- Details
-
Category: บลจ.
-
Published: Wednesday, 04 June 2014 15:32
-
Hits: 4135
กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ เอเชียน สมอลแคป อิควิตี้ เอฟไอเอฟ (MS-ASIAN SM) รายงานผลตอบแทนสุดหรู AUM พุ่งทะลุ 4 พันล้านบาท ยังคงครองแชมป์กองทุนหุ้นเอเชียในไทยต่อเนื่อง
นายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด (บลจ.แมนูไลฟ์) เปิดเผยว่า กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ เอเชียน สมอลแคป อิควิตี้ เอฟไอเอฟ (MS-ASIAN SM) เติบโตอย่างรวดเร็วมากภายในช่วงเวลา 5 เดือนนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ด้วยขนาดกองทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 2,353 ล้านบาทเมื่อปลายปีก่อน มาทะลุ 4,198 ล้านบาท ใน พฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ยังคงเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนต่างประเทศ (FIF) ที่เน้นลงทุนในหุ้นเอเชียที่มีขนาดกองทุนใหญ่ที่สุดในไทยขณะนี้ กองทุน MS-ASIAN SM เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Manulife Global Fund-Asian Small Cap Equity Fund (กองทุนหลัก) บริหารโดย Linda Csellak ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมตราสารทุนที่ลงทุนในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ของManulife Asset Management ในฮ่องกง และเมื่อไม่นานมานี้ Linda Csellak ยังได้รับรางวัล Long–Only Equity Fund Manager of the Year Small Cap ซึ่งจัดโดย The Asset ‘s Tripple A Investor and Fund Manager Award2014 อีกด้วย
สาเหตุหลักที่กองทุน MS-ASIAN SM ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องนั้นมาจากผลการดำเนินงานที่เหนือเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญมาโดยตลอด โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ผลตอบแทนของกองทุนอยู่ที่ 14.00% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานMSCI AC Asia Pacific ex JP Small Cap Index ที่ 10.64% หรือสูงกว่า 3.36%และหากคำนวณผลตอบแทนโดยรวมตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งกองทุนเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 สร้างผลตอบแทนสูงถึง 70.55% หรือสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึง51.51%
นายต่อ กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลักสำคัญของการลงทุนในหุ้น คือ การคัดเลือกหุ้นถูกตัวและเข้าลงทุนถูกจังหวะ ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ลงทุนได้ จากผลการดำเนินงานของกองทุน MS-ASIAN SM ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการคัดเลือกหุ้นรายตัวและการบริหารกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพของทีมงานการลงทุนของแมนูไลฟ์ อันเป็นผลมาจากความพร้อมของทีมการลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชียประกอบกับวิธีการบริหารพอร์ตลงทุนแบบเชิงรุกด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกในการทำ Stock Selection แบบBottom-up โดยเน้นการหาหุ้นขนาดเล็กซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคเอเชียที่มีศักยภาพในการเติบโตของกำไรสุทธิและต้องเข้าลงทุนก่อนคนอื่นเพื่อทำให้สามารถลงทุนในระดับราคาที่ยังต่ำและมีโอกาสในการทำกำไรสูงเมื่อเริ่มได้รับความสนใจในกลุ่มนักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Alpha) ให้แก่กองทุนได้ดีเสมอมา”
สำหรับ แนวโน้มของหุ้นขนาดเล็กในเอเชียนั้น นายต่อกล่าวว่า “เรายังมีมุมมองในเชิงบวกสำหรับหุ้นขนาดเล็กในเอเชียสำหรับปี 2557 นี้ แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี หุ้นขนาดเล็กจะมีความผันผวนจากการที่นักลงทุนบางส่วนได้หันกลับไปให้ความสนใจในหุ้นขนาดใหญ่ และทำให้หุ้นขนาดเล็กอยู่ภายใต้ภาวะกดดันและปรับตัวลง โดยเฉพาะในตลาดจีนและเกาหลี แต่ทางผู้จัดการกองทุนหลักถือว่าเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนและเพิ่มสัดส่วนในหุ้นหลายตัวที่มีมูลค่าน่าสนใจ และเชื่อว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในครั้งนี้เนื่องจากคาดว่าผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้จะออกมาดีมากในไตรมาสหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศที่แข็งแกร่งขึ้นซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียโดยรวมจะยังคงมีอัตราการเติบโตของ GDP สูงกว่าตลาดตะวันตกที่พัฒนาแล้วต่อไป โดยเอเชียเหนือซึ่งมีการพึ่งพาการส่งออกจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
