- Details
- Category: บลจ.
- Published: Sunday, 22 November 2020 21:09
- Hits: 15778
เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง ชี้โอกาสลงทุนในหุ้นที่สร้างผลตอบแทนที่ดี
พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลก กับ กองทุน K-CHANGE
KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) ชี้โอกาสลงทุนในหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี แม้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมๆ กับที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลก ผ่านกองทุน K-CHANGE โดยผู้จัดการกองทุนจาก Baillie Gifford และ บลจ. กสิกรไทย ร่วมอัพเดทเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทบต่อราคาหุ้นทั่วโลก รวมทั้งกลยุทธ์ในการเลือกหุ้นที่จะลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนในระยะยาว
นางสาวศิริพร สุวรรณการ Managing Director – Financial Advisory Head Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ราคาหุ้นทั่วโลกปรับลดลงแรง และค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ก็ยังมีกองทุนที่กระจายการลงทุนทั่วโลกบางกอง เช่น กองทุน K-CHANGE ซึ่งกองทุนหลัก (Master funds) บริหารโดย Baillie Gifford ประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงในด้านการเลือกหุ้นรายตัวที่มีโอกาสเติบโตสูง หรือ Growth stocks และจะลงทุนในบริษัทประมาณ 30-40 บริษัทเท่านั้น สามารถให้ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปีถึง ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ขณะนี้เป็นบวกมากกว่า 56.59% โดยกองทุน K-CHANGE มีหลักการในการเลือกหุ้นคือหลักทรัพย์ที่ลงทุนต้องสามารถเติบโตในแง่รายได้ 2 เท่าในระยะเวลา 5 ปี และยังต้องเป็นธุรกิจยังต้องสร้างความยั่งยืน และเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น โดยธุรกิจที่กองทุน K-CHANGE ลงทุน มี 4 ธีมหลัก ได้แก่
1.สังคมและการศึกษา (Social Inclusion and Education) อาทิ TSMC ผู้รับผลิตชิพประมวลผล และแผงวงจรรายใหญ่สุดของโลก ที่ช่วยให้ราคาต้นทุนของ Semiconductors ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้ง ความต้องการ semiconductors ที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มการผลิตในอนาคตที่เน้นว่าจ้างแก่ผู้ผลิตเช่น TSMC เพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้เติบโตได้ในระยะยาว เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน และการลงทุนสูงทำให้บริษัทมีความได้เปรียบด้านราคา ความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีมาอย่างยาวนาน ยิ่งเป็นส่วนช่วยสำคัญในการสร้างผลกำไร และผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้เป็นอย่างดี ASML บริษัทที่พัฒนาวิจัยเทคโนโลยีให้สามารถผลิต Semiconductors ได้มีขนาดเล็กลง แม่นยำ มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง และราคาของ Semiconductors ถูกลง ส่งเสริมความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้บริษัทมีการเติบโตในด้านส่วนแบ่งการตลาดอย่างต่อเนื่อง
2.สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environment and Resource Needs) เช่น เครื่องจักรที่ช่วยในการพัฒนาทางการเกษตร อย่าง กล้องช่วยตรวจจับในการใช้ยาฆ่าแมลงเฉพาะจุด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น รวมทั้งยังช่วย ลดต้นทุนให้กับเกษตรกร หรือ ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดจากพลังงานลมที่เปลี่ยนตัวเองจากที่เคยผลิตจากถ่านหิน และน้ำมัน มาเป็นพลังงานสะอาด 100% ภายในระยะเวลาสิบปี จนกลายมาเป็นผู้ผลิต ติดตั้ง และบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าจากฟาร์มกังหันลมบนทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นต้น
