WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA A MFC

เอ็มเอฟซี เปิดวิสัยทัศน์เน้นกลยุทธ์เชิงรุกมุ่งขยายฐานลูกค้าไปยังอาเซียน ตั้งเป้ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิปี 2562 เติบโต 543,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.2 พร้อมเผยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง

      บลจ.เอ็มเอฟซี เน้นกลยุทธ์เชิงรุกมุ่งขยายฐานลูกค้าไปยังอาเซียน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขึ้นสู่ระดับภูมิภาค พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) ในปีนี้เป็น 543,000 ล้านบาท หลังผลงานปี 2561 บริษัทมีรายได้ 913.94 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 168.08 ล้านบาท พร้อมเผยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งหลังของปีนี้ ชะลอตัว แนะถือเป็นโอกาสในการกระจายการลงทุน

         ในครึ่งปีแรกของปีนี้ (ม.ค. – มิ.ย. 62) เอ็มเอฟซีมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ 480,991 ล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนรวม 295,553 ล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 164,071 ล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 21,367 ล้านบาท โดยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 7 ของอุตสาหกรรม ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการของบริษัท 463,199 ล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนรวม 282,745 ล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 152,443 ล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 28,011 ล้านบาท

       ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีได้ประสบความสำเร็จในการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิล อินคัม หรือกองทุนเปิด MPII (เอ็มพาย)* ซึ่งลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหรือโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีผู้สนใจลงทุนจนล้นมูลค่าโครงการ เอ็มเอฟซีได้จดทะเบียนเพิ่มเงินลงทุนอีกถึง 2,000 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการลงทุนในกองทุนดังกล่าวที่มีอย่างต่อเนื่อง (ทั้งนี้กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และหรือโครงสร้างพื้นฐาน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก)

       นอกจากนี้ เอ็มเอฟซีได้จัดตั้งกองทุนใหม่ 9 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ 7 กองทุน กองทุนรวมตราสารทุน 1 กองทุนและกองทุนรวมผสม 1 กองทุน มูลค่ารวม 7,212.64 ล้านบาท ส่วนในปี 2561 ที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีได้ตั้งกองทุนใหม่ โดยเป็นกองทุนรวม 16 กองทุน มูลค่ารวม 5,416 ล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 24 กองทุน มูลค่ารวม 2,965 ล้านบาท เอ็มเอฟซีได้จ่ายเงินปันผลในปี 2562 ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม 18 กองทุน รวม 630 ล้านบาท โดยกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไฮ-ดิวิเดนด์ ฟันด์ (HI-DIV) จ่ายเงินปันผลรวมสูงสุด 195 ล้านบาท และกองทุนเปิดสินภิญโญสี่ (SF4) จ่ายเงินปันผลต่อหน่วยสูงสุด 1.59 บาท ในขณะที่ปีที่ผ่านมา เอ็มเอฟซีจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม 43 กองทุน เป็นเงินกว่า 999.24 ล้านบาท โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) จ่ายปันผลสูงสุดกว่า 169.15 ล้านบาท และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี-บีทีอินคัมโกรทฟันด์ (M-BT) จ่ายเงินปันผลต่อหน่วยสูงสุด 1.97 บาท

 

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมการจ่ายปันผลย้อนหลัง 5 ปีด้านล่าง)

        ในปีนี้เอ็มเอฟซียังได้รางวัลมอร์นิ่งสตาร์อวอร์ด 2019 ถึง 2 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ รางวัลบริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยมประเภทกองทุนหุ้นภายในประเทศ ปี 2019 (Best Fund House Awards – Domestic Equity) และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เซ็ท 50 (Best Thailand Equity Large – Cap Fund : M-S50) ได้รางวัลกองทุนตราสารทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2019 ประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่อีกด้วย (ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

      เอ็มเอฟซีมองแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังชะลอตัวลงจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนรวมถึงความไม่แน่นอนของการเจรจา Brexit และความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงิน โดย IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกลงอย่างต่อเนื่องและคาดว่าในปี 2562 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.3% (yoy) โดย MFC คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2562 จะขยายตัวระหว่าง 3.1-3.5% (yoy) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำในช่วง 0.6-1.0% (yoy) และคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ต่อปี เนื่องจากเป็นระดับที่ผ่อนคลายเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อดูแลความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวม

         การลงทุนในตลาดยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยเดิมที่ไม่แตกต่างจากช่วงครึ่งแรกของปี ดังนั้นคาดว่าสินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะตลาดหุ้นทั้งกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงตลาดหุ้นไทย จะเคลื่อนไหวในกรอบแคบแบบขาขึ้น (sideway-up) แต่อาจมีความผันผวน โดยปัจจัยที่สนับสนุนตลาดหุ้นโลก ได้แก่ การที่รัฐบาล ในแต่ละประเทศมีแนวโน้มประคองเศรษฐกิจโดยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลัง จึงทำให้เศรษฐกิจโลกเพียงแค่ชะลอตัวลงและไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครึ่งปีหลังนี้

        ตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีแรกได้ปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยบวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น US-China เริ่มกลับมาเจรจาทางการค้า และธนาคารกลางสหรัฐ ( FED) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งราคาน้ำมันปรับตัวทำ new high ที่ 64.4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่หลังการประชุม G20 ที่มีการพบกันระหว่างประธานาธิบดีจีน-สหรัฐและมีข้อตกลงว่าจะกลับมาเจรจากันอีกครั้งทำให้ตลาดคลายความกังวล นอกจากนี้ปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่มีความชัดเจนหลังการจัดตั้งรัฐบาลก็มีผลบวกต่อตลาด ทำให้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน SET Index ปิดที่ 1,730.34 จุด เพิ่มขึ้น 10.64% จากสิ้นปี 2561 แนวโน้มการลงทุนของช่วงครึ่งปีหลังยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามประเด็นสงครามการค้าระหว่าง US-China ที่คาดว่าจะเข้ามามีผลกระทบเป็นระยะๆ และปัจจัยเสี่ยงในเรื่องเศรษฐกิจโลกจะเติบโต ในอัตราชะลอลง เริ่มจากประเทศเศรษฐกิจหลักๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังอาจจะมีความผันผวนสูงขึ้นและอ่อนไหวจากปัจจัยที่เข้ามากระทบ เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ตลาดหุ้นไทยซื้อขายในระดับ P/E ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15.6 เท่า ประกอบกับปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นตลาดยังไม่ชัดเจนมากนัก

       ตลาดหุ้นต่างประเทศ MFC ยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้นทั้งกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) โดยคาดว่าตลาดจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบแบบขาขึ้น (sideway-up) โดยมีปัจจัยที่สนับสนุน คือ กระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลัง จึงทำให้เศรษฐกิจโลกเพียงแค่ชะลอตัวลงและไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทยังขยายตัวได้อยู่ แต่จะมีความผันผวนสูงจากปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบในช่วงสั้น

     ตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก ยังคงได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายการเงินผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลก และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อโลกอยู่ระดับต่ำ ประกอบกับความเสี่ยงสงครามการค้า ส่งผลให้มีความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งคาดว่า เส้นอัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรสหรัฐจะทรงตัวหรือปรับตัวลง ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกรวมทั้งตลาดไทยในครึ่งปีหลังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นได้หากธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยนโยบายน้อยกว่าที่ตลาดคาดหรือไม่ลดดอกเบี้ยเลยในครึ่งปีหลังของปี 2562 ประกอบกับเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตราสารหนี้ไทยเนื่องจากแบงค์ชาติออกประกาศมาตรการสกัดกั้นการเก็งค่าเงินบาทที่รุนแรง

* กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน อาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและหรือได้รับเงินคืน ต่ำกว่าเงินลงทุนแรกเริ่มได้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

 

ข้อมูลการจ่ายเงินปันผลรวมย้อนหลัง

ปี 2562

กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไฮ-ดิวิเดนด์ฟันด์ (HI-DIV) จ่ายเงินปันผลรวมย้อนหลัง

ปี 2557=1,265.38 ล้านบาท   ปี 2559=301.41 ล้านบาท   ปี 2560=488.73 ล้านบาท   ปี 2561=105.87 ล้านบาท   ปี 2562= 195.48 ล้านบาท

 

กองทุนเปิดสินภิญโญสี่ (SF4) จ่ายเงินปันผลย้อนหลัง (ต่อหน่วยลงทุน)

ปี 2557=1.10 บาท ปี 2559=0.52 บาท   ปี 2560=0.93 บาท             ปี 2561=0.85     ปี 2562=1.59 บาท      

 

 

ปี 2561

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF)

ปี 2557=241.58 ล้านบาท   ปี 2558=315.16 ล้านบาท     ปี 2559=314.67 ล้านบาท   ปี 2560=133.95 ล้านบาท   ปี 2561=169.15 ล้านบาท

 

 

กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี-บีทีอินคัมโกรทฟันด์(M-BT) (ต่อหน่วยลงทุน)

ปี 2557=1.65 บาท ปี 2558= 0.79 บาท               ปี 2559=0.47 บาท       ปี 2560=0.75 บาท       ปี 2561=1.97 บาท

                       

MFC's asset under management              

ปี ค.ศ    ปี พ.ศ   AUM

2014       30 ธ.ค2557                     416,633.03

2015       30 ธ.ค2558                     363,283.89

2016       30 ธ.ค2559                     425,144.62

2017       29 ธ.ค2560                     454,410.26

2018       28 ธ.ค2561                     463,199.77

2019       28 มิ.ย2562                     480,991.88                               

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!