WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7 ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับฐานตามตลาดหุ้นทั่วโลก เหตุ Bond yield สหรัฐฯพุ่งแรง-หวั่นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับฐานลง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างปรับตัวลงกันหมด ตามตลาดสหรัฐฯที่ปรับตัวลง เนื่องจากมีความกังวลอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ (Bond yield) อายุ 10 ที่พุ่งขึ้นสูงมากทะลุ 2.7% สูงสุดเกือบ 4 ปีนับตั้งแต่เม.ย.57 ส่งผลให้มีความกังวลในทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่อาจจะปรับสูงขึ้นกว่าคาด โดยมีการคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ถึง 4 ครั้ง หรือไม่ ซึ่งก็จะส่งผลให้มีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมา รวมถึงหุ้นด้วย
นอกจากนี้ "โกลดฺ์แมน แซคส์" ก็ออกมาบอกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯร้อนแรงเกินไป ควรจะปรับฐานบ้าง และเมื่อคืนที่ผ่านมาราคาน้ำมันก็ปรับตัวลงด้วย รวมไปถึงบริษัท แอปเปิล อิงค์ มองว่าความต้องการ iPhone X น้อยลงกว่าคาดไว้ ทำให้เป็นปัจจัยลบ และจากความกังวลนี้ทำให้ตลาดฯน่าจะเริ่มปรับฐานได้
พร้อมกันนี้ให้ติดตามการประชุมเฟดในวันที่ 30-31 ม.ค.นี้ ซึ่งรอบนี้ก็คงจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย โดยให้แนวรับ 1,825 จุด ส่วนแนวต้าน 1,848 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
-ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (29 ม.ค.61) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,439.48 จุด ร่วงลง 177.23 จุด (-0.67%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,853.53 จุด ลดลง 19.34 จุด (-0.67%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,466.51 จุด ลดลง 39.27 จุด (-0.52%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 70.01 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 11.50 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 215.17 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 32.24 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 7.78 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 13.13 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 5.17 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (29 ม.ค.61) 1,837.49 จุด เพิ่มขึ้น 8.61 จุด (+0.47%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 356.44 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 ม.ค.61
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มี.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (29 ม.ค.61) ปิดที่ระดับ 65.56ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 58 เซนต์ หรือ 0.9%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (29 ม.ค.61) ที่ 7.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 31.45 อ่อนค่าตามภูมิภาค หลังมีแรงซื้อดอลล์ นักลงทุนจับตาการประชุมเฟด
- "สมคิด" หวังอีอีซีสร้างจุดเด่นไทย ดึงนักลงทุนต่างชาติ หลังอาเซียนทวีความสำคัญทั้งการเมือง-เศรษฐกิจ ด้าน "คณิศ" เผยบอร์ดบีโอไอ เพิ่มเป้าขอรับส่งเสริมลงทุนอีอีซีปีนี้ ทะลุ 2.5 แสนล้านบาท พร้อมดึงบิ๊กธุรกิจไทย ประสานนักลงทุนต่างชาติ ดันลงทุนอีอีซี มั่นใจกฎหมายคลอดก.พ.นี้
- สศค. ปรับเป้าจีดีพีปี 61 โต 4.2% จากเดิม 3.8% โดยมีแรงขับเคลื่อนจากงบลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ ส่วนการลงทุนในภาคเอกชนจะขยายตัวที่ 3.8% ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.2% พร้อมเชื่อมั่นบาทแข็งและการเลื่อนเลือกตั้งจะไม่กระทบความเชื่อมันของนักลงทุน ส่วนปี 60 คาดการณ์ขยายตัว 4% โตสุดในรอบ 5 ปี
- ความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าของรฟม. ว่าปีนี้จะประกวดราคาเพื่อก่อสร้างอีก 2 สาย คือสายสีม่วงด้านใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ ระยะทาง 12.9 กม. วงเงินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 62
- คมนาคมเร่งโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ดันรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 8 โครงการกว่า 3.98 แสนล้านบาท เข้า ครม. ก.พ.นี้ พร้อมชงศูนย์ซ่อมเครื่องบินหมื่นล้านบาทเข้าบอร์ด อีอีซี-ดันรถไฟไอสปรีดเทรน กรุงเทพฯ-หัวหิน เข้า สคร. 1 ก.พ.นี้

