WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KASEMวศน วณชยวรนนตบลจ.กสิกรไทย มุ่งครองแชมป์อันดับ 1 ธุรกิจกองทุนรวมต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้าลูกค้าลงทุนผ่านดิจิตอล พุ่งถึง 80% ภายใน 5 ปี

       บลจ.กสิกรไทย เปิดแผนกลยุทธ์รอบครึ่งปี 2561 เดินหน้าครองความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจกองทุนรวมต่อเนื่อง พร้อมพัฒนาดิจิตอลแพลตฟอร์ม เพื่อต่อยอดไปสู่การให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม (Digital Wealth Advisor) และใช้ช่องทางดิจิตอลในการเข้าถึงลูกค้าอย่างทั่วถึง และมุ่งนำนวัตกรรม Big Data มาสร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้ารายบุคคล (Personalize) เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เต็มศักยภาพ หวังปั้นยอดผู้ลงทุนผ่านดิจิตอลปี 2566 (Digital-based Users) เพิ่มขึ้นอีกเป็น 80% ของจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด

        นายวศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยถึงเป้าหมายและกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลัง 2561 ว่าบริษัทยังคงต่อยอดความเป็นผู้นำในธุรกิจ กองทุนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน รวมถึงช่องทางการให้บริการและเครื่องมือช่วยการลงทุนต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยบลจ.กสิกรไทยเป็นบลจ.แห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาดิจิตอลแพลตฟอร์ม พร้อมมุ่งหน้าสู่ความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจกองทุนรวมอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเป็นผู้ให้คำแนะนำการลงทุนผ่านระบบดิจิตอล (Digital Wealth Advisor) ซึ่งในครั้งปีหลังนี้ บริษัทเตรียมเปิดตัวคุณสมบัติใหม่ล่าสุดของแอปพลิเคชันกองทุนรวม (K-My Funds) พร้อมด้วยแอปพลิเคชันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (K-My PVD) โดยเน้นการนำนวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนของลูกค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมแบบเฉพาะเจาะจงกับรายบุคคล (Personalize) เพื่อให้ลูกค้าสามารถลงทุนอย่างมั่นใจพร้อมทั้งได้รับผลตอบแทนที่เต็มศักยภาพของตนเองผ่านแอปพลิเคชัน

         นายวศิน กล่าวว่า "เสาหลักด้านหนึ่งที่บริษัทมีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว คือการมีผลิตภัณฑ์กองทุนที่มีคุณภาพ (High Quality Products) ซึ่งมาจากการสร้างผลการดำเนินงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ปัจจุบันบลจ.กสิกรไทยมีกองทุนที่ได้รับการจัดเรตติ้ง 5 ดาวจากมอร์นิ่งสตาร์รวมทั้งหมดถึง 10 กองทุน (Rating Overall, ข้อมูลจาก Morningstar(R) ณ วันที่ 31 พ.ค. 61) ขณะที่เสาหลักอีกด้านที่จะเข้ามาผสานสมดุลและช่วยเติมเต็มความเป็นผู้นำ คือ การพัฒนาระบบการให้คำแนะนำด้านการลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital Wealth Advisor) และเน้นการทำความเข้าใจลูกค้า โดยลงลึกการเข้าถึงข้อมูลไปในรายบุคคลมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทจะต้องอาศัยนวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัย อาทิ การใช้ Big Data Analysis เข้ามาช่วยวิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน หรือการสร้างแบบจำลองการลงทุนโดยอาศัยข้อมูลเชิงสถิตต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อสร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง พร้อมยังช่วยสร้างผลตอบแทนที่เต็มศักยภาพให้กับผู้ลงทุนทุกรายอย่างทั่วถึงมากขึ้น"

        นายวศิน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลของอุตสาหกรรมย้อนหลังในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่าแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตั้งแต่ปี 2550 – 2561 ผู้ลงทุนค่อยๆลดการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และหันมาเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับย่อมมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่า ส่วนชดเชยความเสี่ยงหรือผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มขึ้นนั้นมีความเหมาะสมสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้าแล้วอย่างแท้จริง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของลูกค้ากองทุนรวมในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 2.9% ขณะที่หากลูกค้ามีการปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างเหมาะสมตามพอร์ตการลงทุนที่แนะนำซึ่งเหมาะกับระดับความเสี่ยงของตนเองแล้ว จะสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึง 11.4% (ข้อมูลจาก บลจ. กสิกรไทย ณ 30 เม.ย. 61)

