WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2281 CREDIT

‘CREDIT’ หุ้นแบงก์เข้ามาระดมทุนในรอบ 10 ปี เทรดวันแรก 9 ก.พ.นี้ ชูพอร์ตเติบโต – NIM สูงสุดในอุตสาหกรรม

          ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ “CREDIT” หุ้น IPO ธนาคารพาณิชย์ในรอบ 10 ปี พร้อมเดินหน้าเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ เงินระดมทุนจะนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ ชูความมั่นคงจากการเป็นหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ ขณะที่มีฐานลูกค้า รวมทั้งลักษณะการประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับ Non-Bank ทำให้ธนาคารไทยเครดิต มีการเติบโตอย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม และสร้างความเชื่อมั่นด้วยผลตอบรับของนักลงทุนสถาบันระดับโลก ไว้วางใจเข้าลงทุน

          นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารฯ” หรือ “ธนาคารไทยเครดิต”) กล่าวว่า ธนาคารไทยเครดิต พร้อมนำหุ้นเข้าเทรดวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ในหมวดธุรกิจ (Sector) กลุ่มธุรกิจการเงิน / ธนาคาร โดยใช้ตัวย่อ “CREDIT” ในการซื้อขายหลักทรัพย์ หลังจากที่นักลงทุนทุกกลุ่มให้การตอบรับอย่างดีในการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคาเสนอขายหุ้นที่ 29.00 บาทต่อหุ้น ตอกย้ำความเชื่อมั่นนักลงทุนแม้ในภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การลงทุนที่มีความผันผวน ธนาคารฯ มีความมั่นใจในศักยภาพการเติบโต และฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น 

 

1806 CREDIT

 

          ทั้งนี้ ธนาคารฯ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อเติบโตในระดับ 20%-30% ต่อปี สอดรับกับทิศทางการเติบโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารฯ มีอัตราเติบโตของพอร์ตสินเชื่อโดยเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 33.0% ต่อปี (2563-2565) โดยมีเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ ณ งวด 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 138,435 ล้านบาท

          นอกจากนี้ ธนาคารฯ มีแผนที่จะดำเนินการตามแผนงานและกลยุทธ์ในอนาคต ในการดำเนินธุรกิจและประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการนำระบบดิจิทัลมาใช้ การขยายส่วนแบ่งทางการตลาดของธนาคารฯ ในภาคธุรกิจการให้บริการสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSME) สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) และสินเชื่อบ้านแลกเงิน (Home for Cash) ที่เติบโตได้ดี รวมทั้ง การมุ่งเน้นคุณภาพของสินเชื่อ และการเฟ้นหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์ของลูกค้า และการเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

          นายกนต์ธีร์ ประเสริฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ธนาคารไทยเครดิต นับเป็นธนาคารพาณิชย์ในรอบ 10 ปีที่เข้ามาระดมทุน เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม OCA Investment Holdings I Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนในกลุ่มของ Olympus Capital Asia รวมจำนวน 254,124,200 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 5.00 บาท/หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20.7% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IPO ในครั้งนี้ โดยในช่วงเปิดจองซื้อหุ้น IPO ธนาคารฯ ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนรายย่อย ตลอดจนนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors ระดับโลก ให้ความเชื่อมั่น ตอกย้ำความแข็งแกร่งของธุรกิจ

          โดย ธนาคารไทยเครดิต มีการดำเนินธุรกิจที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้สามารถครองตำแหน่งทางการตลาดที่มั่นคงและแข็งแกร่งในภาคธุรกิจการให้บริการสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSME) และสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่มีการเติบโตสูงในประเทศไทย รวมไปถึงบริการเงินฝาก และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจธนาคารฯ ในระหว่างปี 2556 ถึงปัจจุบัน ธนาคารฯ มีการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) สูงสุดในอุตสาหกรรม โดยในงวด 9 เดือน ปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 8.2% อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROE) อยู่ในระดับสูงที่ 21.8% สะท้อนการเติบโตอย่างมั่นคงในฐานะธนาคารพาณิชย์ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่มีการเติบโตแข็งแกร่งภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ 

          อีกทั้ง จากรายงานของอิปซอสส์ (IPSOS) ประมาณการว่าในปี 2565 มูลค่าตลาดของการกู้ยืมนอกระบบอยู่ที่ 235.4 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 14% ของมูลค่าสินเชื่อภาคครัวเรือนในประเทศไทย สะท้อนโอกาสของธนาคารไทยเครดิตในการสนับสนุนบริการสินเชื่อ 

          จึงมั่นใจว่า ภายหลังการระดมทุนในครั้งนี้ ธนาคารฯ จะมีความพร้อมของเงินกองทุนธนาคารฯ สูงขึ้น โดยใช้เงินที่ได้จากการระดมทุน ภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีจำนวนประมาณ 1,790 ล้านบาท ธนาคารฯ จะนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อประมาณ 895 ล้านบาท และปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ประมาณ 895 ล้านบาท

          สำหรับผลการดำเนินงานของธนาคารไทยเครดิต ในปี 2563-2565 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 6,370.9 ล้านบาท 8,493.6 ล้านบาท 11,052.3 ล้านบาท และ 9,783.8 ล้านบาท ตามลำดับ มีกำไรสุทธิ 1,372.9 ล้านบาท 1,935.0 ล้านบาท 2,352.5 ล้านบาท และ 2,816.7 ล้านบาท ตามลำดับ 

 

*การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และโปรดอ่านหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุปสาระสำคัญของหลักทรัพย์ (Executive Summary) อย่างรอบคอบ

 

 

2281

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!