3.ความไม่เท่าเทียมในเรื่องสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต (Health care and Quality of life) อาทิ Dexcom ผู้ผลิตอุปกรณ์วัดระดับกลูโคสในเลือด (CGM) สามารถตรวจค่ากลูโคสแบบต่อเนื่องด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรักษาระดับที่ปลอดภัยของกลูโคสในเลือด สามารถยึดติดกับผิวหนังหน้าท้องผู้ป่วย ด้วยเทคโนโลยีที่เหนือชั้น บวกกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้กองทุนมองเห็นโอกาสและศักยภาพของบริษัทในการเติบโตและนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้จนกลายเป็นมาตรฐานในการดูแลสุขภาพต่อไป Moderna ผู้ที่สามารถคิดค้นวีคซีนโควิด-19 ได้เป็นเจ้าแรกและมีผลสำเร็จที่สูงถึง 94.5% และมีผลข้างเคียงน้อย ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดไปใช้ในการรักษาให้ตรงจุดมากขึ้น เช่น มะเร็ง เป็นต้น
4.การส่งเสริมความเท่าเทียมให้กับผู้มีรายได้น้อย (Base of the Pyramid) เช่น บริษัทที่ทำให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงบริการทางเงินได้ง่ายขึ้น เช่น การมีประกันสำหรับเกษตรกรให้สินค้าทางการเกษตรในกรณีที่เกิดน้ำท่วม การทำศูนย์เรียนรู้เพื่อรวบรวมและแบ่งปันประสบการณ์การทำเกษตรที่ประสบความสำเร็จหรือแหล่งรวมเมล็ดพันธุ์ราคาถูก มีคุณภาพ เป็นต้น
ด้าน นางสาวอลิสัน คัทท์เบิร์ท จาก Baillie Gifford กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เปรียบเสมือนแรงกระตุ้นที่รุนแรงและได้เร่งให้สิ่งต่างๆ เกิดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเร่งให้บริษัทยา ต้องคิดค้นวัคซีน เพื่อป้องกันโรค การคุยกับหมอทางไกล ผ่าน VDO Conference เกิดขึ้นจริง เพราะผู้ป่วยไม่สามารถออกจากบ้านได้ รวมถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ e-commerce เป็นต้น แม้หลักทรัพย์ส่วนใหญ่ที่กองทุนหลักบริหารจะอยู่ในสหรัฐฯ การเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลจากนายทรัมป์เป็นนายไบเดน ก็ไม่ได้กระทบต่อธุรกิจที่ลงทุน กลับยิ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจบางประเภท เนื่องจากนโยบายของไบเดนนั้น ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการเลือก Growth Stocks เพื่อลงทุนคือการลงทุนในบริษัทที่ disrupt บริษัทที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ไฟฟ้า หรือ E-commerce เป็นต้น และ ยังกล่าวถึง อีก 3 ธีม ที่เป็น Megatrend อื่นๆ ที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต ได้แก่ 1) Online disruption 2) Health Care 3) Energy transition
“KBank Private Banking ร่วมกับ Baillie Gifford ในการผลักดันให้นักลงทุนในประเทศไทย ลงทุนในกองทุน K-CHANGE โดยมีเป้าหมายหลัก 2 เรื่องคือ 1) ต้องสามารถสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนได้เป็นอย่างดี ในระยะยาว โดยตั้งแต่มีการแนะนำกองทุนตั้งแต่มีการจัดตั้งให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 84.5% 2) ต้องสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับโลกอย่างที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งในรายการระบุว่าทุกๆ การลงทุน 15 ล้านบาท ในปี 2019 ช่วยให้คนด้อยโอกาสในสังคมสามารถเข้าถึงโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถหาข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วงส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียน 1 คน ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ 310 ตัน ช่วยประหยัดน้ำดื่มกว่า 2.3 แสนลิตร ช่วยป้องกันโรคให้กับคน 19 คน ช่วยรักษาโรให้คนป่วย 5 คน ช่วยให้คน 50 คน สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน และ มอบเงินทุนจำนวนกว่า 4.6 ดอลล่าห์สหรัฐ ให้กับผู้มีรายได้น้อย” นางสาวศิริพร กล่าวปิดท้าย
A11599
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