้งในและต่างชาติเข้ามายื่นเสนอก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่อีกหลายโครงการของรัฐได้เพิ่มเติม เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการลงทุนอีกหลายโครงการ และปีนี้เป็นปีแห่งการเริ่มลงทุนโครงการของรัฐจำนวนมาก
- สนช.โหวตเอกฉันท์ 170 เสียงผ่าน "กฎหมายอีอีซี" ฉลุย ไฟเขียว "รมว.กลาโหม" ร่วมนั่งบอร์ดคุมเศรษฐกิจ ระบุช่วยดูแลพื้นที่ชายแดนและทะเล "วิษณุ" ประกาศรัฐบาลเดินหน้าเต็มตัว ต่อยอดอีสเทิร์นซีบอร์ด "ประยุทธ์" โววางรากฐานเพื่ออนาคต "สมคิด" หนุน ม.ไทยเปิดวิทยาเขต อีอีซี
- ผอ.สบน. เปิดเผยว่า แผนการบริหารหนี้สาธารณะในปี 61 สบน.จะเน้นการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย เพื่อลดต้นทุน พร้อมกับเร่งชำระคืนหนี้ต่างประเทศที่มีต้นทุนสูงให้และเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ภายในประเทศทดแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน โดยที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ สบน.จึงได้เริ่มคืนเงินกู้ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า วงเงิน 3.65 หมื่นล้านบาท และหันมากู้ภายในประเทศแทน ซึ่งแม้ว่าในประเทศจะมีต้นทุนดอกเบี้ยสูงกว่า แต่ก็ปลอดภัยเพราะไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- กบง.คาดปีนี้ใช้ไฟสูงสุดที่ 3.1 หมื่นเมกะวัตต์ เผยกำลังปรับแผนพีดีพีให้สอดรับเทคโนโลยีนโยบายรัฐ เตรียมบังคับอาคาร 9 ประเภทออกแบบอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน
- ม.หอการค้าไทย เผยตรุษจีนคึกเงินสะพัด 5.6 หมื่นล้านบาท สูงสุดนับแต่เริ่มสำรวจเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ชี้ประชาชนแห่ซื้อของไหว้-ทำบุญเพิ่มขณะที่วาเลนไทน์ปีนี้ เงินสะพัดสูงสุดเช่นกัน ด้านกรุงเทพมหานครร่วมกับปศุสัตว์ ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการผลิตเนื้อสัตว์ปีก สร้างความมั่นใจผู้บริโภคช่วงตรุษจีน ส่วนบิ๊กซีพีเอฟคาดชุดไหว้ตรุษจีนปีนี้โต 10-15%
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (8 ก.พ.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,860.46 จุด ร่วงลง 1,032.89 จุด (-4.15%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,581.00 จุด ลดลง 100.66 จุด (-3.75%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,777.16 จุด ลดลง 274.82 จุด (-3.90%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 383.12 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 89.20 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 772.06 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 157.51 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 60.89 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 61.06 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 32.63 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 99.20 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (8 ก.พ.61) 1,786.66 จุด เพิ่มขึ้น 1.22 จุด (+0.07%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,337.31 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ก.พ.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (8 ก.พ.61) ปิดที่ระดับ 61.15 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 64 เซนต์ หรือ 1%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (8 ก.พ.61) ที่ 6.97 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.85 ทิศทางยังอ่อนค่า มีลุ้นแตะ 32 จับตาตลาดหุ้นไทย-กระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย
- ก.ล.ต.เตรียมเสนอผลการรับฟังความเห็นการกำกับดูแลไอซีโอคาดได้ข้อสรุปมีนาคมนี้ พร้อมอยู่ระหว่างพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องร่วมกับหน่วยงานหลักภายใน 1 เดือน แนะผู้ลงทุนติดตามข้อมูลเป็นระยะ
- รมว.คลัง เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน (พ.ร.บ.PPP) ในเร็วๆ นี้ เพื่อเปิดทางให้เอกชนทั้งในและต่างชาติเข้ามายื่นเสนอก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่อีกหลายโครงการของรัฐได้เพิ่มเติม เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการลงทุนอีกหลายโครงการ และปีนี้เป็นปีแห่งการเริ่มลงทุนโครงการของรัฐจำนวนมาก