       นายวศินกล่าวต่อไปว่า การที่บริษัทได้พัฒนาช่องทางการให้บริการผ่านระบบดิจิตอลตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลทำให้บลจ.กสิกรไทยมีจำนวนลูกค้ากองทุนรวมที่ลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งยอด ณ สิ้นปี 2560 มีลูกค้ากองทุนรวมที่ลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital-based Users) คิดเป็นสัดส่วนที่ 42% จากจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงสุดอันดับ 1 ในอุตสาหกรรม ส่วนเป้าหมายในปี 2561 นี้ บลจ.กสิกรไทยตั้งเป้าหมายฐานลูกค้าที่ใช้บริการผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital-based Users) เพิ่มขึ้นอีกเป็น 60% ของจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด และคาดว่าภายในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 80% ของจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด หรือคิดเป้าหมายเป็นลูกค้ากองทุนรวมที่ลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอล 800,000 ราย จากลูกค้าลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด

       ด้านภาพรวมผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี 2561 ที่ผ่านมา บลจ.กสิกรไทยเติบโตอยู่ที่ 2.5% โดยปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) อยู่ที่ 1.34 ล้านล้านบาท โดยแยกเป็นรายธุรกิจในส่วนกองทุนรวมอยู่ที่ 1.02 ล้านล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1.95 แสนล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 1.25 แสนล้านบาท โดยคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดจำแนกตามธุรกิจอยู่ที่ 20.3%, 17.6% และ13.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นับว่ามีตัวเลขเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี เมื่อเทียบทั้ง 3 ธุรกิจ โดยเติบโตที่ 12.3 % ขณะที่กองทุนส่วนบุคคล เติบโตที่ 7.2% สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่มีต่อบลจ.กสิกรไทยมากยิ่งขึ้น (ข้อมูลจาก AIMC ณ 31 พ.ค.2561)

         ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน           

บลจ.กสิกรไทย ตั้งเป้าลูกค้าลงทุนผ่านดิจิตอลพุ่งถึง 80% ภายใน 5 ปี จาก 60% ปีนี้

       บลจ.กสิกรไทย เปิดแผนกลยุทธ์รอบครึ่งปี 2561 เดินหน้าครองความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจกองทุนรวมต่อเนื่อง พร้อมพัฒนาดิจิตอลแพลตฟอร์ม เพื่อต่อยอดไปสู่การให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม และใช้ช่องทางดิจิตอลในการเข้าถึงลูกค้าอย่างทั่วถึง และมุ่งนำนวัตกรรม Big Data มาสร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้ารายบุคคล เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เต็มศักยภาพ หวังปั้นยอดผู้ลงทุนผ่านดิจิตอลปี 2566 เพิ่มขึ้นอีกเป็น 80% ของจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด

        นายวศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยถึง เป้าหมายและกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลัง 2561 ว่าบริษัทยังคงต่อยอดความเป็นผู้นำในธุรกิจ กองทุนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน รวมถึงช่องทางการให้บริการและเครื่องมือช่วยการลงทุนต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยบลจ.กสิกรไทยเป็นบลจ.แห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาดิจิตอลแพลตฟอร์ม พร้อมมุ่งหน้าสู่ความเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจกองทุนรวมอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเป็นผู้ให้คำแนะนำการลงทุนผ่านระบบดิจิตอล (Digital Wealth Advisor) ซึ่งในครั้งปีหลังนี้ บริษัทเตรียมเปิดตัวคุณสมบัติใหม่ล่าสุดของแอปพลิเคชันกองทุนรวม (K-My Funds) พร้อมด้วยแอปพลิเคชันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (K-My PVD) โดยเน้นการนำนวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนของลูกค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมแบบเฉพาะเจาะจงกับรายบุคคล (Personalize) เพื่อให้ลูกค้าสามารถลงทุนอย่างมั่นใจพร้อมทั้งได้รับผลตอบแทนที่เต็มศักยภาพของตนเองผ่านแอปพลิเคชัน

