WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MGI

MGI รายได้-กำไรโตกว่า 100% ระดมทุนไม่ต่ำ 235 ล้านบาท ขยายธุรกิจอัพไซส์เติบโตยาว

 

ผ่าอนาจักรธุรกิจ MGI ที่มาของรายได้ ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน รายได้-กำไรโตกว่า 100%

วันหยุดยาวหลายวัน นี้ 'คอหุ้น' ขอมารายงานให้นักลงทุนได้รับข้อมูลภาพรวมธุรกิจ ก่อนตัดสินใจลงทุน และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ของหุ้นน้องใหม่ป้ายแดง บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) MGI  พร้อมขายไอพีโอ 60 ล้านหุ้น เข้าเทรด mai เร็วๆ นี้ ที่ดำเนินธุรกิจจัดการประกวดนางงามมิสแกรนด์เพื่อเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้บริษัทต่อยอดในการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์

ความน่าสนใจแรกที่เตะตา จากการโชว์งบ Q1/66 รายได้-กำไรโตกว่า 100% และจะระดมทุนไม่ต่ำ 235 ล้านบาท ไปขยายธุรกิจอัพไซส์เติบโตยาว โดยธุรกิจของบริษัท สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์ (Commerce) ธุรกิจประกวดนางงามมิสแกรนด์ (Pageant) ธุรกิจสื่อและบันเทิง (Media and X-Periences) และธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน (Talent)

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการดำเนินธุรกิจให้มีรายได้จากการขายสินค้า ซึ่งได้แก่ธุรกิจพาณิชย์ (Commerce) ให้มีสัดส่วนร้อยละ 60.00 จากรายได้จากการขายและบริการ และให้มีรายได้จากการบริการ ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจประกวดนางงามมิสแกรนด์ (Pageant) ธุรกิจสื่อและบันเทิง (Media and X-Periences) และธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน (Talent) ให้มีสัดส่วนร้อยละ 40.00 จากรายได้จากการขายและบริการ

 1MGI26

1.ธุรกิจพาณิชย์ (Commerce)

ธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคทั้งสินค้าที่อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัท ได้แก่ Miss Grand MGI และ NangNgam รวมถึงจัดจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัท โดยมีสัดส่วนการจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทในสัดส่วนร้อยละ 75:25 ของรายได้จากธุรกิจพาณิชย์ทั้งหมด

โดยสินค้าอุปโภคของบริษัท ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าและผิวกาย เช่น สินค้าประเภทเซรั่ม กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล เช่น ยาสีฟัน เจลล้างมือ กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำหอม กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ เช่น ต่างหู กำไลข้อมือ แหวน ในขณะที่สินค้าอุปโภคของบริษัทได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริม เช่น น้ำพริกปลาสลิด

โดยตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปี 2564 ธุรกิจพาณิชย์เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัทมาอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวน 307.42 ล้านบาท และ 265.79 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.74 และร้อยละ 77.02 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมตามลำดับ โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าและผิวกายและกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการเริ่มดำเนินการจัดจำหน่ายสินค้าบริโภค จากสินค้าประเภทน้ำพริกปลาสลิดในปี 2563 ซึ่งมีการตอบรับที่ดีทำให้บริษัทมีสัดส่วนการขายสินค้าบริโภคที่เพิ่มขึ้นในปี 2563 และ ปี 2564 อย่างไรก็ตามในปี 2565 เนื่องจากบริษัทประสบสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ธุรกิจพาณิชย์ของบริษัทชะลอตัวลง

แต่ในทางกลับกันบริษัทได้รับกระแสตอบรับและความนิยมที่ดีจากกลุ่มลูกค้าจากการจัดประกวด MGT และ MGI ทำให้บริษัทหันมามุ่งเน้นการทำธุรกิจประกวดนางงามมิสแกรนด์ (Pageant) และธุรกิจบันเทิง (X-Periences) ในช่วงที่ยังเป็นกระแสนิยมเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาต่อยอดธุรกิจพาณิชย์อีกในอนาคต

โดยรายได้จากธุรกิจพาณิชย์ในปี 2565 ลดลงมาอยู่ที่ 111.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34.96 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัท ทั้งนี้ในงวด 3 เดือนแรกในปี 2566 บริษัทมีรายได้จากธุรกิจพาณิชย์จำนวน 38.63 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.47 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า