- สนช.โหวตเอกฉันท์ 170 เสียงผ่าน "กฎหมายอีอีซี" ฉลุย ไฟเขียว "รมว.กลาโหม" ร่วมนั่งบอร์ดคุมเศรษฐกิจ ระบุช่วยดูแลพื้นที่ชายแดนและทะเล "วิษณุ" ประกาศรัฐบาลเดินหน้าเต็มตัว ต่อยอดอีสเทิร์นซีบอร์ด "ประยุทธ์" โววางรากฐานเพื่ออนาคต "สมคิด" หนุน ม.ไทยเปิดวิทยาเขต อีอีซี
- ผอ.สบน. เปิดเผยว่า แผนการบริหารหนี้สาธารณะในปี 61 สบน.จะเน้นการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย เพื่อลดต้นทุน พร้อมกับเร่งชำระคืนหนี้ต่างประเทศที่มีต้นทุนสูงให้และเปลี่ยนมาใช้เงินกู้ภายในประเทศทดแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน โดยที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ สบน.จึงได้เริ่มคืนเงินกู้ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า วงเงิน 3.65 หมื่นล้านบาท และหันมากู้ภายในประเทศแทน ซึ่งแม้ว่าในประเทศจะมีต้นทุนดอกเบี้ยสูงกว่า แต่ก็ปลอดภัยเพราะไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- กบง.คาดปีนี้ใช้ไฟสูงสุดที่ 3.1 หมื่นเมกะวัตต์ เผยกำลังปรับแผนพีดีพีให้สอดรับเทคโนโลยีนโยบายรัฐ เตรียมบังคับอาคาร 9 ประเภทออกแบบอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน
- ม.หอการค้าไทย เผยตรุษจีนคึกเงินสะพัด 5.6 หมื่นล้านบาท สูงสุดนับแต่เริ่มสำรวจเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ชี้ประชาชนแห่ซื้อของไหว้-ทำบุญเพิ่มขณะที่วาเลนไทน์ปีนี้ เงินสะพัดสูงสุดเช่นกัน ด้านกรุงเทพมหานครร่วมกับปศุสัตว์ ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการผลิตเนื้อสัตว์ปีก สร้างความมั่นใจผู้บริโภคช่วงตรุษจีน ส่วนบิ๊กซีพีเอฟคาดชุดไหว้ตรุษจีนปีนี้โต 10-15%
*หุ้นเด่นวันนี้
- ROJNA (เคทีบีฯ) หลังบอร์ดมีมติขายหุ้นทั้งหมด TICON ที่ถืออยู่ทั้งหมด 478.7 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 26.10% ให้กับ "กลุ่มเฟรเซอร์ส" ของ "เสี่ยเจริญ" ในราคาขายหุ้นละ 17.90 บาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย.61 ซึ่งข่าวดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อผลการดำเนินงานของ ROJNA ปี 61 โดยบริษัทได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นแบบมีเงื่อนไข ในวันนี้ โดยคาดว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิหลังภาษีเพิ่มขึ้นประมาณ 1.39 พันล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.69 บาท
- SC (ไอร่า) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมายปี 61 ที่ 4.50 บาท โดยมีมุมมองเชิงบวกต่อแผนการปรับกลยุทธ ปรับพอร์ต ขยายการพัฒนาลงสู่พื้นที่ใหม่ในเขตต่างจังหวัด พร้อมร่วมมือกับพันธมิตร พัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า หนุนการเติบโตให้บริษัทมีความแข็งแกร่งในระยะยาว พร้อมคาดผลกำไรสุทธิปี 61 ของ SC จะกลับมาเติบโตโดดเด่น 50% หลังได้รับแรงหนุนจากแผนการส่งมอบ 2 โครงการคอนโดมิเนียมระดับหรู และการขายโอนโครงการแนวราบที่บริษัทถนัด ที่มองจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีหลังขยายพอร์ต และปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าให้ทันสมัย
- LHBANK (เคทีบีฯ) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 1.92 บาท ประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ตั้งเป้าการเติบโตสินเชื่อปี 61 เพิ่มขึ้น 10-15% YoY (ใกล้เคียงกับคาดที่ 10% YoY) ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่โตได้ดี โดยจะมาจากสินเชื่อรายใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตมากขึ้น ส่วนการเป็น partner กับ CTBC น่าจะเห็น synergy ปลายปี 61 โดยเฉพาะ Trade Finance และ Digital Banking จะช่วยหนุนให้มีสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น แต่เคทีบีฯปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 61 ลง 4% โดยปรับ credit cost เพิ่มขึ้นอีก 10bps จาก IFRS9 ขณะที่คาดว่าการเข้ามาของ CTBC จะส่งผลให้สินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องในระยะยาว ดังนั้น จึงแนะนำ "ซื้อ" แต่เป็นการซื้อเพื่อการลงทุนในระยะยาว เพื่อรอ synergy ที่จะมีจาก CTBC ซึ่งจะเริ่มเห็นผลช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป
- BIG (กสิกรไทย) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 4.70 บาท คาดกำไรไตรมาส 4/60 ที่ 234 ล้านบาท หรือโตขึ้น 78.9% QoQ แต่ลดลง 22.2% YoY เชื่อยอดขายที่สูงขึ้น QoQ จากทั้งยอดขายกล้องและมือถือหนุน ขณะที่การลดลง YoY หลักๆ น่าจะมาจากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลดลง แต่คาดจะไม่มีการตั้งสำรองเพิ่มเติมสินค้าล้าสมัยในไตรมาส 4/60 หลังจากที่ได้ตั้งไปแล้ว 14 ล้านบาทในไตรมาส 2/60 ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการเนื่องจากเห็น downside 12.2% ต่อประมาณการกำไรปี 60 ที่ 866 ล้านบาท อิงจากประมาณการกำไรไตรมาส 4/60 ของที่ 224 ล้านบาท
- SC (ไอร่า) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมายปี 61 ที่ 4.50 บาท โดยมีมุมมองเชิงบวกต่อแผนการปรับกลยุทธ ปรับพอร์ต ขยายการพัฒนาลงสู่พื้นที่ใหม่ในเขตต่างจังหวัด พร้อมร่วมมือกับพันธมิตร พัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า หนุนการเติบโตให้บริษัทมีความแข็งแกร่งในระยะยาว พร้อมคาดผลกำไรสุทธิปี 61 ของ SC จะกลับมาเติบโตโดดเด่น 50% หลังได้รับแรงหนุนจากแผนการส่งมอบ 2 โครงการคอนโดมิเนียมระดับหรู และการขายโอนโครงการแนวราบที่บริษัทถนัด ที่มองจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีหลังขยายพอร์ต และปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าให้ทันสมัย
- LHBANK (เคทีบีฯ) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 1.92 บาท ประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ตั้งเป้าการเติบโตสินเชื่อปี 61 เพิ่มขึ้น 10-15% YoY (ใกล้เคียงกับคาดที่ 10% YoY) ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่โตได้ดี โดยจะมาจากสินเชื่อรายใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตมากขึ้น ส่วนการเป็น partner กับ CTBC น่าจะเห็น synergy ปลายปี 61 โดยเฉพาะ Trade Finance และ Digital Banking จะช่วยหนุนให้มีสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น แต่เคทีบีฯปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 61 ลง 4% โดยปรับ credit cost เพิ่มขึ้นอีก 10bps จาก IFRS9 ขณะที่คาดว่าการเข้ามาของ CTBC จะส่งผลให้สินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องในระยะยาว ดังนั้น จึงแนะนำ "ซื้อ" แต่เป็นการซื้อเพื่อการลงทุนในระยะยาว เพื่อรอ synergy ที่จะมีจาก CTBC ซึ่งจะเริ่มเห็นผลช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป
- BIG (กสิกรไทย) แนะ"ซื้อ"ให้ราคาเป้าหมาย 4.70 บาท คาดกำไรไตรมาส 4/60 ที่ 234 ล้านบาท หรือโตขึ้น 78.9% QoQ แต่ลดลง 22.2% YoY เชื่อยอดขายที่สูงขึ้น QoQ จากทั้งยอดขายกล้องและมือถือหนุน ขณะที่การลดลง YoY หลักๆ น่าจะมาจากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลดลง แต่คาดจะไม่มีการตั้งสำรองเพิ่มเติมสินค้าล้าสมัยในไตรมาส 4/60 หลังจากที่ได้ตั้งไปแล้ว 14 ล้านบาทในไตรมาส 2/60 ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการเนื่องจากเห็น downside 12.2% ต่อประมาณการกำไรปี 60 ที่ 866 ล้านบาท อิงจากประมาณการกำไรไตรมาส 4/60 ของที่ 224 ล้านบาท
ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ หลังดาวโจนส์ดิ่งลงกว่า 1,000 จุด
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 1,000 จุดเมื่อคืน ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนอย่างหนัก หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการลงมติร่างกฎหมายงบประมาณของวุฒิสภาสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล หรือชัตดาวน์
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,507.74 จุด ลดลง 383.12 จุด, -1.75% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,172.85 จุด ลดลง 89.20 จุด, -2.73% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 29,679.21 จุด ลดลง 772.06 จุด, -2.54% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,371.01 จุด ลดลง 157.51 จุด, -1.50% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,346.73 จุด ลดลง 60.89 จุด, -2.53% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,354.84 จุด ลดลง 61.06 จุด, -1.79% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,806.81 จุด ลดลง 32.63 จุด, -1.77% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 8,545.88 จุด ลดลง 99.20 จุด, -1.15%