นอกเหนือจากตลาดในภาคเอเชียเหนือแล้ว ผู้จัดการกองทุนหลักยังเริ่มสนใจในตลาดอินเดียนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาหุ้นค่อนข้างต่ำและมีการปรับประมาณการณ์กำไรเพิ่มสูงขึ้น โดยล่าสุด ผลการเลือกตั้งทั่วไปของอินเดีย ซึ่งพรรค BJPภายใต้การนำของว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นาย Narendra Modi ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียมีความคึกคักมากขึ้น ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นและยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากภายใต้นโยบายการปฎิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะในหุ้นที่แปรผันตามเศรษฐกิจในประเทศ (domestic cyclical stocks)”
นายต่อกล่าวทิ้งท้ายว่า “กองทุน MS-ASIAN SM เป็นกองทุนที่มีการลงทุนในหลายตลาดจึงช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีในภาวะที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวน และเป็นกองทุนที่นักลงทุนสามารถทยอยเข้าลงทุนได้ทุกขณะ โดย ณ วันที่ 30 เมษายน 2557 พอร์ตการลงทุนของกองทุนหลักมีค่า P/E เฉลี่ยเพียง 10.6 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่า P/E รวมของตลาดที่ประมาณ 15.1 เท่า ขณะที่อัตราการเติบโตของผลกำไรสุทธิ (EPS growth) สูงถึง 45% จึงทำให้เรามั่นใจว่า หุ้นส่วนใหญ่ที่อยู่ในกองทุน MS-ASIAN SM ยังมีระดับราคาที่ไม่แพงและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ลงทุนได้ต่อไป”
หากนักลงทุนสนใจลงทุนในกองทุน MS-ASIAN SM สามารถติดต่อที่ บลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) โดยตรงหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่ได้รับแต่งตั้ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด โทร 0-2246-7650 กด 2
กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ เอเชียน สมอลแคป อิควิตี้ เอฟไอเอฟ (MS-ASIAN SM)
ผลการดำเนินงานของกองทุน ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนวันที่ 31 มกราคม 2555 ถึง วันที่ 30 พฤษภาคม 2557
|
กองทุน / เกณฑ์มาตรฐาน
|
|
3 เดือน
|
|
6 เดือน
|
|
1 ปี
|
|
นับตั้งแต่ต้นปี (YTD)
|
|
นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (31 มกราคม 2555)
|
|
|
MS-ASIAN SM
|
|
4.19%
|
|
10.21%
|
|
14.00%
|
|
9.07%
|
|
70.55%
|
|
|
MSCI Asia Pacific ex Japan Small Cap Index
|
|
4.20%
|
|
7.94%
|
|
10.64%
|
|
6.66%
|
|
19.04%
|
|
|
กองทุน vs เกณฑ์มาตรฐาน
|
|
-0.01%
|
|
2.27%
|
|
3.36%
|
|
2.41%
|
|
51.51%
|
|
|
ที่มา Manulife AM (Thailand), Bloomberg ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2557, ผลตอบแทนในรูปสกุลเงินบาท
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล นโยบายการลงทุน ความเสี่ยง ตลอดจนผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวมในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและอาจได้รับเงินคืนสูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
เกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัดเป็นบริษัทในเครือของแมนูไลฟ์ ไฟแนนเชียล คือกลุ่มบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินชั้นนำจากประเทศแคนาดา เปิดดำเนินการในเอเชีย แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรการลงทุนระดับโลกที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมากกว่า 300 คนทั่วโลก และเฉพาะในเอเชียที่มีสำนักงานมากถึง 10 แห่ง ทำให้บริษัทได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทีมงานระดับโลกของ Manulife Asset Management และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญระหว่างภูมิภาค อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกันซึ่งถือเป็นจุดแข็งของแมนูไลฟ์ อนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งใน บลจ.ไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุน off-shore ในระดับสากล