ในด้านยอดขายเนื่องจากบริษัทได้มีการจัดแคมเปญจน์ให้ผู้เข้าประกวดนางงามมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ (MGT2023) แข่งขันกันขายสินค้าของบริษัทผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม (Platform) ได้แก่ TikTok ซึ่งแคมเปญจน์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้มียอดขายน้ำพริกปลาสลิดเพิ่มขึ้น แต่ลดลงในด้านสัดส่วนรายได้จากธุรกิจพาณิชย์ต่อรายได้รวม

เนื่องจากรายได้รวมของบริษัทในงวด 3 เดือนแรกในปี 2566 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากธุรกิจสื่อและบันเทิง (Media and X-Periences) และธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน (Talent) โดยรายได้จากธุรกิจพาณิชย์ในงวด 3 เดือนแรกในปี 2565 เท่ากับ 36.67 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 86.82 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัท

 

2.  ธุรกิจประกวดนางงามมิสแกรนด์ (Pageant)

ธุรกิจจัดประกวดนางงามทั้งระดับในประเทศและระดับนานาชาติ โดยบริษัทดำเนินการจัดประกวดนางงามในประเทศเพื่อค้นหาผู้หญิงไทยที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม จะมาดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ (Miss Grand Thailand หรือ MGT)

โดยรูปแบบการประกวด MGT เป็นระบบการขายลิขสิทธิ์การประกวดให้กับตัวแทน 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย (PD) ซึ่งถือเป็นเวทีการประกวดแรกในประเทศไทยที่ดำเนินการจัดการในรูปนี้ เพื่อเป็นการเริ่มสร้างรายได้จากชื่อเสียงของบริษัทในรูปแบบใหม่

รวมถึงลดภาระในการจัดหานางงามเพื่อเข้าประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์รอบสุดท้ายในแต่ละปี สำหรับการประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ในรอบสุดท้ายบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการในการจัดประกวดโดยไม่ได้ขายลิขสิทธิ์ให้กับ PD แต่อย่างใด ยกเว้นการจัดกิจกรรมเก็บตัวที่ให้ตัวแทนมิสแกรนด์แต่ละจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด ทำกิจกรรมในการเก็บตัวเพื่อเข้าประกวดจะมีการขายลิขสิทธิ์การจัดกิจกรรมเก็บตัว (Activity Host)

โดยเริ่มขายลิขสิทธิ์ในปี 2564 โดยจังหวัดแรกที่ขายลิขสิทธิ์กิจกรรมเก็บตัวคือจังหวัดขอนแก่น ซึ่งบริษัทจะส่งนางงามที่ได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดเวทีระดับนานาชาติที่จะหานางงามในระดับนานาชาติ คือการประกวดนางงาม มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Miss Grand International หรือ MGI)

รวมถึงดำเนินการส่งนางงามที่ได้อันดับรองลงมาไปประกวดนางงามระดับนานาชาติ อาทิ Miss Intercontinental, Miss Tourism International หรือเวทีอื่นต่อไป นอกจากนี้นางงามที่ได้รับคัดเลือกจะมีหน้าที่ในการทำงานประชาสัมพันธ์ เป็นแบบอย่างช่วยเหลืองานสังคมให้กับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น ปฎิบัติตามสัญญาเป็นศิลปินในสังกัดของบริษัท สนับสนุนการขายสินค้า พร้อมโอกาสได้เป็นนักแสดง หรือ ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิงในลำดับต่อไป

ทั้งนี้ การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ (Miss Grand Thailand) และการประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Miss Grand International) ยังคงเป็นการประกวดเพื่อเสริมสร้างชื่อเสียงของบริษัทให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมธุรกิจอื่นของบริษัท โดยถึงแม้บริษัทจะเริ่มดำเนินธุรกิจการประกวดนางงามมิสแกรนด์มายาวนานตั้งแต่จัดตั้งบริษัท

แต่รายได้จากธุรกิจการประกวดนางงามมิสแกรนด์ เพิ่งจะเติบโตอย่างชัดเจนในช่วงปี 2564 ที่บริษัทมีรายได้จากธุรกิจจัดประกวดนางงามมิสแกรนด์ จำนวน 42.86 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.42 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัท ซึ่งเติบโตขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่บริษัทมีรายได้จากธุรกิจจัดประกวดนางงามมิสแกรนด์ จำนวน 15.08 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.45 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัท

และเติบโตต่อเนื่องมาจนถึงงวดปี 2565 จากกระแสตอบรับและความนิยมที่ดีจากกลุ่มลูกค้า ที่ชื่นชอบในตัวผู้เข้าประกวดนางงาม และประทับใจในการจัดงานประกวดของบริษัท จึงทำให้บริษัทมีผู้สนับสนุน (Sponsor) และผู้ซื้อบัตรเข้าชมงาน (Ticket) เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจการประกวดนางงามมิสแกรนด์ในปี 2565 เติบโตขึ้นมาอยู่ที่จำนวน 71.66 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.40 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัท

อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่มีรายได้จากธุรกิจการประกวดนางงามมิสแกรนด์ในงวด 3 เดือนแรกของปี 2566 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่บริษัทไม่มีการจัดประกวดมิสแกรนด์ทั้งในและต่างประเทศแต่อย่างใด ปัจจุบันบริษัทจะกำหนดให้มีการประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ในช่วงไตรมาส 2 ของทุกปี และมีการประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี ซึ่งภายใต้กำหนดดังกล่าว จะทำให้บริษัทฯ มีการรับรู้รายได้จากการประกวดนางงามมิสแกรนด์ไทยแลนด์ในช่วงไตรมาส 2 ของทุกปี และรับรู้รายได้จากการประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี ด้วยเช่นเดียวกัน

 

3.  ธุรกิจสื่อและบันเทิง (Media and X-Periences)

ธุรกิจสื่อ (Media) : เป็นธุรกิจซื้อมาจำหน่ายไปเวลาออกอากาศ (Airtime) รายการที่มีชื่อเสียงตามสื่อโทรทัศน์ ได้แก่ รายการทูเดย์โชว์ ครัวคุณต๋อย เพชรรามา เป็นต้น โดยบริษัทจะดำเนินการพิจารณาซื้อช่วงเวลาการโฆษณาจากรายการที่มีชื่อเสียงตามสื่อโทรทัศน์ จากการพิจารณาชื่อเสียงและกระแสตอบรับของรายการจากผู้ชมและดำเนินการจำหน่ายช่วงเวลาออกอากาศให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจจะโฆษณาสินค้า ซึ่งเป็นธุรกิจที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญจากการที่ผู้บริหารของบริษัท เป็นบุคคลมีชื่อเสียงอยู่ในวงการบันเทิงมาอย่างยาวนาน

อย่างไรก็ตาม จากความนิยมในการรับชมสื่อโทรทัศน์ลดน้อยลงเป็นลำดับ เนื่องจากอิทธิพลของสื่อโซเชียลต่างๆ ที่มีมากขึ้น อาทิเช่น Youtube TikTok Facebook Instragram และ Netflix เป็นต้น จึงเป็นการเปิดโอกาสทางเลือกใหม่ๆ ในการรับชมของกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

ด้วยความนิยมที่ลดลงของสื่อโทรทัศน์ส่งผลให้รายได้ที่ได้รับจากการโฆษณาของสื่อโทรทัศน์ไม่คุ้มกับต้นทุนในการซื้อเวลาออกอากาศที่ไม่ได้ลดลงตามความนิยม จึงทำให้บริษัทได้หยุดการดำเนินการจำหน่ายเวลาออกอากาศ (Airtime) เป็นการชั่วคราวตั้งแต่ปี 2564 จนกว่าทางบริษัทจะมั่นใจว่าธุรกิจจำหน่ายเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์จะให้อัตราผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนในอนาคต

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการทำรายการประจำถ่ายทอดในช่อง Grand TV บน Youtube ที่มีลักษณะเฉพาะของรายการ อาทิเช่น รายการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งของกิน หรือรายการที่แนะนำเคล็ดลับความสวยความงามของผู้หญิง เป็นต้น เพื่อสร้างความสนใจให้กับลูกค้าให้เป็นแฟนรายการประจำ รวมทั้งจะมีการว่าจ้างทีมงาน Outsource ที่มีความชำนาญในการเขียนบท

ธุรกิจบันเทิง (X-Periences) : เป็นธุรกิจจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้กลุ่มลูกค้าได้มีส่วนร่วมกับนางงามและศิลปินของบริษัท ตัวอย่างเช่น การจัดคอนเสิร์ตอิงฟ้ามหาชน, MGT x ระเบียบวาทศิลป์, Meet & Greet เป็นต้น โดยเป็นธุรกิจที่มีแนวคิดต่อยอดจากธุรกิจประกวดนางงามมิสแกรนด์ (Pageant) ที่เป็นการจัดงานแสดงความสามารถทั้งในส่วนของศิลปินนางงามที่ชนะการประกวด MGT ในแต่ละปี และศิลปินภายนอก เช่น วงดนตรีระเบียบวาทศิลป์