นักลงทุนตื่นตระหนกต่อกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดในปีนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีเมื่อคืนนี้ อันเนื่องมาจากข้อมูลแรงงานล่าสุดของสหรัฐที่ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.878% ซึ่งใกล้แตะระดับสูงสุดในนรอบ 4 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.164% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปี สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 232,000 ราย
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองในสหรัฐ โดยนักลงทุนจับตาวุฒิสภาสหรัฐซึ่งกำลังลงมติร่างกฎหมายงบประมาณในขณะนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาชัตดาวน์ โดยหากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าว ก็จะมีการส่งต่อไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้การอนุมัติต่อไป ก่อนที่จะให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามรับรองเป็นกฎหมาย
ทั้งนี้ หากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายงบประมาณภายในเวลาเที่ยงของวันนี้ตามเวลาไทย สหรัฐก็จะเผชิญภาวะชัตดาวน์อีกครั้ง หลังจากที่เกิดการชัตดาวน์เป็นเวลา 3 วันในเดือนที่แล้ว
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 1,000 จุดเมื่อคืน ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนอย่างหนัก หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการลงมติร่างกฎหมายงบประมาณของวุฒิสภาสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล หรือชัตดาวน์
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 21,507.74 จุด ลดลง 383.12 จุด, -1.75% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,172.85 จุด ลดลง 89.20 จุด, -2.73% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 29,679.21 จุด ลดลง 772.06 จุด, -2.54% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,371.01 จุด ลดลง 157.51 จุด, -1.50% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,346.73 จุด ลดลง 60.89 จุด, -2.53% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,354.84 จุด ลดลง 61.06 จุด, -1.79% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,806.81 จุด ลดลง 32.63 จุด, -1.77% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 8,545.88 จุด ลดลง 99.20 จุด, -1.15%
นักลงทุนตื่นตระหนกต่อกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดในปีนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีเมื่อคืนนี้ อันเนื่องมาจากข้อมูลแรงงานล่าสุดของสหรัฐที่ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.878% ซึ่งใกล้แตะระดับสูงสุดในนรอบ 4 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.164% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปี สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 232,000 ราย
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองในสหรัฐ โดยนักลงทุนจับตาวุฒิสภาสหรัฐซึ่งกำลังลงมติร่างกฎหมายงบประมาณในขณะนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาชัตดาวน์ โดยหากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าว ก็จะมีการส่งต่อไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้การอนุมัติต่อไป ก่อนที่จะให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามรับรองเป็นกฎหมาย
ทั้งนี้ หากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายงบประมาณภายในเวลาเที่ยงของวันนี้ตามเวลาไทย สหรัฐก็จะเผชิญภาวะชัตดาวน์อีกครั้ง หลังจากที่เกิดการชัตดาวน์เป็นเวลา 3 วันในเดือนที่แล้ว
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดร่วง 108.73 จุด เหตุเงินปอนด์แข็งหลังแบงก์ชาติอังกฤษส่งสัญญาณขึ้นดบ.