*หุ้นเด่นวันนี้

- AMATA (เคทีบี) เป้า 30 บาท จากประเด็นการปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งเสริม BOI ในพื้นที่ EEC เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านบาท จากเดิมคาดไว้ที่ 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมามากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเห็นการรีบาวด์ได้
- BDMS (ยูโอบี เคย์เฮียน) คาดรายงานผลประกอบการไตรมาส 4/60 ออกมาดี และเข้าสู่ high season ของผลประกอบการไตรมาส 1 ราคาหุ้น Underperform และ Underowned ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้หุ้นมีความ defensive ในภาวะตลาดที่ผันผวน
- HANA (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 54 บาท ราคาหุ้นอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ HANA มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีเงินปันผลรองรับ คาด Div.Yield ประมาณ 4.6% พร้อมคาดกำไรงวด Q4/60 อ่อนตัวจากผลของฤดูกาลและอัตราแลกเปลี่ยน แต่ภาพอุตสาหกรรมยังคงแข็งแกร่งทั้ง IC และ PCBA ทำให้เชื่อว่าธุรกิจจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในปี 61 และคาดการตัด GSP และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลกระทบจำกัด แต่แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
- PTTGC (เอเอสแอล) "ซื้อ"เป้า 111 บาท ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่ม จะยิ่งทำให้ Gas base Producer อย่าง PTTGC มีความได้เปรียบ โดยได้ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบและราคา HDPE ทำให้กำไรสุทธิปี 61 เพิ่มขึ้น 14% จากเดิมเป็น 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%YoY มองว่า PTTGC ยังมีความน่าสนใจในการลงทุนจาก (1) การคาดหมายกำไรสุทธิ Q4/60 ที่แข็งแกร่ง (2) Demand จากจีนในระยะสั้น (3) กำไรสุทธิปี 61 ที่เติบโตต่อเนื่อง และ (4) เงินปันผลที่น่าสนใจ

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ หลังวอลล์สตรีทร่วง เหตุวิตกอัตราดอกเบี้ย
         ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงเมื่อคืน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทะยานขึ้นเมื่อคืนนี้
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 23,559.33 จุด ลดลง 70.01 จุด, -0.30% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,511.50 จุด ลดลง 11.50 จุด, -0.33% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 32,751.72 จุด ลดลง 215.17 จุด, -0.65% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 11,189.57 จุด ลดลง 32.24 จุด, -0.29% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,590.41 จุด ลดลง 7.78 จุด, -0.30% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,563.94 จุด ลดลง 13.13 จุด, -0.37% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,865.35 จุด ลดลง 5.17 จุด, -0.28%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับ 2.716% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2557 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 2.954%
ทั้งนี้ การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง เช่นหุ้น ปรับตัวลดลง ส่วนปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นนั้น มาจากจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวที่แข็งแกร่ง และเงินเฟ้อจะดีดตัวขึ้น
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุ 10 ปี พุ่งทะลุระดับ 2.7% เมื่อคืนนี้ จะเป็นการปูทางไปสู่ระดับ 2.8% ต่อไป ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุ 30 ปี มีแนวโน้มดีดตัวสู่ระดับ 3.0%
นอกจากนี้ ตลาดการเงินได้เพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 26% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 23% ในวันศุกร์ และ 10% ในเดือนที่แล้ว

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 5.99 จุด รับเงินปอนด์อ่อน,หุ้นเหมืองแร่พุ่ง
       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (29 ม.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินปอนด์ และจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่
ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,671.53 จุด เพิ่มขึ้น 5.99 จุด หรือ +0.08%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 หลังจากเงินปอนด์อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 1.4032 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.4160 ดอลลาร์ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทข้ามชาติ
นักลงทุนยังคงขานรับรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) ซึ่งระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 4/2560 มีการขยายตัว 0.5% เมื่อเทียบรายไตรมาส และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.4% โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน พุ่งขึ้น 1.2% หลังจากบริษัทได้ตัดสินใจขายโครงการเหมืองถ่านหินนิว ลาร์โก และโอลด์ ลาร์โก ในแอฟริกาใต้ คิดเป็นมูลค่าราว 71.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่หุ้นเกลนคอร์ รีซอสเซส พุ่งขึ้น 3.3% และหุ้นริโอทินโต ปรับตัวขึ้น 2.1%
หุ้นแอสทราเซเนกา ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ ปรับตัวลง 0.2% เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์ ภายหลังจากที่บริษัทได้เปิดตัวยารักษาโรคปอด