เกี่ยวกับ Manulife Asset Management
Manulife Asset Management เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนระดับโลกในเครือของ Manulife Financial โดย Manulife Asset Management ให้บริการด้านการบริหารจัดการเงินลงทุนแก่นักลงทุนสถาบันและกองทุนรวมในตลาดสำคัญทั่วโลก Manulife Asset Management ยังให้บริการด้านจัดการลงทุนแก่ลูกค้ารายย่อยผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ Manulife และ John Hancock ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนครอบคลุมถึงสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตราสารทุน ตราสารหนี้ และการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น อสังหาริมทรัพย์ ป่าไม้ เกษตร รวมทั้งการจัดสรรสินทรัพย์การลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน Manulife Asset Management มีสำนักงานที่มีความพร้อมด้านการลงทุนอย่างเต็มรูปแบบทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมทุนธุรกิจจัดการลงทุนในประเทศจีนภายใต้ชื่อ Manulife TEDA รวมทั้งการดำเนินงานในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บราซิล และอุรุกวัย นอกจากนี้ John Hancock Asset Management, Hancock Natural Resource Group และ Declaration Management and Research ก็เป็นหน่วยงานของ Manulife Asset Management ทั้งนี้ Manulife Asset Management ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “Best Asian Bond House for 2011” โดย Asia Asset Management ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557 มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการเท่ากับ 269,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Manulife Asset Management สามารถหาได้จาก ManulifeAM.com
เกี่ยวกับManulife Financial
Manulife Financial คือกลุ่มบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินชั้นนำจากประเทศแคนาดามีสถานประกอบการหลักในเอเชียแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ลูกค้าของบริษัทให้ความไว้วางใจแก่ Manulife ในการเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีน่าเชื่อถือซื่อสัตย์และมีความคิดก้าวหน้าเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางการเงินที่สำคัญของลูกค้าของบริษัททุกคนด้วยเครือข่ายพนักงานตัวแทนและพันธมิตรด้านการจัดจำหน่ายในระดับนานาชาติที่กว้างขวางแมนูไลฟ์พร้อมที่จะให้บริการด้านการคุ้มครองทางการเงินและบริการด้านบริหารจัดการสินทรัพย์สำหรับลูกค้าของแมนูไลฟ์หลายล้านรายอีกทั้งแมนูไลฟ์ยังเป็นผู้ให้บริการด้านหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมสำหรับลูกค้าสถาบันต่างๆ ทั้งนี้ณวันที่ 31 มีนาคม 2557 Manulife และบริษัทในเครือมีเงินลงทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการรวมมูลค่าสูงถึง 574,000 ล้านเหรียญสหรัฐบริษัทให้บริการภายใต้ชื่อของManulife ทั้งในแคนาดาและในเอเชียและให้บริการภายใต้ชื่อ John Hancock ในสหรัฐอเมริกา
Manulife Financial Corporation ซื้อขายภายใต้ตัวย่อหลักทรัพย์ ‘MFC’ ในตลาดหลักทรัพย์ TSX, NYSE และ PSE และรหัสหลักทรัพย์ ‘945’ ในตลาดหลักทรัพย์ SEHK โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Manulife Financial ได้ที่ manulife.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด
ชั้น 6 อาคารแมนูไลฟ์เพลส 364/30 ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
Website: www.manulife-asset.co.th โทรศัพท์: 0-2246-7650 กด 2 โทรสาร: 0-2642-6341