       เสาหลักด้านหนึ่งที่บริษัทมีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว คือการมีผลิตภัณฑ์กองทุนที่มีคุณภาพ (High Quality Products) ซึ่งมาจากการสร้างผลการดำเนินงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ปัจจุบันบลจ.กสิกรไทยมีกองทุนที่ได้รับการจัดเรตติ้ง 5 ดาวจากมอร์นิ่งสตาร์รวมทั้งหมดถึง 10 กองทุน (Rating Overall, ข้อมูลจาก Morningstar® ณ วันที่ 31 พ.ค. 61) ขณะที่เสาหลักอีกด้านที่จะเข้ามาผสานสมดุลและช่วยเติมเต็มความเป็นผู้นำ คือ การพัฒนาระบบการให้คำแนะนำด้านการลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital Wealth Advisor) และเน้นการทำความเข้าใจลูกค้า โดยลงลึกการเข้าถึงข้อมูลไปในรายบุคคลมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทจะต้องอาศัยนวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัย อาทิ การใช้ Big Data Analysis เข้ามาช่วยวิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน หรือการสร้างแบบจำลองการลงทุนโดยอาศัยข้อมูลเชิงสถิตต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อสร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง พร้อมยังช่วยสร้างผลตอบแทนที่เต็มศักยภาพให้กับผู้ลงทุนทุกรายอย่างทั่วถึงมากขึ้น

        จากข้อมูลของอุตสาหกรรมย้อนหลังในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่าแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตั้งแต่ปี 2550 – 2561 ผู้ลงทุนค่อยๆลดการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และหันมาเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับย่อมมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่า ส่วนชดเชยความเสี่ยงหรือผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มขึ้นนั้นมีความเหมาะสมสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้าแล้วอย่างแท้จริง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของลูกค้ากองทุนรวมในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 2.9% ขณะที่หากลูกค้ามีการปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างเหมาะสมตามพอร์ตการลงทุนที่แนะนำซึ่งเหมาะกับระดับความเสี่ยงของตนเองแล้ว จะสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ถึง 11.4% (ข้อมูลจาก บลจ. กสิกรไทย ณ 30 เม.ย. 61)

         การที่บริษัทได้พัฒนาช่องทางการให้บริการผ่านระบบดิจิตอลตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลทำให้บลจ.กสิกรไทยมีจำนวนลูกค้ากองทุนรวมที่ลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งยอด ณ สิ้นปี 2560 มีลูกค้ากองทุนรวมที่ลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital-based Users) คิดเป็นสัดส่วนที่ 42% จากจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงสุดอันดับ 1 ในอุตสาหกรรม ส่วนเป้าหมายในปี 2561 นี้ บลจ.กสิกรไทยตั้งเป้าหมายฐานลูกค้าที่ใช้บริการผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital-based Users) เพิ่มขึ้นอีกเป็น 60% ของจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด และคาดว่าภายในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 80% ของจำนวนลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด หรือคิดเป้าหมายเป็นลูกค้ากองทุนรวมที่ลงทุนผ่านช่องทางดิจิตอล 800,000 ราย จากลูกค้าลูกค้ากองทุนรวมทั้งหมด

        ด้านภาพรวมผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี 2561 บลจ.กสิกรไทยเติบโตอยู่ที่ 2.5% โดยปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) อยู่ที่ 1.34 ล้านล้านบาท โดยแยกเป็นรายธุรกิจในส่วนกองทุนรวมอยู่ที่ 1.02 ล้านล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1.95 แสนล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล 1.25 แสนล้านบาท โดยคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดจำแนกตามธุรกิจอยู่ที่ 20.3%, 17.6% และ13.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นับว่ามีตัวเลขเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี เมื่อเทียบทั้ง 3 ธุรกิจ โดยเติบโตที่ 12.3 % ขณะที่กองทุนส่วนบุคคล เติบโตที่ 7.2% สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่มีต่อบลจ.กสิกรไทยมากยิ่งขึ้น (ข้อมูลจาก AIMC ณ 31 พ.ค.2561)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!