โดยรายได้หลักจากธุรกิจบันเทิงจะมาจากรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดง รวมถึงค่าสมาชิกในการสมัครเข้าชมการแสดงของบริษัทบนแพลทฟอร์ม Facebook รวมถึงการถ่ายทำซีรีย์เพื่อออกอากาศในช่องทาง Youtube ภายใต้ชื่อ GrandTV อาทิเช่น ซีรีย์เรื่อง Show Me Love

ซึ่งเป็นซีรีย์ที่แสดงนำโดยศิลปินในสังกัดของบริษัทที่ได้รับความนิยมคือ อิงฟ้า และ ชาล็อต ซึ่งเปิดตัว Episode 1 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งบริษัทจะมีรายได้จากการขายค่าสมาชิกรายเดือนให้ผู้ที่สมัครสมาชิกสามารถเข้าชมซีรีย์ รวมถึงรายการต่างๆ ทางช่อง GrandTV ซึ่งรายได้จากซีรีย์ Show me Love ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีจำนวน 6.41 ล้านบาท

โดยบริษัทจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดงานให้กลุ่มลูกค้าได้เข้าชมการแสดงความสามารถของศิลปินที่ชื่นชอบ ทั้งการแสดงในลักษณะโชว์แสดงความสามารถ ร้องเพลง และบริษัทยังช่วยเป็นตัวกลางในการสื่อสารทางการตลาดโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ระหว่างกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบในตัวศิลปินและศิลปิน เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบศิลปินได้มีโอกาสมาพบปะศิลปินและทำกิจกรรมร่วมกับศิลปิน รวมทั้งการผลักดันให้ศิลปินของบริษัทได้รับงานเพื่อออกงานตามสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลทำให้เกิดกระแสนิยมในตัวศิลปินมากยิ่งขึ้น

ด้วยการประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่เหมาะสมอย่างทั่วถึง รวมทั้งควบคุมคุณภาพในด้านการสร้างบรรยากาศของงาน ทั้งรูปแบบแสง สี เสียง การแสดง การให้ผู้บริโภคได้พบกับประสบการณ์ที่ดีจากศิลปิน ซึ่งจะช่วยเป็นแรงจูงใจให้กลุ่มที่มีความชื่นชอบในตัวศิลปินที่เรียกว่า กลุ่ม FC หรือกลุ่ม DOM มีประสบการณ์ร่วมกับบริษัทมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บริษัทยังเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับศิลปิน ด้วยการจัดหาสถานที่ จัดเตรียมสาธารณูปโภค รวมทั้งดำเนินการสื่อสารทางการตลาดโดยการรับงานเป็น Presenter สินค้าให้กับศิลปิน

สำหรับ ธุรกิจบันเทิงบริษัทมีรายได้หลักจากการจำหน่ายบัตรเข้าชมและการให้บริการอื่นๆ ภายในงาน นอกจากนี้บริษัทยังมีรายได้เพิ่มเติมจากการที่บริษัทสามารถนำพื้นที่ๆ เช่าจากโครงการ Show DC Hall (MGI Hall) ตามที่บริษัทได้มีการทำสัญญาเช่าช่วงกับบริษัท โชว์ ดีซี ฮอลล์ จำกัด เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 ที่บริษัทเช่ามาเพื่อใช้จัดงานแสดงศิลปิน จัดการประกวดหรือถ่ายทำรายการต่างๆ ของบริษัท ดังนั้นหากพื้นที่ดังกล่าวว่างเว้นจากการจัดงานแสดงของบริษัทแล้ว บริษัทสามารถนำพื้นที่ไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงเพื่อจัดการแสดง งานเลี้ยง หรือนิทรรศการ เพื่อสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้

ในการจัดงานแสดงต่างๆ ทางบริษัทมีการจ้าง Outsource จะบันทึกบัญชีเป็นค่าจ้างดำเนินงานและอุปกรณ์ โดยมีการว่าจ้างทีม Ex Producer ทีมออกแบบและกำกับการแสดง ทีมกำกับภาพ ทีมติดตั้งอุปกรณ์ฉาก ทีมจัดแสงสีเสียง ทีมกำกับภาพ ทีมกล้องและถ่ายทอดสด จ้างพิธีกร ผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยคัดเลือกจากการใช้บริษัทที่มีประวัติในการว่าจ้างกันเป็นประจำมาโดยตลอดโดยไม่มีผลเสียหายจากการทำงานแต่อย่างใด รวมทั้งมีประวัติผลงานที่ผ่านมาอัพเดตให้กับบริษัทได้รับทราบประกอบการพิจารณา

นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายการบันเทิงในลักษณะการทำ Content เบื้องหลังงานกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทในลักษณะเป็นคลิปวีดีโอสั้นๆ โดยทีมงานที่เป็นพนักงานของบริษัทถ่ายทอดในช่อง Grand TV บน Youtube เพื่อสร้างความสนใจให้กับลูกค้า

 

4.  ธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน (Talent)

ธุรกิจบริหารจัดการศิลปินเป็นธุรกิจสืบเนื่องจากการประกวดนางงามมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ และมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยบริษัทจะทำสัญญากับผู้ชนะการประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ ผู้ได้รับอันดับรองลงมาในการประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ และผู้ชนะรวมถึงผู้ที่ได้อันดับรองลงมาในการประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่บริษัทเล็งเห็นศักยภาพเพื่อให้เป็นศิลปินในสังกัดของบริษัทเพื่อปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายตามที่บริษัทจัดหางานมาให้ ได้แก่ งานเป็น Presenter หรือ Brand Ambassador สินค้า งานรีวิวสินค้า งานพิธีกร งานโชว์ตัว งานเดินแบบ งานแสดงภาพยนตร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ จำนวนนางงามผู้ชนะการประกวดที่บริษัทจะทำสัญญาให้เป็นศิลปินในสังกัดของบริษัทอาจมีจำนวนแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยการประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ เมื่อเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา บริษัทอยู่ระหว่างเจรจาทำสัญญาศิลปินกับผู้ชนะการประกวด 10 อันดับแรก และตำแหน่ง Miss Grand Best Seller By Tiktok รวมทั้งสิ้น 11 ราย นอกจากนี้ สำหรับการประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2566 นั้น บริษัทจะพิจารณาเสนอสัญญาให้กับผู้ชนะอีกครั้งภายหลังจากเสร็จสิ้นการประกวดเรียบร้อยแล้ว

ในอดีตศิลปินของบริษัทจะมีการจัดทำสัญญาเป็นศิลปินในสังกัดของบริษัท ฮอลิเดย์ เทเลวิชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่คุณณวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ต่อมาเมื่อผู้บริหารของ MGI มีความประสงค์จะนำบริษัทเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึงมีการปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความชัดเจน และเหมาะสม เพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการบริหารจัดการทำงานของศิลปิน จึงย้ายธุรกิจบริหารจัดการศิลปินมาไว้ที่บริษัททั้งหมด จึงมีการโอนย้ายศิลปินจากบริษัท ฮอลิเดย์ เทเลวิชั่น จำกัด เข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดบริษัททั้งหมด

โดยบริษัทมีการทำสัญญารับโอนศิลปินทั้งหมดกับทางบริษัท ฮอลิเดย์ เทเลวิชั่น จำกัด สัญญาระบุวันที่ 1 ธันวาคม 2563 โดยมีศิลปินจำนวน 10 รายที่โอนย้ายมา และบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการทำสัญญากับนางงามที่ได้รับการคัดเลือกจากการประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ เมื่อเมษายน ปี 2566 ที่ผ่านมาอีกเป็นจำนวน 11 ราย ได้แก่ผู้ชนะการประกวด 10 อันดับแรก และตำแหน่ง Miss Grand Best Seller By Tiktok 

โดยที่รายได้จากธุรกิจนี้มาจากศิลปินในสังกัด ซึ่งบริษัทมีการคัดสรรจากนางงามที่แสดงความสามารถ ศักยภาพในการเป็นศิลปินศักยภาพในการประกวดของบริษัทเป็นหลัก และเนื่องจากบริษัทประสบความสำเร็จในการสร้างความนิยมในตัวนางงามจากการประกวด MGT ปี 2565 และ MGI ปี 2565 เป็นอย่างมาก ทำให้รายได้จากธุรกิจนี้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปี 2565 และงวด 3 เดือนแรกของปี 2566 มาอยู่ที่จำนวน 63.09 ล้านบาท และ 20.01 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 19.73 และร้อยละ 24.07 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัท จากที่เดิมในช่วงปี 2563-2564 บริษัทมีรายได้จากธุรกิจนี้ แต่ไม่ได้เป็นนัยสำคัญต่อธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด โดยในช่วงปี 2563-2564 บริษัทมีรายได้ธุรกิจบริหารจัดการศิลปินมาจากนายณวัฒน์ อิสรไกรศีล ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท และเป็นศิลปินโดยมีการจัดทำสัญญาศิลปินกับทางบริษัทโดยมีอายุของสัญญา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568 และเมื่อสัญญาหมดอายุลงจะมีการต่ออายุสัญญาออกไปอีกคราวละ 3 ปี

