- Details
- Category: บริษัทจดทะเบียน
- Published: Monday, 02 October 2023 16:37
- Hits: 2049
CIG แจงข้อสงสัยจากตลาดหลักทรัพย์ งบการเงินไตรมาส 2 ปี 2566
บริษัท ซี.ไอ. กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตอบข้อสงสัยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องงบการเงินไตรมาส 2 ปี 2566
บริษัท ซี.ไอ. กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CIG) ได้ตอบข้อสงสัยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเรื่องงบการเงินไตรมาส 2 ปี 2566 บริษัทฯ ได้ชี้แจงภายใต้หลักการว่า บริษัทฯ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการวางแผนโครงสร้างธุรกิจ (Business Model) ที่จะต่อยอดศักยภาพของกิจการหลักเดิม คือ ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายคอยน์ร้อนและคอยน์เย็น (Heat Exchanger System) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีข้อจำกัดในการเติบโต เพื่อให้ปรับเข้าสู่ธุรกิจที่มี โครงสร้างธุรกิจ (Business Model) ที่เป็นลักษณะของวงจรธุรกิจ (Ecosystem) ที่ต่อเนื่องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ซึ่งแต่ละกิจการไม่ได้เกี่ยวโยงกันเพียงแต่เป็นการรวบรวมกิจการต่างๆ โดยบริษัทฯ แบ่งออกเป็นกลุ่มธุรกิจหลักๆ คือ (1) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค นำโดย บริษัท อิมแพ็ค กรีน ยูทิลิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด (IGU) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลัก คือ พัฒนานิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ธุรกิจเกี่ยวกับสาธารณูปโภค โดยบริษัทฯ ได้จัดหาพันธมิตรที่สามารถต่อยอดธุรกิจด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ บริษัท ส.สุสม จำกัด (“ส.สุสม”) เข้ามาเพื่อให้ครบวงจร และเพื่อให้มีลูกค้า เช่น ผู้ผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicles: VE)
จึงได้หาพันธมิตรที่สามารถต่อยอดไปให้ถึง ระบบขนส่งพลังงานไฟฟ้า (Logistic System) ซึ่ง บริษัท โซลาร์ เซาเทิร์น เอ็กซ์เพรส จำกัด (SSS) หรือที่ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นการรับโอนกิจการทั้งหมดจาก บริษัท กู๊ด เวนเจอร์ส จำกัด (GV) แทน (2) กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม นำโดย บริษัท อีซี่ แมนเนจ จำกัด (EASYM) ซึ่งจะเน้นลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินที่สามารถสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทฯ เช่น ธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็น ธุรกิจคลังสินค้าอุตสาหกรรม ธุรกิจตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น
(3) กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและให้การสนับสนุนทางการเงิน นำโดย บริษัท เจ หลิง โซลูชั่น จำกัด (JLS) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลัก คือ พัฒนาธุรกิจและบริหารจัดการงานก่อสร้างพร้อมการสนับสนุนทางการเงิน (Engineering Procurement and Construction Management with Financing: EPCM+F) เนื่องจาก JLS มีธุรกิจหลักในการพัฒนาโครงการโรงพยาบาลโดยมี บริษัท เดอะวินเนอร์แอส โซซิเอท จำกัด (TWA) เป็นพันธมิตรที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องมือแพทย์จากทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งภายใต้โอกาสที่ JLS สร้างขึ้น TWA จะได้รับผลตอบแทนที่สูง
อนึ่ง ภายใต้ข้อจำกัดด้านขนาดรายการได้มาจำหน่ายไปฯ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Due Diligence) การประเมินมูลค่ากิจการของที่ปรึกษาฯ การระดมทุนที่ต้องใช้เวลา ภายใต้ข้อจำกัดข้างต้นส่งผลให้กรอบเวลาที่สามารถดำเนินการได้ คือ 1-2 รายการทุกๆ 6 เดือน ในขณะที่บริษัทเป้าหมายฯ นั้นได้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 แล้วแต่กระบวนการดำเนินการทำรายการต้องดำเนินการทีละกิจการเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และด้วยเหตุผลนี้เองทำให้บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องวางเงินประกันความเสียหาย และ/หรือ เสียโอกาส (Refundable Deposit) เพื่อให้บริษัทเป้าหมายเหล่านั้นมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะซื้อกิจการเป้าหมายฯ ดังกล่าวอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสภาวะการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ตลอดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดเงินและตลาดทุนส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้ชลอการลงทุน ทำให้การเข้าซื้อกิจการข้างต้นล่าช้ากว่าเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งผู้ขายบางรายก็แสดงเจตจำนงคืนเงินประกันความเสียหายเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถเจรจากับผู้ลงทุนรายอื่น อนึ่ง เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางการค้าทั้งหมด
บริษัทฯ จึงได้จัดการปรับโครงสร้างการซื้อขายกิจการเป็นการเข้าร่วมทุนในรูปแบบ กิจการร่วมค้า (Joint Venture) และ/หรือ เปิดกิจการร่วมกันไปก่อน ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2566 นี้เกือบทุกรายกาย ยกเว้นรายการที่จะยังดำเนินการเข้าซื้อกิจการต่อไปซึ่งคาดว่าจะเหลือเพียงรายการเดียว