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นกลุ่มแบงก์ร่วง ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ
       ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (29 ม.ค.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ดีดตัวขึ้น ซึ่งช่วยลดแรงลบของตลาดในระหว่างวัน หลังจากบริษัทเอเอ็มเอส เอจี ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ เปิดเผยผลประกอบการที่สดใส
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.2% ปิดที่ 399.79 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,324.48 จุด ลดลง 15.69 จุด หรือ -0.12% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,521.59 จุด ลดลง 7.56 จุด หรือ -0.14% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,671.53 จุด เพิ่มขึ้น 5.99 จุด หรือ +0.08%
หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง โดยหุ้นคอมเมิร์ซแบงก์ ร่วงลง 1.9% ส่วนหุ้นบังเกีย ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของสเปน ดิ่งลง 4.3% หลังจากธนาคารเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 4/2560 ที่น้อยกว่าคาดการณ์
หุ้นแอสทราเซเนกา ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ ปรับตัวลง 0.2% เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์ ภายหลังจากที่บริษัทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคปอด
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ดีดตัวขึ้น หลังจากจากบริษัทเอเอ็มเอส เอจี ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ เปิดเผยผลประกอบการที่สดใสในไตรมาส 4/2560 และได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการในปีนี้ ทั้งนี้ หุ้นเอเอ็มเอส ทะยานขึ้น 17% หุ้นไดอะล็อก เซมิคอนดัคเตอร์ พุ่งขึ้น 1.5% และหุ้นเอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ พุ่งขึ้น 2.4%
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน พุ่งขึ้น 1.2% หลังจากบริษัทได้ตัดสินใจขายโครงการเหมืองถ่านหินนิว ลาร์โก และโอลด์ ลาร์โก ในแอฟริกาใต้ คิดเป็นมูลค่าราว 71.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่หุ้นเกลนคอร์ รีซอสเซส พุ่งขึ้น 3.3% และหุ้นริโอทินโต ปรับตัวขึ้น 2.1%
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 177.23 จุด วิตกบอนด์ยีลด์พุ่ง,หุ้นแอปเปิลร่วง
      ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (29 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทะยานขึ้นเมื่อคืนนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงอย่างหนักของหุ้นแอปเปิล หลังจากสื่อรายงานว่า บริษัทแอปเปิล อิงค์ เตรียมปรับลดยอดขาย iPhone X
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,439.48 จุด ร่วงลง 177.23 จุด หรือ -0.67% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,853.53 จุด ลดลง 19.34 จุด หรือ -0.67% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,466.51 จุด ลดลง 39.27 จุด หรือ -0.52%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้น หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับ 2.716% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2557 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 30 ปี ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 2.954%
ทั้งนี้ การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง เช่นหุ้น ปรับตัวลดลง ส่วนปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นนั้น มาจากจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวที่แข็งแกร่ง และเงินเฟ้อจะดีดตัวขึ้น
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุ 10 ปี พุ่งทะลุระดับ 2.7% เมื่อคืนนี้ จะเป็นการปูทางไปสู่ระดับ 2.8% ต่อไป ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุ 30 ปี มีแนวโน้มดีดตัวสู่ระดับ 3.0%
ตลาดการเงินได้เพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 26% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 23% ในวันศุกร์ และ 10% ในเดือนที่แล้ว
หุ้นแอปเปิล ร่วงลง 2.1% ซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลง 0.9% และเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตลาดปิดในแดนลบ หลังจากสำนักข่าวนิกเกอิของญี่ปุ่นรายงานว่า บริษัทแอปเปิล อิงค์ได้แจ้งซัพพลายเออร์ว่า ทางบริษัทจะปรับลดเป้าการผลิต iPhone X สำหรับไตรมาสแรกในปีนี้ลงครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 20 ล้านเครื่อง เนื่องจากยอดขายที่ต่ำกว่าคาดในยุโรป สหรัฐ และจีน ขณะที่นักลงทุนจับตาผลประกอบการของแอปเปิล อิงค์ ซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันพฤหัสบดีนี้
นอกเหนือจากการร่วงลงของหุ้นแอปเปิลแล้ว หุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า คณะทำงานฝ่ายความมั่นคงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังพิจารณาการสร้างระบบเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง 5G โดยระบุว่าเพื่อเป็นการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งนี้ หุ้นเอทีแอนด์ที ร่วงลง 1.5% ขณะที่หุ้นเวอไรซอน ดิ่งลง 1.1% หุ้นสปรินท์ ลดลง 1.9% และหุ้นที-โมบาย ยูเอสเอ อิงค์ ปรับตัวลง 1%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากพุ่งขึ้น 0.8% ในเดือนพ.ย. ขณะที่ตัวเลขการออมของผู้บริโภคสหรัฐลดลงสู่ระดับ 3.516 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2550 จากระดับ 3.651 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย.
ส่วนดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ย.
นักลงทุนจับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในวันที่ 30-31 ม.ค.นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ หลังจากที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.25-1.50% ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2560
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่นักลงทุนจับตาในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ย.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ส, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.จาก Conference Board, ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนม.ค.จาก ADP, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนธ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนม.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนม.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนธ.ค., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค.
นักลงทุนยังจับตารายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ในสัปดาห์นี้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงผลประกอบการของไมโครซอฟต์ เฟซบุ๊ก เพย์พาล อาลีบาบา แอปเปิล อัลฟาเบท อเมซอน ไฟเซอร์ โบอิ้ง และยูพีเอส
นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ต่อสภาคองเกรสในวันที่ 30 ม.ค.เวลา 21.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับช่วงเช้าของวันที่ 31 ม.ค.เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย โดยหัวข้อการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสของปธน.ทรัมป์คือ "การสร้างอเมริกาที่ปลอดภัย แข็งแกร่ง และน่าภาคภูมิใจ" โดยจะเน้นหนักใน 5 ประเด็นหลัก ซึ่งได้แก่ การจ้างงานและเศรษฐกิจ, การก่อสร้างโครงการพื้นฐานของประเทศ, นโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพ, การค้า และความมั่นคงแห่งชาติ
--อินโฟเควสท์
OO5008

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!