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) โดยบรรยากาศการซื้อขายได้รับปัจจัยลบจากเงินปอนด์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางอังกฤษส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มเหมืองแร่
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,170.69 จุด ลดลง 108.73 จุด หรือ -1.49%
เงินปอนด์ดีดตัวขึ้นแข็งแกร่งที่ระดับ 1.4066 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ จากวันพุธที่ระดับ 1.3882 ดอลลาร์ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษได้ส่งสัญญาณว่า ธนาคารกลางอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและถี่กว่าที่คาดไว้ หากเศรษฐกิจปรับตัวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธนาคารกลาง เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายอย่างยั่งยืน
ส่วนในการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษเมื่อวานนี้ ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษ โดยระบุว่า เศรษฐกิจจะมีการขยายตัวเฉลี่ยปีละ 1.75% ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันคาดว่า ค่าจ้างจะขยายตัวแตะระดับ 3% ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมาย 2% โดยอยู่ที่ระดับ 2.11% ภายในช่วงเวลา 3 ปี
ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์ได้สร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 2.1% ขณะที่หุ้นบีพี ปรับตัวลง 0.8%
ส่วนหุ้นเหมืองแร่ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นอันโตฟากัสตา ดิ่งลง 2.5% หุ้นเกลนคอร์ ร่วงลง 3.3% และหุ้นริโอทินโต ปรับตัวลง 3.2%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) โดยบรรยากาศการซื้อขายได้รับปัจจัยลบจากเงินปอนด์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางอังกฤษส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มเหมืองแร่
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,170.69 จุด ลดลง 108.73 จุด หรือ -1.49%
เงินปอนด์ดีดตัวขึ้นแข็งแกร่งที่ระดับ 1.4066 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ จากวันพุธที่ระดับ 1.3882 ดอลลาร์ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษได้ส่งสัญญาณว่า ธนาคารกลางอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและถี่กว่าที่คาดไว้ หากเศรษฐกิจปรับตัวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธนาคารกลาง เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายอย่างยั่งยืน
ส่วนในการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษเมื่อวานนี้ ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษ โดยระบุว่า เศรษฐกิจจะมีการขยายตัวเฉลี่ยปีละ 1.75% ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันคาดว่า ค่าจ้างจะขยายตัวแตะระดับ 3% ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมาย 2% โดยอยู่ที่ระดับ 2.11% ภายในช่วงเวลา 3 ปี
ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์ได้สร้างแรงกดดันต่อหุ้นของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในดัชนี FTSE 100 โดยรายได้ 75% ของบริษัทข้ามชาติที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การแข็งค่าของเงินปอนด์จึงส่งผลกระทบต่อหุ้นของบริษัทเหล่านี้
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 2.1% ขณะที่หุ้นบีพี ปรับตัวลง 0.8%
ส่วนหุ้นเหมืองแร่ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นอันโตฟากัสตา ดิ่งลง 2.5% หุ้นเกลนคอร์ ร่วงลง 3.3% และหุ้นริโอทินโต ปรับตัวลง 3.2%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดร่วง วิตกตลาดหุ้นสหรัฐทรุดหนัก,ราคาน้ำมันดิ่งฉุดหุ้นพลังงาน
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นสหรัฐ อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.6% ปิดที่ 374.03 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,151.68 จุด ลดลง 104.22 จุด หรือ -1.98% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,260.29 จุด ลดลง 330.14 จุด หรือ -2.62% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,170.69 จุด ลดลง 108.73 จุด หรือ -1.49%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงไปกว่า 1,000 จุดเมื่อคืนนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่า เฟด อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.878% ซึ่งใกล้แตะระดับสูงสุดในนรอบ 4 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.164% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปี สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 232,000 ราย
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 2.1% ขณะที่หุ้นบีพี ปรับตัวลง 0.8% และหุ้นลันดิน ปิโตรเลียม ร่วงลง 2.4%
ส่วนหุ้นเหมืองแร่ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลง 2.5% หุ้นแรนด์โกลด์ รีซอสเซส ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองทองคำรายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 2.4% หุ้นอันโตฟากัสตา ดิ่งลง 2.5% หุ้นเกลนคอร์ ร่วงลง 3.3% และหุ้นริโอทินโต ปรับตัวลง 3.2%