 

การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน

โครงสร้างรายได้ของบริษัทใน ปี 2563, ปี 2564, ปี 2565, งวด 3 เดือนแรกของปี 2565 และ งวด 3 เดือนแรกของปี 2566 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประเภทรายได้

2563

2564

2565

3 เดือนแรก ปี 2565

3 เดือนแรก ปี 2566

ล้านบาท

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

1. ธุรกิจพาณิชย์

- สินค้าอุปโภค

- สินค้าบริโภค

307.42

271.94

35.48

90.74

80.27

10.47

265.79

182.46

83.33

77.02

52.87

24.15

111.83

87.50

24.33

34.96

27.36

7.60

36.67

28.69

7.99

86.82

67.92

18.91

38.63

19.64

19.00

46.47

23.62

22.85

2. ธุรกิจประกวดนางงามมิสแกรนด์1

- มิสแกรนด์ ไทยแลนด์2

- มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล2

15.08

15.08

-

4.45

4.45

-

42.86

-

42.86

12.42

-

12.42

71.66

51.05

20.61

22.40

15.96

6.44

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

3. ธุรกิจสื่อและบันเทิง

- ธุรกิจสื่อ

- ธุรกิจบันเทิง

12.48

12.36

0.12

3.68

3.65

0.03

23.36

21.74

1.62

6.77

6.30

0.47

68.52

-

68.52

21.42

-

21.42

0.62

-

0.62

1.47

-

1.47

23.81

-

23.81

28.64

-

28.64

4. ธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน

1.83

0.54

10.75

3.11

63.09

19.73

4.50

10.65

20.01

24.07

รายได้จากการดำเนินงาน

336.81

99.41

342.76

99.32

315.09

98.51

 41.79

98.94

 82.46

99.19

5. รายได้อื่น3

1.99

0.59

2.34

0.68

4.76

1.49

 0.45

1.06

 0.67

0.81

รายได้รวม

338.80

100.00

345.10

100.00

319.86

100.00

 42.24

100.00

 83.13

100.00

หมายเหตุ

1: ปัจจุบันบริษัทจะกำหนดให้มีการประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ในช่วงไตรมาส 2 ของทุกปี และมีการประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี ซึ่งภายใต้กำหนดดังกล่าว จะทำให้บริษัทฯ มีการรับรู้รายได้จากการประกวดนางงามมิสแกรนด์ไทยแลนด์ในช่วงไตรมาส 2 ของทุกปี และรับรู้รายได้จากการประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี จึงทำให้บริษัทไม่มีรายได้จากธุรกิจประกวดนางงามมิสแกรนด์ในงวด 3 เดือนแรกปี 2565 และงวด 3 เดือนแรกปี 2566

2: ในปี 2564 บริษัทไม่มีรายได้จากการจัดประกวดมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ เนื่องจากสภาวะโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถจัดประกวดได้ รวมถึงในปี 2563 ซึ่งบริษัทไม่มีรายได้จากการจัดประกวดมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลเนื่องเนื่องจากสภาวะโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ต้องเลื่อนมาจัดประกวดในเดือนมีนาคม 2564 แทน

3: รายได้อื่นประกอบด้วย รายได้ค่าขนส่ง รายได้จากการบริจาคในช่องทาง Facebook และดอกเบี้ยรับ

4: เป็นการจัดกลุ่มประเภทรายได้ตามประเภทธุรกิจโดยที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อการเปรียบเทียบ วิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ ซึ่งรายละเอียดการจัดกลุ่มในแต่ละประเภทรายได้อาจไม่ตรงกับงบการเงินของบริษัท (สามารถพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมจาก หัวข้อ 4.8 ผลกระทบจากการจัดประเภทงบการเงินใหม่ (Reclassification))

 

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TU 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!