WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

91049 BKP

BKP จับมือ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) ยกระดับการจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ยั่งยืน

          บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และสภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (The U.S. Soybean Export Council : USSEC) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อยกระดับการจัดหาถั่วเหลือ กากถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในประเทศไทยและทั่วโลก ตอกย้ำความมุ่งมั่นขององค์กรในการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบหลักทางการเกษตรสำหรับผลิตอาหารสัตว์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และก้าวสู่เป้าหมาย Net-Zero ในปี 2050 

          นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันใส่ใจในคุณภาพของสินค้าและความยั่งยืนเพิ่มขึ้น ความร่วมมือกับ สภาการส่งออกถั่วเหลืองแห่งสหรัฐอเมริกา (USSEC) เพื่อบริหารจัดการด้านความยั่งยืนของถั่วเหลืองที่ใช้ในการผลิตอาหารและวัตถุดิบอาหารสัตว์ ภายใต้แนวทาง U.S. Soy Sustainability Assurance Protocol (SSAP) และยกระดับความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อต่อยอดเป้าหมายในการจัดหาอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตอกย้ำความมุ่งมั่นร่วมกันของทั้งสององค์กรในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ สิ่งแวดล้อม ชุมชน และห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารของโลก 

          นอกจากนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้จะครอบคลุมถึงการแบ่งปันความรู้และข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาวัตถุดิบอาหารและอาหารสัตว์ยั่งยืน ตลอดจน USECC ในฐานะเป็นผู้ผลิตโปรตีนที่ยั่งยืนยังได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ประสบการณ์และความสำเร็จในการผลิตถั่วเหลืองอย่างยั่งยืน การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า และร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ 

          จิม ซัทเทอร์ (Jim Sutter) ประธานคณะผู้บริหารของ USSEC กล่าวว่า บันทึกความเข้าใจนี้ เป็นการเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของสหรัฐอเมริกาและไทย ภายใต้ความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร USSEC จะแบ่งปันความรู้ และเครื่องมือเพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือ ซีพี และการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ และปศุสัตว์ของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น 

          ทิโมธี โลห์ (Timothy Loh) ผู้อำนวยการภูมิภาค USECC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย กล่าวเสริมว่า เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองของสหรัฐฯ มีส่วนร่วมในภาคการเกษตรและอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2513 และนับตั้งแต่เปิดสำนักงานตัวแทนในประเทศไทยในปี 2537 USECC ให้บริการด้านการค้าและความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค การแบ่งปันความรู้เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ในประเทศนั้นๆ การเป็นพันธมิตรกับ BKP นับเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไปสู่แนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนระดับโลก 

          ทั้งนี้ ถั่วเหลืองที่ผลิตในสหรัฐอเมริกามีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ที่ต่ำกว่าแหล่งผลิตอื่นๆ หรือโปรตีนจากพืชชนิดอื่น นอกจากนี้กระบวนการผลิตถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกายังไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า โดยระหว่างปี 2540 ถึงปี 2560 พื้นที่ป่าไม้ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.83 ล้านเอเคอร์ (742,000 เฮกตาร์) ในปัจจุบัน ร้อยละ 15 ของพื้นที่เพาะปลูกในสหรัฐฯ ได้จัดสรรไว้เพื่อการอนุรักษ์ การพัฒนาป่าไม้ และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกจากนี้ เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐฯ ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดิน เพิ่มผลผลิตจากการใช้ที่ดินเท่าเดิม ซึ่งช่วยสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน

 

 

A91049

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!