หุ้นธนาคารโซซิเอเต เจเนอราล (ซอคเจน) ดีดตัวขึ้น 2% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 69 ล้านยูโร หรือประมาณ 85.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นสหรัฐ อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.6% ปิดที่ 374.03 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,151.68 จุด ลดลง 104.22 จุด หรือ -1.98% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,260.29 จุด ลดลง 330.14 จุด หรือ -2.62% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,170.69 จุด ลดลง 108.73 จุด หรือ -1.49%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงไปกว่า 1,000 จุดเมื่อคืนนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่า เฟด อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.878% ซึ่งใกล้แตะระดับสูงสุดในนรอบ 4 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.164% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปี สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 232,000 ราย
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วงลง 2.1% ขณะที่หุ้นบีพี ปรับตัวลง 0.8% และหุ้นลันดิน ปิโตรเลียม ร่วงลง 2.4%
ส่วนหุ้นเหมืองแร่ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ร่วงลง 2.5% หุ้นแรนด์โกลด์ รีซอสเซส ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองทองคำรายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 2.4% หุ้นอันโตฟากัสตา ดิ่งลง 2.5% หุ้นเกลนคอร์ ร่วงลง 3.3% และหุ้นริโอทินโต ปรับตัวลง 3.2%
หุ้นธนาคารโซซิเอเต เจเนอราล (ซอคเจน) ดีดตัวขึ้น 2% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 69 ล้านยูโร หรือประมาณ 85.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 1,032.89 จุด วิตกบอนด์ยีลด์พุ่งหนุนเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 1,000 จุดเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนอย่างหนัก หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะเดียวกันนักลงทุนจับการลงมติร่างกฎหมายงบประมาณของวุฒิสภาสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล หรือชัตดาวน์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,860.46 จุด ร่วงลง 1,032.89 จุด หรือ -4.15% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,581.00 จุด ลดลง 100.66 จุด หรือ -3.75% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,777.16 จุด ลดลง 274.82 จุด หรือ -3.90%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กผันผวนอย่างหนักเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกต่อกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดในปีนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีเมื่อคืนนี้ อันเนื่องมาจากข้อมูลแรงงานล่าสุดของสหรัฐที่ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.878% ซึ่งใกล้แตะระดับสูงสุดในนรอบ 4 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.164% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปี สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 232,000 ราย
นายแพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เขาเปิดกว้างต่อการที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. พร้อมกับคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แต่เฟดก็อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 โดยขึ้นอยู่กับว่าอัตราเงินเฟ้อได้ดีดตัวขึ้นต่อไปหรือไม่ และสภาวะการเงินยังคงผ่อนคลายหรือไม่
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองในสหรัฐ โดยนักลงทุนจับตาวุฒิสภาสหรัฐซึ่งกำลังลงมติร่างกฎหมายงบประมาณในขณะนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาชัตดาวน์ โดยหากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าว ก็จะมีการส่งต่อไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้การอนุมัติต่อไป ก่อนที่จะให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามรับรองเป็นกฎหมาย
ทั้งนี้ หากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายงบประมาณภายในเวลาเที่ยงของวันนี้ตามเวลาไทย สหรัฐก็จะเผชิญภาวะชัตดาวน์อีกครั้ง หลังจากที่เกิดการชัตดาวน์เป็นเวลา 3 วันในเดือนที่แล้ว
หุ้นเทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของสหรัฐ ร่วงลง 8.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 675 ล้านดอลลาร์ หรือ 4.01 ดอลลาร์ต่อหุ้น
หุ้นทเวนตี้ เฟิร์สต์ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ ดิ่งลง 4.2% แม้บริษทเปิดเผยกำไรและรายได้ในไตรมาส 4/2560 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม
หุ้นยัม แบรนด์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของพิซซ่า ฮัท, เคนตั๊กกี ฟรายชิกเก้น (KFC) และทาโก เบล ร่วงลง 4.8% หลังจากยัม แบรนด์ และบริษัทกรุ๊บฮับ อิงค์ ได้ประกาศเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในสหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นยอดขายทางออนไลน์และบริการจัดส่งอาหารของร้านในเครือยัม แบรนด์ อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นกรุ๊บฮับ ทะยานขึ้น 27%
ส่วนหุ้นทวิตเตอร์ พุ่งขึ้น 12% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 19 เซนต์/หุ้น สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 14 เซนต์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ระดับ 732 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 686 ล้านดอลลาร์
หุ้นเคลล็อก ผู้ผลิตและจำหน่ายซีเรียลชื่อดังของสหรัฐ ดีดตัวขึ้น 2.8% หลังจากบริษัทสามารถพลิกกลับมาทำกำไรในไตรมาส 4/2560 ได้ถึง 428 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.23 ดอลลาร์/หุ้น จากไตรมาส 4/2559 ที่ขาดทุน 53 ล้านดอลลาร์ หรือ 15 เซนต์/หุ้น
--อินโฟเควสท์
OO5398
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 1,000 จุดเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนอย่างหนัก หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะเดียวกันนักลงทุนจับการลงมติร่างกฎหมายงบประมาณของวุฒิสภาสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล หรือชัตดาวน์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,860.46 จุด ร่วงลง 1,032.89 จุด หรือ -4.15% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,581.00 จุด ลดลง 100.66 จุด หรือ -3.75% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,777.16 จุด ลดลง 274.82 จุด หรือ -3.90%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กผันผวนอย่างหนักเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกต่อกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดในปีนี้ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีเมื่อคืนนี้ อันเนื่องมาจากข้อมูลแรงงานล่าสุดของสหรัฐที่ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.878% ซึ่งใกล้แตะระดับสูงสุดในนรอบ 4 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.164% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปี สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 232,000 ราย
นายแพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เขาเปิดกว้างต่อการที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. พร้อมกับคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แต่เฟดก็อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 โดยขึ้นอยู่กับว่าอัตราเงินเฟ้อได้ดีดตัวขึ้นต่อไปหรือไม่ และสภาวะการเงินยังคงผ่อนคลายหรือไม่
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองในสหรัฐ โดยนักลงทุนจับตาวุฒิสภาสหรัฐซึ่งกำลังลงมติร่างกฎหมายงบประมาณในขณะนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาชัตดาวน์ โดยหากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าว ก็จะมีการส่งต่อไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้การอนุมัติต่อไป ก่อนที่จะให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามรับรองเป็นกฎหมาย
ทั้งนี้ หากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับร่างกฎหมายงบประมาณภายในเวลาเที่ยงของวันนี้ตามเวลาไทย สหรัฐก็จะเผชิญภาวะชัตดาวน์อีกครั้ง หลังจากที่เกิดการชัตดาวน์เป็นเวลา 3 วันในเดือนที่แล้ว
หุ้นเทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของสหรัฐ ร่วงลง 8.6% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 675 ล้านดอลลาร์ หรือ 4.01 ดอลลาร์ต่อหุ้น
หุ้นทเวนตี้ เฟิร์สต์ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ ดิ่งลง 4.2% แม้บริษทเปิดเผยกำไรและรายได้ในไตรมาส 4/2560 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม
หุ้นยัม แบรนด์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของพิซซ่า ฮัท, เคนตั๊กกี ฟรายชิกเก้น (KFC) และทาโก เบล ร่วงลง 4.8% หลังจากยัม แบรนด์ และบริษัทกรุ๊บฮับ อิงค์ ได้ประกาศเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในสหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นยอดขายทางออนไลน์และบริการจัดส่งอาหารของร้านในเครือยัม แบรนด์ อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นกรุ๊บฮับ ทะยานขึ้น 27%
ส่วนหุ้นทวิตเตอร์ พุ่งขึ้น 12% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรในไตรมาส 4/2560 ที่ระดับ 19 เซนต์/หุ้น สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 14 เซนต์/หุ้น และรายได้อยู่ที่ระดับ 732 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 686 ล้านดอลลาร์
หุ้นเคลล็อก ผู้ผลิตและจำหน่ายซีเรียลชื่อดังของสหรัฐ ดีดตัวขึ้น 2.8% หลังจากบริษัทสามารถพลิกกลับมาทำกำไรในไตรมาส 4/2560 ได้ถึง 428 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.23 ดอลลาร์/หุ้น จากไตรมาส 4/2559 ที่ขาดทุน 53 ล้านดอลลาร์ หรือ 15 เซนต์/หุ้น
--อินโฟเควสท์
OO5398